วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

248. เบ้าประกบพระกริ่งปวเรศ

เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ หรือ
หินกดลาย พิมพ์พระกริ่งปวเรศ

พระกริ่งปวเรศหล่อด้วยเป้าพิมพ์ชนิดประกบ 2 ด้าน
ดังเช่น เบ้าพิมพ์ประกบที่มีปรากฏที่วัดบวรนิเวศวิหาร ที่มีเพียงด้านเดียวทำให้คนที่ศึกษา ง งง ว่าอีกด้านหนึ่งจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร?

2481001
เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งวัดบวรนิเวศฯ 
เบ้า ประกบของวัดบวรนิเวศวิหาร ที่มีอยู่ 1 แผ่น(ด้านหลัง) มองยังไงก็เป็นพิมพ์คนละแบบกับองค์พระกริ่งองค์วัดบวรฯที่นำมาวางถ่ายรูปโช ร์
 ในกระทู้ที่ 13 เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ ที่ผู้เขียนเคยกล่าว

2481002
เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข จำลอง
เบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่ผู้เขียนจำลองสร้างขึ้น เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจ
     ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับเบ้าพิมพ์ประกบที่มีในสมัยโบราณ พ.ศ.2415 ที่เป็นของวังหน้า หรือ พระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นตกทอดรุ่นสุ่รุ่นของตระกูล ณ ป้อมเพชร  
     ซึ่งมีวิวัฒน์การเช่นเดียวกันกับเบ้าพิมพ์ประกบของพระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงจากข้อมูลการสอบถามพระเบื้องบน... และมีลักษณะเทคนิคการสร้างเหมือนกับเบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งฯของวัดบวรนิเวศวิหาร

2481003
หินสบู่แกะลายโบราณ หรือ เป้าประกบ หรือ เบ้ากรอก ของจางวางต่อ วังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงค)

     ลักษณะของเส้นสายแม่พิมพ์ที่องค์พญาครุฑมีความสมบูรณ์งดงามมาก  และเผยให้เห็นตำแหน่งที่ใช้เทขี้ผึ้ง(เทียนไข)ลงในเป้าประกบชัดเจน  อีกทั้งมีรู 4 รูเพื่อใช้ยึดเป้าประกบเหมือนกับเบ้าประกบพระกริ่งฯของวัดบวรนิเวศวิหาร

เบ้าพิมพ์ประกบรูปพญาครุฑ ด้านใน


2481004
หินสบู่แกะลายโบราณ หรือ เป้าประกบ หรือ เบ้ากรอก ของจางวางต่อ วังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงค)
    ลักษณะของเบ้าประกบมีรู 4 รู มีไว้เพื่อยึดเบ้าประกบแผ่นหน้ากับแผ่นหลังให้สนิทในขณะที่ทำการเทขี้ผึ้งหรือเทียนไขลงในเบ้าประกบ
เบ้าพิมพ์ประกบรูปพญาครุฑ ด้านนอก


2481005
หินสบู่แกะลายโบราณ หรือ เป้าประกบ หรือ เบ้ากรอก ของจางวางต่อ วังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงค)
    ลักษณะของเบ้าประกบมีรู 4 รู มีไว้เพื่อยึดเบ้าประกบแผ่นหน้ากับแผ่นหลังให้สนิทในขณะที่ทำการเทขี้ผึ้งหรือเทียนไขลงในเบ้าประกบ
เบ้าประกบ วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ
เบ้าประกบแบบกรอกขี้ผึ้ง ฝีมือช่างสิบหมู่วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ

เบ้าประกบแบบกรอกขี้ผึ้ง ฝีมือช่างสิบหมู่วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ เปรียบเทียบกับเหรียญ 50 สตางค์
หมายเหตุ เบ้าประกบแบบกรอกขี้ผึ้ง ฝีมือช่างสิบหมู่วังหน้า รูปหล่อพญาครุฑ ปัจจุบันอยู่ครอบครองของผู้เขียน(7 มกราคม 2555)
สรุป  
     เบ้าประกบของวังหน้า หรือ พระราชวังบวรสถานมงคล ที่พบเพิ่มเติมเป็นเบ้าประกบของช่างสิบหมู่ในอดีตที่ตกทอดรุ่นสู่รุ่นของตระกูล ณ ป้อมเพชร  เป็นเบ้าประกที่ใช้สร้างรูปเหมือนของ พญาครุฑ ซึ่งมีแนวคิดเช่นเดียวกันกับเบ้าพิมพ์ประกบของวัดบวรนิเวศวิหาร  ที่ผู้เขียนเคยกล่าว และที่ผ่านมาได้จำลองเบ้าประกบพระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขขึ้นเพื่อเป็นกรณีศึกษา มีข้อมูลถูกต้องตรงกันทุกประการ
     อีกทั้งพระเครื่องเนื้อผงที่เป็นของโบราณพบสมัย รัชกาลที่ 3, รัชกาลที่ 4, รัชกาลที่ 5 ล้วนแล้วแต่สร้างด้วยเบ้าประกบทั้งสิ้น  เช่น รูปเหมือนของเจ้าพระคุณสมเด็จโตฯ พรหมรังสี(เนื้อผง) รูปเหมือนหลวงพ่อเงิน(เนื้อผง)  พระกริ่งปวเรศ(เนื้อผง) สร้างด้วยวิธีการใช้เบ้าพิมพ์ประกบทั้งหมดทั้งสิ้น