วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

9. รายละเอียดพระกริ่งปวเรศที่ไม่มีในตำรา

          สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  ตามความเชื่อของวงการพระเครื่อง-วัตถุมงคลต่างยอมรับและเชื่อว่าทรงให้กำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย ทรงสร้างพระกริ่งที่เรียกกันว่า พระกริ่งปวเรศ ซึ่งเป็นต้นแบบของพระกริ่ง ในยุคต่อมาของไทย  ในวงการพระเครื่องจึงขนานนามเป็น พิมพ์ พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก 
- "ความเข้าใจในเรื่องนี้คลาดเคลื่อน"  เพราะผู้ที่เขียนตำรา ต่างอ้างอิงกันไปมา  เป็นความเข้าใจที่ผิดๆ   
- คำว่า ปวเรศ  ข้อเท็จจริง เป็นชื่อย่อของ พระบาทสมเด็จปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ 

         เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ผู้เขียนจึงขอเรียกตามว่าเป็นพระกริ่งปวเรศรุ่นแรก หรือ พระกริ่งปวเรศรุ่น 1 เช่นเดียวกัน  ทั้งๆอันที่จริงแล้วพระกริ่งฯเหล่านี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นภายในวัดบวรนิเวศวิหาร แต่เป็นการสร้างขึ้นภายใต้ฝีมือของช่างสิบหมู่หรือช่างหลวงประจำราชสำนักทั้งของวังหน้าและวังหลวงทั้งหมดทั้งสิ้น  มีการสร้างพระกริ่งฯเกิดขึ้นในประเทศไทยก่อนที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์(เกิด)ประสูต รวมไปถึงองค์ครูที่อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ซึ่งหากสังเกตุให้ดีๆจะพบมีเม็ดงาตอกอยู่ด้านหลังบริเวณด้านข้างของกลีบบัวเป็นการกำกับให้ทราบถึงวาระที่ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ.2416 เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 ทรงผนวช 

ดังนั้นผู้เขียนจึงขอสรุปดังนี้ 
            พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก  หรือ พระพิมพ์ พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก หรือ พระกริ่งประจำรัชกาล...พระกริ่งรัชกาล.. สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2382 - พ.ศ. 2434  
                มีผู้กล่าวไว้เป็นตำราหนังสือพระกริ่งปวเรศที่เกิดขึ้นรุ่นแรกของวัดบวรนิเวศที่อธิฐาตจิตโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  ตามที่ได้มีผู้บันทึกการสร้างไว้ พ.ศ. 2404, พ.ศ.2409, พ.ศ.2411, พ.ศ. 2416, พ.ศ.2426 และ พ.ศ.2434 เป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
               สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยา ทรงเป็นพระบรมราโชปัธยาย และเป็นอุปัธยายของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  กรมพระราชวัง  เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า  หม่อมเจ้า  ในพระบรมราชตระกูล  และเจ้าประเทศราช  ข้าราชการเป็นอันมาก  ดังนั้น พระกริ่งปวเรศรุ่นแรกที่เกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยา โดยตรงเป็นพระกริ่งปวเรศที่สร้างในยุค พ.ศ.2416 ถึง พ.ศ.2434  ซี่งมีพลังพุทธคุณอ่อน(เบา)กว่าในยุคก่อนหน้าที่สมเด็จโต วัดระฆังอธิษฐานจิตมาก
พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ทั้งหมดนั้นสร้างโดยช่างสิบหมู่ หรือ ช่างหลวงในสมัยโบราณที่ได้รับคำสั่งจากเจ้านายผู้ควบคุมให้สร้างตามวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบในงานพระราชพิธีฯสำคัญของพระราชสำนักในวาระต่างๆ เช่น
·       พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 
·       พระราชพิธีผนวชเป็นสามเณร
·       พระราชพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ  
·       การตั้งกรม(การเฉลิมพระยศเจ้านาย) 
ที่พบเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2382 ในยุครัชกาลที่ 3 ถึง พ.ศ.2434 ในยุคของรัชกาลที่ 5
              โลหะและมวลสารที่สร้างนั้นสร้างตามตำราโบราณสืบทอดกันมา  เพราะเนื้อโลหะธาตุที่สร้างจะใกล้เคียงแทบจะเหมือนกันมากจากที่เคยสร้างทุกประการ ซึ่งมีหลากหลายมวลสารโลหะธาตุที่ผสม  รุ่นไหนสร้างออกมาเป็นเนื้อสีเหลืองก็จะเหลือง  รุ่นไหนสร้างออกมาเป็นเนื้อสีแดง(คล้ายสีนาค)ก็จะเหมือนกันทั้งรุ่น  ที่เด่นชัด คือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างเริ่มแรกในปี พ.ศ.2394 ถึง พ.ศ.2434 
              เมื่อครั้งสมัยที่ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขได้สร้างในวาระ พ.ศ.2434 อีกครั้งหนึ่ง  กล่าวได้ว่าเป็นพิมพ์พระกริ่งปวเรศที่มีบทบาทการสร้างอย่างยาวนานที่สุดพิมพ์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2434 มีการสร้างพระกริ่งหลากหลายพิมพ์เช่นเดียวกันกับในอดีตที่ผ่านมา  มีทั้งสร้างพระกริ่งจากแม่พิมพ์เก่า  สร้างจากแม่พิมพ์ใหม่  ทั้งที่เรียนแบบแม่พิมพ์เดิมและที่ทำพิมพ์ใหม่ทั้งหมด  ประเด็นสำคัญคือ การเกิดความแตกต่างขึ้นระหว่างลักษณะงานศิลปะฝีมือของ ช่างหลวง กับสกุลช่างนอกพระราชสำนักที่ภาษาสามัญนิยมเรียกกันว่า ช่างราษฎร์นยุคถัดมาที่ไม่มีเทคโนโลยีเทียบช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ได้  หลายสำนักที่สร้างพระกริ่งฯ ต่างๆฝีมือยังห่างชั้นเกือบ 100 ปีที่ตามกันไม่ทัน  คนที่ไม่มีความรู้ศึกษามาไม่ถึงต้นทาง  ต่างคิดว่าเป็นพระกริ่ง ปลอมเก๊ เรียนแบบ  เป็นการดูถูกภูมิปัญญาของช่างหลวง หรือ ช่างสิบหมู่ของไทยในยุคโบราณ 
               ช่างหลวง หรือ ช่างสิบหมู่  ในสมัยโบราณก่อนปี พ.ศ.2382 ที่ผู้เขียนพบ สร้างแม่แบบเบ้าหล่อพระกริ่งฯ ได้แล้วและมีฝีมือการตบแต่งองค์พระได้งดงาม ประณีตสวยงามมาก แต่เทคนิรการหล่อยังเกิดมีตำหนิในองค์พระกริ่งพบเห็นอยู่บ้างพอสมควร ภายหลังจากปี พ.ศ.2387 ช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ได้พัฒนาการหล่อพระกริ่งฯ และ การตบแต่งที่ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง  เมื่อมาถึงยุค พ.ศ.2401 พระกริ่งที่สร้างโดยช่างหลวง หรือ ช่างสิบหมู่ มีฝีมือไร้เทียมทาน  ชนิดที่ช่างสมัยนี้เห็นแล้วต่างยกมือยกย่อง สวยงามปราณีต
    เมื่อเข้ามาถึงยุค ร. 4 ขึ้นครองราชย์กับพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.2394 ผู้เขียนได้พบพระกริ่งปวเรศยุคแรกเริ่มตามชื่อเรียกสั้นๆของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า (พระกริ่งปวเรศ) พิมพ์นี้มีความสมบูรณ์ทุกประการ  ผู้เขียนขอเรียกพิมพ์นี้ว่า พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขการสร้างพระพุทธรูปภายในพระราชสำนักพระพุทธรูปในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 สืบๆมา ได้รับทัศนคติตามความนิยมรูปลักษณ์ที่เลียนแบบธรรมชาติ คล้ายมนุษย์มาก  จึงสร้างพระปฏิมากรพระพุทธรูปของพระกริ่งฯ มีความอ้วน ท่วมสมบูรณ์  หล่อด้วยเบ้าพิมพ์ประกบ 2 ด้าน  มีความงดงามสมส่วน  ขนาดได้มาตรฐานทุกองค์ 
               ช่างราษฎร์  การสร้าง  ความงดงามและสมส่วนของพระปฏิมากรพระพุทธรูปของพระกริ่งฯ ด้อยกว่าฝีมือช่างหลวงมาก   สังเกตุได้จากพระกริ่งฯของสายวัดสุทัศน์ฯในยุคถัดมา  
           จวบจนถึง ยุคสุดท้ายของ พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก พ.ศ. 2434 ที่สร้างมีหลากหลายพิมพ์ทรง  มีทั้งแบบทรงเครื่องหรือแบบทรงจีวรลายดอก  พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก พ.ศ.2434 เป็นจีวรลายดอก(ลายจุด)  เกิดขึ้นหลายพิมพ์ด้วยกัน พระกริ่งปวเรศจีวรลายดอก พ.ศ.2434 ที่สร้างเป็นฝีมือของช่างหลวง  ลายดอก(ลายจุด)ที่เกิดขึ้นบนองค์พระกริ่งฯต้องมีความมานะอุตสาหะในการทำลายดอก(ลายจุด)  บนจีวรเป็นอย่างมาก  ช่างฯจะต้องค่อยๆบรรจงแต่งที่ละองค์  ซึ่งแต่ละองค์ลายดอก(ลายจุด)  บนจีวรไม่เหมือนกัน  และจีวรพิมพ์เดียวกันกับที่เป็นลายดอกพระกริ่งบางองค์ไม่ได้แต่งลายดอกก็มี มีบางพิมพ์ได้ตอกหมุดทองคำไว้ที่หน้าผากองค์พระฯ และบางพิมพ์ตอกหมุดทองคำเป็นสายสร้อย และที่บริเวณต่างๆขององค์พระ






