วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

96. พระสมเด็จ พิมพ์ พิเศษ ของสมเด็จโต...1

พระองค์ที่ 1  
รูปที่ 1 พระเนื้อผงสี่เหลี่ยมด้านหลังฝังพระกริ่ง

มีคำจารึกด้วยลายมือของ สมเด็จโต
--- ด้านบนเหนือองค์พระกริ่ง จารึกว่า " ให้ ร.๕ " หรือ " สร้างถวายให้ รัชกาลที่ 5 "
--- ด้านล่างใต้องค์พระกริ่ง จารึกว่า " ๑ โต ๑ "  เป็นการเขียนอักขระภาษาเพราะจำกัดด้วยพื้นที่ในการเขียนจารึก  มีความหมายถึง  สมเด็จฯโต สร้างถวาย  เนื่องในโอกาสวาระครองราชย์สมบัติ พ.ศ. 2411

 


รูปที่ 2  พระเนื้อผงสี่เหลี่ยมด้านหน้า



พระองค์ที่ 2 
รูปที่ 3 พระเนื้อผงสี่เหลี่ยมด้านหน้าฝังโลหะทองคำ มีห่วงด้านบนขอบองค์พระ

รูปที่ 4 พระเนื้อผงสี่เหลี่ยมด้านหลัง  มีห่วงด้านบนขอบองค์พระ มีคำจารึกด้านหลัง 
มีคำจารึกด้วยลายมือของ สมเด็จโต
--- ฉะเพราะ   หมายถึง  สร้างขึ้นด้วยตนเองไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใด
--- อะตมา     หมายถึง การกล่าวอ้างถึงบุคคล (ผู้สร้าง)
--- เอง           หมายถึง ผู้สร้างๆเพียงผู้เดียว
--- โต            หมายถึง  สมเด็จฯ โต
--- 2411         หมายถึง  สร้างในวาระ ปี พ.ศ. 2411

พระองค์ที่ 3
รูปที่ 5 พระเนื้อผงสี่เหลี่ยม
 

รูปที่ 6 พระเนื้อผงสี่เหลี่ยมด้านหลัง  องค์พระ มีคำจารึก
มีคำจารึกด้วยลายมือของ สมเด็จโต
--- ฉะเพราะ   หมายถึง  สร้างขึ้นด้วยตนเองไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใด
--- อะตมา     หมายถึง การกล่าวอ้างถึงบุคคล (ผู้สร้าง)
--- เอง           หมายถึง ผู้สร้างๆเพียงผู้เดียว
--- โต            หมายถึง  สมเด็จฯ โต
--- วัดระฆัง    หมายถึง  ผู้สร้างอยู่ที่วัดระฆัง
--- 2408         หมายถึง  สร้างในวาระ ปี พ.ศ. 2408
--- โลหะกลมๆ สีน้ำตาลเข้ม ในองค์พระด้านหลังเป็น เหล็กไหล ประเภทหนึ่ง  และมีบรรจุอยู่ในพระกริ่ง เช่น พระกริ่งพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2411
 

พระองค์ที่ 4 
รูปที่ 7 พระเนื้อผงสี่เหลี่ยมด้านหน้า  มีห่วงด้านบนขอบองค์พระ



รูปที่ 8พระเนื้อผงสี่เหลี่ยมด้านหน้า  มีห่วงด้านบนขอบองค์พระ มีคำจารึกด้านหลัง 
มีคำจารึกด้วยลายมือของ สมเด็จโต
--- ฉะเพราะ   หมายถึง  สร้างขึ้นด้วยตนเองไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใด
--- อะตมา     หมายถึง การกล่าวอ้างถึงบุคคล (ผู้สร้าง)
--- เอง           หมายถึง ผู้สร้างๆเพียงผู้เดียว
--- โต            หมายถึง  สมเด็จฯ โต
--- วัดระฆัง    หมายถึง  ผู้สร้างอยู่ที่วัดระฆัง
--- 2411         หมายถึง  สร้างในวาระ ปี พ.ศ. 2411

95. สมเด็จโต กับ พระบาทสมเด็จฯ ปวเรศ

ถ้าหากผู้เขียนบอกว่า  "ลูกศิษย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต มีอยู่คนหนึ่งชื่อ ปวเรศ " ท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่?


