วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

247. พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ ด้านหลังผนึกพระนางพญา

พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ ด้านหลังผนึกพระนางพญา

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ 2 องค์นี้อยู่ในครอบครองของ คุณ ดำรงค์พัศว์  ตรีอาภรณ์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดภาคสนาม บริษัท(“ไทยเบฟ”)  ซึ่งท่านได้รับมาจากญาตผู้ใหญ่อีกวาระหนึ่ง  จึงนำรูปเปิดเผยเป็นวิทยาทานสำหรับท่านที่ไม่เคยพบเห็น หรือท่่านที่บังเอิญมีแต่หาคู่แฝดไม่พบ

2471001 
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระนางพญา



2471002
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระนางพญา


เพิ่มเติมข้อมูลวันที่ 17/12/2555
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ผู้เขียนเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งในกระทู้ที่ 113 (คลิก) พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษโรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก(ฝัง) พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า  พระสมเด็จพิมพ์พิเศษชุดนี้ที่ผู้เขียนพบมีน้อยมาก  คนที่ได้ครอบครอง เฉพาะพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีอายุมากกว่า 600 ปี  พระโบราณสร้างเน้นทางด้านสู้รบ คงกระพันชาตรี เหนียวเป็นหลัก ตามด้วยเมตตามหานิยม และโภคทรัพย์  เมื่อมารวมฝังผนึกอยู่ด้านหลังพระสมเด็จโรจกากเพชรดำของเจ้าพระคุณ สมเด็จฯโต พรหมรังสี วัดระฆัง ที่อธิษฐานจิตปลุกเศก พ.ศ.2411 จึงกล่าวได้ว่าเป็นพระสมเด็จพิมพ์พิเศษสุดๆอีกพิมพ์หนึ่ง และ พระสมเด็จ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึกพระพิจิตรพิมพ์นี้ภายหลังจากที่แนะนำผ่านมาเป็นปี  ยังไม่เคยเห็นของปลอมในท้องตลาดอีกทั้งของแท้ก็ไม่เคยพบเห็นอีกเช่นกัน

พุทธคุณเมื่อรวมกัน 2 องค์เป็นหนึ่ง เด่นดังนี้ 
1. เมตตามหานิยม
2. โภคทรัพย์
3. ภัยพิบัติ
4. คงกระพันชาตรี
5. ฯลฯ

แนะนำลิงก์ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ พระพิจิตรข้าวเม่า มาให้ศึกษา คลิก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า

2471003
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พิมพ์นาคปรก
เฉพาะองค์พระสมเด็จและพระพิจิตเม็ดข้าวเม่า...ชุดนี้อธิษฐานจิตปลุกเศก พ.ศ.2411

2471004
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พิมพ์นาคปรก

2471005
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พิมพ์นาคปรก


2471006
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า 

2471007
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า


หมายเหตุ
1. พระสมเด็จฯ มีขนาดเท่ากับพระสมเด็จวัดระฆังทั่วๆไป

2. พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่ามีขนาดเล็กมากๆ  ให้สังเกตุเปรียบเทียบกับหน้าอกขององค์พระสมเด็จด้านหน้า (คงพอคาดคะเนทำให้เข้าใจได้)

3. ความเก่าของพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ให้ Save รูป แล้วใช้โปรแกรมฯขยายรูปพิจารณาศึกษาดู จะพบเห็นความเก่าอายุมากกว่า 600 ปี ที่เรียกว่าเนื้อชินมีลักษณะเป็นเช่นนี้  หากพบเห็นองค์เล็กๆเดี่ยวๆ จำลักษณะวรรณะสีผิวของมวลสารโลหะ ว่านี้คือ พระพิจิตรเม็ด้าวเม่าที่คนโบราณเขานิยมกันเป็นเช่นนี้

2471008
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า 
องค์นี้มวลสารเนื้อผง กับพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า แตกร้าวกระเทาะ  จึงนำมาให้ชมเนื้อหามวลสารภายในมีลักษณะเช่นไร?

2471009
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าเผยให้เห็นความเก่าอายุมากกว่า 600 ปี


2471009
มวลสารของพระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำ ด้านหลังผนึก พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า ที่แตกกระเทาะ เผยให้เห็นมวลสารที่ผสมมีทั้งขนาดเม็ดเล็กใหญ่และสีสรรแตกต่างกัน เช่น  ขาวขุ่น  ขาวใส  สีดำ สีเทา สีน้ำตาล สีน้ำตาลเข้ม สีเหลืองอ่อน ฯลฯ
 

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

246. ภัยพิบัตต่างๆ

Catastrophe Disaster  Plague Tribulations
ภัยพิบัติ เช่น  น้ำท่วม  สึนามิ  พายุ  แผ่นดินไหว  แผ่นดินแยก  ภูเขาไฟระเบิด  พายุสุริยะ ดาวตก ดาวหาง (พุ่งชนโลก) ฯลฯ

ความกลัวเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นมีมากกว่านี้  ในกระทู้อดีตก่อนหน้านี้  ผู้เขียนเคยเขียนเกี่ยวกับ เรื่อง ภัยพิบัติ ในกระทู้
  71  ภัยพิบัติกับพุทธานุภาพของพระกริ่งปวเรศและพระเครื่องของสายวัง

135  ภัยพิบัติจากพระเบื้องบน
และ ลิงค์ 2012 มหาอุทกภัยท่วมโลก .. คงต้องมาศึกษากันบ้างแล้ว 
 
โดยเฉพาะในกระทู้ที่ 135 ผู้เขียนได้กล่าวถึง เหตุการณ์ในปี พ.ศ.2559 และเหตุการณ์ในปี พ.ศ.2616-2617  แต่ก็ยังมีคนกลัวกันกับเหตุการณ์ที่มีคนกล่าวถึงในปี พ.ศ.2555 หรือ ค.ศ.2012 ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม พายุในลักษณะต่างๆ รวมไปถึง พายุสุริยะ

มีคนจิตตก กลัวไปต่างๆนาๆ  พยายามศึกษาหาข้อมูล รวมไปถึงการเตรียมการณ์ล่วงหน้า  ในกระทู้นี้ผู้เขียนจึงขอกล่าวรวมสรุปจะข้อมูลที่ทราบมาดังนี้
   --- เหตุการณ์ที่มีการอ้างอิง เกี่ยวกับพายุสุริยะบ้าง  ดาวดวงโน้น ดวงนั้น ดวงนี้ เป็นอย่างโน้น เป็นอย่างนี้  ล้วนแล้วแต่พยายามหาเหตุผลมารองรับ
   --- น้ำท่วมที่ประเทศนั้น  ประเทศนี้ 
   --- พายุเกิดขึ้นประเทศนั้น ประเทศนี้
   --- แผ่นดินไหวรุนแรงเกิดขึ้น  ที่นั้น ที่นี่้
   --- และก็ฯลฯ อีก 108 เหตุผลที่พยายามนำมาโยง รวมไปถึงคำทำนายต่างๆนานา

