วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

178. พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ


พระนางพญา กรุวัดทองคำ
กระทู้ที่ 178 ผู้เขียนได้พบพระดีของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งหาคนที่รู้ลึกได้ยาก ขอนำเสนอขั้นรายการด้วย

เป็นหนึ่งในพระเครื่องชุด เบญจภาคี   
พระชุดเบญจภาคี มีดังนี้ 
เบญจ แปลว่า 5
ภาคี แปลว่า ผู้มีส่วนร่วม การนำพระเครื่องสำคัญๆ 5 องค์ มารวมกันเป็นชุดจึงเรียกว่า เบญจภาคี



ในยุคของสุโขทัยเรืองอำนาจ  พระนางพญา(พระพุทธชินราช) ได้มีสร้างขึ้นหลายยุคหลายสมัย  ที่โดดเด่นนักสะสมพระเครื่องสาย พระนางพญา ต่างรู้จักกันดี พระนางพญา กรุวัดนางพญา


พระพุทธชินราช

 

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย  หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก หล่อในสมัยพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง



รูปพิมพ์ทรงของ พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ มีพุทธศิลป์เป็นแบบพิมพ์ทรงมารวิชัยที่เรียนแบบมาจากพระพุทธชินราช  อันที่จริงผู้สร้างมีความตั้งใจสร้างให้เป็นรูปเหมือนของพระพุทธชินราช  แต่ในสมัยเริ่มแรกแตกกรุ  พระรูปเหมือนนี้ได้แตกกรุในวัดนางพญา  จึงเป็นชื่อเรียกกันพระนางพญา

ราชวงศ์สุขโขทัยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างพระบรรจุกรุวัดบ่อทองคำ
        แบ่งออกเป็น 3 รัชกาล ดังนี้
     - สมัยแรกเริ่ม ได้เริ่มบรรจุพระ...ที่วัดบ่อทองคำในสมัยของ พระยาเลอไท  
     - ได้ว่างเว้นในสมัยของ พระยางัวนำถม 
     - สมัยที่สองเริ่มสร้างพระบรรจุกรุวัดบ่อทองคำอีกครั้งหนึ่งในยุคของ พระมาหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) 
     - และในยุคของพระมหาธรรมราชาที่ 2 (พระยาลือไท) เป็นยุคสุดท้ายที่ได้สร้างพระเครื่องและพระบูชาบรรจุกรุที่วัดบ่อทองคำ อ.เมือง จ.พิษณุโลกในปัจจุบัน


พระเครื่องและพระบูชาที่บรรจุกรุวัดบ่อทองคำ  กล่าววได้ว่าเป็นวัดที่ได้มีการบรรจุพระตั้งแต่ยุคปู่(พระยาเลอไท)  ยุคลูก(พระยาลิไท) และยุคหลาน(พระยาลือไท)  ได้มีการสร้างพระเครื่องและพระบูชาบรรจุกรุ 3 รัชกาล   มีการบรรจุหลายสิบปี  จึงมีพระ...และสิ่งที่ได้บรรจุมากมายหลากหลายประเภท

พระนางพญาที่แตกกรุออกมาจากวัดบ่อทองคำ  เนื่องจากมีผู้บวงสรวงอดีตชาติเป็นถึงขุนศึก...และเคยมีส่วนร่วมในการสร้างและบรรจุกรุพระ...วัดบ่อทองคำ  ได้ทำการบวงสรวงขอพระจำนวนหนึ่ง  ผู้ดูแลกรุได้อนุญาต  แต่เมื่อทำการขุดจริง  ได้ขุดมากเกินกว่าจำนวนที่ได้บวงสรวงไปมาก  เทพเทวดา เจ้าที่ ผู้ดูแลกรุพระ...จึงได้ทำการเคลื่อนกรุถึง 2 ครั้ง  และมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง  มาภายหลังผู้ขุดจึงยอมปิดกรุยกเลิกการขุด  จำนวนพระที่ขุดขึ้นจำนวนเกือบ 20,000 องค์  