               การหล่อ  พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 หรือพระกริ่งประจำรัชการที่ 3 ที่สร้าง ถึงรัชกาลที่ 5  เป็นเบ้าพิมพ์ประกบสองด้านทั้งสิ้น  และเบ้าพิมพ์ที่ช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ทำแบบแม่พิมพ์ขึ้นมาหล่อ ที่สำคัญก็คือ"พระกริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งประจำรัชกาล"เป็นพระหล่อโบราณ แต่หล่อโดยช่างหลวงที่มีฝีมือปราณีตมาก  สามารถไล่อากาศออกได้ดี ทำให้เนื้อพระเนียนและแน่น เมื่อกระทบกันเสียงดังคล้ายดั่งลูกแก้ว  หล่อด้วยกรรมวิธีเทหยอดโลหะในทางก้นฐาน รอยตะเข็บทำการตบแต่งภายหลังหากไม่สังเกตุหรือมองแค่องค์สององค์อาจจะคิดว่าไม่มีรอยตะเข็บ  และไม่มีรอยช่อเดือยให้เห็นเนื่องจากอยู่ในฐานบัวด้านในแผ่นปิดกันฐานได้ปิดเอาไว้   คราบเบ้าผิวไฟ หรือคราบดินเก่าจากเบ้าแม่พิมพ์  ยังคงหลงเหลือพอติดอยู่ให้เห็นตามผิวในซอกแขนบริเวณเบ้าประกบ (ถ้าพระไม่ผ่านการล้างมาอย่างหนัก)   ธรรมชาติของผิวกับเนื้อนั้น  มีผิวดำกลับมัน (แต่จะแห้งจัดจนหมดประกาย)  การหดตัวของเนื้อจะเป็นลายที่หดตัวละเอียดยิบ   องค์ที่ไม่ได้ทาน้ำมันปืนไว้สนิมขึ้นกินได้น้อยไม่หนามาก เพราะผสมโลหะจนได้สูตร อย่างที่เห็นตามผิวของพระองค์  จะมีสนิมของนวโลหะที่เป็นสีดำขึ้นจับไม่สามารถกินเข้าเนื้อเป็นสนิมขุมได้ลึก และหากเกิด"สนิมหยก"เฉพาะองค์ที่แช่น้ำมนต์ที่ถูกขับออกมา  อมติดอยู่กับผิวอีกชั้น
               การตบแต่ง  พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก หรือ พระกริ่งตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 3 ถึงยุครัชกาลที่ 5 ทุกๆองค์จะต้องมีการเกลาแต่งองค์พระกริ่งฯไม่มากก็น้อย  ตั้งแต่ขัดแต่งรอยต่อของเบ้าพิมพ์  เกลาแต่งองค์พระกริ่งฯ ที่หลอมหล่ออกมาไม่สวยงามและเด่นชัด  เกลาตบแต่งขัดให้มีความสวยงามและคมชัดยิ่งขึ้น พระกริ่งฯที่ได้รับการเกลาแต่งแต่ละองค์จะมีฝีมือการตบแต่งหากเป็นช่างฯคนเดียวกันฝีมือจะใกล้เคียงและไปในแนวทางเดียวกัน  ถึงแม้นจะเป็นช่างฯแต่งคนเดียวกันการตบแต่งก็ยังไม่เหมือนกับทั้งหมด
               การขัดผิวขององค์พระกริ่งปวเรศ ผู้เขียนขอเรียกพิมพ์ ดังรูป เป็น พิมพ์ สมบูรณ์พูนสุข  องค์นี้เป็นการสร้างในวาระ พ.ศ.2411 ซึ่งพิมพ์นี้ได้มีการสร้างโดดเด่นมากที่สุด เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2394, 2397, 2398, 2411, 2416, 2434