สรุป จากพระอริยเจ้า(พระอรหันต์เดินดิน) ท่านกล่าวผู้เขียนขอสรุป เพื่อให้ได้ประเดน ดังนี้

 +++ พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ทุกเรื่อง ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของศาสนาพุทธถึง 5,000 ปี (ไม่มีน้อยกว่านี้อย่างแน่นอน)
 +++ ดวงดาวต่างๆ ที่หมดอายุไข ระเบิด แตกดับ ไป  แต่ละดวงในสุริยะจักรวาล  เป็นดางดาวที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต  ไม่มีศาสนาพุทธ  ไม่มีเทวดารักษา  ไม่มีพระเบื้องบนเมตตาสงเคราะห์
 +++ กฏแห่งกรรม  การเวียนไหว้ตายเกิด  ไม่มีใครหลบหนีพ้น  เมื่อมีเกิด ก็ต้องมีตาย  ยังว่าด้วยเรื่องของกรรมเวรที่ได้ก่อขึ้นในอดีตชาติสืบต่อๆกันมาถึงชาติปัจจุบัน
        - กรรมถึงที่ตาย  เวรกรรมต่างๆจะดนจิตดนใจให้ไปรวมกัน (ตายหมู่) ในที่จะเกิดภัยพิบัติ  ทำยังไงก็ต้องตาย  จะหนีอย่างไร?ไม่มีทางหนีพ้น เพราะถึงวาระต้องตาย เช่น เหตุการณ์สึกนามิที่ภาคใต้  เหตุการณ์เครื่องบินตกฯลฯ เหตุการณ์ฯลฯ
        - ยังไม่ถึงที่ตาย คนๆนั้นจะมีเทวดาประจำตัว หรือ กรรมดีที่สร้างสังสมไว้ ดนจิตดนใจให้ออกไปจากพื้นที่ๆจะเกิดเหตุการณ์เลวร้าย  ยังไงก็ไม่ถึงที่ตาย เพราะยังไม่ถึงวาระต้องตาย
        - โลกมนุษย์  มีศาสนาพุทธ โดยเฉพาะประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธที่จะต้องดำรงอยู่ถึง พ.ศ.5,000 มีเทวดาคุ้มครองดูแล  มีพระเบื้องบนเมตตาสงเคราะห์  ถ้าไม่ถึงที่ตายทำยังไงก็ไม่ตาย  แต่ถ้าหมดอายุไขตายแน่นอน  ภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องใหม่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน  มีทั้งเล็กและใหญ่  ไม่ต้องไปวิตกมากเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้  ให้ปฏิบัติธรรมและทำความดี ดำเนินชีวิตไปตามปกติ
     
     หลายต่อหลายครั้งเหมือนจะเกิดเหตุการณ์ทางภัยพิบัติกับประเทศไทย  ท่านสังเกตุสักนิด  จากเหตุที่ว่าจะรุนแรง กลับกลายเป็น เบาลง(มนุษย์สามารถต่อสู้กับสิ่งที่เกิดได้)  หรือ ไม่เกิดขึ้น  เพราะอะไร?     

     เพราะประเทศไทย  มีเทวดาฯลฯ และพระเบื้องบนเมตตาสงเคราะห์ ปัดเป่า รักษา

245. บทความที่มั่ว ไม่น่าเชื่อถือ

มีนักสะสมหลายต่อหลายท่านในอดีตที่ผ่านมา  มักจะเชื่อสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง กันมา  โดยคิดว่าใช่ สาเหตุเพราะเชื่อถือว่าผู้พูดนั้นรู้จริง (จริงเล็กน้อย ข้อมูลผิดพลาดมากก็เป็นไปได้)

สำหรับผู้เขียนเองในอดีตก็เป็นเช่นนั้น  พอกาลเวลาผ่านไป  ได้พบ ได้สัมผัส ได้เห็น ได้ทราบหลายๆเรื่อง  จึงเริ่มจะฟังหูไว้หู  ใครว่าอย่างไร ยิ้มไว้ก่อน  แล้วค่อยมาตรวจสอบ  การตรวจสอบสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ทั้งทางโลกและทางธรรม

ในกระทู้นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการตรวจสอบที่มีหลักฐานอิงประวัติศาสตร์  มีข้อมูลที่สืบค้นได้ เช่น

ข่าว สนามพระไทยรัฐ ประจำวันที่ 9/12/2555 ถ้ามีเป็นฉบับกระดาษเปิดดูในเนื้อหาด้านใน  แต่ถ้าไม่มีก็เข้าไปดูในเว็ป ลิงค์(คลิก) http://www.thairath.co.th/column/life/sanamphra/311849

นำภาพและข้อมูลมาเพื่อเป็นกรณีศึกษา เรียนรู้
--- ข้อความใต้เส้นสีน้ำเงิน "พระกริ่งปวเรศ(แท้) ออกมาอยู่ในวงการแล้วประมาณ 20 องค์  ส่วนที่ไม่แท้ มีประมาณ 2 ล้านองค์!!"
     สรุป ข้อมูลนี้  ใครเคยศึกษาเกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศ จะพบทราบว่า  ในหนังสือพระเครื่องต่างๆ จะมีกล่าว(ล๊อก เจ้าของพระฯ) ว่าเป็นพระกริ่งแท้ประมาณ 20 องค์  และที่กล่าวว่าไม่แท้มีประมาณ 2 ล้านองค์ เรื่องนี้เอาตัวเลขมาจากไหน  ฮาครับ นั่งคิดดูซิครับ ไม่ต้องให้ผมเฉลย

--- ข้อความใต้เส้นสีน้ำเงิน กล่าวถึงพระกริ่งฯ ที่สร้างเรียกชื่อว่า รุ่น จมื่นสราภัยสฤษดิการ (เจิม) เป็นลูกของ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง - ชูโต) 
     สรุป ข้อมูลนี้  ให้ไปค้นคว้าศึกษาดู เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ลิงค์(คลิก) http://th.wikipedia.org/wiki/เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
ฮา อีกเช่นกันครับ เพราะว่าข้อมูลนี้ขัดแย้งกันเอง  ดังนี้
     เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ชื่อ ในอดีต เจิม  นามสกุล แสง - ชูโต
     ภายหลัง พ.ศ. 2414  ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น "จมื่นสราภัยสฤษดิ์การ" เนื่องจากเป็นอุปทูตไปกรุงปัตตาเวีย
     ดังนั้น  "จมื่นสราภัยสฤษดิ์การ" หรือ เจิม หรือ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี  ล้วนแล้วแต่เป็นคนๆเดียวกัน
     จากการสืบค้นในบางเว็ป ได้กล่าวถึง เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ไม่มีบุตร และธิดา จากลิงค์ (คลิก) http://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/828.html
+++ สรุปจบ +++ การศึกษาจากข้อมูลที่มีการอ้างว่า เขาเล่าว่า  เขาคนนั้นเคยกล่าวว่า  ถามตนเองสักนิด  "คุณนั่งอยู่ในเหตุการณ์หรือไม่?" จริงนะ  ใช่นะ  ผู้เขียนพบมาเยอะแล้วครับ เรื่อง ฮาดี  ในบทความเกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศในข่าว สนามพระไทยรัฐ ประจำวันที่ 9/12/2555 นี้ยังมีเรื่องอื่นที่กล่าวอ้างถึง  ผู้เขียนอ่านแล้วมีมุมมอง บอกว่าแปลกดีนะ รู้แล้วก็ปล่อยไว้ อย่างไปรุ้เขาทุกเรื่อง...
เรื่องที่เขียนในกระทู้นี้เป็นกรณีศึกษา เพื่อให้เรียนรู้   ต้องมองให้กว้างๆ  เรื่องเกี่ยวกับพระกริ่ง ที่สร้างในยุคของรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 5 มีหลักฐานมากมายที่เป็นของแท้สามารถสืบค้นได้  ในรูปธรรมและนามธรรม