พระเครื่องและพระบูชาที่บรรจุกรุวัดบ่อทองคำ  ได้บรรจุไว้หลายที่หลายๆจุด โดยพระมหากษัตริย์และประชาชนพลเมืองในสมัยโบราณ  นับตั้งแต่เวลาอดีตจนถึงปัจจุบัน  กรุพระทั้งหมดยังไม่ถึงเวลาที่จะให้ขุดขึ้นมาทั้งหมด  เนื่องจากมีผู้เป็นเจ้าของในอดีตที่ได้ที่ได้ร่วมสร้างบรรจุกรุไว้  ผู้ดูและกรุพระ...จึงให้ขุดได้บางส่วน  และพระส่วนใหญ่ยังถูกบังตาไว้  เมื่อถึงวาระจึงจะได้รับอนุญาตให้ขุดขึ้นมาทั้งหมด  (หมายเหตุข้อมูลจาก ผู้เฝ้าดูแลพระกรุ...ม่เชื่อก็ให้อุเบกขา)

พระนาง พญา(พิมพ์พระพุทธชินราช) ที่สร้างและมหาพุทธาภิเษก  สร้างขึ้นมาในวาระที่มีงานเกี่ยวข้องกับงานบุญทุกครั้ง  สร้างด้วยความบริสุทธิ์  สร้างพระเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวและความกินดีอยู่ดีมั่งมีศรีสุขของปวงประชา  มีพุทธานุภาพแรงมาก  ซึ่งอธิษฐานจิตโดยพระฤาษี และพระอริยเจ้าในสมัยสุขโขทัย

ประวัติกษัตริย์ผู้มีส่วนในการสร้างพระบรรจุกรุวัดบ่อทองคำ 

พระยาเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งกรุงสุโขทัย  (ครองราชย์ พ.ศ. 1841 - พ.ศ. 1866)

เป็นพระราชโอรสองค์โต ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ ในรัชกาลของพระยาเลอไทนี้  สิ่งที่พระองค์สร้างในรัชกาลคือการสร้างเมืองชากังราว (กำแพงเพชรฝั่งตะวันออก) ให้เป็นเมืองคู่กับศรีสัชนาลัย



พระยางัวนำถม กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย  (ครองราชย์ พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1890)

พระยางั่วนำถมเป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยมาก่อนตามจารึกหลักที่ 15 แต่ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระยาเลอไทซึ่งเป็นพระบิดาของพระยาลิไทยกษัตริย์ลำดับที่ 6 ....(ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบรรจุกรุวัดบ่อทองคำ)


พญาลิไท กษัตริย์องค์ที่
6 แห่งกรุงสุโขทัย (ครองราชย์ พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 พระโอรสพญาเลอไท และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ พ.ศ. 1935 หลักที่ 8 ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2499 ได้กล่าวว่า เมื่อพระยาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. 1866  พระยางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์



ต่อมาพระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พระยาลิไท" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1



พญาลิไท เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนา ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระยาลือไท
กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งกรุงสุโขทัย (ครองราชย์ พ.ศ. 1919 - พ.ศ. 1942)

หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 ครองราชย์สืบต่อจากพระยาลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1

พระยาลือไท ขึ้นครองราชย์เมื่ออาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอเสื่อมอำนาจ


อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็น 2 แคว้นคือ

1. แคว้นชากังราวประกอบด้วยเมืองตาก ชากังราว (กำแพงเพชร) และนครสวรรค์

2. แคว้นสุโขทัย ประกอบด้วยเมืองสุโขทัย อุตรดิตถ์ สองแคว (พิษณุโลก) พิจิตร นอกจากนี้เมืองขึ้นสำคัญ เช่น เมืองหงสาวดี และเมืองอู่ทอง ต่างแข็งข้อ ลุถึง พ.ศ. 1921 สุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา พระยาลือไทจึงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอาณาจักรสุโขทัย


อย่างไรก็ดี พระยาลือไท ยังทรงครองเมืองต่อไปที่ราชธานีพิษณุโลกในฐานะเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาจนถึงประมาณ พ.ศ. 1942