         พิมพ์นี้ ผู้เขียนเรียกว่า พิมพ์ "สมบูรณ์ พูนสุข" เป็นการออกแบบองค์พระกริ่งโดยช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2394 และภายหลังในปี พ.ศ. 2434 ได้นำเข้าแม่พิมพ์เก่ามาทำการหล่อพระกริ่งฯพิมพ์นี้ขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง  เบ้าพิมพ์ที่ออกแบบได้ปราณีตมาก  ลักษณะขององค์พระกริ่งฯ สมส่วนทุกประการ  ไม่อ้วน  ไม่ผอม  หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส  ผิวพระกริ่งฯจะไม่ตึง  เพราะเป็นการหล่อด้วยเบ้าประกบ2 ด้านแบบโบราณ  ผิวของพระกริ่งได้รับการขัดแต่งที่ประณีตมากเกือบทั้งองค์  ซึ่งมองผ่านๆจะไม่เห็นถึงความประณีต  หากมองพิจารณาดีๆจะพบว่าเป็นการขัดผิวโลหะให้ราบเรียบดั่งการขัดหน้าปัดนาฬิกาที่เป็นรอยให้สวยงาม  การตบแต่งได้ปราณีต  จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่เซียนพระไม่เข้าใจตีว่าเป็นพระฝีมือสนาม  ทั้งๆที่จริงแล้วเป็นพระกริ่งปวเรศที่สร้างโดยช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่สมัย ร.5 ที่ประณีตสุดบรรจงในการสร้างได้สวยสดงดงามยิ่งนัก ทุกสัดส่วน
               การอุด พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก พิมพ์  สมบูรณ์พูนสุข ในปีพ.ศ.2411 ได้พบองค์พระกริ่งฯที่มีตำนิหล่อเนื้อองค์พระกริ่งฯไม่สมบูรณ์  ช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ได้ทำการอุดด้วยชันโรง  พร้อมทั้งตบแต่งอย่างปราณีตขัดถูเรียบสนิทกับเนื้อนวโลหะดั่งผิวเดียวกัน
               โลหะส่วนผสม  แต่ละกลุ่มที่สร้างพระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก  จะมีส่วนผสมที่ไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่ม  เนื้อโลหะจะมีลักษณะอัตราส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน  ประกอบด้วยเนื้อนวโลหะ  และเนื้อทองคำ เนื้อนวโลหะประกับด้วย เนื้อสัมฤทธิ์คุณ(สีคล้ายสีนาค)  สัมฤทธิ์ศักดิ์(สีคล้ายเงินโบราณ)  และสัมฤทธิ์เดช(สีเหลืองคล้ายดอกจำปา)
               การเก็บรักษาด้วยวิธีทาน้ำมัน พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่สร้างในปี พ.ศ.2394 - 2398 ผู้ครอบครองเดิมได้ทำการล้าง วรรณะสีผิวเก่าออก  จึงไม่ได้พบสีผิวเดิมๆ  ส่วนพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่สร้างวาระ พ.ศ.2411 และ พ.ศ.2434 ถ้าหากเป็นองค์ที่บรรจุเพื่อเก็บรักษาไว้ในกรุจะได้รับการทาน้ำมันปืนโบราณที่ผิวพระกริ่งทุกองค์  ลักษณะขององค์พระกริ่งฯ ที่พบเห็นครั้งแรกจะออกสีดำมีคราบน้ำมันแห้งๆ  เมื่อเอามือถูกับองค์พระกริ่งฯคราบน้ำมันจะติดมือ  หากนำไปล้างด้วยสบู่เหลวจะเป็นไขยึดเกาะเห็นได้เด่นชัด  หากใช้น้ำยาล้างจานทำการขัดถูล้างออกจะเหมือนกับพระกริ่งที่สร้างเสร็จใหม่ๆที่มีวรรณะของสีผิวกลับดำ  เมื่อเช็ดให้แห้งจะเห็นความเก่าของผิวพระกริ่งฯได้ชัดเจน  พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรกที่บรรจุกรุนั้นทาด้วยน้ำมันปืนทั้งหมดจึงไม่พบพระกริ่งปวเรศที่ลงรักปิดทอง  ดังเช่นพระเนื้อโลหะประเภทอื่นๆที่ได้สร้างมาก่อนหน้าหรือหลัง  ผิววรรณะของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจริญพูนสุขรูปนี้จะเป็นพระกริ่งฯที่ไม่ได้ทาน้ำมันไว้ทำให้เห็นความเก่า แห้ง ได้ชัดเจน 
พระกริ่งปวเรศ พ.ศ. 2411 พิมพ์ "สมบูรณ์ พูนสุข" 


ในปี พ.ศ. 2434 ได้นำแบบแม่พิมพ์ไปทำการหล่อซ้ำอีกวาระหนึ่ง ใช้สูตรผสมโลหะที่เหมือนกัน  ไม่สามารถแยกด้วยตานอกได้  ต้องแยกด้วยตาในเท่านั้น

                พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2411 และ 2434 มีทั้งแบบหมุดหน้าากทองคำ, หมุดหน้าผากเงิน และแบบไม่มีหน้าผากหมุดทองคำ  และบางพิมพ์ก็ไม่ได้สร้างหมุดหน้าผากทองคำ  และพิมพ์ที่มีตอกหน้าผากทองคำและก้นปิดแผ่นทองคำ มีการปลอมแปลงมากที่สุด
               แผ่นประกบปิดก้นฐานพระกริ่งฯ  มีทั้งแผ่นทองแดง  แผ่นทองคำ และแผ่นเงิน  การเชื่อมปิดแผ่นประกบ ของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขในวาระพ.ศ. 2411 เป็นต้นมา ใช้การหลอมโลหะดีบุกกับตะกั่วเป็นตัวเชื่อมประกบ  แล้วทำการเคาะทุบให้แผ่นประกบสนิทกับก้นฐานพระกริ่ง  ทำให้เกิดเป็นเบ้าหรือถ้วยใต้ฐานพระกริ่งปวเรศที่เชื่อม  หากล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจานแผ่นประกอบใต้ฐานพระกริ่งฯ พิมพ์เจริญพูนสุข จะเห็นร่องรอยความร้อนที่เกิดจากการเชื่อมประสานในอดีตเมื่อ 120 ถึง 143  ปีที่ผ่านมา  
รูปก้นแผ่นปิดฐานที่ยังไม่ได้ล้างสภาพเดิมๆ 143 ปี


รูปแสดงให้เห็นถึงแผ่นปิดก้นที่เคยถูกน้ำยาขัดเช็ดถูทำความสะอาดเพื่อดูเนื้อในมาก่อนในอดีต