แต่ลูกศิษย์ที่นามเรียกขานว่า "ปวเรศ " ไม่ใช่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่? และมีความคิดเห็นเช่นไร?


เข้าเรื่องครับผม...



พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์  (มีคำว่าเรศอยู่ในท้ายชื่อ) หรือ  ทรงเป็นพระอนุชาของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 4 ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช) หรือที่ออกพระนามกันว่า "วังหน้า" มีพระเกียรติยศเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394  

มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อของพระองค์ท่านที่เรียกกันสั้นๆในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ คือ "ปวเรศ"

ประวัติย่อสั้นๆ ของพระบาทสมเด็จฯปวเรศ หรือ สมเด็จพระปวเรน

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต 

พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองคใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราช สมบัติพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 

พระองค์จึงสด็จกลับไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมกับพระราชมารดา ส่วนสมเด็จพระเชษฐาของพระองค์นั้นทรงสมณเพศประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุและวัดสมอราย 
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับ ณ วัดระฆังโฆษิตาราม หลังจากลาผนวชพระองค์จึงเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

*** พระบาทสมเด็จฯ ปวเรศ  จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ในฐานะลูกศิษย์กับอาจารย์ *** ก่อให้เกิดพระกริ่งปวเรศ ขึ้นในวงการพระเครื่องในในยุคปัจจุบันที่เรียกกันว่า "พระกริ่งปวเรศ" เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วท่านคิดว่าเชื่อข้อมูลของผู้เขียนหรือเชื่อข้อมูลตำราของเซียนตำราที่ลอกๆกันมา  ข้อมูลของใครน่าเชื่อถือกว่ากัน?  

ผู้เขียนขอสรุปว่า ไม่ได้จ้างให้ใครมาเชื่อตามผู้เขียน  "ผู้ทรงฌาน" มี  "พระอริยสงฆ์" เก่งๆมี(ไม่นับของปลอม) ขอความเมตตาขอให้ท่านสงเคราะห์ครับ  ว่าที่ผู้เขียนนี้จริงหรือเท็จประการใด

รูปที่ 1  พระองค์นี้เป็นพิมพ์พิเศษของสมเด็จโต สร้างเมื่อในวาระที่  พระบาทสมเด็จฯปวเรศ ขึ้นครองราชย์คู่กับ ร.4 เมื่อ พ.ศ.2394  ด้านหน้าเป็นเนื้อผงของสมเด็จฯโต  ด้านหลังฝังพระกริ่ง  ฐานพระกริ่งมีคำว่า " ปวเรศ " ดูให้เต็มตาครับ  ของแท้ต้องเป็นแบบนี้  ไม่ใช่ไปเชื่อเซียนตำรา  ที่ลอกตำราสืบต่อๆกันมาแบบคิดไปเอง

รูปที่ 2 ขยายให้เห็นกันชัดๆ  
ตัว " ป "  เขียนแตะให้เห็นกันชัดๆ 
ต่อมาด้วยตัว " ว "
และตัว " เ " จิ้มลงในเนื้อพระลากและก็จิ้มลึกอีกครั้ง
ส่วนตัว " ร " ดูกันจะๆ
ตามด้วยตัว " ศ "
รวมกัน ได้คำว่า " ปวเรศ "














รูปที่ 3 ถึง รูปที่ 8 ไม่ขอบรรยาย  ดูกันเอาเอง  คิดกันเอาเอง  ว่าจะเชื่อเซียนตำราที่ลอกๆ กันมา กับของพระกริ่งปวเรศของแท้ของจริง  จากผู้ครอบครองพระสายวังหน้าที่สืบทอดกันต่อๆกันมาก็เชิญตามสะดวก

*** ของจริง  ของแท้  ต้องมีคู่แฝดหลายองค์  ***  ถ้าหากพบเพียงองค์เดียวโดดๆ ผู้เขียวกล่าวได้เพียงสั้นๆว่าเรียบร้อยโรงเรียนเซียนตำรา


+++ กล่าวสรุปได้ว่า " พระวังหน้า " หรือ คำว่า " ปวเรศ " ล้วนมีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดทั้งสิ้น