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

244. พระสมเด็จกลีบบัวพิมพ์พิเศษ

พระสมเด็จกลีบบัวองค์นี้เป็นพิมพ์พิเศษ โรยกากเพชรดำด้านหน้าและด้านหลัง และด้านหลังผนึก พระกริ่งฝีมือช่างหลวง พิมพ์ประภามณฑล ที่อธิษฐานจิตปลุกเศก โดยเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี วัดระฆัง

เป็นพระกริ่งที่งดงามมากพิมพ์หนึ่ง  อดีตผู้ครอบครองพระสมเด็จกลีบบัวฯ องค์นี้ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้มอบให้กับนายทหารเรือคนสนิท ยศ พลเรือตรี... และตกทอดมาสู่รุ่นลูก  และปัจจุบันผู้ที่เป็นเจ้าของ คือ
คุณ ดำรงค์พัศว์  ตรีอาภรณ์  อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดภาคสนาม บริษัท(“ไทยเบฟ”) เป็นผู้ครอบครองในปัจจุบัน

เมื่อผู้เขียนพบพระสมเด็จกลีบบัวพิมพ์พิเศษองค์นี้ เหมือนกับพระสมเด็จกลีบัวฯที่เคยนำภาพมาให้ชมในกระทู้ก่อนหน้าเป็นคู่แฝด   จึงนำมาเปรียบเทียบ ได้ชื่นชมพระเครื่องดีที่ตกทอดมาอายุเก่ามากกว่า 100 ปีที่ทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ โต วัดระฆังอธิษฐานจิต

241001
พระสมเด็จกลีบบัว พิมพ์พิเศษ ด้านหลังผนึกพระกริ่งปวเรศพิมพ์ประภามณฑล อยู่ในครอบครองของคุณ ดำรงค์พัศว์  ตรีอาภรณ์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดภาคสนาม บริษัท(“ไทยเบฟ”) 


241002
พระสมเด็จกลีบบัว พิมพ์พิเศษ ด้านหลังผนึกพระกริ่งปวเรศพิมพ์ประภามณฑล อ้างอิงจากรูปภาพกระทู้ที่ 2391022 พระสมเด็จกลีบบัว โรยกากเพชร ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ

จะพบว่าพระสององค์นี้เป็นคู่แฝด เริ่มต้นเป็นพระเครื่องสายวัง  แต่ปัจจุบันเจ้าของผุ้ครอบครองไม่รู้จักกันและกัน  และต่างฝ่ายต่างได้ครอบครองมาหลายสิบปี  จึงเป็นกรณีศึกษาพระแท้อีกพิมพ์หนึ่งที่น่าสนใจ


วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

243. ที่มาของพระเครื่องกรุสายวังหน้า

ข้อมูลที่มาของพระเครื่อกรุสายวังหน้า ที่จะกล่าวถึงนี้คัดมาจากหนังสือที่ระลึก ในงานฌาปนกิจ ชื่อเรื่อง วัยวัฒน์ ของคุณ วัยวัฒน์ เวชชาชีวะ หนา 192 หน้า พิมพ์จำนวน 500 เล่มแจกในงานฯ ตั้งแต่หน้า 87 ถึงหน้า 157 ขออนุญาตคัดลอกมาบางส่วนเปิดเผยรายละเอียด เพื่อประดับเป็นความรู้เป็นวิทยาทานตามเจตนารมณ์ของผู้ทำและเขียนหนังสือฯนี้ได้กล่าวถึง ของรักของโปรดในหน้า 64 และ
พระเครื่องกรุสายวังหน้ามีรายละเอียดประกอบด้วย หัวข้อ
     
ที่มาของพระเครื่องกรุสายวังหน้าของคุณ วัยวัฒน์ เวชชาชีวะ รวม 4 สายราชสกุลใหญ่ด้วยกันคือ 
     สายที่1 เป็นสายของ พระองค์เจ้าชายกาญจโนภาสรัศมี/กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ ซึ่งพระองค์ท่านเป็นพระราชโอรสของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และมีศักดิิ์เป็นพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้า ร.4 และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านเป็นต้นราชสกุล กาญจนะวิชัย มีพระเครื่องพระบูชาที่เป็นมรดกตกทอดมาจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นจำนวนมาก
     สายที่2 เป็นสายของ พระองค์เจ้าชายวิบูลยพรรณรังษี  ซึ่งพระองค์ท่านเป็นพระโอรสของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และเป็นต้นราชสกุล วิบูลยพรรณ พระองค์เจ้าชายวิบูลยพรรณรังษืมีพระเครื่องพระบูชาที่เป็นมรดกจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชายเป็นเป็นจำนวนมาก และหลากหลายทรงพิมพ์
     สายที่3 เป็นสายของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล อาภากร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
     ครั้งหนึ่ง พระองค์เจ้าชายวิบูลยพรรณรังสี ได้มอบพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นในราชพิธีของทางวังหน้าให้กับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์รับสั่งให้นายทหารเอาพระนั้นไปแขวนที่ต้นยางใหญ่ แล้วให้พระยานาวาพหลพลพยุหรักษ์ (ลอย ชลายลนาวิน) เอาปืน ร.ศ.ยิง  ปรากฏว่าปืนยิงไม่ออก แต่พอหันกระบอกปืนขึ้นฟ้ากดไก ปืนกลับลั่นตูม ยังความอัศจรรย์ให้เกิดแก่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เป็นที่ยิ่ง  หลังจากนั้นกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระเครื่องพระชูชาของวังหน้าเป็นต้นมา  จนเป็นเหตุให้พระองค์ท่านหันมาสนใจอิทธิปาฏิหาริย์อย่างจริงจัง

     สายที่4 เป็นสายของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติขจร และทรงเป็นผู้ที่มีพระเครื่องกรุสายวังหน้ามากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งปวเรศ และพระเครื่องพระชาชาอีกนับไม่ถ้วน