1781001 พระนางพญา เนื้อทอง(สุโขทัยส่งส่วยขอม) กรุวัดบ่อทองคำ พิษณุโลก  ด้านหลังองค์พระนางพญาเนื้อทอง จะต้องมีรอยขัดถูดังรูป
พลังพุทธานุภาพ 550 เท่าเมื่อเทียบ

การตบแต่งพระพุทธชินราช เศษทองที่ได้ผ่านการตบแต่ง พระพุทธชินราช  พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา นำมาหลอมหล่อเป็นฉนวนโลหะในการสร้าง พระนางพญาเนื้อทองคำ  พระนางพญาเนื้อนวโลหะ(สำริด) พระนางพญาเนื้อทอง(ทองคำสูตรสุโขทัยที่ทำขึ้นมาเพื่อส่งส่วยให้กับขอม)  และได้นำมาสร้างเป็นหมุดทองคำและสไบทองคำที่ฝั่งในพระเนื้อผงสีดำ และสีแดง

ผู้เขียนในครั้งแรกที่ได้สัมผัสถึงความแรงขององค์พระ  ต้องยอมรับความจริงว่า พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ  แรง ดี พิธีการสร้างสุดยอดเข้มขลัง  ผู้สร้าง คือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนชาวเมืองสุโขทัยในปี พ.ศ.1898

การบรรจุกรุ  ด้วยความรู้เชิงช่างได้ก้าวเข้าขั้นสุดยอดของวิวัฒนาการการบรรจุพระกรุ  ด้วยการนำทรายที่มีสะเก็ดแร่เงิน(ทรายมงคล)  นำมาผสมน้ำให้เหลว  เป็นตัวประสานป้องกันองค์ พระนางพญา แตกหัก




พระ...กรุ วัดบ่อทองคำ จังหวัดพิษณุโลก ม.11 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
การสร้างพระบรรจุกรุนี้นำโดย พระมหาธรรมราชา (พญาลิไท) เชื้อพระวงศ์ และชาวเมืองในสมัยนั้น  มีพระขนาดห้อยแขวนคอ ที่นิยมสร้างในสมัยนั้น เป็นพิมพ์ พระนางพญา

***** มวลสารโลหะสร้างเป็นพระเนื้อสีทองคำ(ทองสูตรพิเศษของราชวงศ์สุโขทัย)
***** พระ นางพญา เนื้อดินสีดำ  สร้างจากมวลสารหลายชนิด
***** พระนางพญาเนื้อดินเผาออก สีแดง สร้างจากมวลสารหลายชนิด

รูปฝาไห ที่บรรจุ พระเนื้อผง จะวางแยกไว้ในกรุต่างหากไม่ได้วางไว้บนปากไห มีพระนางพญา 1 องค์ต่อ 1 ฝา ได้ใช้ดินเป็นตัวประสานป้องกันพระนางพญาแตกหัก
 
 
 รูป ไหที่บรรจุพระผง  ช่างสมัย เมื่อง พ.ศ 1898 ได้ใช้ดินเป็นตัวประสานป้องกันพระกระทบกับไหแตกหัก  จึงทำให้เวลาผ่านมา 656 ปี  พระที่ออกมาจากกรุึมีสะภาพแห้ง  สมบูรณ์สวยงามทุกองค์
         ใบนี้ที่ผู้เขียนล้างดินที่ใช้ยึดองค์พระนางพญาได้พระนางพญาทั้งหมด 13 องค์

  
 พระ ที่อยู่ในฝาไห  ดินที่บรรจุยึดองค์พระเนื้อดินไว้  เมื่อแห้งยึดแกะแน่นมาก  ล้างดินออกดังรูปที่เห็นยังเกาะยึด ต้องออกแรงดึงเล็กน้อยจึงจะหลุดออกได้


ร่องรอยของดินที่ยึดเกาะองค์พระไว้เพื่อรักษาองค์พระ  แสดงให้เห็นถึงความรู้ในเชิงช่างว่าด้วยเรื่องการฝังกรุสุดยอดจริงๆ

