วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

250. กรุวังหน้า และ กรุวัดพระแก้วมีจริงหรือไม่?

หากกล่าวถึง
กรุวังหน้า และ 
กรุวัดพระแก้วมีจริงหรือไม่?
มีทั้งคนที่ยอมรับว่ามี และยังมีบุคคลที่ไม่ยอมรับอีกมากว่าไม่มี เพราะอ้างตามคนอื่นเขาอ้าง ดูตามหนังสือที่เคยอ่าน อะไรทำนองนี้

ถามว่าทำไมเป็นเช่นนั้น

กระทู้นี้จะเอาของเก่ามาขาย แต่ขายทั้งทีก็ต้องมีอะไรเด็จๆมาให้ได้เลือก

ใครศึกษาลึกๆแล้วจะเข้าใจหัวข้อต่อไปนี้
1. ฉันไม่มี ฉันไม่เคยเห็น จะไปบอกว่าไม่รู้จักก็ยังไงๆอยู่
2. การไปรับประกันพระ..ให้คนอื่นที่เหมือนในตู้พระที่มี  แล้วพระ...ในตู้ที่ลงทุน...เก็เต็มตู้จะขายให้ใคร
3. ใครเป็นคู่แข่งขัน ต้องตัดคู่แข่งขันออกไปจากตลาดให้มากที่สุด คือ เก๊ ปลอม ไม่มี  สิ่งที่พบเป็นเรื่องแปลก คนที่บอกว่าไม่มี เป็นของเรียนแบบ  แต่ในตู้เก็บไว้เพียบ 

อ่านไปอ่านมาชักงง ไม่ต้อง งง ครับ ผู้เขียนกล่าวถึง พระกรุวังหน้า รวมไปถึงพระกรุวัดพระแก้ว วงการตลาดพระเครื่อง...ที่กำหนดโดยเซียนใหญ่ๆเขาไม่ยอมรับว่ามี ไม่ยอมรับว่าใช่  แต่ลึกๆหากสังเกตุ  ศึกษาแล้วเฝ้าดูจะมีอะไรแปลกๆ หลุดออกมาให้เห็นนานๆ ครั้ง 

เช่น ข่าวจากสนามพระ...จากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งของเมืองไทย รายละเอียดดังรูปประกอบอ้างอิงฯ เพื่อเป็นกรณีศึกษา ว่าพระเครื่อง...กรุวังหน้ามีจริงหรือไม่? 

2511001
รูปหัวข้อข่าว พระนางพญาฯ กรุวังหน้า


พระองค์นี้จากการอ้างอิงฯ เป็นของ พล.ต.อ.สนอง  วัฒนวรางกูร และ มีลงรักปิดทอง ระบุเป็นพระของ  กรุวังหน้า

สรุป   จากหัวข้อข่าวพระนางพญาฯ
หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่สนามพระวันที่ 20/1/2556 กล่าวถึง  
พระเครื่อง...กรุวังหน้ามีจริง เป็นพระนางพญาของ พล.ต.อ.สนอง  วัฒนวรางกูร

2511002
ข้อความข่าวระบุรายละเอียด พระนางพญาฯ กรุวังหน้า
สรุป รายละเอียดของข่าวเกี่ยวกับพระนางพญา
1. ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง ระบุพระนางพญาฯองค์ดังกล่าว เป็นพระนางพญาที่อยู่ในกรุวังหน้า ซึ่งเป็นการโฆษณา หรือ อ้างอิงฯข้อเท็จจริง ย่อมหมายถึง พระนางพญาฯ องค์ดังกล่าว ครั้งหนึ่ง เคยอยู่ใน กรุวังหน้า สรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ คือ กรุพระวังหน้ามีจริงนะจ๊ะ นี่ไง พระนางพญาฯของกรุวังหน้า อะไรทำนองนี้
 
2. ข้อความขีดเส้นสีแดง กล่าวถึง
พระนางพญา ค้นพบฯ เมื่อปี พ.ศ.2444 คราว ร.5 เสด็จประพาสหัวเมืองทางเหนือ 
--- ใครสะสมพระเครื่่องของสายวังหน้า จะทราบว่า วังหน้าองค์สุดท้าย(เสียชีวิต) คือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลทิวงคตในปี พ.ศ.2428 และทรงเป็นวังหน้า องค์สุดท้าย ของประเทศไทย
 
3. เจ้าอาวาส คัด พระสวยสุดๆ ถวาย ร.5
--- ถวาย ร.5 ครับ ไม่ใช่ถวายวังหน้า
--- เมื่อถวาย ร.5 พระนางพญาฯ ที่ ร.5 ได้รับถวายภายหลังจากพระราชทานให้กับผู้ติดตาม พระนางพญาฯส่วนที่เหลือนำกลับพระนคร(กรุงเทพฯ) บรรจุกรุของวังหลวงครับ ไม่ใช่วังหน้า  ดังนั้น กรุพระเครื่องของวังหลวง อยู่ที่ไหน?
กรุวัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ข้างๆสนามหลวง
--- คนเขียนข่าว ไม่ใช่เขาไม่รู้ว่ามีกรุวัดพระแก้ว  รู้ครับ อิอิ แต่ระบุไม่ได้ 555  เอชักไม่แน่ใจ สงสัยคงไม่รู้จักกรุวัดพระแก้วก็เป็นได้ ใครเชื่อยกมือขึ้น...