     พระเครื่องกรุสายวังหน้าได้ถูกเก็บรวบรวมรักษาไว้อย่างดีโดยท่านผู้รับสือต่อกันมา จนปัจจุบันก็ยังถูกเก็บไว้เป็นอย่างดีโดยไม่เปิดเผยข้อมูลมากนัก พระเครื่องกรุนี้ยังมีความสมบูรณ์ดังเดิมทุกประการ และด้วยที่เป็นมรดกแห่งกาลเวลาที่มีอายุยาวนายรวมร้อยกว่าปี และสร้างขึ้นเกี่ยวกับพระราชพิธีสำคัญๆทั้งนั้น พร้อมกันนี้เป็นพระที่มีความงดงามสมบูรณ์และวิเศษมาก 

เจ้าวังหน้า : ปวเรศ 
     เมื่อ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ (พ.ศ.2367 - พ.ศ.2375) พระเจ้าน้องยาเธอใน ร.2 สวรรคต  ตำแหน่งวังหน้าก็ว่างลงเป็นเวลาถึง 18 ปี  ถึงช่วงรัชกาลที่ 4 มีผู้ได้รับบวรราชาภิเษกตำแหน่งวังหน้า คือ พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (เจ้าฟ้าจุฑามณี กรุมขุนอิศเรศรังสรรค์ พ.ศ.2394 - พ.ศ.2408)
     พระเครื่องสายวังหน้าสายนี้ก็คงมีการสร้างมาทุกยุคทุกสมัย  แต่ในนี้จะกล่าวถึงเฉพาะยุคของ
พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่านั้นเพราะสามารถสืบค้นได้อย่างแน่นอน
     ในยุคของ  พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว นี้ การสร้างพระสายวังหน้ามีการสลักสร้างออกมาไม่ขาดสาย  มีการสร้างพระกริ่งมากมายในของของพระองค์ท่าน  และโดยส่วนตัวพระองค์ท่านก็คงนิยมพระเครื่องเนื้อโลหะมาก  ข้อมูลนี้อาจสืบค้นได้จากการที่เมื่อพระองค์ท่านลาผนวช ก็ทรงได้ศึกษาวิชาตามแบบแผนราชสกุลที่จัดให้เจ้านายเรียน  โดยพระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม  ร่วมพระอาจารย์เดียวกับสมเด็จพระเชษฐาของพระองค์  อันท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) นี้  ท่านมีสูตรการผสมโลหะสัมฤทธิ์  ซึ่งตกทอดมาจาก "สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว - สมัยอยุธยาราชธานี" จึงเป็นไปได้ว่าพระองค์ท่านในฐานะศิษย์  ย่อมต้องเคยสัมผัสคุณวิเศษของเจ้าคุณสมเด็จฯ ผู้อาจารย์มาบ้างไม่มากก็น้อย  เป็นเหตุให้พระองค์ท่านเกิดความศรัทธาในพระเครื่องอย่างมาก
     มีหลักฐานปรากฏด้านหลังพระเนื้อผงพิมพ์โบราณบางพิมพ์  ซึ่งฝังผนึกพระกริ่งไว้ประกอบคำจารึกว่า "ปวเรศ" ดังนั้นจึงมีปัญหาที่ควรศึกษาร่วมกันว่า คำว่า "ปวเรศ" หมายถึงใคร มีกล่าวไว้ว่า คำว่า "ปวเรศ" นี้หมายถึง "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" โดยยกหลักฐานประกอบว่า "มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ  มหิศเรศ  รังสรรค์  มหรรต  วรรคไชไชยมโหฬารคุณอดุลยพิเศษ  สรรพเทเวศรานุรักษ์  บวรจักรพรรดิราช  บวรนาถบพิตร  พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"  ชื่อของพระองค์ท่านที่เรียกกันสั้นๆ ในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ คือ "ปวเรศ"
     จึงมีคำกล่าวไว้ว่า "พระวังหน้า" หรือคำว่า "ปวเรศ" ล้วนหมายถึง "พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" ทั้งหมดทั้งสิ้น  ดังนั้น  พระเนื้อผงพิมพ์โบราณที่ผนักพระกริ่งไว้ด้านหลังประกอบคำจารึกว่า "ปวเรศ" จึงหมายถึงวังหน้า หรือ มหาอุปราช เท่านั้น  หาได้หมายถึง  เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  อธิบดีสงฆ์แห่งวัดบวรนิเวศวิหารไม่
     สำหรับผู้เขียน(หนังสือฯ) เห็นว่า "ปวเรศ" ซึ่งคือ "พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" กับ "เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" เป็นคนละองค์กันอยู่แล้ว  พระกริ่งที่ท่าน  เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สร้างในยุคตแรกๆ ไม่ว่าจะสร้างในปี พ.ศ.2404 หรือ พ.ศ.2409 เป็นต้นก็ตาม  ท่านก็ไม่เรียกว่า "พระกริ่งปวเรศ" แต่นิยมเรียกว่า "พระกริ่งบวรรังสี" ซึ่งเรียกตามพระนามกรมของท่านว่า "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์" ดังนั้น  ตรงนี้จึงเป็นอันยุติ
     "พระกริ่ง อันมีชื่อว่า  ปวเรศ"  ที่สร้างขึ้นในยุคของ  พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จวบจนถึง พ.ศ.2515  ซึ่งจัดเป็นพิมพ์ช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่  ท่านก็เรียกว่า "พระกริ่งปวเรศ" โดยพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้สร้าง/ให้สร้าง/ขออนุญาตสร้าง ไม่ใช่กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้สร้าง
     และในยุคเดียวกันกับ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ก็ได้มีพระกริ่งอีกสายหนึ่งเกิดขึ้น  โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าฤกษ์  กรมหมื่นบวรรังสีสุรยพันธุ์ หรือ  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  เป็นผู้สร้างขึ้น  พุทธลักษณะของพระกริ่งคล้ายกันมาก  จัดเป็นพิมพ์ช่างหลวงหรือช่างสิหมู่เช่นกัน  เพราะนัยว่าคนแกะพิมพ์คือคนคนเดียวกัน  แต่พระกริ่งที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์  กรมหมื่นบวรรังสีสุรยพันธุ์ หรือ  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สร้างถวาย ร.4  และ  ร.5  นั้น  คนในยุคนั้นนิยมเรียกว่า "พระกริ่งบวรรังสี"
     พระกริ่ง  อันมีชื่อว่า "พระกริ่งปวเรศ"(ที่เรียกกันในสมัยนี้)  จริงๆ นั้นเกิดขึ้นหลังปี พ.ศ. 2416  โดยกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ อธิบดีสงฆ์ วัดบวนิเวศวิหาร เป็นผู้สร้าง  ช่วงที่สร้างจริงๆ ก็เริ่มแต่ปี พ.ศ.2417 - 2420 เท่านั้น  และจัดเป็นพิมพ์ที่สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สร้างด้วยพระหัตถ์พระองค์เองหลังจากช่วงนั้นมา  ก็ได้แต่นำเอาแม่พิมพ์ดังเดิมที่เคยสร้างในยุคของ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มาสร้างใหม่อีกครั้ง  และที่ชัดไปกว่านั้น  นายวัยวัฒน์  เวชชาชีวะ  กล่าวว่า  หลังปี พ.ศ.2420  ไม่มีการสร้างพระกริ่งปวเรศด้วยพระหัตถ์ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์อีกเลย จะมีก็แต่การนำเอาพระกริ่งองค์ที่เคยอธิษฐานจิตปลุกเสกมาแล้วในช่วงก่อนๆมาอธิษฐานจิตซ้ำอีกเท่านั้น
     สรุปความว่า  พระกริ่งที่สร้างในช่วง พ.ศ.2401 - 2411 นั้น  หรือก่อนหน้า พ.ศ.2401  ก็ตาม  ซึ่งบางองค์สร้าง  และประกอบคำจารึกว่า "ปวเรศ" ก็หมายถึง "เจ้าสายวังหน้า" เท่านั้น  หาได้หมายถึงท่านเจ้าพระคุณสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  อธิบดีสงฆืวัดบวรนิเวศวิหารไม่
     ในยุคเดียวกันกับ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ท่านพระคุณสมเด็ยกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เคยสร้างพระกริ่งถวายล้นเกล้า ร.4 และ ร.5 ก็จริง  ถึงกระนั้นพระกริ่งที่ท่านสลักสร้างไว้ในห้วงเวลานั้น  ก็ไม่เรียกว่า "พระกริ่งปวเรศ"  แต่อย่างใด  แต่คนยุคนั้นนิยมเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระกริ่งบวรรังสี"  พอเรียกแบบนี้  คนโบราณในยุคนั้นย่อมทราบกันดีว่า  "พระกริ่งที่สร้างนั้น  ใครเป็นผู้สร้าง"

