วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

77. พระชัยวัฒน์องค์เล็ก เนื้อนวโลหะชนิดต่างๆ

เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 3 
พระชัยวัฒน์องค์เล็กประจำรัชกาลที่ 4เนื้อสัมฤทธิ์โชค 
โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีเหลือง สีคล้ายดอกจำปาแก่-อ่อน อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำ อมน้ำตาลดำ

เนื้่อนวโลหะ เนื้อสัมฤทธิ์โชค ในยุคของรัชกาลที่ 4 และสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมนำโลหะธาตุดังกล่าวมาสร้างเป็นองค์พระชัยวัฒน์...และพระกริ่งปวเรศ... ที่พบโดนเด่นเช่น พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2411 เป็นต้น

---เนื่องจากมีเพื่อนสมาชิกได้นำพระช้อชัยวัฒน์...สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4  จำนวนองค์พระชัยวัฒน์...ทั้งช่อแบ่งออกเป็น 7 ชั้น จากชั้นล่างถึงชั้นที่ 6 มีชั้นละ 8 องค์ รวมองค์ยอดด้วย 1 องค์เท่ากับทั้งช้อมีพระชัยวัฒน์ 49 องค์   จึงได้นำมาเปิดเผยให้ได้ศึกษาเป็นวิทยาทาน 



รูปที่ 1 และรูปที่ 2 แสดงช่อพระชัยวัฒน์(หัวไม้ขีด) สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2394  มีวรรณะสีผิวออกสีเหลือง  อายุผ่านมานับร้อยหกสิบปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำ(ดำสนิทแต่ไม่อมสีน้ำตาลแดง)  ดังรายละเอียดของรูปที่ 1 และรูปที่ 2



รูปที่ 3 ถึง รูปที่ 6  แสดงรูปพระชัยวัฒน์องค์ยอดที่ได้หัก  ออกมาจากช้อพระชัยวัฒน์  แสดงให้เห็นองค์พระชัยวัฒน์ฯ และร่องรอยการหักจากช้อ...





รูปที่ 7 ถึงรูปที่ 16  แสดงรอยหักที่หักจากช้อพระชัยวัฒน์... สร้างพ.ศ.2394 สังเกตุจะพบว่า  มีมวลสารโลหะธาตุหลากหลายชนิด  ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ คือ เนื้อออกสีเหลืองทอง



รูปที่ 17 และรูปที่ 18  แสดงก้านที่เชื่อมระหว่างพระชัยวัฒน์ กับแกนต้น(แกนช้อ)  การหักก้านออกจากช้อจะหักขึ้น 1 ครั้ง  หักลง 1 ครั้ง  และหักขึ้นอีก 1 ครั้ง  ก้านที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะหักออกจากกัน  จากรูปจะแสดงให้เห็นสีกลับดำถูกแรงดัดในการงอขึ้นงอลง  แสดงให้เห็นวรรณะสีผิวเหลืองอร่ามมีสีผิวสวยงดงามยิ่งนัก

เพื่อความกระจ่างชัดเนื้อสีเหลืองนี้เป็นเนื้อโลหะธาตุอะไร?
---ขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol
รูปที่ 19 ถึงรูปที่ 21

เมื่อขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol แสดงให้เห็นวรรณะสีผิวของโลหะเป็นเนื้อสีเหลือง  และโลหะธาตุมีน้ำหนักเบา  ซึ่่งมีเปอร์เซนต์การผสมของเนื้อทองคำที่พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสรุปได้ว่าพระชัยวัฒน์หัวไม้ขีดช้อนี้ทั้งช้อเป็น "พระชัยวัฒน์สัมฤทธิ์ สีทองเหลือง"