เมื่อกาลเวลาผ่านไปถึงยุคของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (6 กันยายน พ.ศ. 238128 สิงหาคม พ.ศ. 2428)  พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ พระองค์เจ้ายอดยิ่งประยุรยศบวรราโชรสรัตนราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ ตำแหน่ง " วังหน้า " ในยุคสมัยของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ  ได้สร้างพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ รวมไปถึงพิมพ์พระสมเด็จและพระกริ่งหลากหลายหน้าตา  ล้วนแต่เป็นพระนอกกำมือของเซียนตำรา


ไม่ว่าจะสร้างในยุคของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า (พระบาทสมเด็จฯ ปวเรศ) หรือ ในยุคของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ล้วนแล้วแต่เป็นพระวังหน้า  จะประกอบด้วยพระ 2 ประเภท ดังนี้


ประเภทที่ 1 พระวังหน้าที่ทันสมเด็จฯ โต ร่วมอธิฐานจิต
ประเภทที่ 1 พระวังหน้าที่ ไม่ทัน สมเด็จฯ โต  ไม่ได้ร่วมอธิฐานจิต 

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

94. สมเด็จโต กับ พระกริ่ง


สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ในวงการนักนิยมพระเครื่องต่างทราบว่าพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้างมีราคาแพงระดับเลข 8 หลัก  จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าสมเด็จโตท่านได้สร้าง พระกริ่งฯไว้หลายรุ่นด้วยกัน

ผู้เขียนขอนำภาพพระกริ่งฯ ที่สมเด็จโตได้เป็นผู้อธิฐานจิตไว้ใน พ.ศ.2411 เมื่อวาระที่ ร.5 ขึ้นครองราชย์  จากหลักฐานได้จารึกไว้ว่าสมเด็จโตเป็นผู้ให้สร้าง

เมื่อต้นเดือนที่ผ่่านมามี หญิงสาวพร้อมกับชายหนุ่มมาพบผู้เขียนได้นำพระกริ่งฯดังที่เห็นจากรูป  มาสอบถามผู้เขียนว่าเป็นพระกริ่งฯที่ไหน  ใครสร้าง?  เมื่อแรกพบนึกในใจ  พระกริ่งฯแปลกไม่เคยเห็น  จึงได้สอบถามฯพระ...เบื้องบน  ทำให้ทราบว่าพระกริ่งฯนี้เป็นพระกริ่งฯสมเด็จโต พ.ศ.2411

และในเวลาไม่ถึงหนึ่งอาทิตย์  ผู้เขียนได้พบกับผู้ครอบครองพระกริ่งฯรุ่นดังกล่าวจากผู้สืบทอดพระเครื่องฯของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี เป็นพิมพ์เดียวกันดังรูปที่แสดง  พร้อมทั้งหลักฐานประกอบ  มีข้อมูลตรงกันกับที่สอบถามพระ...เบื้องบน  ว่า เป็นพระกริ่งที่สมเด็จโตทรงให้สร้างขึ้น  จึงได้นำภาพมาให้ได้ชื่นชม  


- วรรณสีผิวกลับดำ  เนื้อในสีจำปา(ทองสัมฤทธิ์)  อายุการสร้าง 143 ปี(พ.ศ.2411 ถึง พ.ศ.2554)
- เม็ดกริ่งภายในบรรจุดเม็ดกริ่งเหล็กไหล  แม่เหล็กดูดไม่ติด



วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

93. พระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์ อายุ 700 กว่าปี

ผู้เขียนได้พบพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์ ซึ่งมีอายุการสร้างมากกว่า 700 ปี   จึงได้นับรูปและรายละเอียดให้ได้ชื่นชมกันว่า องค์พระกริ่งพระปทุมสุริยวิงศ์มีหน้าตาเช่นไร?

- เมื่อวันพุธ ที่ 13 กค. 2554 มีโอกาสได้พูดคุยกับท่านผู้เฒ่าคนหนึ่งที่ชื่นชอบพระกริ่งฯและวัตถุมงคลหลากหลายชนิด  มีอยู่ช่วงหนึ่งได้สนทนากับผู้เขียนพร้อมทั้งนำพระกริ่งฯ...องค์หนึ่งสอบถามผู้เขียนว่า...เป็นพระกริ่งฯที่ไหน...

