- เมื่อวันพุธ ที่ 13 กค. 2554 มีโอกาสได้พูดคุยกับท่านผู้เฒ่าคนหนึ่งที่ชื่นชอบพระกริ่งฯและวัตถุมงคลหลากหลายชนิด มีอยู่ช่วงหนึ่งได้สนทนากับผู้เขียนพร้อมทั้งนำพระกริ่งฯ...องค์หนึ่งสอบถามผู้เขียนว่า...เป็นพระกริ่งฯที่ไหน...
- ผู้เขียนรับมาพิจารณา สีผิววรรณะขององค์พระกริ่งฯ เบื้องต้นที่เห็น อายุความเก่าของพระกริ่งฯมองผ่านๆเก่ากว่าพระกริ่งปวเรศอย่าแน่นอน...นึกในใจงานเข้า...ไม่ให้ข้อมูลอะไร...จึงได้อธิฐานจิตสอบถามพระฯ---เบื้องบนฯ...พระกริ่งฯองค์นี้มีอายุมากกว่า 500 ปี และสรุปได้ว่าพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์มีอายุมากกว่า 700 ปี แต่ไม่ถึง 800 ปี
- เมื่อมีโอกาศพบองค์ที่หนึ่ง เปรียบดังมีเชื้อ...ทำให้ได้พบองค์ที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง จึงนำรูปมาให้ชมกันว่า "พระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์" องค์ที่สองหน้าตาของแท้มีหน้าตาแบบนี้
รูปที่ 1 พระเนื้อผง พิมพ์กลีบบัว(ทรงสูง) ขนาดกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร สูงประมาณ 6 เซนติเมตร
***พระเนื้อผงองค์นี้เป็นของสมเด็จฯโต ได้สร้างขึ้นแล้วนำพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์นำมาฝังไว้ด้านหลังของพระกลีบบัวเนื้อผง
มีข้อความที่จารึกไว้ อ่านได้ดังนี้
- ด้านล่าง " 24 โต 01 " ขยายข้อความ สมเด็จฯโต เป็นผู้ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2401
- ด้านซ้าย " กริ่ง พระปทุม "
- ด้านขวา " สุริยวงศ์ "
---เมื่อนำข้อความด้านล่าง + ด้านซ้าย + ด้านขวา ขยายข้อความรวมได้ดังนี้
"สมเด็จฯโต เป็นผู้ให้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์กลีบบัวในปี พ.ศ.2401 พระกริ่งที่ฝังอยู่หลังพระผงกลีบบัวนี้เป็น พระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์"
มีข้อความที่จารึกไว้ อ่านได้ดังนี้
- ด้านล่าง " โต 2411" ขยายข้อความ สมเด็จฯโต เป็นผู้ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2411
- ด้านซ้าย " สร้างแบบกริ่ง "
- ด้านขวา " ปทุมสุริยวงศ์ "---เมื่อนำข้อความด้านล่าง + ด้านซ้าย + ด้านขวา ขยายข้อความรวมได้ดังนี้
"สมเด็จฯโต เป็นผู้ให้สร้างพระเนื้อผงพิมพ์สี่เหลี่ยมในปี พ.ศ.2411 พระกริ่งนี้เป็น พระกริ่งสร้างแบบปทุมสุริยวงศ์"
- พระเนื้อผงทั้งสององค์นี้เป็นพระพิมพ์พิเศษของสมเด็จฯโต ที่สร้างโดยฝีมือของช่างสิบหมู่ จำนวนการสร้างมีน้อยผู้ครอบครองส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น จึงพบเห็นได้ยากยิ่ง คนส่วนใหญ่ที่สะสมวัตถุมงคลเกือบ 100% จะไม่เคยพบเห็น เนื่องจากไม่ใช่เรื่องที่ต้องบันทึกเป็นประวัติสำคัญของชาติ การบันทึกหลักฐานมีน้อย ได้มีบันทึกจารึกไว้เป็นใบลานทองคำ(ไม่ทั้งหมด) เมื่อมีผู้พบเห็น แต่ไม่รู้คุณค่ากลับนำไปหลอมแล้วนำไปขายเป็นมูลค่าของทองคำ และมีอีกส่วนหนึ่งได้ถูกขายให้กับชาวต่างชาติ ทำให้เราๆท่านๆยิ่งแทบจะไม่มีข้อมูลการอ้างอิงฯ
