บทนำ

Phra Kring Powareth
     พระกริ่งปวเรศ พ.ศ. 2394 - พ.ศ.2407  ซึ่งเป็นพระกริ่งที่สร้างขึ้นในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระองค์ท่านก็คือ พระบาทสมเด็จปวเรศ
     มีพุทธนุภาพครอบจักวาล ดังคำกล่าวที่ว่า "องค์เดียวเที่ยวทั่วโลก" มีความพิเศษกว่าพระกริ่งที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นพระกริ่งปวเรศ ที่สร้างขึ้นในภายหลัง 
     พระกริ่งที่สร้างขึ้นที่พบเด่นชัด คือ
พระกริ่งในยุครัชกาลที่ 3 
- พ.ศ.2380 มีพลังพุทธานุภาพ(เดิมๆ) น้อยกว่า พ.ศ.2382
- พ.ศ.2382 มีพลังพุทธานุภาพ(เดิมๆ) ไร้ขีดจำกัด ซึ่งเป็นพระกริ่งฯรุ่นแรกที่สมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังสี(วัดระฆัง) ซึ่งได้กลับมาจากการธุดงค์ และผู้เขียนขอเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ว่ารุ่นต้นญาน ซึ่งมีหลายพิมพ์ด้วยกันและบางพิมพ์จะใช้แม่พิมพ์ของพระกริ่งที่สร้างใน พ.ศ.2380 ต้องแยกด้วยตาในหรือสอบถามพระเบื้องบนเท่านั้น 
- พระกริ่งที่อธิษฐานจิตโดยสมเด็จฯโตใน พ.ศ.2382 นี้ผู้เขียนขอยกให้เป็นมหาสุดยอดของพระกริ่ง  "องค์เดียวเที่ยว 3 ภพ" ซึ่งเป็นต้นแบบของพระกริ่งปวเรศในยุคถัดๆมา
พระกริ่งในยุครัชกาลที่ 4 
- สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2394 สร้างสืบๆ กันมาเกือบทุกปี จนกระทั้งถึง พ.ศ.2410 เช่น พ.ศ.2394, 2396, 2397, 2398, 2401, 2404, 2406, 2407, 2408, 2409, 2410

- พระกริ่งในยุคนี้เกิดขึ้นเนื่องมาจากพระกริ่งที่สร้างใน พ.ศ.2382 มีพุทธานุภาพเป็นที่ประจักและมีจำนวนการสร้างที่น้อย เป็นที่ต้องการของเจ้านายในสมัยนั้น
- พระกริ่งในยุคนี้มีทั้งการสร้างจากวังหลวง วังหลัง วังหน้า ที่โดดเด่นที่สุดในยุคนี้คือ พระกริ่งของวังหน้าที่อยู่ในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จปวเรศหรือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเอง ตรงกับ พ.ศ.2394 ถึง พ.ศ.2407
- พระกริ่งปวเรศของแท้ที่พบนั้นมีหลากหลายพิมพ์  แต่ที่มีหน้าตาองค์พระมองดูแล้วงดงามสมส่วน  เป็นการนำพระกริ่งในปี พ.ศ.2382 มาพัฒนาพิมพ์พระกริ่งตบแต่งให้สวยงาม ผู้เขียนขอเรียกพระกริ่งปวเรศพิมพ์นี้ว่า พิมพ์ "สมบูรณ์พูนสุข" 
- พระกริ่งปวเรศ พิมพ์ "สมบูรณ์พูนสุข" ที่พบสร้างในวาระ พ.ศ.2394, พ.ศ.2397, พ.ศ.2398, พ.ศ.2410, พ.ศ.2411, พ.ศ.2416, พ.ศ.2434, วาระฉลองพระรูปทรงม้า ร.5 และสมัยรัชกาลที่ 6
พระกริ่งในยุครัชกาลที่ 5
- พระกริ่ง พิมพ์ "สมบูรณ์พูนสุข" นี้ยังได้ถูกนำมาสร้างในยุคถัดๆมา เช่น พ.ศ.2411, พ.ศ.2416 และยุคสุดท้ายสร้างในสมัยของกรมพระยาปวเรศ พ.ศ.2434 ซึ่งมีผู้เขียนตำราพระกริ่งฯมากมายต่างเข้าใจผิดเนื่องจากเกิดไม่ทันและข้อมูลที่มีไม่เพียงพอต่อการค้นคว้า
- เม็ดกริ่งบรรจุอยู่ภายในองค์พระกริ่งฯมีทั้งโลหะที่อธิษฐานในวาระพิเศษต่างๆหลากหลายเนื้อ และบางรุ่นบาง พ.ศ. ที่สร้างเม็ดกริ่งเป็นเหล็กไหลเงินยวงและเป็นเหล็กไหลประเภทอื่นก็มี