พระชัยวัฒน์เนื้อสัมฤทธิ์โชค

รูปที่ 22 และรูปที่ 23
     ขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol แสดงให้เห็นวรรณะสีผิวของโลหะเป็นเนื้อสีเหลืองอ่อน  วรรณะสีผิวกลับดำอมน้ำตาลบางๆ  ซึ่งเป็น "พระชัยวัฒน์เนื้อสัมฤทธิ์โชค"มีวรรณะคล้ายกับวรรณะสีผิวของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข เนื้อสีเหลืองคล้ายสีดอกจำปา
     ระหว่างเนื้อทองเหลืองกับเนื้อนวโลหะเนื้อสัมฤทธิ์โชคจะมีสีเหลือง  แต่สีและความแข็งของโลหะรวมทั้งน้ำหนักของโลหะธาตุจะแตกต่างกัน


เนื้อสัมฤทธิ์ชนิดที่ 2 พระชัยวัฒน์เนื้อสัมฤทธิ์เดช
รูปที่ 24 เป็นพระชัยวัฒน์ หัวไม้ขีด ปี พ.ศ.2394 เนื้อออกสีน้ำตาลแดง  เมื่อขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol วรรณะสีผิวภายในจะเป็นสีดั่งสีนาค  ที่เห็นรูปองค์พระออกสีเหลืองอมเขียวนั้นเกิดจากช่างโบราณได้นำองค์พระไปชุบทองคำหรือเปียกทอง   องค์นี้ก้นบรรจุกริ่งเหล็กไหลปิดด้วยแผ่นปิดประกบก้นเนื้อเงิน  และพระชัยวัฒน์ที่บรรจุกริ่งจะปิดประกบด้วยแผ่นปิดก้น เนื้อทองคำ  เนื้อเงิน และเนื้อนาค









รูปที่ 25
พระชัยวัฒน์ ปี พ.ศ.2427 องค์ต้นแบบแม่พิมพ์ในสมัย ร.5 สร้างด้วยเนื้อนวโลหะสัมฤทธิ์เดช มีวรรณะสีผิวภายในออกสีแดงอ่อน(คล้านสีเนื้อนาค)
ขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol
รูปที่ 26
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ 4 หัวไม้ขีด องค์ซ้ายเนื้อสัมฤทธิ์เดชสีคล้ายนาค(ก้นทองคำ)  องค์ขวาเนื้อสัมฤทธิ์โชคสีเหลืองจำปา(ก้นตันประทับอักขระยันต์ มะ อุ อะ)


สรุป 
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ 4 พิมพ์หัวไม้ขีด พ.ศ.2394 จะประกอบด้วย

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก เนื้อสัมฤทธิ์เดช  ก้นทองคำ...ก้นเงิน...ก้นนาค  บรรจุเม็ดกริ่งเหล็กไหล  พิมพ์ทรงจะได้รับการขัดตบแต่งสวยงามสง่า ทั้งรูปร่าง หน้าตาและขนาด สมส่วน

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก เนื้อสัมฤทธิ์โชค  ก้นตัน  ประทับอักขระยันต์ มะ อุ อะ

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก เนื้อสีทองเหลือง  ก้นตัน  ประทับอักขระยันต์ มะ อุ อะ

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

76. พระชัยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ 4

---พระชัยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ 4
พ.ศ. 2394 สร้างวาระที่ 1 

วิเคราะห์ วรรณะสีผิวขัดผิวด้วยน้ำยา wenol

ร่องรอยการขัดตบแต่งที่หลงเหลือจากความเร่งรีบ...







 เทคนิคการหล่อ
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก
ในสมัย ร.4 หล่อ เป็นช่อๆ ละ 49 องค์
ช่อนี้ ได้มาจำนวน 47 องค์  ก่อนหน้าที่จะได้มาถูกตัดไป 2 องค์

ช่อพระชัยวัฒน์ เอื้อเฟื้อภาพ จากเพื่อนสมาชิก



ไม่ทราบแหล่งเซียนตำราเขา...ก็ต้องหาที่อ้างอิง ...ว่าเป็นพระชัยวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชฯ(แพ)เนื้อนวโลหะแก่ทอง หุ้มก้นทองคำ ปี 2460...มั่วเข้าไป

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก น้ำหนัก 1 เฟื่อง ก้นทองคำ บรรจุกริ่ง เลี่ยมกรอบทองคำ ประจำรัชกาลที่ 4 องค์นี้ผู้เขียนพกติดตัว

อ้างอิงจาก...
 