- เนื้อพระผงฯ ของสมเด็จฯโต นั้นมีส่วนผสมของผงกฤติยาคม 5 ประการ อันได้แก่ ผงพระพุทธคุณ ผงอฺธิเจ ผงปะมัง ผงตรีนิสิงเห และ ผงมหาราช ตลอดจนผงวิเศษทางมงคลไสยศาสตร์อีกๆอีกตามวาระที่สร้าง นอกจากผงยังมีสิ่งมงคลอีกมากชนิด เช่น ผงเกสรดอกไม้ที่บูชาพระอุโบสถตลอดพรรษา ผงคัมภีร์อันเป็นสมุกที่เกิดจาใบลานเผา(ใบลานที่ลงเลขยันต์ อักขระ) ข้าวสุกและอาหารบางคำที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯโต รู้สึกมีรสอร่อย เนื้อและเปลือกของกล้วยน้ำว้ากับกล้วยหอมจันทร์ ปูนร่อนจากเสมาหรือจากผิวพระโบราณ และน้ำประสานเนื้อผงฯลฯ
- รายละเอียดของเนื้อผงต่างๆนั้นผู้เขียนได้พบในหนังสือ พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวง โดย มัตตัญญู พิมพ์จำนวน 1,000 เล่น เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2530 ผู้เขียนให้ความเห็นว่าหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาส่วนใหญ่ถูกต้องครบถ้วน ใช้เป็นแนวทางศึกษาพระของสมเด็จโต รวมไปถึงพระของหลวงพ่อเงิน และพระพิมพ์ช่างหลวงที่สร้างในยุครัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ได้ดียิ่ง
- พระที่สร้างโดยฝีมือของช่างสิบหมู่กรณีเป็นพิมพ์พิเศษ อะไรก็พิเศษ ขนาดเนื้อพระผงฯผ่านมา 100 กว่าปีมองผ่านๆยังเหมือนกับพระใหม่พึ่งสร้างเสร็จ
รูปที่ 4 หน้าปกหนังสือ " พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวง โดย มัตตัญญู "
สรุป...
สมเด็จฯ โตมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระกริ่งฯ ดังต่อไปนี้
การสร้างพระกริ่งฯของสมเด็จฯโตฯนั้น น่าจะเนื่องจากว่าท่านได้รับการถวายพระกริ่งที่เรียกกันว่า "กริ่งปทุมสุริวงศ์" ทรงเห็นว่าพระกริ่งนั้นดีมีมงคล
พระกริ่งปทุมสุริวงศ์ น่าจะได้รับถวายเมื่อครั้งที่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงเสนี) ได้ว่าราชการ(ปกครอง)เขมร 15 ปี จนถึง พ.ศ. 2391 จึงได้เดินทางกลับกรุงเทพ หากดูตาม พ.ศ.นับว่าใกล้เคียงกัน
กล่าวได้ว่าสมเด็จโต ได้เคยให้สร้างพระกริ่งฯในยุคของ รัชกาลที่ 4 สืบเนื่องต่อมาถึงยุครัชกาลที่ 5 (ไม่เกิน พ.ศ.2415)
พระกริ่งฯที่สร้างใน พ.ศ.2411 นั้นผู้เขียนยอมรับว่ามีจำนวนมากการสร้างมากที่สุดในยุคของรัชกาลที่ 5 และมีหลากหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่โดดเด่นที่สุด คือ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข เป็นพิมพ์ที่ออกแบบพิมพ์ได้สมบูรณ์ งดงามมาก
ถึงแม้นจะมีพระกริ่งปวเรศ พิมพ์อื่นที่อ่อนช้อยกว่า แต่มีจำนวนการสร้างน้อยมากเมื่อเทียงกับพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ดังรูปที่ 4 ผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศ องค์นี้ ได้เรียกพิมพ์นี้ว่า พิมพ์ "หน้านาง"
รูปที่ 5 พระกริ่งปวเรศ พิมพ์ หน้านาง