พระกริ่งที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ถึง พ.ศ. 2434  สามารถพบเห็นได้จาก 3 แหล่ง
1. สืบทอดจากผู้ครอบครองดั่งเดิมตั้งแต่ พ.ศ. 2380 สืบมาถึงปัจจุบัน
2. ออกจากกรุวัดพระแก้ว(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) กทม.
3. อยู่ในตลาดพระเครื่อง
ผู้เขียนได้พระกริ่งปวเรศองค์แรกมาเป็นองค์ครู แต่พอพบเห็นพระกริ่งปวเรศ พ.ศ. 2411 องค์ที่ 2 บอกตรงๆ ทำไมใหม่จัง เมื่อวิเคราะห์พิจารณาให้ละเอียดดีๆ จะพบว่าเป็นพระเก่า เนื่องจากพระกริ่งฯ รุ่นนี้โลหะธาตุที่นำมาหลอมหล่อเป็นองค์พระกริ่งฯได้อัตราส่วนผสมโลหะธาตุที่สุดยอดมาก อีกทั้งผู้เขียนยังพบ พระทุกองค์ได้ทาน้ำมันปืนบางๆรักษาเนื้อองค์พระ เพื่อป้องกัน การเกิดการผุกร่อนที่เกิดจากการทำปฏิกริยากับอากาศ จึงทำให้พระกริ่งปวเรศรุ่นนี้สมบูรณ์เหมือนกับพระที่สร้างเมื่อ 119 ปีที่ผ่านมา(2553 - 2434)
ชาวพุทธทั่วๆไปมักจะมีพระเครื่องแต่ละคนล้วนแต่มีมากกว่า 1 องค์ทั้งสิ้น ผู้เขียนมีพระเครื่องที่ทรงคุณค่าจึงได้สร้างบล็อกนี้เพื่อเก็บข้อมูลพระ เครื่องของฉันขึ้น เพื่อให้ได้ชื่นชมบารมีของผู้สร้าง ผู้อธิฐานจิต และเป็นพุทธานุสติ

ตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ 5 ตระกูล คือ สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ 5 ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้

1. สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตรีโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์ ผสมด้วยโลหะธาตุหลัก 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ(จากการวิเคราะห์โลหะประเภทอื่นก็มีผสม) สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม

2. สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า เน้นส่วนผสมของโลหะ 5 ชนิด ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ
(จากการวิเคราะห์โลหะประเภทอื่นก็มีผสม)   มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ

3. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ รียกว่าเนื้อ สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วยโลหะธาตุหลัก ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ
(จากการวิเคราะห์โลหะประเภทอื่นก็มีผสม) สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด

4. สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลห เนื้อ สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ
(จากการวิเคราะห์โลหะประเภทอื่นก็มีผสม)   แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ

5. สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำออกสีน้ำตาลแดงเข้มปนดำมีประกายรุ้งเมื่อกระทบกับแสงแดด และสีผิวกลับสีเป็นสีจะดำสนิทต้องใช้เวลาและอุณหภูมิ ประหนึ่งนิลดำ นำโลหะมากระทบกันเสียงดังก้องดั่งเสียงลูกแก้ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช

อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด ประกอบด้วย

1. ชิน (ดีบุก+ตะกั่ว)
2. จ้าวน้ำเงิน(พลวงเงิน)
3. เหล็กละลายตัว
4. ตะกั่วเถื่อน
5. ปรอท
6. สังกะสี
7. ทองแดง หรือ บริสทธิ์
8. เงิน
9. ทองคำ

เนื้อ สัมฤทธิ์นวโลหะ ส่วนผสมมีผู้กล่าวอ้างกันไปอ้างกันมา แต่ไม่เคยนำหลักฐานของจริงมาอ้างอิง เปรียบเสมอการกล่าวลอยๆ ถึงอัตราส่วนผสมของโลหะแต่ละชนิดไล่น้ำหนักเรียงตัวเลขสวยงามตั้งแต่เลข 9, 8, 7, 6, 5, 4, 3, 2, 1 น้ำหนัก(บาท) เห็นได้ทั่วๆไปมีดังนี้
1.ชินน้ำหนัก 1 บาท (1 บาท = 15.2 กรัม)
2.
จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)
3.
เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท
4.
บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์น้ำหนัก 4 บาท
5.
ปรอท น้ำหนัก5 บาท
6.
สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท
7.
ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท
8.
เงิน น้ำหนัก 8 บาท
9.
ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท

ข้อ เท็จจริง ผู้เขียนมีความเห็นว่าอัตราส่วนผสมทั้งหมดนี้  

--- ตำราเขียนไว้เป็นมีการเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น ทองคำสมัยนั้นเรียกว่า ทองนพเก้า หมายถึงทองเนื้อเก้า เทียบเท่ากับ 9 บาท ไม่ใช่น้ำหนักของโลหะที่ใช้  
--- มีผู้กล่าวอ้างถึงอัตราส่วนของโลหะที่วิเคราะห์ไม่ตรงตามสูตรส่วนผสม เนื่องจากต้องเพิ่มโลหะเช่นทองแดงฯลฯ ลงไปเพื่อจะได้หล่อครบจำนวนที่ต้องการหลอมหล่อ อ้างชนวนบ้าง อ้างเพื่อหล่อขันน้ำมนต์เพิ่มบ้าง 

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตุ  

  • ผู้สร้างนำตำราสูตรโลหะธาตุที่คิดและวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น จะใช้อัตราส่วนผสมในตำรา
  • ขณะที่กำลังจะสร้างอยู่ในพิธีเปลี่ยนสูตร ณ เวลาหล่อมหล่อโลหะ  แสดงว่าคนสร้างมั่ว?  
  • หรือว่าคนที่กล่าวอ้างคิดไปเอง?  
  • อีกทั้ง 1 บาท = 15.2 กรัม ในสมัยอยุธยาคุณคิดว่าผู้เขียนตำรารู้จักจริงหรือ?  ถามว่าหน่วยนี้ใช้กันในสมัย ร.5 แล้วไปเกี่ยวอะไรกับตำราสมัยอยุธยา

จาก การวิเคราะห์เนื้อโลหะด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ X-ray Fluorescence Spectrometer รุ่น EDX-720 หรือเรียกสั้นๆว่าเครื่อง XRF

มี ผู้นำพระกริ่งฯ ไปทำการตรวจสอบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการหรืออาจจะเป็นที่อื่นก็ได้ เช่นในหนังสือพระเครื่อง อภินิหาร ฉบับที่ 131-132 ปีที่ 11 เดือนพ.ย. และ ธ.ค. 2553 หน้า 32-33 ได้มีการนำพระกริ่งเทพโมฬี นำไปตรวจสอบด้วยเครื่อง XRF ผลการวิเคราะห์ของเครื่องทีได้มีโลหะธาตุกลุ่มเดียวกัน ส่วนเรื่อง % ของโลหะที่สรุปผล ย่อมต้องแตกต่างกันไปในแต่ละองค์และแต่ละรุ่นที่สร้าง หากเป็นช่างคนละกลุ่มวัสดุมาจากต่างสถานที่ย่อมได้ % ไม่เท่ากัน อัตราส่วนแร่โลหะธาตุที่เป็นส่วนผสม ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นความลับของเฉพาะกลุ่มต่อให้เป็นตำราเล่มเดียวกัน หลอมหล่อ 10 ครั้งก็จะได้เนื้อธาตุโลหะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

สรุปผลออกมาโลหะที่ตรวจพบมี 9 ชนิดตามที่มีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นตำรา แต่อัตราส่วนไม่ได้เป็นไปตามอัตราส่วนที่มีผู้ได้กล่าวอ้างไว้เป็นทฤษฏีตัวเลขสวยหรู หากสังเกตุสักนิด จะพบว่าส่วนผสมอันที่จริงเป็นความลับ อ้างอิงการทดสอบจาก http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=336

และผู้เขียนได้นำพระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2411และ พ.ศ.2434 ทดสอบด้วยเครื่องมือระบบสแกนสมัยใหม่ X-ray Fluorescence Spectrometer รุ่น EDX-720 หรือเรียกสั้นๆว่าเครื่อง XRF ทำงานด้วยระบบลำแสงเลเซอร์ ผลที่ได้เป็นการผสมผสานหลอมหล่อของโลหะ 9 ชนิด ได้กลุ่มโลหะเหมือนกัน กับผู้ที่นำพระกริ่งฯคนละสำนักไปทดสอบก่อนหน้านี้ แต่อัตราส่วน % ของพระกริ่งฯทั้งสองสำนักจะต่างกันสิ้นเชิง