หัวข้อ
หลวงปู่ใหญ่พระเทพโลกอุดร
     ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงที่มาที่ไปในมุมมองหลวงปู่ใหญ่พระเทพโลกอุดร และกล่าวถึง หลวงปู่สิงขร  และเรื่องเกี่ยวกับ
     เหล็กไหลน้ำค้าง  
     เหล็กไหลอัมรินทร์  
     เหล็กไหลอยู่ในท้องฟ้า หรือ เหล็กไหลสายฟ้า
     เหล็กไหลกัมมรเต็ง
     และ เหล็กไหลกินน้ำผึ้ง
เรื่อ่ง ฤทธิ์ของหลวงปู่ใหญ่พระเทพโลกอุดร  หลวงปู่ใหญ่ฯมาร่วมอธิษฐานจิตด้วย "อทิสสมานกาย"  ในงานพระราชพิธี  ได้มีการจัดวางปูลาดอาสนะสำหรับนั่งไว้ให้ท่านหลวงปู่ใหญ่เทพโลกอุดรด้วย  มีผู้รู้ได้โดยวิสัยแห่งผู้ทรงฤทธิ์เหมือนหลวงปู่ใหญ่ฯ มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต  พรหมรังสี เป็นต้น
     นี่ว่าถึงหลวงปู่ใหญ่พระเทโลกอุดรได้มาร่วมในพิธี  ในปัจจุบันอันใกล้นี้ก็มีเรื่องทำนองเดียวเกิดขึ้น  รืนในบางโอกาสที่หลวงปู่เจ้าคุณตรฯ รับนิมนต์นั่งปรกพระเครื่อง ฯลฯ ท่านจะให้ปูลาดอาสนะไว้  เมื่อถึงเวลาอธิษฐานจิตปกแผ่  ท่านก็ไปด้วยอทสสมานกาย  ดังกล่าวมานี้
     เรื่องนี้หากท่านที่นิยมพระเครื่องไม่เคยรู้เลยก็นับว่าตกยุคพอดู  เพราะใครๆที่ศรัทธาในหลวงปู่เจ้าคุณนรฯ  รู้กันทั้งนั้น  ทั้งหลวงปู่ใหญ่พระเทพโลกอุดร  และหลวงปู่เจ้าคุณนรฯ  ท่านทั้งสองต่างก็ไม่ได้ไปด้วยการไปธรรมดา  แต่ท่านไปด้วยอทิสสมานกาย

หัวข้อ
ความศักดิ์สิทธิ์เกิดจากสมาธิ : ฌานจิต
ญาณวิปุผาราอิทธิ
สมาธิวิปุผาราอิทุธิ
(สามหัวข้อนี้ ไม่ได้นำรายละเอียดมาลงในกระทู้นี้)

ว่าด้วยเรื่อง พระที่สร้างด้วยการเทหล่อ 
ช่างราษฏร์ - ช่างหลวง  เบ้าทุบ - เบ้าประกบ
เป็นคนละอย่างกัน
     ศิลปะพระเครื่อง  ทั้งเนื้อผงพุทธคุณ / ดิน / โลหะ ในยุครัตนโกสินทร์  ผู้เขียนคิดว่าอาจแบ่งงานศิลปะออกได้เป็น 3 หมวด  พร้อมกับยุคสมัย คือ
     ช่วงรัชสมัยล้นเกล้า ร.1 - ร.3  จัดเป็นยุคก่อนคลาสสิก
     ช่วงรัชสมัยล้นเกล้า ร.4 - ร.9  จัดเป็นยุคคลาสสิกบริบูรณ์       
     ช่วงหลังจากรัชสมัยนี้ไป  จัดเป็นยุคหลังคลาสสิก
     งานช่างแบ่างเป็นยุค 2 สกุลช่าง คือ
     1. ช่างราษฏร์
     ช่างราษฏร์ไม่ได้เคร่งครัดในส่วนผสมของโลหะเท่าใดนัก เพราะวัสดุในการจัดสร้างส่วนใหญ่มาจากกลุ่มชาวบ้านที่มีความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งในบวรพระพุทธศาสนา
     2. ช่างหลวง
     ส่วนช่างหลวงนั้น  แม่งานเป็นระดับเจ้ากรม  งานทุกอย่างจึงเป็นไปตามรูปแบบวิธีการและแบบฉบับของช่างหลวงอย่างแท้จริง  ช่างหลวงจะเน้นอัตราส่วนของการผสมโลหะ  ดังนั้นโลหะที่ปรากฏออกมาในรูปของพระเครื่องพระบูชาจึงงดงามและประณีตอย่างยวดยิ่งไร้ที่ติ  พระเครื่องทุกองค์จะหล่อได้อย่างสวยงามคมชัดลึก  ละเอียดลออ  ละเมียดละไม  ตะมุนละม่อม  กระแสโลหะธาตุถือว่าเป็นความสำเร็จของการผสมโลหะที่ถึงขึดสุด
     ในยุคสมัยรัตนโกสินทร์นี้  อาจมีเช่นกันที่ทางช่างหลวงสร้างพระเครื่องพระบูชาดดยใช้เบ้าทุบ  แต่เท่าที่เห็นมีน้อยมาก  ยิ่งการสร้างพระเครื่องด้วยโลหะธานุและในงานใหญ่ระดับราชพิธีด้วยแล้ว  ช่างหลวงจะนิยมใช้เบ้าประกบสร้างงานมากกว่า  ทั้งนี้เพราะพระเครื่องจะออกมาสมบูรณ์แบบและสวยงามยิ่งกว่าการหล่อด้วยเบ้าทุบอย่างเทียบกันไม่ได้เลย (ผู้สนใจควรหาดูเรื่องเบ้าทุบ - เบ้าประกบ)