               แผ่นทองคำปิดทับแผ่นปิดก้นฐานพระกริ่งฯ อีกชั้นหนึ่ง เป็นแผ่นทองคำบางๆมีรอยประทับอักขระยันต์ มีเฉพาะพระกริ่งปวเรศ วาระ พ.ศ.2411 และ พ.ศ.2434 พิมพ์ สมบูรณ์พูนสุข ก้นทองคำและก้นเงิน
               การจาร  พระกริ่งปวเรศ  อักขระยันต์ที่จารมีหลายแบบ  ในพิมพ์เดียวกันมีทั้งที่จารและไม่ได้จาร การจารที่พบมีหลายแบบ  หากเป็นการจารจากท่านฯ เดียวกันลายมือจะใกล้เคียงกัน  ที่พบมีรอยจารในสมัยที่สร้างเมื่อ 119 ปีที่ผ่านมา และร่องรอยการจารใหม่สดๆ ทั้งจากเหล็กจารและจากประกาไฟฟ้าสมัยใหม่(พ.ศ.2553) และรอยจารใหม่นี้หากวันเวลาผ่านไปสัก 10-30 ปี  รอยจารเหล่านี้ก็จะเป็นรอยจารเก่าที่บอกไม่ได้ว่าเป็นรอยจารใหม่อีกต่อไป 
               เสียงกริ่ง หากเป็นกริ่งที่สร้างโดยช่างหลวงจะมีเสียงวิ่งราบเรียบก้องกังวาน  และมีเม็ดกริ่งบางวาระที่สร้างจะดังเสียงเหมือนกับเม็ดกริ่งวิ่งได้ไม่สะดวกคือเม็ดกริ่งไม่กลม  พระกริ่งปวเรศรุ่นแรกนั้นจะประกอบด้วยรุ่นที่มีกริ่งและไม่มีกริ่ง
             เม็ดกริ่ง  เม็ดกริ่งที่บรรจุอยู่ในฐานพระกริ่งพิมพ์ สมบูรณ์ พูนสุข พ.ศ.2411 และ พ.ศ.2434 จะมี ขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เนื่องจากเม็ดกริ่งเป็นเหล็กไหล
             เมล็ดงา พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก มีทั้งชนิดมีโค๊ดและชนิดไม่มีโค๊ด การตอกเมล็ดงาเพื่อบ่งบอกถึงวาระปีที่สร้าง และหากเป็นชุดก็จะเป็นการระบุจำนวนที่ได้สร้างๆไปกี่ชุด ชนิดมีโค๊ดยังแบ่งเป็นโค๊ด 2 ชนิด คือ
               - โค๊ดชนิดตอกด้วยมือ  เมล็ดงาที่ตอกด้วยมือตำแหน่งจะไม่แน่นอน ประกอบด้วยโค๊ตเมล็ดงา และโค๊ตประจำตัวของผู้สร้าง
               - โค๊ดชนิดใช้แท่นกด  พบในพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2394 ซึ่งยังเป็นยุคแรกที่เริ่มมีการตอกในพระกริ่ง  จะพบเห็นได้ว่าฝีมือยังไม่ปราณีตเท่ากับพระกริ่งพปวเรศที่สร้างในยุคหลัง เช่น พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2397 สืบมาจนถึง พ.ศ.2434 เมล็ดงาที่พบจะอยู่ในตำแหน่งตรงกันทั้งหมด 
               จำนวนโค๊ดที่พบในยุคแรกของพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขจะมีเพียง 1 เมล็ดงา  แต่ในปี พ.ศ.2411 ที่พบมีตั้งแต่ 1 เมล็ดงา  มากที่สุด 9 เมล็ดงา   แต่ละวาระที่สร้างตำแหน่งของเมล็ดงาส่วนใหญ่จะอยู่ในตำแหน่งและทิศทางเดียวกัน  เพื่อเป็นโค๊ดที่ใช้บ่งบอก พ.ศ.ที่สร้างพระกริ่งฯ  หากเมล็ดงาที่หันทิศต่างกันจะสื่อถึง พ.ศ. ที่สร้างต่าง พ.ศ. กัน  ตำแหน่งของเมล็ดงาอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวาของฐานบัว  เป็นการบ่งบอกถึง พ.ศ. ที่สร้าง
               ลักษณะเมล็ดงาที่พบ มีเมล็ดงาหลายรูปแบบ  หากเป็นเมล็ดงาของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์ สมบูรณ์พูนสุข  ที่สร้างในวาระ พ.ศ.2394 จะมีขนาดใหญ่ และในยุคถัดมาจะมีขนาดที่เล็กลง  และพัฒนารูปแบบขงเมล็ดงานให้มีความคมชัดและสวยงาม เช่น พระกริ่งปวรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2411 และ พ.ศ.2434 เมล็ดงาจะซ้อนด้านในอีกชั้นหนึ่ง เป็นเมล็ดงาที่ออกแบบได้ปราณีตที่สุดของพระกริ่งปวเรศที่สร้างมาทุก พ.ศ.
             โค๊ตประจำตัวผู้สร้าง พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก ที่สร้างโดยกลุ่มวังหน้าจะมีตอกโค๊ตที่องค์พระเพื่อบ่งบอกถึงผู้ที่สร้าง รวมทั้งบางองค์ยังบ่งบอกถึงวาระที่เกี่ยวข้องในพิธีที่ถูกกำหนดสร้างขึ้น เช่น ทิศของพระราชพิธีฯที่องค์พระกริ่งฯที่อยู่ประจำตำแหน่งเป็นต้น
             น้ำหนัก พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก พ.ศ.2434 พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข เนื้อทองคำองค์ที่แต่งและเนื้อนวโลหะจะต้องมีน้ำหนักมากกว่า 30 กรัม   ขอสงวนไม่บอกน้ำหนักเพราะจะถูกเรียนแบบทำปลอมขึ้นมาภายหลัง  เนื่องจากพระกริ่งฯ พิมพ์เจริญ พูนสุข หล่อด้วยเบ้าหล่อที่มาตราฐานน้ำหนักขององค์พระกริ่งไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองคำหรือเนื้อนวโลหะจึงมีน้ำหนักแต่ละองค์ที่ใกล้เคียงกันมาก  พระกริ่งปวเรศที่พบทั้่งหมดหลากหลายพิมพ์  กลับพบว่าเนื้อทองคำไม่ได้เป็นพระกริ่งที่มีพลังพุทธคุณแรงที่สุด
            จำนวนที่สร้าง เฉพาะพระกริ่งปวเรศเนื้อทองคำ รุ่นแรก  พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข  ผู้เขียนขอกล่าวถึงจำนวนที่สร้างทั้งหมดและเฉพาะที่พบเห็นจากผู้เขียน  ซึ่งผู้ครอบครองมีทั้งตกทอดสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นและจากผู้ที่ได้ครอบครองใหม่ในหลายๆกลุ่มคนด้วยกัน มีรายละเอียดดังนี้
            - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 1 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม

             - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 2 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม
             - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 3 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม

             - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 4 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม

             - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 5 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม


             - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 6 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม


             - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 7 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม


             - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 8 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม

             - ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 9 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม


              
            พระกริ่งปวเรศ เนื้อทองคำ  พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข  ขณะนี้ที่พบ พระกริ่งฯเฉพาะเนื้อทองคำ ทั้งหมดจะต้องผ่านการเกลาแต่งทุกๆองค์  หากพบองค์มาตราฐานที่เป็นเนื้อทองคำไม่ได้ผ่านการเกลาตบแต่งให้สัญนิฐานในเบื้องต้นไว้ก่อนว่าผิดปกติ  ให้ระวัง  แต่พระกริ่งฯพิมพ์นี้ผู้เขียนพบเนื้อทองคำมีทำปลอมมากที่สุด


ความเชื่อเรื่องกฤษ์กับการตอกโค๊ตเมล็ดงาของพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1

พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ทั้งหมดนั้นสร้างโดยช่างสิบหมู่ หรือ ช่างหลวงในสมัยโบราณที่ได้รับคำสั่งจากเจ้านายผู้ควบคุมให้สร้างตามวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบในงานพระราชพิธีฯสำคัญของพระราชสำนักในวาระต่างๆ เช่น
·       พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 
·       พระราชพิธีผนวชเป็นสามเณร
·       พระราชพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ 
·       การตั้งกรม(การเฉลิมพระยศเจ้านาย)
·       ฯลฯ



สุดยอดพิธีมหาพุทธาภิเษกหลวงแห่งยุคของประเทศไทย
         ผู้เขียนขออธิบายสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจและได้เนื้อหาดังนี้
1. ยกตัวอย่าง พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ.2394 สร้างและเข้าพิธีพุทธาภิเษกหลวง เสร็จเรียบร้อย พ.ศ. 2394  แล้วนำพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ.2394 ทั้งหมดเก็บไว้ในห้อง
2. ถัดมา สร้างพระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397, 2398, 2401, พ.ศ. 2411, พ.ศ. 2416, พ.ศ. 2426 และ พ.ศ. 2434 ยังมีพิธีพุทธาภิเษกหลวงเกี่ยวกับวัตถุมงคลอีกหลาย พ.ศ. ถ้าคิดง่ายๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2523 รวมเวลา 129 ปี บางปี บาง พ.ศ. ได้มีการสร้างวัตถุมงคลหลายวาระหลายพิธี ถ้าหากนับเป็นจำนวนครั้งต้องมีงานพิธีพุทธาพิเษกหลวงมากกว่า 129 ครั้งอย่างแน่นอน
3. ยกตัวอย่างพระฯที่สร้างเสร็จดังเช่น พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ. 2394 ซึ่งได้เก็บไว้อยู่ในห้องใต้เพดานของห้องที่อยู่ในรัศมีของพลังจิตที่ได้รับจากการอธิฐานจิตมากกว่า 129 ครั้ง  รวมทั้งพระประเภทอื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วนที่สร้างในวาระ พ.ศ. ต่างกันจำนวนการได้รับอธิฐานจิตที่ได้รับจะมากน้อยขึ้นอยู่กับ พ.ศ. ที่สร้างในครั้งแรกว่าสร้างมานานเท่าใด

         ผู้เขียนขอสรุปว่า พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษกหลวงยาวนานเกินกว่า 100 พิธี  เป็นวัตถุมงคลที่ได้รับการอธิฐานจิตจากพระเกจิอาจารย์สุดยอดของประเทศหลายยุคหลายรัชกาลติดต่อกันมาเกินกว่า 100 ปี  ดังนั้นจึงไม่มีวัตถุมงคลจากวัดอื่นที่สามารถเปรียบเทียบทั้งทางด้านพิธีกรรมการปลุกเสกอัดพลังอย่างยาวนานเท่ากับพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 หรือ พระกริ่งประจำรัชกาล...ได้  ยกเว้นวัตถุมงคลที่อยู่ในบริเวณเดียวกันเท่านั้น
         ของดีราคาไม่แพง  ในยุคนี้หาไม่ได้ง่ายๆครับ  บุญพาวาสนาส่ง  พระออกจากวัดฯมาสงเคราะห์นานกว่า 30 ปี  คนมีบุญเท่านั้นที่ได้ครอบครอง  พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ไม่ว่าพิมพ์ไหน พุทธานุภาพครอบจักรวาล  ยิ่งความเชื่อเรื่องภัยพิบัติ  มีพระฯแขวนห้อยคอไว้สักองค์ย่อมไม่ผิดหวัง ถึงแม้นจะไม่เกิดภัยพิบัติพระฯท่านก็แรงมากในหลายๆด้าน
         พระกริ่งปวเรศ พิมพ์ต้นฌาน ที่สร้างในยุค รัชกาลที่ 3 ผู้เขียนยกย่องให้เป็น  พระกริ่งปวเรศอันดับ 1 ของเมืองไทย  ที่สมเด็จโตพรหมรังสี วัดระฆัง ร่วมอธิษฐานจิต  มีพลังพุทธคุณไร้ขีดจำกัด
         รองลงมาเป็นพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2394, พ.ศ.2397 และ พ.ศ.2398 ที่มีความน่าสนใจ  นอกนั้นไม่ว่าจะเป็นโลหะธาตุอะไร  ในมุมมองของผู้เขียนเฉยๆ  ยกเว้นพิมพ์พิเศษที่เป็นเนื้อผง ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ

กระทู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

 ลิงก์.....97. พระกริ่งปวเรศ แบ่งออกเป็น 5 ยุค

ลิงก์....123. พระกริ่งกลับดำ

ลิงก์....127. สุดยอดของพระกริ่ง







วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

8. เทคนิคการชำระหนี้สงฆ์

ทำไมต้องชำระหนี้สงฆ์ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ: "การชำระหนี้สงฆ์

เทคนิคการชำระหนี้สงฆ์
ผู้ถาม: ทำกรรมอะไรถึงลง อเวจี คะ........?

หลวงพ่อ: อเวจีนี่ทำกรรมหนักมากมันจึงจะลง ก็มีอนันตริยกรรม อาจิณกรรม ขโมยของสงฆ์ ของสงฆ์ นี่แตะนิดเดียว ลงอเวจีเลยนะ แม้แต่เศษเล็ก ๆ

(เรื่อง อนันตริยกรรม เช่น ฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ยุให้สงฆ์แตกกัน เป็นต้น พระยายมมาบอกหลวงพ่อว่า "ทุกคนอย่าได้ทำเด็ดขาด ท่านช่วยไม่ได้เลย" ส่วน อาจิณกรรม เช่น แม่ครัวทุบหัวปลา แกงเป็นประจำ เป็นต้น สำหรับ ขโมยของสงฆ์ หลวงพ่อได้ยกตัวอย่างให้ฟังดังนี้)