- ผู้เขียนรับมาพิจารณา สีผิววรรณะขององค์พระกริ่งฯ เบื้องต้นที่เห็น  อายุความเก่าของพระกริ่งฯมองผ่านๆเก่ากว่าพระกริ่งปวเรศอย่าแน่นอน...นึกในใจงานเข้า...ไม่ให้ข้อมูลอะไร...จึงได้อธิฐานจิตสอบถามพระฯ---เบื้องบนฯ...พระกริ่งฯองค์นี้มีอายุมากกว่า 500 ปี  และสรุปได้ว่าพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์มีอายุมากกว่า 700 ปี แต่ไม่ถึง 800 ปี

- เมื่อมีโอกาศพบองค์ที่หนึ่ง  เปรียบดังมีเชื้อ...ทำให้ได้พบองค์ที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง  จึงนำรูปมาให้ชมกันว่า "พระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์" องค์ที่สองหน้าตาของแท้มีหน้าตาแบบนี้ 

รูปที่ 1 พระเนื้อผง พิมพ์กลีบบัว(ทรงสูง) ขนาดกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร สูงประมาณ 6 เซนติเมตร
***พระเนื้อผงองค์นี้เป็นของสมเด็จฯโต ได้สร้างขึ้นแล้วนำพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์นำมาฝังไว้ด้านหลังของพระกลีบบัวเนื้อผง
มีข้อความที่จารึกไว้ อ่านได้ดังนี้ 
- ด้านล่าง " 24 โต 01 "  ขยายข้อความ  สมเด็จฯโต เป็นผู้ให้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ.2401
- ด้านซ้าย " กริ่ง พระปทุม "
- ด้านขวา " สุริยวงศ์ "
---เมื่อนำข้อความด้านล่าง + ด้านซ้าย + ด้านขวา ขยายข้อความรวมได้ดังนี้
"สมเด็จฯโต เป็นผู้ให้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์กลีบบัวในปี พ.ศ.2401 พระกริ่งที่ฝังอยู่หลังพระผงกลีบบัวนี้เป็น พระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์"




รูปที่ 2 และรูปที่ 3 เป็นพระองค์เดียวกัน  พระองค์นี้เป็นเนื้อผงฯ สร้าง พ.ศ.2411 ส่วนองค์พระกริ่งฯที่ฝั่งอยู่ด้านหลังของพระเนื้อผง  เป็นพระกริ่งที่สร้างตามแบบพระกริ่งพระสุริยวงศ์
มีข้อความที่จารึกไว้ อ่านได้ดังนี้ 
- ด้านล่าง " โต 2411"  ขยายข้อความ  สมเด็จฯโต เป็นผู้ให้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ.2411
- ด้านซ้าย " สร้างแบบกริ่ง "
- ด้านขวา " ปทุมสุริยวงศ์ "---เมื่อนำข้อความด้านล่าง + ด้านซ้าย + ด้านขวา ขยายข้อความรวมได้ดังนี้
"สมเด็จฯโต เป็นผู้ให้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์สี่เหลี่ยมในปี พ.ศ.2411 พระกริ่งนี้เป็น พระกริ่งสร้างแบบปทุมสุริยวงศ์"