สรุปรอบที่ 3 ก็คือ สรุปของสรุป
ให้กลับขึ้นไปอ่านทำความเข้าใจอีกสักรอบถ้ายังไม่มั่นใจว่า พระเครื่อง...กรุวังหน้า และ กรุวังหลวง(วัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) มีจริงหรือไม่?


วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

249. กระทู้ในเว็ปบล๊อก

เนื่องจากอดีตที่ผ่านมาได้เขียนกระทู้ไว้หลายประเภท  จึงได้ทำการรวบรวม แยกประเภทเรื่องต่างๆ ออกจากกัน เป็นเรื่องเฉพาะ เช่น
     และยังมีอีกหลายกระทู้ที่ยังไม่ได้แยก มองๆแล้วเกิน 10 เรื่อง   เมื่อมีเวลาจะค่อยๆ แยกเป็นเรื่องประเภทต่างๆ 

สาเหตุที่ต้องแยกเป็นประเภท
     1. เพื่อสะดวกและง่ายในการสืบค้นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการ
     2. เพื่อให้บล๊อกฯต่างๆ เมื่อคนดูมากๆ ไม่มีปัญหาในการโหลดข้อมูล
     3. เพื่อให้ข้อมูลในแต่ละ เว็ป(บล๊อก) ใช้หน่วยความจำไม่เกินกำหนด...ของการใช้ ฟรี  เนื่องจากในปัจจุบันต้องจ่ายเงินค่าพื้นที่ เพราะใช้มากเกินกว่าข้อกำหนด

รูปในวงกลมสีเขียว  
แสดง รายการบล๊อกแยกประเภท ที่ได้รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่ในบล็อกเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการเปิดอ่าน


รูปในกรอบสี่เหลี่ยมสีม่วง 
     เมื่อเลือก รายการบล๊อกแยกประเภท ตามเนื้อเรื่องของกระทู้ที่ต้องการอ่าน  
     ให้ดูในกรอบสี่เหลี่ยมสีม่วง 
     1. เลือก พ.ศ. ที่ต้องการ
     2. เลือก เดือน ที่ต้องการ
     3. เลือก กระทู้ที่ต้องการในเดือนนั้นๆ

รวมเรื่องในกระทู้ต่างๆ จะแยกอิสระจากกัน 
     การคลิกกลับไป "หน้าแรก" จะไปในหน้าแรกของรวมเรื่อง...กระทู้นั้นๆ  ไม่ใช่กลับไปที่หน้าหลักของ พระกริ่งปวเรศ พระเครื่องสมเด็จโต พ.ศ.2382 - พ.ศ.2434 และที่สำคัญคือ บล๊อกที่แยกรวมเรื่องออกไป  ผู้เขียนได้แก้ไขข้อมูลในหลายๆกระทู้ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

     บทความของรวมเรื่อง...ใดเรื่องหนึ่ง เปรียบเสมือนเว็ป ๆ หนึ่ง  เนื้อหาต่างๆ ผู้เขียนจะไปเขียนเพิ่มเติมฯในบล๊อกดังกล่าว  ถ้าหากมีข้อมูลใหม่ๆ ของกลุ่มเรื่องนั้นๆ  
     ช่วงนี้ผู้เขียนได้ทำการแยกเรื่องในกระทู้เพื่อรวมเรื่อง....ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง   และทำ วีดีโอ VDO  เพื่อให้คนที่สนใจศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องวีดีโอ เนื้อหาโดยรวมกระชัดและสรุป  



วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

248. เบ้าประกบพระกริ่งปวเรศ

เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ หรือ
หินกดลาย พิมพ์พระกริ่งปวเรศ

พระกริ่งปวเรศหล่อด้วยเป้าพิมพ์ชนิดประกบ 2 ด้าน
ดังเช่น เบ้าพิมพ์ประกบที่มีปรากฏที่วัดบวรนิเวศวิหาร ที่มีเพียงด้านเดียวทำให้คนที่ศึกษา ง งง ว่าอีกด้านหนึ่งจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร?