ผลที่ได้ ย่อมเป็นการสื่อให้ทราบถึงอัตราส่วนผสมของช่างแต่ละกลุ่มหรือต่างกลุ่มกันจะ ไม่เหมือนกัน เนื่องจากโลหะที่นำมาเป็นส่วนผสมมาจากสถานที่ต่างกัน ยิ่งคนสร้างคนละกลุ่มกันด้วยแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่อัตราส่วนจะเท่ากัน แต่จะมีข้อสังเกตุ โลหะที่นำมาผสมจะมีส่วนประกอบของโลหะ 9 ชนิด เมื่อหลอมหล่อเป็นพระกริ่งฯสำเร็จเป็นองค์พระ จะได้เนื้อสัมฤทธิ์ประเภทนวโลหะ ซึ่งเป็นการยืนยันด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ผลน่าเชื่อถือมีความแม่นยำสูง

ข้อความต่อไปนี้นำมาเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งยืนยันว่าทำไม การสร้างพระกริ่งฯของแต่ละสำนักทำไมถึงมี % ของโลหะธาตุที่ต่างกันมาก สาเหตุเหนื่องจากในตำราไม่ได้เขียนถึงอัตราส่วนของแร่แต่ละชนิดที่นำมาหลอม หล่อเพื่อสร้างพระกริ่งปวเรศต้องใช้จำนวนเท่าใด? เขียนไว้เพียง " เนื้อโลหะที่บริสุทธิ์ 9 ชนิดนำมาหลอมรวมกัน มีฤทธิ์ต่างๆ ได้กล่าวคำเขียนบรรยายไว้ในตำรา" ผู้เขียนมีความเห็น...ในตำราบอกแต่เพียง โลหะที่ต้องใช้มีประเภทใดเท่านั้น  อ้างอิงจากลิงก์.....

 
"สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศเทพวรารามรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับทรงสร้างพระกริ่งฯ 


  • ได้กล่าถึง สมเด็จฯ ภายหลังจากที่ได้รับตำราการสร้างพระกริ่งมา
  • แล้วพระองค์ก็ทรงค้นคว้า มุ่งแสวงหาแร่ธาตุที่มีคุณมีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ 
  • มาทดลองหล่อผสม หาวิธีการที่จะทำเนื้อโลหะ ให้เกิดความบริสุทธิ์และมีฤทธิ์สมดังคำบรรยายที่มีเขียนไว้ในตำรา และทรงค้นคว้าอย่างจริงจัง
  • ดังปรากฏตามคำบอกของท่านเจ้าคุณราชวิสุทธาจารย์ (แป๊ะ) วัดสุทัศน์ฯ และอาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ว่า เมื่อคราวจัดงานพระศพของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ลงไปใต้ถุนตำหนัก เพื่อสำรวจสถานที่ที่เตรียมจัดงานพระศพได้พบก้อนแร่หลายชนิด พบอ่างเคลือบประมาณ 10 กว่าใบ พบครกเหล็กขนาดใหญ่วัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14 นิ้วฟุต มีรอยตำมาอย่างมากจนก้นทะลุ พบสูบนอนทำด้วยไม้สัก แต่ผุจวนจะหมด แสดงว่าเลิกค้นคว้ามานาน พบเบ้าหลอมแร่ที่แตก ๆ จำนวนมากเป็นกองโต พร้อมกับก้อนแร่เป็นจำนวนมาก 
  • เป็นที่น่าเสียดายว่าขณะนั้นเป็นการเวลาที่รีบเร่ง เพราะกำลังจัดงานพระศพ ประกอบกับการเสียใจในการจากไปของท่าน ทำให้ผู้ที่พบทั้งสองท่านไม่ได้คิดว่าจะอนุรักษ์ความเพียรพยายามของสมเด็จฯ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังดูจึงได้ทำการเกลี่ยดินและกระทุ้งจนแน่น เทพื้นซีเมนต์ทับ ทำให้หลักฐานหมดไปอย่างน่าเสียดาย  
  • เมื่อทรงพระชนม์อยู่เคยรับสั่งกับอาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ขณะอุปสมบทว่า ค้นหาแร่ธาตุที่นำมาสร้างพระกริ่ง ถ่านหมดไปหลายลำเรือ  
  • เป็นความจริงตามหลักฐานปรากฏ และเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าทรงพยายามค้นคว้าอย่างจริงจัง ด้วยเจตนาที่ต้องการความเข้มขลัง"