- พระเนื้อผงทั้งสององค์นี้เป็นพระพิมพ์พิเศษของสมเด็จฯโต ที่สร้างโดยฝีมือของช่างสิบหมู่ จำนวนการสร้างมีน้อยผู้ครอบครองส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น  จึงพบเห็นได้ยากยิ่ง  คนส่วนใหญ่ที่สะสมวัตถุมงคลเกือบ 100% จะไม่เคยพบเห็น เนื่องจากไม่ใช่เรื่องที่ต้องบันทึกเป็นประวัติสำคัญของชาติ  การบันทึกหลักฐานมีน้อย  ได้มีบันทึกจารึกไว้เป็นใบลานทองคำ(ไม่ทั้งหมด)  เมื่อมีผู้พบเห็น  แต่ไม่รู้คุณค่ากลับนำไปหลอมแล้วนำไปขายเป็นมูลค่าของทองคำ และมีอีกส่วนหนึ่งได้ถูกขายให้กับชาวต่างชาติ ทำให้เราๆท่านๆยิ่งแทบจะไม่มีข้อมูลการอ้างอิงฯ
- เนื้อพระผงฯ ของสมเด็จฯโต นั้นมีส่วนผสมของผงกฤติยาคม 5 ประการ อันได้แก่ ผงพระพุทธคุณ ผงอฺธิเจ ผงปะมัง ผงตรีนิสิงเห และ ผงมหาราช ตลอดจนผงวิเศษทางมงคลไสยศาสตร์อีกๆอีกตามวาระที่สร้าง นอกจากผงยังมีสิ่งมงคลอีกมากชนิด เช่น ผงเกสรดอกไม้ที่บูชาพระอุโบสถตลอดพรรษา ผงคัมภีร์อันเป็นสมุกที่เกิดจาใบลานเผา(ใบลานที่ลงเลขยันต์ อักขระ) ข้าวสุกและอาหารบางคำที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯโต รู้สึกมีรสอร่อย เนื้อและเปลือกของกล้วยน้ำว้ากับกล้วยหอมจันทร์ ปูนร่อนจากเสมาหรือจากผิวพระโบราณ และน้ำประสานเนื้อผงฯลฯ
- รายละเอียดของเนื้อผงต่างๆนั้นผู้เขียนได้พบในหนังสือ พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวง โดย มัตตัญญู พิมพ์จำนวน 1,000 เล่น เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2530  ผู้เขียนให้ความเห็นว่าหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่ถูกต้องครบถ้วน  ใช้เป็นแนวทางศึกษาพระของสมเด็จโต รวมไปถึงพระของหลวงพ่อเงิน และพระพิมพ์ช่างหลวงที่สร้างในยุครัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ได้ดียิ่ง
- พระที่สร้างโดยฝีมือของช่างสิบหมู่กรณีเป็นพิมพ์พิเศษ อะไรก็พิเศษ ขนาดเนื้อพระผงฯผ่านมา 100 กว่าปีมองผ่านๆยังเหมือนกับพระใหม่พึ่งสร้างเสร็จ
รูปที่ 4 หน้าปกหนังสือ "  พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวง โดย มัตตัญญู "


สรุป...
สมเด็จฯ โตมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระกริ่งฯ ดังต่อไปนี้

     การสร้างพระกริ่งฯของสมเด็จฯโตฯนั้น น่าจะเนื่องจากว่าท่านได้รับการถวายพระกริ่งที่เรียกกันว่า "กริ่งปทุมสุริวงศ์"  ทรงเห็นว่าพระกริ่งนั้นดีมีมงคล

     พระกริ่งปทุมสุริวงศ์ น่าจะได้รับถวายเมื่อครั้งที่  เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงเสนี) ได้ว่าราชการ(ปกครอง)เขมร 15 ปี จนถึง พ.ศ. 2391 จึงได้เดินทางกลับกรุงเทพ  หากดูตาม พ.ศ.นับว่าใกล้เคียงกัน

       กล่าวได้ว่าสมเด็จโต ได้เคยให้สร้างพระกริ่งฯในยุคของ รัชกาลที่ 4 สืบเนื่องต่อมาถึงยุครัชกาลที่ 5 (ไม่เกิน พ.ศ.2415)
  
      พระกริ่งฯที่สร้างใน พ.ศ.2411 นั้นผู้เขียนยอมรับว่ามีจำนวนมากการสร้างมากที่สุดในยุคของรัชกาลที่ 5  และมีหลากหลายพิมพ์  แต่พิมพ์ที่โดดเด่นที่สุด คือ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข  เป็นพิมพ์ที่ออกแบบพิมพ์ได้สมบูรณ์ งดงามมาก  

       ถึงแม้นจะมีพระกริ่งปวเรศ พิมพ์อื่นที่อ่อนช้อยกว่า  แต่มีจำนวนการสร้างน้อยมากเมื่อเทียงกับพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข  ดังรูปที่ 4  ผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศ องค์นี้ ได้เรียกพิมพ์นี้ว่า พิมพ์ "หน้านาง"

