ถ้าหากผู้เขียนบอกว่า "ลูกศิษย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต มีอยู่คนหนึ่งชื่อ ปวเรศ " ท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่?
แต่ลูกศิษย์ที่นามเรียกขานว่า "ปวเรศ " ไม่ใช่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่? และมีความคิดเห็นเช่นไร?
เข้าเรื่องครับผม...
+++ กล่าวสรุปได้ว่า " พระวังหน้า " หรือ คำว่า " ปวเรศ " ล้วนมีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดทั้งสิ้น
เมื่อกาลเวลาผ่านไปถึงยุคของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (6 กันยายน พ.ศ. 2381 — 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ พระองค์เจ้ายอดยิ่งประยุรยศบวรราโชรสรัตนราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ ตำแหน่ง " วังหน้า " ในยุคสมัยของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้สร้างพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ รวมไปถึงพิมพ์พระสมเด็จและพระกริ่งหลากหลายหน้าตา ล้วนแต่เป็นพระนอกกำมือของเซียนตำรา
ไม่ว่าจะสร้างในยุคของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า (พระบาทสมเด็จฯ ปวเรศ) หรือ ในยุคของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ล้วนแล้วแต่เป็นพระวังหน้า จะประกอบด้วยพระ 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 พระวังหน้าที่ทันสมเด็จฯ โต ร่วมอธิฐานจิต
ประเภทที่ 1 พระวังหน้าที่ ไม่ทัน สมเด็จฯ โต ไม่ได้ร่วมอธิฐานจิต
แต่ลูกศิษย์ที่นามเรียกขานว่า "ปวเรศ " ไม่ใช่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่? และมีความคิดเห็นเช่นไร?
เข้าเรื่องครับผม...
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (มีคำว่าเรศอยู่ในท้ายชื่อ) หรือ ทรงเป็นพระอนุชาของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 4 ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช) หรือที่ออกพระนามกันว่า "วังหน้า" มีพระเกียรติยศเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394
มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อของพระองค์ท่านที่เรียกกันสั้นๆในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ คือ "ปวเรศ"
ประวัติย่อสั้นๆ ของพระบาทสมเด็จฯปวเรศ หรือ สมเด็จพระปวเรน
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต
พระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรสพระองคใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จขึ้นครองราช สมบัติพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์จึงสด็จกลับไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมกับพระราชมารดา ส่วนสมเด็จพระเชษฐาของพระองค์นั้นทรงสมณเพศประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุและวัดสมอราย
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับ ณ วัดระฆังโฆษิตาราม หลังจากลาผนวชพระองค์จึงเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
*** พระบาทสมเด็จฯ ปวเรศ จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ในฐานะลูกศิษย์กับอาจารย์ *** ก่อให้เกิดพระกริ่งปวเรศ ขึ้นในวงการพระเครื่องในในยุคปัจจุบันที่เรียกกันว่า "พระกริ่งปวเรศ" เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วท่านคิดว่าเชื่อข้อมูลของผู้เขียนหรือเชื่อข้อมูลตำราของเซียนตำราที่ลอกๆกันมา ข้อมูลของใครน่าเชื่อถือกว่ากัน?
ผู้เขียนขอสรุปว่า ไม่ได้จ้างให้ใครมาเชื่อตามผู้เขียน "ผู้ทรงฌาน" มี "พระอริยสงฆ์" เก่งๆมี(ไม่นับของปลอม) ขอความเมตตาขอให้ท่านสงเคราะห์ครับ ว่าที่ผู้เขียนนี้จริงหรือเท็จประการใด
รูปที่ 1 พระองค์นี้เป็นพิมพ์พิเศษของสมเด็จโต สร้างเมื่อในวาระที่ พระบาทสมเด็จฯปวเรศ ขึ้นครองราชย์คู่กับ ร.4 เมื่อ พ.ศ.2394 ด้านหน้าเป็นเนื้อผงของสมเด็จฯโต ด้านหลังฝังพระกริ่ง ฐานพระกริ่งมีคำว่า " ปวเรศ " ดูให้เต็มตาครับ ของแท้ต้องเป็นแบบนี้ ไม่ใช่ไปเชื่อเซียนตำรา ที่ลอกตำราสืบต่อๆกันมาแบบคิดไปเอง
รูปที่ 2 ขยายให้เห็นกันชัดๆ
ตัว " ป " เขียนแตะให้เห็นกันชัดๆ
ต่อมาด้วยตัว " ว "
และตัว " เ " จิ้มลงในเนื้อพระลากและก็จิ้มลึกอีกครั้ง
ส่วนตัว " ร " ดูกันจะๆ
ตามด้วยตัว " ศ "
รวมกัน ได้คำว่า " ปวเรศ "
รูปที่ 3 ถึง รูปที่ 8 ไม่ขอบรรยาย ดูกันเอาเอง คิดกันเอาเอง ว่าจะเชื่อเซียนตำราที่ลอกๆ กันมา กับของพระกริ่งปวเรศของแท้ของจริง จากผู้ครอบครองพระสายวังหน้าที่สืบทอดกันต่อๆกันมาก็เชิญตามสะดวก
*** ของจริง ของแท้ ต้องมีคู่แฝดหลายองค์ *** ถ้าหากพบเพียงองค์เดียวโดดๆ ผู้เขียวกล่าวได้เพียงสั้นๆว่าเรียบร้อยโรงเรียนเซียนตำรา
+++ กล่าวสรุปได้ว่า " พระวังหน้า " หรือ คำว่า " ปวเรศ " ล้วนมีความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งหมดทั้งสิ้น
เมื่อกาลเวลาผ่านไปถึงยุคของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (6 กันยายน พ.ศ. 2381 — 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือ พระองค์เจ้ายอดยิ่งประยุรยศบวรราโชรสรัตนราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ ตำแหน่ง " วังหน้า " ในยุคสมัยของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้สร้างพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ รวมไปถึงพิมพ์พระสมเด็จและพระกริ่งหลากหลายหน้าตา ล้วนแต่เป็นพระนอกกำมือของเซียนตำรา
ไม่ว่าจะสร้างในยุคของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า (พระบาทสมเด็จฯ ปวเรศ) หรือ ในยุคของ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ล้วนแล้วแต่เป็นพระวังหน้า จะประกอบด้วยพระ 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 พระวังหน้าที่ทันสมเด็จฯ โต ร่วมอธิฐานจิต
ประเภทที่ 1 พระวังหน้าที่ ไม่ทัน สมเด็จฯ โต ไม่ได้ร่วมอธิฐานจิต