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

74. แหล่งพระของนิตยสารชื่อดัง

ตลาดท่าพระจันทร์ ร้านเลขที่(เลขคู่รวมกันสองหลักได้ = 8)

เมื่อเดือนที่แล้วมีคนหนึ่งที่ผู้เขียนรู้จัก  ให้ข้อมูลดังนี้
  • ไปเดินท่าพระจันทร์เข้าไปในซอยกลางๆ พบร้านค้าร้านหนึ่ง  เจ้าของร้านเป็นผู้ให้ข้อมูล
  • ร้านฯนี้จะเน้นเรียนแบบพระของนิตยสาร บุญพระเครื่อง  ในเล่มมีพระฯแบบไหน เล่นหากันรุ่นไหนที่นิยมๆ สนใจสอบถามได้มี...
  • นิตยสาร...ไม่ว่าจะเป็นองค์หน้าปก หรือในปกเด่นๆชอบเนื้อผง หรือเนื้อโลหะทุกชนิดมี...
  • ราคาว่ากันหลักร้อยถึงหลักหลายพันบาท เช่น พระกริ่งปวเรศ หน้าผากหมุดทองคำ(ปลอม) ก้นทองคำ(ปลอม) มี
  • พระสมเด็จฯ หลากหลายทรงพิมพ์ นิตยสาร...ว่าแท้อย่างไร...ที่ร้านมี...
  • พระเนื้อดิน เนื้อผงของกรุไหนที่นิตยสาร...มีรูป...ที่ร้านมี...ยกตัวอย่างพระรอดมหาวัน...ของแท้เนื้อพระต้องแข็งและกรีดกระจกเป็นรอยของที่ร้านฯก็กรีดได้  กรีดโชว์...
  • พระเนื้อโลหะไม่ว่าจะเป็นวัดไหน...เนื้อเงินธรรมดา  เงินลงยา  เงินฉลุ  ที่ร้าน...มี
  • หากเล่นพระเนื้อเงินคิดว่าสามารถปล่อยได้แล้วค่อยมาอัพฯ...เล่นพระทองคำ...ร้านก็มี
  • เหรียญของที่ร้านฯจะถอดพิมพ์มาจากพระเนื้อทองคำเป็นหลัก
  • คนในท่าพระจันทร์ เขาให้ฉายา (เป็นเจ้าของนิตยาสารบ้าง, เจ้าของรูปในนิตยาสารทั้งหมดบ้าง)
สรุปจากการมองผ่านๆ 
  • พระแท้ที่คนไม่มอง  แต่นิตยาสาร...มีในหนังสือ...ของแท้ที่ร้านนี้ก็มีแต่ราคาหลายพันบาท   
  • ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นพระทำเทียมเรียนแบบ(ยกเล่มจากหลายๆเล่มของนิตยาสาร...)  อายุของผิวพระยังไม่เหมือน  ความเก่งมีทั้งใกล้เคียงและยังทำเรียนแบบเก่าได้ไม่เหมือน  แต่พระส่วนใหญ่หากคนที่ไม่เคยเห็นของแท้มาก่อน  ผู้เขียนได้รับทราบข้อมูลมาว่า "เสร็จฝีมือเทียมเรียนแบบแน่ๆ"


ข้อห้ามของการเก็บสะสมพระเครื่องวัตถุมงคล
  1. อย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่ตนเองมองเห็น
  2. อย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่มีคนเล่าให้ฟัง
  3. อย่าพึ่งเชื่อตำราที่ตนเองศึกษา
  4. อย่าพึ่งเชื่อพลังพุทธคุณในองค์พระที่ตนเองสัมผัส (พระแท้ 1 องค์ เช่น พระผง นำมาบดทำเป็นแป้งโรยบนองค์พระฯสามารถสร้างพระเก๊ปลอมได้เป็นพันๆองค์)