รูปที่ 5  พระกริ่งปวเรศ พิมพ์ หน้านาง

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

92. พระกริ่งปวเรศ ทองคำ รุ่น สมบูรณ์พูนสุข

พระกริ่งปวเรศ เนื้อทองคำ รุ่นสมบูรณ์พูนสุข ต้องแบบนี้ถึงจะแท้และเก่าจริง


- เนื้อทองคำนั้น  มีโลหะธาตุที่เน้นทองคำ  ทองคำเป็นโลหะธาตุที่มีราคาสามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายเพราะเป็นโลหะที่คนทั่วโลกยอมรับและแลกเป็นเงินตราได้
- ทองคำ  มีมูลค่าดั่งทองคำที่กำหนดในราคาตลาดโลกว่าด้วยทองคำ  แต่ไม่ใช่การกำหนดราคาโดยตลาดวัตถุมงคล
- โลหะธาตุระหว่างเนื้อทองคำกับเนื้อนวโลหะครบสูตร  นำมาสร้างเป็นพระกริ่งปวเรศ คุณค่าของโลหะที่ผสมโบราณว่าไว้ นวโลหะเป็นโลหะธาตุมีฤทธิ์ในตัว  มีความพิเศษกว่าเนื้อทองคำ  ซึ่งไม่ใช่วัดด้วยมูลค่าความนิยมของทองคำที่ซื้อขายกันในท้องตลาด
- เนื้อนวโลหะครบสูตรมีส่วนผสมของทองคำ ครูบาอาจารย์ท่านกล่าว "ทองคำเป็นวัตถุที่ดูดซับพลังพุทธานุภาพดีที่สุด มีเพียบเท่าเล็บแมวข่วนใช้ได้"


เนื่องจากมีพระกริ่งปวเรศเนื้อทองคำ เก๊ ปลอม ในตลาดมาก  ผู้เขียนจึงได้แนะนำให้ดูลักษณะ วรรณสีผิว ความเก่าของพระกริ่งปวเรศ เนื้อทองคำ  พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ซึ่งอดีตเป็นเคยเป็นสมบัติของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ  ญาณวรเถร) และตกทอดมาสู่น้องสาวของท่านคือ คุณหญิง แม้น  สุนทรเทพกิจจารักษ์ และภายหลังสืบทอดมาถึงผู้ครอบครองคนปัจจุบัน  ดังรูปที่แสดง  ขยายดูครับแล้วจะเห็นว่าของแท้อายุร้อยกว่าปีต้องแบบนี้

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

91. พระกริ่งฯ ที่สร้างเป็นตัวแทนของใคร?

พระพุทธรูปที่เราๆท่านๆที่ทราบๆกันในศาสนาพุทธมักจะสร้างเป็นตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระกริ่ง  ที่เรารู้จักมักคุ้นเป็นการสร้างเป็นตัวแทนของ  พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต สมเด็จฯโต  ได้ให้สร้างพระขึ้นในวาระที่ รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์สมบัติ รุ่น ยศเศรษฐี  ได้มีจารึกไว้ในพระพิมพ์หลายแบบด้วยกัน อย่างเช่น พระบูชาองค์ในรูปจารึก  "สมเด็จพระยสเศรษฐี" ภาษาบาลีสันสกฤติจะใช้ ตัว "ส" แทนตัว "ศ"   ปัจจุบันจะเขียนเป็น "สมเด็จพระยศเศรษฐี"

เนื่องจากเป็นการประหยัดคำในการเขียนให้สั้น ความหมายที่แท้จริงคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้ให้สร้างพระ รุ่นนี้เรียกว่า รุ่น "ยศ เศรษฐี"

ผู้มีไว้บูชา  ย่อมนำมาซึ่งยศถาบรรณาศักดิ์ และความมั่งมีเปรียบดั่งเศรษฐี

ยศ  ความหมาย  จะได้รับความสุขและโชคลาภ  ในตำแหน่งหน้าที่ หรือชื่อเสียง 
เศรษฐี   ความหมาย บูชาแล้วไม่รู้ยาก รู้จน  มีทรัพย์สมบํติมากกว่าคนทั่วๆไป


รูปที่ 1 ชื่อที่เขียนไว้บริเวณฐานดอกบัว "สมเด็จพระยสเศรษฐี"

รูปที่ 2 พระรูปเหมือน "พระกริ่ง" รุ่น "สมเด็จพระยศเศรษฐี" ขนาดบูชาหน้าตักประมาณ 5 นิ้ว  สร้างวาระ พ.ศ. 2411  สมัย ร.5 ขึ้นครองราชย์สมบัติ  ใครพบเห็นบูชาท่านไว้ในห้องพระครับ  ไม่ผิดหวัง  มีพุทธนุภาพดั่งกับมีพระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2411 "พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข" 

