วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

237. พระกริ่งปวเรศ ปกหนังสือ ลานโพธิ์

พระกริ่งปวเรศนั้นหากกล่าว ถึงโค๊ตที่ตอกในองค์พระ  ที่พบเห็นมีหลากหลายแบบ

แต่ละแบบล้วนมีวาระเรื่องราวในการตอก เช่น ขนาดและรูปร่างที่ตอก ตำแหน่งที่ตอก สื่อถึงกลุ่มผู้สร้าง(สมัยนี้เรียกว่านายทุน)  วาระพิธี พ.ศ.ต่างกัน ตอกตำแหน่งต่างกัน ฯลฯ

ในหนังสือหลายๆเล่มมักกล่าวถึง โค๊ตงา หรือโค๊ตที่ตอกด้านหลังบริเวณฐานบัว ว่าเป็นโค๊ตลับ  ใช้ความคิดๆสักนิด  โค๊ตลับจริงหรือว่าคิดไปเอง? ถ้าเป็นของลับ  ต้องไม่มีคนเห็นหรือพบเห็นโค๊ตได้ยาก  แต่นี่ตอกให้เห็นๆ  จะเรียกว่าโค๊ตลับได้อย่างไร?

มีหนังสือพระอยู่ฉบับหนึ่งในอดีต คือ ปกหนังสือ 
ลานโพธิ์ ฉบับ 291 ราคาเล่มละ 7 บาท  ได้แสดงรูปพระกริ่งปวเรศ องค์หนึ่ง  ผู้เขียนจึงนำมาเพื่อประกอบการศึกษาเกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศ

2371001
พระกริ่งปวเรศ จากปกหนังสือลานโพธิ์ ฉบับ 291


2371002
พระกริ่งปวเรศ จากหนังสือลานโพธิ์ ฉบับ 291 --- ให้พิจารณาโค๊ตที่ตอกด้านหลัง
ตอกอยู่บริเวณฐานบัวแถวล่าง  ลักษณะตอกปลายแหลมชี้ขึ้นบน และเฉียงไปทางด้านขวามือ  เมื่อก่อนผู้เขียนไม่เคยเห็นของจริง บอกได้แต่เพียงเป็นของแปลก

 2371003
     พระกริ่งปวเรศ ตอกโค๊ตงาฐานบัวแถวล่างปลายแหลมขึ้นบนเฉียงไปทางขวามือ 
     พระกริ่งปวเรศ องค์นี้เป็นพระกริ่งฯองค์ที่ผ่านการเกลาตบแต่ง จึงได้ผ่านการตบแต่งองค์พระกริ่งปวเรศทั้งองค์ เป็นพระกริ่งปวเรศที่สวยที่สุดของประเทศไทยองค์หนึ่งที่ได้พบ

2371004
     พระกริ่งปวเรศ ขยายการตอกโค๊ตงาฐานบัวแถวล่างปลายแหลมขึ้นบนเฉียงไปทางขวามือ



2371005
     แผ่นปิดปิดก้นถ้วยของพระกริ่งปวเรศ  ตอกโค๊ตงาฐานบัวแถวล่างปลายแหลมขึ้นบนเฉียงไปทางขวามือ

พระกริ่งปวเรศ ตอกโค๊ตงาฐานบัวแถวล่างปลายแหลมขึ้นบนเฉียงไปทางขวามือ เป็นพระกริ่งฯที่ในอดีตมีการสร้างจำนวนน้อย เมื่อผู้เขียนได้พบพระกริ่งปวเรศองค์นี้จึงได้ถ่ายรูปภาเพื่อเป็นกรณีศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศที่ได้สร้างไว้ในอดีตที่ผ่านมา 100 กว่าปี

พระกริ่งปวเรศ องค์นี้สร้างในวาระ พ.ศ.2417 โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดบวรนิเวศวิหาร  อธิษฐานจิตปลุกเสก

ถ้าหากจะเรียกให้ถูกต้อง ผู้เขียนเรียกว่า พระกริ่งกรมพระยาปวเรศ