2481001
เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งวัดบวรนิเวศฯ 
เบ้า ประกบของวัดบวรนิเวศวิหาร ที่มีอยู่ 1 แผ่น(ด้านหลัง) มองยังไงก็เป็นพิมพ์คนละแบบกับองค์พระกริ่งองค์วัดบวรฯที่นำมาวางถ่ายรูปโช ร์
 ในกระทู้ที่ 13 เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ ที่ผู้เขียนเคยกล่าว

2481002
เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข จำลอง
เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่ผู้เขียนจำลองสร้างขึ้น เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจ
     ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับเบ้าพิมพ์ประกบที่มีในสมัยโบราณ พ.ศ.2415 ที่เป็นของวังหน้า หรือ พระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นตกทอดรุ่นสุ่รุ่นของตระกูล ณ ป้อมเพชร  
     ซึ่งมีวิวัฒน์การเช่นเดียวกันกับเบ้าพิมพ์ประกบของพระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงจากข้อมูลการสอบถามพระเบื้องบน... และมีลักษณะเทคนิคการสร้างเหมือนกับเบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งฯของวัดบวรนิเวศวิหาร

2481003
หินสบู่แกะลายโบราณ หรือ เป้าประกบ หรือ เบ้ากรอก ของจางวางต่อ วังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงค)

     ลักษณะของเส้นสายแม่พิมพ์ที่องค์พญาครุฑมีความสมบูรณ์งดงามมาก  และเผยให้เห็นตำแหน่งที่ใช้เทขี้ผึ้ง(เทียนไข)ลงในเป้าประกบชัดเจน  อีกทั้งมีรู 4 รูเพื่อใช้ยึดเป้าประกบเหมือนกับเบ้าประกบพระกริ่งฯของวัดบวรนิเวศวิหาร

เบ้าพิมพ์ประกบรูปพญาครุฑ ด้านใน


2481004
หินสบู่แกะลายโบราณ หรือ เป้าประกบ หรือ เบ้ากรอก ของจางวางต่อ วังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงค)
    ลักษณะของเบ้าประกบมีรู 4 รู มีไว้เพื่อยึดเบ้าประกบแผ่นหน้ากับแผ่นหลังให้สนิทในขณะที่ทำการเทขี้ผึ้งหรือเทียนไขลงในเบ้าประกบ
เบ้าพิมพ์ประกบรูปพญาครุฑ ด้านนอก


2481005
หินสบู่แกะลายโบราณ หรือ เป้าประกบ หรือ เบ้ากรอก ของจางวางต่อ วังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงค)
    ลักษณะของเบ้าประกบมีรู 4 รู มีไว้เพื่อยึดเบ้าประกบแผ่นหน้ากับแผ่นหลังให้สนิทในขณะที่ทำการเทขี้ผึ้งหรือเทียนไขลงในเบ้าประกบ
เบ้าประกบ วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ
เบ้าประกบแบบกรอกขี้ผึ้ง ฝีมือช่างสิบหมู่วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ

เบ้าประกบแบบกรอกขี้ผึ้ง ฝีมือช่างสิบหมู่วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ เปรียบเทียบกับเหรียญ 50 สตางค์
หมายเหตุ เบ้าประกบแบบกรอกขี้ผึ้ง ฝีมือช่างสิบหมู่วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ ปัจจุบันอยู่ครอบครองของผู้เขียน(7 มกราคม 2555)
สรุป  
     เบ้าประกบของวังหน้า หรือ พระราชวังบวรสถานมงคล ที่พบเพิ่มเติมเป็นเบ้าประกบของช่างสิบหมู่ในอดีตที่ตกทอดรุ่นสู่รุ่นของตระกูล ณ ป้อมเพชร  เป็นเบ้าประกที่ใช้สร้างรูปเหมือนของ พญาครุฑ ซึ่งมีแนวคิดเช่นเดียวกันกับเบ้าพิมพ์ประกบของวัดบวรนิเวศวิหาร  ที่ผู้เขียนเคยกล่าว และที่ผ่านมาได้จำลองเบ้าประกบพระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขขึ้นเพื่อเป็นกรณีศึกษา มีข้อมูลถูกต้องตรงกันทุกประการ
     อีกทั้งพระเครื่องเนื้อผงที่เป็นของโบราณพบสมัย รัชกาลที่ 3, รัชกาลที่ 4, รัชกาลที่ 5 ล้วนแล้วแต่สร้างด้วยเบ้าประกบทั้งสิ้น  เช่น รูปเหมือนของเจ้าพระคุณสมเด็จโตฯ พรหมรังสี(เนื้อผง) รูปเหมือนหลวงพ่อเงิน(เนื้อผง)  พระกริ่งปวเรศ(เนื้อผง) สร้างด้วยวิธีการใช้เบ้าพิมพ์ประกบทั้งหมดทั้งสิ้น