องค์ที่ 2 พระกริ่งเนื้อกังไส สีเขียวแตกลายงา  เป็นอีกองค์หนึ่งที่สร้างในวางระ พ.ศ.2411 ความสูงประมาณ 4 นิ้ว  มีเม็ดกริ่งด้านใน(ของดีครับ)

องค์ที่ 3  พระเด่นทางด้าน "สุดยอดมหาโภคทรัพทย์" พระสังกัจจายน์ บุเงิน  น้ำหนักเบาหน้าตัก 3" สร้างวาระ พ.ศ.2411  เป็นอีกองค์หนึ่งที่ควรมีไว้ในห้องพระครับ

องค์ที่ 4 พระแม่นางกวัก   ขนาด 1.2 คูณ 1.7 เซนติเมตร   เหมาะสำหรับผู้ทำการค้า เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆพกไว้ในภาชนะ(ตู้เก็บเงิน)หรือห้อยคอบูชา  พระแม่นางกวัก ดีเด่น สุดยอดทางด้าน  ค้าขาย กวักเงิน กวักทอง เรียกลูกค้า โชคลาภ ทางเสน่ห์ เมตตามหานิยม  รุ่นนี้เนื้อผงสีดำ  ผู้เขียนพบ 2 องค์  สร้างวาระ พ.ศ.2411

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

89. ช่างสิบหมู่ผู้กำกับดูแลส่วนผสมของพระผงยุคสมัย ร.4 และ ร.5

ช่างสิบหมู่ที่มีบทบาทสำคัญในการกำกับและออกแบบพระผง ที่มีบันทึกไว้ คือ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ  ทรงกำกับกรมแสงและกรมช่างศิลา

ลิงค์ประวัติ...อดุลลักษณสมบัติ

รูปถ่ายและรายละเอียดกำลังเรียบเรียง...

88. ช่างสิบหมู่ ผู้กำกับสร้างพระพุทธรูป(รูปหล่อ)

ช่างสิบหมู่ที่มีบทบาทสำคัญในการกำกับและออกแบบพระกริ่งปวเรศ ที่มีบันทึกไว้ คือ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี  

ลิงค์ประวัติ...ภูมินทรภักดี

87. บาตรน้ำมนต์ พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์

พูดถึงบาตรน้ำมนต์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ หรือ เมื่อสมัยก่อนสิ้นพระชนชีพมีพระนามว่า "พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์"


พระเกจิอาจารย์ในสมัยอดีตจนถึงยุคปัจจุบันมักจะมีบาตรน้ำมนต์ส่วนตัวทั้งสิ้น  ดังนั้น "พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์" ก็มีบาตรน้ำมนต์ดังกล่าวเช่นกัน


บาตรน้ำมนต์ชุดนี้เป็นของ "พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์" ได้ตกทอดสืบต่อๆกันมา ภายหลังอยู่ในการครอบครองของ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)" และตกทอดถึง คุณหญิงแม้น สุนทรเทพกิจจารักษ์ และสืบทอดมาถึงทายาท


เจ้าของผู้ครอบครองได้อนุญาตให้นำภาพบาตรน้ำมนต์ของ "พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์" มาให้ชื่นชมเป็นวิทยาทาน  บรรยายอย่างไรก็สู้เห็นภาพแล้วจินตนาการด้วยตนเองดีกว่านะครับ


รูปที่ 1 ด้านหน้าบาตรน้ำมนต์ "พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์"  บาตรน้ำมนต์ชุดนี้อธิฐานจิตครั้งแรก พ.ศ.2428    แต่จารึกไว้ รศ.110 (พ.ศ.2434)

รูปที่ 2  ซ้ายมือบาตรน้ำมนต์  กลางฝาครอบน้ำมนต์   ขวามือฐานวางบาตรน้ำมนต์

รูปที่ 3  ด้านในบาตรน้ำมนต์  เห็นกันจะๆไปเลยว่า  บาตรน้ำมันต์ของสมเด็จฯกรมพระยาปวเรศฯ หลวงปู่แท้ๆ เป็นเช่นไร  รูปนี้แสดงให้เห็นเทียนที่ฉาบผนังของบาตรน้ำมนต์และเหรียญทำน้ำมนต์ 2 เหรียญ  อีกทั้งด้านล่างพระกริ่งปววเรศ... อยู่บนฐานกลีบบัวงดงามยิ่งนัก