หมายเหตุกระทู้นี้     ยังขาด....รูปภาพพระเครื่องประกอบในหนังสือ  
                             เมื่อได้ไฟล์ต้นฉบัจะนำมาลงให้ได้ชมเพื่อเป็นกรณีศีกษาในวาระต่อไป

   


วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

241. พระสมเด็จวังหน้าและหลวงพ่อเงินช่างหลวง

บังเอิญไปพบ ไฟล์ของหนังสือ

พระสมเด็จวังหน้าและหลวงพ่อเงินช่างหลวง ที่ท่าน มัตตัญญู ได้เขียนไว้ในปี พ.ศ.2530  ซึ่งหนังสือชุดนี้เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ามากที่สุดชุดหนึ่งของเมืองไทย ณ เวลานี้หาซื้อในตลาดไม่ได้ เนื่องจากคนที่มีครอบครองต่างหวงเก็บไว้ และที่ผู้เขียนได้ทราบมามีคนเล่าให้ฟัง แม้นแต่เซียนใหญ่ของประเทศไทยยังมีกัน

ดังนั้น ท่านจะเชื่อรายละเอียดในหนังสือเล่มนี้หรือไม่เชื่อไม่ใช่สาระสำคัญ  แต่ที่สำคัญ คุณมีแล้วยัง?

ถ้ายังไม่มีโหลดมาเป็นยาสามัญประจำบ้านครับ  รู้เขา รู้เรา ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย

ส่วนรายละเอียดมีมากกว่าในหนังสือมากนักที่ผู้เขียนทราบมาจากหลายๆที่นำมาประมวลเรื่องราว  และพระเครื่องลักษณะคล้ายๆแบบนี้ที่ผู้เขียนพบมีอยู่ในครอบครองของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในอดีตหลายตระกูล

เมื่อกดลิ๊งค์จะพบไฟล์ 5 ไฟล์   ไฟล์ที่ 6 ส่องพระไม่ใช่นะครับ    ให้ดาวน์โหลดให้ครบทั้ง 5 ไฟล์จากนั้นจึงแตกไฟล์  ก็จะสามารถใช้งานได้โดยใช้โปรแกรม  Adobe  Readder  ซึ่งเป็นไฟล์อ่านที่มีนามสกุล  PDF ครับ

ไฟล์ ดาวน์โหลด (คลิก) https://skydrive.live.com/?cid=133CEAF776185475&id=133CEAF776185475!389&sc=documents

ข้อมูลของไฟล์ต้นทางอ้างอิงจาก http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=194&qid=3721




วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

240. ใบลิ้นเสือ หรือ เถาลิ้นเสือ

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม 
     ช่างในสมัยโบราณมีความชาญฉลาดอย่างยิ่งได้นำใบลิ้นเสือมาใช้งาน เปรียบได้กับการใช้กระดาษทรายในสมัยนี้


เอกสารอ้างอิงจาก หมายรับสั่ง พ.ศ.2389
1. ให้ส่งใบลิ้นเสือ สำหรับขัดรูปช้างหล่อ 8 ตัว(สมัย ร.3 เรียกเป็นตัวไม่ได้เรียกเป็นเชือกเหมือนในสมัยนี้)
2. ช้างที่หล่อให้ไปตั้งที่วัดอรุณราชวราราม
3. ช่างหล่อมีความประสงค์ต้องการใบลิ้นเสือ เพื่อใช้ขัดรูปช้าง ช้างที่หล่อเป็นเนื้อโลหะ ดังนั้นจึงทำให้ทราบว่าคนในสมัยโบราณใช้ใบลิ้นเสือ(ใช้แทนกระดาษทราย) เพื่อขัดโลหะ ที่หล่อขึ้นตบแต่งขัดให้สวยงาม รวมไปถึงรูปพระบูชา และพระเครื่องเนื้อโลหะองค์เล็กๆ เช่น พระกริ่งเป็นต้น
4. สถานที่หล่ออยู่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งก็คือ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยกรมศิลปากรในปัจจุบัน (สถานที่ทำงานของช่างสิบหมู่ในสมัยโบราณ)
5. สังเกตุในวงกลมสี่เหลือง มีคำว่า รับ และ ตัวอุณาโลม โดยเฉพาะตัวอุณาโลมนี้  ผู้เขียนพบเห็นในพระเครื่องเนื้อผงพิมพ์พิเศษหลายๆองค์ ที่ได้มีการเขียนจารึก และลงท้ายด้วยตัวอุณาโลม  จึงเป็นข้อสังเกตุทำให้ทราบถึงที่ไปที่มาของพระเครื่ององค์นั้นแท้ หรือ ปลอม  เพราะ ณ เวลานี้พระเครื่องที่สร้างปลอมไม่เคยพบการจาลึก อุณาโลม

พระเนื้อโลหะที่สร้างในยุคสมัยโบราณ ที่ผู้เขียนพบเห็นอายุการสร้างมากกว่า 1,000 ปี(หนึ่งพันปี)  ยังมีร่องรอยเหมือนกับการตะไบ หรือ รอยกระดาษทรายขัด  จึงทำให้เชื่อว่าเป็นร่องรอยการขัดตบแต่งด้วยใบลิ้นเสือของช่างในสมัยนั้นๆ

มาถึงยุคนี้ เซียนตำรา เชื่อในสิ่งที่ตนเองเชื่อ ส่วนใหญ่พอพบเห็นร่อยรอยเหมือนกับการขัดด้วยกระดาษทราย  เหมาไว้ก่อนประการแรก  ของปลอม เพราะใช้เครื่องมือสมัยใหม่ทำปลอมขึ้น  ฮาครับท่าน

ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง พระบูชาขนาดใหญ่  ที่เราๆ ท่านๆ ต่างรู้จักกันดี 
องค์ที่ 1 พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก สร้างในยุคสุโขทัย  องค์พระเรียบดีไหม เกิดจากอะไร  ภูมิปัญญาของช่างในสมัยโบราณขัดตบแต่งจนไร้ที่ติ งดงาม


องค์ที่ 2 หลวงพ่อทองคำ พระบูชาทองคำแท้ น้ำหนัก 5.5 ตัน (ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา).  วัดไตรมิตวิทยาราม กรุงเทพ

พระเครื่ององค์เล็กๆ พบเห็นร่องรอยการขัดคล้ายกระดาษทราย ที่ผู้เขียนพบเห็นพระเนื้อโลหะ เช่น พระสมเด็จทองคำ พระกริ่งปวเรศ พระเชียงแสนสิงห์ 1-2-3 ที่สร้างในยุคมากกว่า 1,000 ปี  และพระเครื่องเนื้อโลหะอื่นๆอีกมากมาย หากจะยกตัวอย่างในพระเครื่องเนื้อโลหะ 100 องค์  ใช้กล่องส่องดูดีๆ มีร่องรอยการขัดทั้ง 100 องค์
 


วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

239. พระสมเด็จ สีสันวรรณะของเนื้อพระ

 พระสมเด็จ วัดระฆัง    
     ขอกล่าวถึงพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง ในรายละเอียดของเนื้อพระสมเด็จที่สร้างมีสีสันวรรณะต่างๆ มีลักษณะเช่นไร พร้อมนำภาพพระสมเด็จพิมพ์พิเศษและพระสมเด็จที่มีเนื้อมวลสารแต่ละประเภทรวบรวมไว้ เพื่อเป็นกรณีศึกษา

เนื้อพระสมเด็จ
สีสันวรรณะของเนื้อพระ และน้ำหนักพระสมเด็จของเจ้าประคุณ สมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง
1. เนื้อสีขาวอมเทา หรือสีขาวขุ่น
2. เนื้อสีขาวนวล
3. เนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายดอกจำปี
4. เนื้อสีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาลอมแดง
5. เนื้อสีน้ำตาลอมดำ
6. เนื้อชานหมาก
7. เนื้อสีดำ
8. เนื้อกระแจะจันทน์ หรือ เนื้อหอมแก่นจันทน์ 
 เนื้อพระสมเด็จ ที่มีสร้างแต่ไม่เคยกล่าวถึงมาก่อนในตำรา
9. เนื้อสีเขียว
10. เนื้อสีชมพูอมแดง



1. เนื้อสีขาวอมเทา หรือสีขาวขุ่น
2391001
พระสมเด็จสีขาวอมเทา พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จกลีบบัวโรยกากเพชรดำ ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศฐานใหญ่ อธิษฐานปลุกเศก โดยเจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง


2391002
พระสมเด็จสีขาวอมเทา พระองค์นี้เป็นพระที่มีส่วนผสมมวลสารต่างๆ เช่น ผงใบราน โดยมีผงวิเศษสีขาวเป็นจุดเล็กๆ ทั่วองค์พระสร้างที่วัดระฆัง พ.ศ.2413

2391003
พระ สมเด็จสีขาวอมเทา พระองค์นี้เป็นพระที่มีส่วนผสมมวลสารต่างๆ สร้างที่วัดระฆัง พ.ศ.2408 พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ หรือที่เรียกกันว่า 
พระสมเด็จกักไม้ขีด ซึ่งมีขนาดเท่ากับพระสมเด็จทั่วๆไป แต่มีความหนากว่าหลายเท่า และมีพลังพุทธคุณแรงพิเศษ ไร้ขีดจำกัด
 

2. เนื้อสีขาวนวล 
2391004
พระสมเด็จเนื้อสีขาวองค์นี้ผู้เขียนได้รับมอบจากญาติธรรมท่านหนึ่ง เป็นพระสมเด็จที่ติดอยู่บนไม้กระดานด้านหลังองค์พระยังพบเห็นครั่งที่ใช้เป็นตัวยึดประสานระหว่างองค์พระกับไม้กระดาน


2391005
พระสมเด็จเนื้อสีขาวพิมพ์พิเศษโรยกากเพชรดำ ด้านหลังฝังพระพิมพ์หลวงพ่อเงิน อธิษฐานจิตปลุกเศก โดยเจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง

3. เนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายดอกจำปี มีส่วนผสมของผงวิเศษ ผงเกสรดอกไม้นานาชนิด ฯลฯ เนื้อเกสรเป็นเนื้อที่ละเอียดมาก
2391006
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ 
มีคำจารึกด้านหลังองค์พระเนื้อผง
ด้านซ้าย = ลาภผล
ด้านขวา = พูลทวี
ด้านล่างมีจารึก พ.ศ.ที่สร้าง และชื่อ โต หมายถึง ขรัวโต หรือ เจ้าประคุณ สมเด็จโต ผู้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเศก 



2391007
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์ 
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ เนื้อผงสีดำ

มีคำจารึกด้านหลังองค์พระเนื้อผง
ด้านบน= 11
บริเวณเศียรพระซ้ายขวา = ....(ไม่แน่ใจครับดูกันเอาเอง)
ไหล่ซ้าย - ขวา = 24
ด้านล่างซ้าย - ขวา = 11  (หมายถึง พ.ศ.2411)
ด้านล่างตรงกลาง มีจารึก = โต หมายถึง ขรัวโต หรือ เจ้าประคุณ สมเด็จโต ผู้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเศก 



2391008
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์ 
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ มีจารึกวาระการสร้าง และผู้สร้างสมเด็จโต พรหมรังสี

2391009
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์ 
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ มีจารึกวาระการสร้าง และผู้สร้างสมเด็จโต พรหมรังสี

2391010
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์ 
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ มีจารึกวาระการสร้าง และผู้สร้างสมเด็จโต พรหมรังสี


2391011
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์ 
พระผงรูปเหมือนสมเด็จโตข้างเม็ด ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข มีจารึก "โต" ผู้สร้างสมเด็จโต พรหมรังสี

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ องค์นี้สร้างในปี พ.ศ.2411 เจ้าประคุณสมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเศก


4. เนื้อสีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาลอมแดง
2391012
พระสมเด็จเนื้อสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ
พระสมเด็จกลีบบัวโรยกากเพชรดำ ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
ด้านหลัง ใต้ฐานพระกริ่งปวเรศ เนื้อผงสมเด็จ จารึก คำว่า
ปวเรศ 


 2391013
พระสมเด็จเนื้อสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ
พระสมเด็จกลีบบัว  ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
ด้านหลัง ใต้ฐานพระกริ่งปวเรศ เนื้อผงสมเด็จ จารึก คำว่า
ปวเรศ
พระสมเด็จกลีบบัวองค์นี้ นำห้อยขึ้นคอประจำ สีเนื้อของพระสมเด็จจะค่อยๆเปลี่ยนสีไปทางโทนสีน้ำตาลมากขึ้น
  
5. เนื้อสีน้ำตาลอมดำ
2391014
พระสมเด็จเนื้อสีน้ำตาลอมดำ
พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จเนื้อผงยาวาสนา
สรรพคุณของสมเด็จเนื้อผงยาวาสนานั้น สามารถใช้แทนพระพิมพ์เนื้อผงยาจินดามณีของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วได้สบายๆ

ลักษณะเด่นพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือองค์พระทีน้ำหนักเบาเมื่อวางในน้ำองค์พระจะลอยน้ำ ที่พบพิมพ์สี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จทั่วๆไปก็มีสร้าง  และพระองค์นี้จัดได้ว่าเป็นพระสมเด็จประเภทมวลสารพิเศษ


6. เนื้อสีชานหมาก ดำอมแดง
2391015
พระสมเด็จเนื้อชานหมากเป็นพระสมเด็จมวลสารพิเศษ


7. เนื้อสีดำ

2391016
     พระรูปเหมือนเนื้อผงสมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง บรรจุกริ่งผงใบราณ พระองค์นี้เป็นพระรูปเหมือนที่เจ้าประคุณสมเด็จโต สร้างอธิษฐานจิตปลุกเศก   
     กล่าวได้ว่าเป็นมวลสารชนิดพิเศษอีกพิมพ์หนึ่งราคาไม่แพง เพราะเซียนตำราไม่รู้จัก
     พระรูปเหมือนสมเด็จโต วัดระฆังพิมพ์นี้ไม่เป็นรองพระสมเด็จที่เซียนตำราปั่นราคาซื้อขายองค์ละหลายสิบล้านบาท  แพงสุดองค์ละ 100 ล้านบาทและ 200 ล้านบาท ที่พยายามปั่นราคากันในขณะนี้