พระแท้ทำอย่างไรย่อมเป็นพระแท้ ขออนุญาตนำคำพูดของ นายยกสมาคมพระเครื่องไทย คุณพยัฆ คำพันธ์ กล่าวไว้ตอนหนึ่งดังนี้ "หนึ่งอย่าเล่นพระด้วยหู สองอย่างเชื่อว่าเขาเล่าว่า เรา ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป จริงหนีจริงไม่พ้นหรอดครับ พระเครื่องนี่เป็นสิ่งที่ล่ำค่าอยู่แล้ว จะถามจะมาเปรียบเทียบกัน พระที่แท้ก็เหมือนเพชรแท้ เหมือนทองคำแท้ ไปไหนถ้าจะแท้คือต้องแท้ ถ้าของปลอม ไปไหนปลอม ก็ต้องปลอม "ไม่จำเป็น ว่าต้องเป็นของใคร"

เมื่อมีพระแท้ย่อมมีพระเก๊ปลอมเรียนแบบ...หากเป็นพระเก๊ทำอย่างไรย่อมเป็นพระเก๊...จะให้บอกว่าเป็นพระแท้ย่อมเป็นไปไม่ได้

ชีวิต เป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยงพระเครื่องเป็นสมบัติผลัดกันชม ตายไปก็ไม่สามารถเอาติดตัวไปได้ ที่ไปได้มีแต่ตัวฉัน ร่างกายก็ไม่ใช่ของฉัน ร่างกายไม่มีในฉัน ร่างกายนั้นคือขันธ์ 5


บทความเพิ่มเติม 10 ตุลาคม 2554

พระกริ่งนั้นเป็นของสูงล่ำค่า  ผู้สร้างในสมัยโบราณที่มีความพร้อมทุกด้าน จะต้องทีบุญญาธิการบารมีครบทุกด้าน กล่าวสั้นๆได้ดังนี้ มีเงิน มีอำนาจ เพียบพร้อมทั้งคนทำ(ช่างสิบหมู่) รวมถึงผู้อธิษฐานจิต พิธีกรรมระดับประเทศ  ที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือพ่อค้าทั่วๆไปไม่สมารถที่จะทำได้

- สุดยอดของสุดยอดพระกริ่ง รุ่น "ต้นญาน" พ.ศ.2382 มีหลายพิมพ์ มีพลังพุทธานุภาพไร้ขีดจำกัด ที่พบ มีเพียง 19 องค์  พิมพ์ที่เหมือนกันก่อนหน้านี้สร้างใน พ.ศ.2380 มีพลังพุทธานุภาพ 10 เท่า ผู้เขียนขอเรียกว่า รุ่นรองพิมพ์  สองรุ่นนี้ไม่สามารถแยกด้วยตาเนื้อต้องใช้ตาในเท่านั้น

- พระกริ่งที่มีชื่อในยุคถัดมา คือ พระกริ่งปวเรศ ที่สร้างใน พ.ศ.2394 ถึง พ.ศ.2407  เพราะเป็นพระกริ่งที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จปวเรศ หรือ พระบาทสเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

- พระกริ่งที่สร้างก่อนหน้าหรือหลังจากยุคสมัยของพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเรียกว่า "พระกริ่งปวเรศ" ก็ย่อมได้เนื่องจากเป็นความเข้าใจว่าพระกริ่งหน้าตาแบบนี้  แต่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ใช่พระกริ่งที่สร้างในสมัยของพระบาทสมเด็จปวเรศ  

- พระกริ่งปวเรศ ที่สร้างใน พ.ศ.2394 ถึง พ.ศ.2407 มีพลังพุทธานุภาพเป็นรองเฉพาะพระกริ่งรุ่น "ต้นญาน" พ.ศ.2382 หลายเท่าตัว  แต่มีพลังพุทธานุภาพมากกว่าพระกริ่งฯทุกๆ พ.ศ. ที่สร้างอธิษฐานจิตในยุคหลัง

- ภายหลังปี 2407 ยังได้มีการสร้างพระกริ่งปวเรศขึ้นมาอีกหลายครั้ง ซึ่งเป็นการนำแม่พิมพ์เก่ามาทำซ้ำ และช่างหลวงได้พัฒนาฝีมือการสร้างพระกริ่งสวยงดงามกว่าเดิม เช่นพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข มีการสร้างอีกหลายครั้ง เช่น พ.ศ.2410, พ.ศ.2411 พ.ศ.2416 และ พ.ศ.2434

- ผู้เขียนให้ข้อสังเกตุและแนะคิดในการสะสมพระกริ่งปวเรศเพื่อเป็นสมบัติส่วนตัวดังนี้
     +++ พระเครื่องไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ทรงอะไร สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนสัมผัส และสรุปกล่าวสั้นๆ  มีพุทธคุณแรง  มวลสารดี ต้องเป็นพระเครื่องที่เจ้าพระคุณ สมเด็จฯ โต พรหมรังสี วัดระฆัง  ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเศก เท่านั้น