รูปที่ 4 เหรียญทำน้ำมนต์ที่อยู่ในบาตรน้ำมนต์จะมีอยู่ 3 เหรียญ  สร้างอธิฐานจิต พ.ศ.2434


รูปที่ 5 และ รูปที่ 6   พระกริ่งปวเรศ พิมพ์"สมบูรณ์พูนสุข" สร้างวาระ พ.ศ.2411 ประทับอยู่ที่ก้นบาตรน้ำมนต์บนฐานดอกบัว 

***ยังมีรูปรายละเอียดอีกหลายด้านหลายมุมมอง  มีอีกหลายรูปที่ได้ถ่ายรูปไว้***
ลิงค์...พระเครื่องทายาท...สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)

บาตรน้ำมนต์ชุดที่ 2 เป็นของสมาชิกธรรมทางภาคเหนือได้ส่งรูปมาเป็นวิทยาทาน
- บาตรน้ำมนต์ชุดนี้อดีตเคยเป็นบาตรน้ำมนต์ที่ใช้ประกอบพระราชพิธีฯสำคัญต่างๆในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 

รูปกลางแสดงรูปบาตรน้ำมนต์ทั้งชุด                            
รูปบนแสดงพระกริ่งปวเรศอีกพิมพ์หนึ่งที่อยู่ก้นบาตรน้ำมนต์
รูปล่าง เผยให้เห็นเหรียญทำน้ำมนต์ 





บาตรน้ำมนต์ชุดเดียวกันกับชุดที่ 2  ผู้ครอบครองได้จ้างช่างที่ร้านทอง  ทำความสะอาดนภายอกของบาตรน้ำมนต์เผยให้เห็นวรรณะสีผิวภายในที่สวยงดงามเมื่อ 120 ปีที่ผ่านมา  ใช้เวลาขัดเช็ดถูทำความสะอาดถึง 1 สัปดาห์จึงได้เห็นเป็นประการเช่นนี้แล  ผู้เขียนลงความเห็นว่าเสียของเก่าแต่ได้ความใหม่ หุหุหุ





ใครมีบาตรน้ำมนต์เก่าๆ  มีอายุหลายสิบปีถึงหลายร้อยปี  มักจะทำใจไม่ได้กับการที่จะนำน้ำมนต์ที่อธิฐานจิตเสร็จแล้วนำมาดื่มกินจากในบาตรน้ำมนต์  เมื่อทำการขัดถูความเก่าก็จะเสียไป  หากทำใจได้ก็ไม่เป็นไร  หากทำใจไม่ได้พระพุทธองค์...ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้ครับ
- น้ำมนต์ที่พระ...ทำให้เสร็จแล้ว  อนุญาตให้นำไปต้มแล้วนำมาดื่มกินได้  ใช้ได้เหมือนกับที่ไม่ได้นำไปต้มเช่นเดียวกัน
- บาตรน้ำมนต์หลายๆใบมักมองแล้วมีสีดำ และมีสีออกเขียวๆ  พระฯท่านก็จะใช้เทียนเคลือบไว้อีกชั้นหนึ่ง  น้ำมนต์ที่ทำเสร็จมักจะมีกลิ่นของเทียนและน้ำตาเทียนเป็นเรื่องปกติ  เมื่อมีน้ำตาเทียนแก้ไขได้ไม่ยาก  ให้นำที่กรองทำการกรองออก  รวมทั้งนำไปต้มเพื่อฆ่าเชื้อโรคยิ่งทำให้มีความมั่นใจว่าน้ำสะอาดจริง  นำน้ำมนต์ที่ต้มใส่ขวดบรรจุไว้ใส่ตู้เย็นทานเป็นน้ำเย็นสบายชื่นใจ  อีกทั้งเป็นการรักษาโรคภัยไข้ทุกชนิด  ยกเว้นโรคกรรม
- ข้อสำคัญก่อนดื่นน้ำพุทธมนต์ต้องมีความเชื่อ  และอธิฐานจิตบอกกล่าวทุกครั้งเพื่อเป็นการใช้จิตสื่อถึงจิต