หลวงพ่อ: มีญาติพระเจ้า พิมพิสาร เป็นทายกในตอนต้นก็ดี ซื่อตรงต่อการบุญการกุศล แต่มาตอนกลาง ๆ มือถึงท้ายมือไม่ค่อยดี เริ่มหยิบแล้วทีแรกก็เป็น ทายก ต่อมาก็เลยเป็น ทายัก ของอะไรดี ๆ ก็ยังเอาไปเสียบ้าง เอาไว้ให้ลูกให้เมียเอาไว้เป็นประโยชน์ส่วนตนเสียบ้าง ของที่เขาจะถวายสงฆ์ เขาตั้งใจจะทำอาหารถวายสงฆ์ เนื้อ ดี ๆ ก็ยักเอาไว้บ้าง แกงดี ๆ ก็ยักเอาไว้บ้าง บางทีไม่ยกของสด ไอ้ของที่สำเร็จรุปที่เขาไม่ทันจะถวายพระ ก็ยักเอาไว้เสียบ้าง ญาติของพระเจ้าพิมพิสารเป็นทายักแบบนี้ ตายแล้วลงนรกสิ้นระยะเวลา ๑ กัป พ้นจากนั้นแล้ว ก็มาตก ยมโลกียนรก คือผ่าน นรกบริวาร ๔ ขุม แล้วก็มาตกยมโลกีนรกตามลำดับมาเป็น เปรต ๑๑ จำพวก สุดท้ายก็เป็น เปรตพวกที่ ๑๒
                       สมัยพระพุทธเจ้าของเรานี้ จำไว้ด้วยนะ ของสมบัตินิดหนึ่งน่ะ แม้จะเป็นก้อนดินก้อนหนึ่ง กระเบื้องหัก ๆ ก้อนหนึ่งก็ตาม ถ้าเราถือเอาเข้าบ้านด้วย อาการของขโมย เสร็จ สะเด็ดไม่เหลือ
                       ลูกหมากรากไม้ที่มีอยู่ในวัด เราจะไปขอเด็ดขอพระไม่มีประโยชน์ ของสงฆ์สงฆ์ต้องประชุมกัน เมื่อประชุมกันแล้วตกลงกันว่ายังไง ต้องปฏิบัติตามนั้นขายหรือให้ใครต้องปฏิบัติตามนั้นนะ
                       แม้แต่ ดอกไม้บูชาพระ ก็เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ปลูกยังมีชีวิตขอเฉพาะท่านได้ ถ้าท่านผู้ปลูกตายไปแล้วหรือสึกไปแล้ว อันนี้เป็นของสงฆ์ ต้องเป็นเรื่องของสงฆ์วินิจฉัย ไม่ใช่พระองค์ใดองค์หนึ่งเป็นผู้ให้ หรือไปขอเก็บจากเด็กวัดอันนี้ไม่ถูกต้อง ลงอเวจี
                       และอีกเรื่องหนึ่ง กากะเปรต สมัยที่เกิดเป็น กา แย่งข้าวในขันที่เขานำไปจะถวายพระ ข้าวสุกนั้นเขานำไปยังไม่ถึงพระ ยังไม่ใช่ของสงฆ์ จะถือว่าเป็นของชาวบ้านก็ไม่ได้ เพราะเขาตั้งใจถวายสงฆ์แล้วกรรมเล็กน้อยเพียงเท่านี้ ตายไปแล้วไปลง อเวจี แล้วแถมมาเกิดเป็น เปรต

ผู้ถาม: หลวงพ่อครับ คนที่กินข้าวที่พระอนุญาตแล้ว ทำไมถึงตกนรก และพระที่ให้ก็ต้องตกนรกด้วยครับ....?

หลวงพ่อ: ถ้าอาหารที่พระให้ต้องเป็นของญาตโยมที่ถวายเฉพาะองค์นั้น ไม่มีโทษแน่
                       แต่ที่ตกนรกเป็นอย่างนี้  ต้องเป็นอาหารที่เขาถวายเป็นส่วนกลาง คือเป็นของสงฆ์ ของสงฆ์นั้นพระองค์ใดองค์หนึ่งไม่มีสิทธิ์ให้ นอกจากสงฆ์จะประชุมตกลงให้พระองค์นั้นเป็นผู้จ่ายแทนสงฆ์  ตัวอย่างของสงฆ์เช่น อาหารวันพระ   ที่มีข้าวใส่บาตรเหลือมากๆ  แล้วทายกใส่ถ้วยเอาไปกินบ้าน  โดยที่คณะสงฆ์ไม่มีส่วนรู้เห็น  อย่างนี้ แม้แต่เจ้าอาวาสเองยังไม่มีสิทธิ์ให้ตามลำพัง
                       บางทีกินอาหารที่ พระฉันเหลือ  ถ้าพระอนุญาตแล้วไม่มีโทษ (สำหรับโยมที่ไปในงาน ทางวัดเขาตั้งใจเลี้ยงก็ไม่เป็นไร)  แต่บางท่านก็หยิบของที่พระฉันแล้วเอามาเฉยๆ   บางท่านก็ขอเอาดื้อๆ ให้หรือไม่ให้ก็ตาม ออกปากขอแล้วยกไปเลย   พระยังไม่ทันอนุญาต  ท่านทายกประเภทนี้   ท่านช่วยยก  คนที่กินกับท่าน   ลงอเวจีแบบสะดวก  เมื่อจะขอต้องดูว่าอาหารมากไหม   ถ้ามากจนเหลือเฟือ  ก็ขอให้พระท่านให้ตามความพอใจของท่าน  เพราะท่านอาจมีกังวลนำอาหารไปให้ใครก็ได้   ที่ท่านมีภาระต้องเลี้ยง  ถ้าถือเอาตามความพอใจก็ต้องถือว่าแย่งอาหารจากพระมีโทษ 100 เปอร์เซ็นต์

และ  อาหารถวายพระพุทธรูป ก็เหมือนกัน   อาหารประเภทนี้ดูเหมือนจะเป็นเหยื่อล่อให้ทายกลงอเวจีสะดวกสบายมาก อาหารที่เขานำมาวัด   เขาตั้งใจถวายพระสงฆ์   การนำไปถวายพระพุทธรูปนั้นเป็นความดี  เพราะเป็นพุทธานุสติ   เป็นพุทธบูชา   แต่อาหารประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้มาก  เพราะพระพุทธรูปไม่ได้ฉัน  ท่านจะฉันหรือไม่ฉันก็ตาม อาตมาคิดว่าทายกทายิกา  ไม่มีสิทธิ์จะกิน   หลายวัดหรือส่วนใหญ่  ทายกมักจะเอาอาหารดีๆ และมากๆ ไปทุ่มเทถวายพระพุทธรูป

เมื่อพระฉัน  เสร็จแล้ว  ต่างก็ยกเอามากิน  ตอนนี้ไม่ถูกด้วยประการทั้งปวง  ต้องเอาไว้ถวายพระตอนเพลจึงจะถูก  ทายกทายิกาจะกินได้เฉพาะอาหารที่เหลือเป็นแดนจากพระฉันเท่านั้น   ไม่มีสิทธิ์สถาปนาตนเองเป็น ลูกศิษย์พระพุทธรูป   แต่ประการใด