8. เนื้อกระแจะจันทน์ หรือ เนื้อหอมแก่นจันทน์  มีกลิ่นหอมแก่นจันทน์ ในตำราการแพทย์โบราณน้ำหอมแก่นจันทน์ใช้เป็นยารักษาโรค  
     พระสมเด็จเนื้อหอมนี้พบได้ยากยิ่ง เพราะมีจำนวนการสร้างน้อย  กล่าวได้ว่าใครมี
     พระสมเด็จเนื้อหอมแก่นจันทน์ ผู้ใดได้ครอบครอบนับว่าเป็นบุคคลพิเศษที่ได้รับเลือกคัดสรรอย่างแท้จริง
     พระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์ องค์นี้ ผู้เขียนได้รับมอบจากญาติธรรมท่านหนึ่ง  และอดีตเคยอยู่ในครอบครองของ 

พระครูปลัดธรรมขันธ์ เมฆาโภ รองเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราม 

พระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์องค์นี้เป็นพระสมเด็จที่ พระครูปลัดธรรมขันธ์ เมฆาโภ รองเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราม ได้เขียนบรรทึกไว้ว่า เป็นพระสมเด็จที่ได้จากในเจดีย์ วัดระฆัง 

พระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์ เจ้าประคุณ สมเด็จโต วัดระฆังสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2410 อายุผ่านมา 145 ปี ยังมีกลิ่นหอมของแก่นจันทน์

สีของพระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์ องค์นี้ ผู้เขียนได้พยายามแต่งสีให้ใกล้เคียงกับสีองค์จริงจากการมองภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้เขีย

เนื้อพระสมเด็จกลิ่มหอมแก่นจันทน์ เป็นเนื้อสีขาว สีน้ำตาลเข้มผู้เขียนไม่ทราบว่าเป็นอะไร  มีลักษณะแห้ง ถ้าเอาพู่กันปัดจะมีลักษณะหลุดออกเป็นเกล็ดเล็กๆและแตกตัวออกมาเป็นผง


2391017
พระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์ เจ้าประคุณสมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง สร้างอธิษฐานจิตปลุกเศก พ.ศ.2410

ข้อสังเกตุ  
     เนื้อพระสมเด็จที่ไม่เคยผ่านการใช้งาน  มือจับแทบจะไม่เคยจับเก่าเก็บ  หรือ พระอยู่ในกรุรักษาไว้อย่างดี  เนื้อผงจะแห้งเบา มองผ่านๆเหมือนกับพระสร้างเสร็จใหม่ๆ  
     ถ้าพบเห็นให้ดูให้ดีๆ แล้วจะพบความแหงตามอายุของเนื้อพระที่มีอายุมากกว่า 100 ปี  ความเก่าจะพบเห็นจากหลายๆจุดของมวลสารเนื้อพระสมเด็จที่พระใหม่ไม่สามารถทำได้
     เช่น (ยกตัวอย่าง) ยิ่งถ้ามีพระกริ่งที่ฝั่งอยู่จะพบว่าโลหะของพระกริ่งสีผิวขององค์พระกริ่งมีความเก่า  มวลสารพระสมเด็จเนื้อพระที่ยึดติดกับพระกริ่งเชื่อมประสาน ไม่ใช่ของใหม่พึ่งทำ  และบางองค์สนิมขุมหรือการกลับดำของเนื้อโลหะซึมเข้าไปในเนื้อผงพระสมเด็จ  แต่ผงพระแห้งเก่า คุณลักษณะเช่นนี้ที่ของปลอมเก๊ทำเรียนแบบไม่สามารถทำได้

 การแตกลายงา
     พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ ที่ผู้เขียนพบจากหลายๆกลุ่มของต้นตระกุล เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในอดีตที่ตกทอดมาสู่ทายาทรุ่นสู่รุ่นถึงปัจจุบัน การแตกลายงาของพระสมเด็จ ไม่ว่าจะเป็นองค์เล็ก หรือ องค์ใหญ่ ไม่ว่าจะมีความหนาหรือบาง  แทบจะไม่พบเห็นร่องรอยการแตกลายงาในเนื้อผงพระสมเด็จ  ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่าพระเครื่องที่อยู่ในครอบครองของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในอดีต ณ เวลาที่ปั้มพระเสร็จใหม่ๆ ก่อนที่เนื้อมวลสารจะสูญเสียความชื้น ได้มีการบ่มองค์พระ คล้ายๆกับวิธีการบ่มพื้นผิวของคอนกรีตที่ไม่ให้สูญเสียน้ำเร็วเกินไป  ทำให้ผิวของเนื้อพระสมเด็จไม่แตกลายงาและมีความสมบูรณ์งดงาม อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อพระสมเด็จที่มีความสมบูรณ์แข็งแง เพราะไมแตกลายงา  หากเกิดการแตกลายงาจะทำให้องค์พระสูญเสียความแข็งแรง

บทความเพิ่มเติมวันที่ 29/11/2555
เนื้อพระสมเด็จ ที่ในอดึตมีผู้กล่าวถึง

สีสันวรรณะของเนื้อพระ และน้ำหนักพระสมเด็จของเจ้าประคุณ สมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง
1. เนื้อสีขาวอมเทา หรือสีขาวขุ่น
2. เนื้อสีขาวนวล
3. เนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายดอกจำปี
4. เนื้อสีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาลอมแดง
5. เนื้อสีน้ำตาลอมดำ
6. เนื้อชานหมาก
7. เนื้อสีดำ
8. เนื้อกระแจะจันทน์ หรือ เนื้อหอมแก่นจันทน์

เนื้อพระสมเด็จ ที่มีสร้างแต่ไม่เคยกล่าวถึงมาก่อนในตำรา
9. เนื้อสีเขียว
10. เนื้อสีชมพูอมแดง

9. เนื้อสีเขียว 
2391018 พระสมเด็จรูปเหมือนสมเด็จโต ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข



2391019 พระสมเด็จรูปเหมือนสมเด็จโตข้างเม็ด ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ 
--- ใต้รูปเหมือนสมเด็จฯ จารึก พ.ศ.2411
--- ใต้ฐานพระกริ่ง จารึก ปวเรศ


2391020 พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ ผสมหินเขียวจากลังกา 

10. เนื้อสีชมพูอมแดง
2391021 พระสมเด็จกลีบบัว โรยกากเพชร ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ 
 --- ใต้ฐานพระกริ่ง จารึก ปวเรศ
 
2391022 พระสมเด็จกลีบบัว โรยกากเพชร ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ 



2391023 พระสมเด็จกลีบบัว โรยกากเพชร ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