 ร่อง รอยของการยึดเกาะขององค์พระนางพญา กับ ดินที่ประสาน เมื่อนำพระนางพญาออกเผยให้เห็นถึงตัวอุ 3 ตัว ที่ได้จารอยู่ด้านหลังองค์พระนางพญา

 องค์พระนางพญา เนื้อดำ ด้านหน้าฝังแผ่นทอง ก่อนบรรจุกรุได้ทาน้ำยารักษาองค์พระ และด้านหลังจารตัวอุ 3 ตัว กลับด้าน

องค์พระนางพญา เนื้อดำ ด้านหน้าฝังแผ่นทอง ด้านหลังจารตัว อุ บรรจุ แผ่นทอง
ก่อนบรรจุกรุได้ทาน้ำยารักษาองค์พระ

ร่องรอยของเนื้อดินที่ยึดเกาะองค์พระนางพญาด้านหลังเป็นตัว อุ ในไหบรรจุดพระนางพญามีลักษณะเป็นนกคุ้มคู่  ลากแตกลายงาสวยงดงามมาก


 
แต่ ละรูปเผยให้เห็นว่าดินที่ช่างสมัยโบราณใช้เป็นตัวประสานป้องกันองค์พระผงแตก หัก  ยุดเกาะและป้องกันได้ดีมาก  เนื้อดินเป็นดินละเอียดมีกากเงินผสม  ซึ่งเป็นดินที่เป็นมงคล

 
  พระเนื้อดิน สีแดง เผยให้เห็นมวลสารไม่ธรรมดา  มีผงพุทธคุณสีขาว



  
 
พระเนื้อมวลสาร สีดำ เผยให้เห็นมวลสารหลากหลายชนิด ร่องรอยการตัดของไม่เหมือนใครดูชัดๆ

พระเนื้อทองคำ สูตรสมัยสุโขทัย
พระ นางพญา ที่สร้างจากส่วนผสมจากเศษโลหะที่ขัดแต่งองค์พระทั้ง 3 องค์ นำมาผสมหล่อหลอมสร้างใหม่เป็นพระนางพญาเนื้อทอง  บรรจุอยู่ในใต้ฐานพระพุทธรูป ขนาด 5 นิ้ว, 7 นิ้ว และ 9 นิ้ว  มีบางอค์ไม่ได้บรรจุ(ส่วนน้อยมาก)




พระนางพญาที่สร้างในสมัยเดี๋ยวกันกับ พระพุทธชินราช
--- เนื้อทองมีพลังพุทธานุภาพแรงที่สุด  550 เท่า เมื่อเทียบกับพระสมเด็จทั่วๆไป ครอบคุมทุกด้าน โดดเด่นที่สุดเรื่อง โชคลาภ โภคทรัพย์
--- เนื้อดำ ฝังแผ่นทอง อุดด้วยชันโรง โดดเด่นอันดับที่สอง  มีพลังพุทธานุภาพแรงที่สุด  320 เท่า เมื่อเทียบกับพระสมเด็จทั่วๆไป
--- เนื้อดำ โดดเด่นอันดับที่สาม มีพลังพุทธานุภาพแรงที่สุด  225 เท่า เมื่อเทียบกับพระสมเด็จทั่วๆไป
--- เนื้อแดง โดดเด่นมากเป็นรองเพียงเนื้อดำเท่านั้น มีพลังพุทธานุภาพแรงที่สุด  64 เท่า เมื่อเทียบกับพระสมเด็จทั่วๆไป

เพิ่มเติมข้อมูลวันที่ 3 ก.พ.2555

พระนางพญากรุวัดบ่อทองคำ  ที่ผู้เขียนพบเห็นมีหลากหลายทรงพิมพ์  ในกระทู้นี้จะขอกล่าวเฉพาะที่ผู้เขียนมีในครอบครองเท่านั้น

1781001 พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ เนื้อดำ ฝังหมุด 3 หมุด