รวมความ  ว่า  ของที่ถือว่าเป็นของสงฆ์นั้น   คือของในวัดทุกประการที่เขาถวายเป็นของสงฆ์แล้ว   แม้แต่ดอกไม้ ผลไม้ในวัดเศษไม้ที่คิดว่าทำอะไรไม่ได้แล้ว  เอามาทำฟืนบ้าง  ทำอย่างอื่นเล็กๆน้อยๆบ้าง  จงอย่าคิดว่าไม่มีบาป  แม้แต่เศษกระเบื้องที่ทิ้งแล้ว  ก็เป็นของสงฆ์  มีผลเสมอกัน  เว้นไว้แต่ดอกไม้ผลไม้ที่พระหรือท่านผู้ใดปลูกในวัด  ถ้าท่านเจ้าของยังอยู่ในเขตวัดนั้นและท่านอนุญาต  อย่างนี้เอามาได้ไม่บาป  ด้วยท่านเจ้าของมีสิทธิ์สมบูรณ์ให้ได้ รับมาได้ไม่มีโทษ ถ้าท่านผู้ปลูกออกไปจากวัดนั้นหรือตายไปแล้ว ของนั้นเป็นของสงฆ์โดยตรง ไปเอามามีโทษตามกำลังบาป  ขโมยของสงฆ์

และอีกประการ หนึ่ง  วัดร้างที่ไม่มีพระอยู่  แต่มีสภาพเป็นวัด  กับที่ของสงฆ์ที่เป็นไร่นาไปแล้ว  ไม่มีสภาพเป็นวัด  ถ้าเราไปนำมานิดเดียวแม้แต่หญ้าต้นเดียว  เขาถือว่า  เป็นหนี้สงฆ์  อันนี้อันตรายมาก  สมัยหลวงพ่อปาน  ท่านก็แนะนำให้คน ชำระหนี้สงฆ์  บาทสองบาทสลึงสองสลึง  บางคนไม่มีเงินเอามาทำงานแทน  ทำอะไรก็ได้ไม่บังคับ คือ ดายหญ้าก็ตามไม่เอาค่าแรง

ผู้ถาม: หลวงพ่อครับ พระเครื่อง ที่เขาไปขโมยมาแล้วเราเอามาห้อยคอ อย่างนี้จะบาปไหมครับ.....?

หลวงพ่อ: เดี๋ยว ก่อน พูดเรื่อง พระเครื่อง ก่อนพระที่คุณห้อยน่ะ ไม่มีเครื่อง หรอก พระเครื่องต้องอย่าง ฉันนี่เดินได้ วิ่งได้ ใช่ไหม.......อย่างนั้นเขาไม่เรียกพระเครื่อง เขาเรียก พระห้อย   เขาขโมยมาจากใครล่ะ.......?

ผู้ถาม: ก็ไม่ทราบแน่ครับ อาจจะขโมยเจาะกรุมาก็ได้ครับ

หลวงพ่อ: เสร็จ ไอ้นี่พังแน่

ผู้ถาม: อย่างนี้จะบาปไหมครับ......?

หลวงพ่อ: รับของโจรมันก็บาปซิ

ผู้ถาม: แต่ถ้าเราไม่ทราบนี่คงไม่เป็นไรนะครับ

หลวงพ่อ: เรา  ไม่ทราบก็บาป  เราทราบก็บาป  ไอ้บาปนี้เขา  แปลว่าชั่ว  คนไปขโมยมาจากกรุ  กรุมันเป็นของสงฆ์ ลักษณะของอาการมันเป็นของชั่ว  ถ้าเราเอาของชั่วมาอยู่กับเราก็ชั่วด้วย  อย่างใน  มงคลสูตร  ข้อหนึ่ง ท่านบอกว่า       "อเสวนา จ พาลานัง"   อย่าคบคนพาล  ถึงแม้นตัวราจะไม่พาล   ถ้าเราเดินกับคนพาลเขาก็คิดว่าพาลไปด้วย"   และท่านก็มีข้อเปรียบเทียบ ท่านบอกว่า

"ใบตองนี่  ไอ้ความเน่าของเนื้อสัตว์มันจะไม่ซึมลง  แต่ว่าถ้าเราเอาใบตองห่อของเน่า  แล้วเอา  ของเน่าทิ้งไปแต่กลิ่นเน่าเหม็น  มันยังติดใบตองอยู่"   "ทีนี้การรับของโจร  ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้  ก็ต้องถือว่าเราร่วมมือด้วยโดยไม่เจตนา  ก็ต้องเอาเหมือนกัน"

ผู้ถาม: ของหนูก็มีพระที่ขโมยมาเหมือนกันค่ะ  เป็นพระบูชาแต่ว่าอยากเอาไว้ที่บ้านเอาไว้บูชา   ถ้าเราชำระหนี้สงฆ์จะได้ไหมคะ.......?

หลวงพ่อ: ทีนี้วิธีชำระหนี้สงฆ์  เขาให้มีค่าเสมอของเดิมนะ  เสมอของเดิมหมายความว่า  ไม่ใช่พระรุ่น  แบบนี้  เหมือนกับอย่างเขาเล่นกันนะ  เขาไม่ใช้นะ  ไปดูว่าที่ร้านเจ๊กหน้าตักขนาดนี้เขาขายเท่าไร  แล้วเอาเงินไป  ชำระหนี้สงฆ์ตามราคานั้น ถ้ามากกว่านั้นไม่เป็นไรนะ เท่านั้นก็ใช้ได้ เอาไปวัดใดวัดหนึ่งขอชำระหนี้สงฆ์ ขอมอบ เงินจำนวนนี้และขอเอาพระไปบูชา  ก็เท่านี้แหละ เป็นอันว่าไม่มีอะไรผิด (ใคร ก็ตามได้รู้อย่างนี้ก็ใจเสียแล้ว เวลาไปเอามาไม่รู้เท่าไหร่ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  แต่ก็มีคนหัวดี  กล้าถามหลวงพ่อว่า  ถ้าจะชำระหนี้สงฆ์ทั้งหมด ตั้งแต่ที่เคยทำมาตั้งแต่ต้นจนปัจจุบันนี้ จะทำอย่างไร เราจึงได้รู้เรื่องการสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ขึ้นมา)

การสร้างพระชำระหนี้สงฆ์
ผู้ถาม: แล้วเรื่องพระชำระหนี้สงฆ์มีความเป็นมาอย่างไรครับ...?

หลวงพ่อ: เรื่อง มันเป็น อย่างนี้ ฉันไปที่ศรีราชา ญาติโยมเขาถาม เรื่องพระชำระหนี้สงฆ์ ถ้าหลายๆ ชาตินี้เราไม่รู้เอาอะไรมาบ้าง  ถามว่าจะทำอย่างไรฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน  พอตอบไม่รู้ก็เห็นพระท่านลอยมา  ท่านบอก  "ถ้าจะชำระให้ครบถ้วน เป็นเงินเท่าไรก็ไม่พอ  ให้สร้างพระพุทธรูปหน้าตัก 4 ศอก"  พระหน้าตัก 4 ศอก  ถือว่าเป็นพระประธานมาตรฐาน ท่านบอกว่า  "พระพุทธรูปนี่ไม่มีใครตีราคาได้   ใช้ในการชำระหนี้สงฆ์   หนี้สงฆ์ที่แล้วๆ   มาถือเป็นการหมดกันไป"

ฉัน พูดแล้วก็กลับ  มาวัด  ต่อมาพวกนั้นก็มาถามใหม่ว่า  "สร้างพระองค์เดียวได้คนเดียวหรือกี่คน  " ฉันก็ไม่รู้อีกซิ ก็นึกถึงท่าน   ท่านก็มาใหม่   ท่านบอกว่า   "ถ้าไม่ปิดทองได้คนเดียว   ถ้าปิดทองครบถ้วนได้ทั้งคณะ  " หมายความว่าบุคคลหลายคนก็ได้   ตัดบาปเก่า   ถ้าสร้างใหม่อีกนะ สร้างหนี้ใหม่ต่อเป็นหนี้ใหม่เหมือนกันนะ

ผู้ถาม:  ถ้าหากว่าเรามีสตางค์น้อยๆ แล้วถวายพระจะได้ไหมครับ....?

หลวงพ่อ: ถ้า เรามีสตางค์น้อยๆ  ก็ใส่ซองเขียนหน้าซองว่า  "ชำระหนี้สงฆ์"  คือ ว่าไม่ได้จำกัด ทำไปเรื่อยๆ ให้ใจสบาย บาทสองบาทตามกำลังที่พึงทำได้  เขาไม่ได้เกณฑ์ว่าจะสร้างพระ   หลวงพ่อปานท่านทำอย่างนี้มาก่อน  เรื่องสร้างพระนี่เขาถามก็บอก   ท่านมาบอกอัตรานี้โละกันเลยนะ  คือ  ไม่ใช่จะเกณฑ์ให้ไปสร้างพระเพราะทุนไม่พอใช่ไหม  เราก็ทำไปเรื่อยใจสบาย   มีสตางค์รับเงินเดือนมาที่ ทำ 5 บาท   ใส่ซองถวายพระบอก  "ขอชำระหนี้สงฆ์"   ท่านไม่รู้ท่านใช้ผิด ท่านลงนรกเอง   ไม่ต้องห่วง   ถ้าไปกินเป็นส่วนตัวละเรียบร้อย  เงินชำระหนี้สงฆ์มันมีค่ากว่าเงินสังฆทานและวิหารทาน ถ้าไปใช้เป็นส่วนตัว  ไม่ได้   ต้องใช้เป็นส่วนกลาง อันตรายกับพระ แต่ช่างเถอะ   ถ้าบวชแล้วอยากโง่ให้ลงนรกไป ใช่ไหม...."

ผู้ถาม:  ถ้ามีญาติโยมเอา   เงินไปถวายพระ  แต่ก็เอาเงินไปปลูกบ้านบ้าง   ให้ญาติโยมไปออกดอกออกช่อบ้าง อยากทราบว่าผลบุญที่ลูกได้ทำแล้ว   จะมีอานิสงส์สมบูรณ์แบบหรือไม่เจ้าคะ...?

หลวงพ่อ: เขาถวาย  เป็นของ  สงฆ์ใช่ไหม  เขาถวายเข้าไปในวัดใช่ไหม  แล้ววัดไม่ได้ทำอะไร  แต่คนในวัดเขาไปปลูกบ้าน   เงินนั้นไปที่อื่นใช่ไหม   เขาถวายอานิสงส์   มันได้ตั้งแต่ถวาย   มีอานิสงส์ครบถ้วน   นั่นเขาครบ 100 เปอร์เซ็นต์เลยนะ   คนอื่นเอาไปใช่ไหม   อย่าไปยุ่งกับเขาเลยนะ   อานิสงส์ มันได้ตั้งแต่เริ่มให้   ยิ่งให้ก็ยิ่งอานิสงส์หนักขึ้นเวลาให้ต้องให้ด้วยตนเองใช่ไหม   ขณะที่พระรับก็เกิดธรรมปิติอิ่มใจ   อานิสงส์มันเพิ่ม แต่ว่าคนที่นำเอาไปใช้พิเศษคนนั้นลงอเวจีแน่

ผู้ถาม:  โอ้โฮ...หนักถึงขนาดนั้นเลยหรือครับหลวงพ่อ.....?

หลวงพ่อ: ยังเบานะ ถ้า 2-3 คราว ลงโลกันต์

ผู้ถาม:  นี่ดีนะที่สึกออกมาก่อน ไม่งั่นไปอยู่ใต้พระเทวทัตแน่ๆ

หลวงพ่อ: ใต้พระเทวทัตน่ะไม่มีความทุกข์นะ ความทุกข์มันอยู่แค่อเวจี ต่ำกว่าอเวจีก็ไม่ถึงโลกันต์
คำถวายปัจจัยเพื่อชำระหนี้สงฆ์

               ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ 
               พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ 
               พระอริยสงฆ์สืบต่อๆ กันมาทั้งหมด 
               ขออาราธนาคุณพระธรรม 
               ตลอดถึง ขออาราธนาบารมีพระพรหมและเทพเทวดาทั้งหมด
และขออาราธนาบามีครูบาอาจารย์ทั้งหมด มีหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง เป็นที่สุด 

               ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะ สามารถกำหนดจิต ได้ทุกขณะจิต ที่ปรารถนา ทุกประการ และ ขอโปรดเมตตาเป็นสักขีพยาน ในการชำระหนี้สงฆ์ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
          ข้าพเจ้าขอถวายเงิน จำนวน..........บาท  (ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ที่วัด.......)  เพื่อชำระหนี้สงฆ์  ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทพลาดพลั้ง  ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี   ด้วยกายก็ดี   ด้วยวาจาก็ดี   ด้วยใจก็ดี    ด้วยเจตนาก็ดี   ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี   ข้าพเจ้าขอชำระหนี้สงฆ์ทั้งหมดให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานในครั้งนี้ด้วยเถิด

คำถวายปัจจัยเพื่อทำบุญ
               ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ 
               พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ 
               พระอริยสงฆ์สืบต่อๆ กันมาทั้งหมด 
               ขออาราธนาคุณพระธรรม 
               ตลอดถึง ขออาราธนาบารมีพระพรหมและเทพเทวดาทั้งหมด
และขออาราธนาบามีครูบาอาจารย์ทั้งหมด มีหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง เป็นที่สุด 

               ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะ สามารถกำหนดจิต ได้ทุกขณะจิต ที่ปรารถนา ทุกประการ และ ขอโปรดเมตตาเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
          ข้าพเจ้าขอถวายเงิน จำนวน..........บาท  (ร่วม............ที่วัด.......)  ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้า  ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้า ( ทั้งหลาย ) จงมีความคล่องตัวทุกประการจงมีแก่ข้าพเจ้า และความไม่มีจงอย่าเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้า ( ทั้งหลาย ) ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบัน มีสมเด็จองค์ปฐม และพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง อยู่ที่ใดข้าพเจ้าขออยู่ที่นั้นเถิด
หมายเหตุ  (ทั้งหลาย) ใช้กรณี 2 คนขึ้นไป