 1781002 พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ เนื้อดิน ฝังหมุด 6 หมุด 
          พระนางพญาเนื้อสีอิฐ หากใครสักเกตุสังนิดจะพบว่าสีคล้ายกับอิฐแดงหรืออิฐมอญ ที่ใช้ในการก่ออิฐทำผนังบ้าน  พระนางพญาสีอิฐนี้เป็นเนื้อขององค์พระมีส่วนผสมหลัก คือ ดินเหนียว วิธีการเผาสุมไฟคล้ายๆกับวิธีการทำอิฐแดง(มอญ)ในปัจจุบัน  หากได้รับความร้อนมาก  อิฐที่เผาจะมีสีแดงเข้ม  หากได้รับความร้อนพอดีจะมีสีออกแดงแบบส้มๆ  หากเผาไม่ได้ที่จะออกสีเทาแดงน้อยๆ
          พระนางพญาองค์นี้ด้านหลังและขอบด้านข้างจะสีแดงเข้มพิเศษ  แสดงให้ทราบว่ามีความแข็งแกร่งทนทานมากกว่าองค์ที่มีสีอ่อนกว่า 

  1781003 พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ เนื้อเทาดำ อมเขียว
        


1781004 พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ
         องค์นี้มีความแปลก คือ ด้านหลัง และด้านข้างมีสีขาวๆอยู่ที่องค์พระปลายแหลมด้านบน คล้ายๆกับสีก็ไม่เหมือนสี  ล้างไม่ออก  องค์นี้ผู้เขียนล้างออกมาจากไหบรรจุดินพร้อมกับองค์พระมีสีแปลกองค์นี้เพียง 1 องค์

1781005 พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ สไบทอง หลังอุแผ่นทอง  หน้าผากมีรูเจาะึลึกสำหรับฝังหมุดทอง น่าจะเดิมๆไม่ได้ฝังเอาไว้


 องค์นี้อีกองค์หนึ่ง เป็นพระนางพญาเนื้อดำ ด้านหลังฝังตัว อุ แผ่นทอง


1781006 พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ สีอิฐ (เนื้อดินเหนียวผสมมวลสารผสมเผาไฟที่ 800 องศา C)  เผยให้เห็นผงตะไบทองที่ผสมอยู่ในเนื้อพระนางพญา


พระนางพญาองค์นี้มวลสารน่าเห็นเด่นชัด

1781007 เครื่องถ้วยสังคโลก หัวมังคุด สีน้ำตาลเข้ม  เป็นการเคลือบสีพื้นเดียว ลักษณะรูปแบบและสีน้ำเคลือบคล้ายกับเครื่องถ้วยลพบุรีประเภทเคลือบสีน้ำตาล
         ถ้วยสังโลก หัวมังคุด ใบนี้มีขนาดกว้างประมาณ 11 เซนติเมตร  สูง 9 เซนติเมตร  ใบนี้ที่ผู้เขียนล้างดินที่ใช้ยึดองค์พระนางพญาได้พระนางพญาทั้งหมด 22 องค์

1781008 เครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวไข่กา หรือ เซลาดอน 

เครื่องถ้วยเคลือบใบนี้เป็นแบบหูไห  มีขนาดกว้างและสูงประมาณ 11 เซนติเมตร  คล้ายคลึงกับเครื่องถ้วยจีนจากเตาหลงฉวน สมัยราชวงศ์ซุ้งตอนปลายถึงราชวงศ์หยวน (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20)  ใบนี้ที่ผู้เขียนล้างดินที่ใช้ยึดองค์พระนางพญาได้พระนางพญาทั้งหมด 18 องค์

 



 พระนางพญากรุวัดบ่อทองคำ  เป็นพระแท้ที่มีอายุการสร้างตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี  มีพลังพุทธานุภาพที่โดดเด่นมากกว่าพระนางพญากรุวัดนางพญาหลายเท่า  หากท่านใดชื่นชอบพระเนื้อดินประเภทพระนางพญา  ผู้เขียนบอกได้แต่เพียงว่า เก็บครับ