วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

243. ที่มาของพระเครื่องกรุสายวังหน้า

ข้อมูลที่มาของพระเครื่อกรุสายวังหน้า ที่จะกล่าวถึงนี้คัดมาจากหนังสือที่ระลึก ในงานฌาปนกิจ ชื่อเรื่อง วัยวัฒน์ ของคุณ วัยวัฒน์ เวชชาชีวะ หนา 192 หน้า พิมพ์จำนวน 500 เล่มแจกในงานฯ ตั้งแต่หน้า 87 ถึงหน้า 157 ขออนุญาตคัดลอกมาบางส่วนเปิดเผยรายละเอียด เพื่อประดับเป็นความรู้เป็นวิทยาทานตามเจตนารมณ์ของผู้ทำและเขียนหนังสือฯนี้ได้กล่าวถึง ของรักของโปรดในหน้า 64 และ
พระเครื่องกรุสายวังหน้ามีรายละเอียดประกอบด้วย หัวข้อ
     
ที่มาของพระเครื่องกรุสายวังหน้าของคุณ วัยวัฒน์ เวชชาชีวะ รวม 4 สายราชสกุลใหญ่ด้วยกันคือ 
     สายที่1 เป็นสายของ พระองค์เจ้าชายกาญจโนภาสรัศมี/กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ ซึ่งพระองค์ท่านเป็นพระราชโอรสของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และมีศักดิิ์เป็นพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้า ร.4 และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านเป็นต้นราชสกุล กาญจนะวิชัย มีพระเครื่องพระบูชาที่เป็นมรดกตกทอดมาจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นจำนวนมาก
     สายที่2 เป็นสายของ พระองค์เจ้าชายวิบูลยพรรณรังษี  ซึ่งพระองค์ท่านเป็นพระโอรสของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และเป็นต้นราชสกุล วิบูลยพรรณ พระองค์เจ้าชายวิบูลยพรรณรังษืมีพระเครื่องพระบูชาที่เป็นมรดกจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชายเป็นเป็นจำนวนมาก และหลากหลายทรงพิมพ์
     สายที่3 เป็นสายของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล อาภากร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย"
     ครั้งหนึ่ง พระองค์เจ้าชายวิบูลยพรรณรังสี ได้มอบพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นในราชพิธีของทางวังหน้าให้กับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์รับสั่งให้นายทหารเอาพระนั้นไปแขวนที่ต้นยางใหญ่ แล้วให้พระยานาวาพหลพลพยุหรักษ์ (ลอย ชลายลนาวิน) เอาปืน ร.ศ.ยิง  ปรากฏว่าปืนยิงไม่ออก แต่พอหันกระบอกปืนขึ้นฟ้ากดไก ปืนกลับลั่นตูม ยังความอัศจรรย์ให้เกิดแก่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เป็นที่ยิ่ง  หลังจากนั้นกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ก็ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระเครื่องพระชูชาของวังหน้าเป็นต้นมา  จนเป็นเหตุให้พระองค์ท่านหันมาสนใจอิทธิปาฏิหาริย์อย่างจริงจัง

     สายที่4 เป็นสายของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติขจร และทรงเป็นผู้ที่มีพระเครื่องกรุสายวังหน้ามากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพระกริ่งปวเรศ และพระเครื่องพระชาชาอีกนับไม่ถ้วน

     พระเครื่องกรุสายวังหน้าได้ถูกเก็บรวบรวมรักษาไว้อย่างดีโดยท่านผู้รับสือต่อกันมา จนปัจจุบันก็ยังถูกเก็บไว้เป็นอย่างดีโดยไม่เปิดเผยข้อมูลมากนัก พระเครื่องกรุนี้ยังมีความสมบูรณ์ดังเดิมทุกประการ และด้วยที่เป็นมรดกแห่งกาลเวลาที่มีอายุยาวนายรวมร้อยกว่าปี และสร้างขึ้นเกี่ยวกับพระราชพิธีสำคัญๆทั้งนั้น พร้อมกันนี้เป็นพระที่มีความงดงามสมบูรณ์และวิเศษมาก 

เจ้าวังหน้า : ปวเรศ 
     เมื่อ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ (พ.ศ.2367 - พ.ศ.2375) พระเจ้าน้องยาเธอใน ร.2 สวรรคต  ตำแหน่งวังหน้าก็ว่างลงเป็นเวลาถึง 18 ปี  ถึงช่วงรัชกาลที่ 4 มีผู้ได้รับบวรราชาภิเษกตำแหน่งวังหน้า คือ พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (เจ้าฟ้าจุฑามณี กรุมขุนอิศเรศรังสรรค์ พ.ศ.2394 - พ.ศ.2408)
     พระเครื่องสายวังหน้าสายนี้ก็คงมีการสร้างมาทุกยุคทุกสมัย  แต่ในนี้จะกล่าวถึงเฉพาะยุคของ
พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่านั้นเพราะสามารถสืบค้นได้อย่างแน่นอน
     ในยุคของ  พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว นี้ การสร้างพระสายวังหน้ามีการสลักสร้างออกมาไม่ขาดสาย  มีการสร้างพระกริ่งมากมายในของของพระองค์ท่าน  และโดยส่วนตัวพระองค์ท่านก็คงนิยมพระเครื่องเนื้อโลหะมาก  ข้อมูลนี้อาจสืบค้นได้จากการที่เมื่อพระองค์ท่านลาผนวช ก็ทรงได้ศึกษาวิชาตามแบบแผนราชสกุลที่จัดให้เจ้านายเรียน  โดยพระองค์ทรงศึกษาอักษรสยามในสำนักท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม  ร่วมพระอาจารย์เดียวกับสมเด็จพระเชษฐาของพระองค์  อันท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) นี้  ท่านมีสูตรการผสมโลหะสัมฤทธิ์  ซึ่งตกทอดมาจาก "สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว - สมัยอยุธยาราชธานี" จึงเป็นไปได้ว่าพระองค์ท่านในฐานะศิษย์  ย่อมต้องเคยสัมผัสคุณวิเศษของเจ้าคุณสมเด็จฯ ผู้อาจารย์มาบ้างไม่มากก็น้อย  เป็นเหตุให้พระองค์ท่านเกิดความศรัทธาในพระเครื่องอย่างมาก
     มีหลักฐานปรากฏด้านหลังพระเนื้อผงพิมพ์โบราณบางพิมพ์  ซึ่งฝังผนึกพระกริ่งไว้ประกอบคำจารึกว่า "ปวเรศ" ดังนั้นจึงมีปัญหาที่ควรศึกษาร่วมกันว่า คำว่า "ปวเรศ" หมายถึงใคร มีกล่าวไว้ว่า คำว่า "ปวเรศ" นี้หมายถึง "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" โดยยกหลักฐานประกอบว่า "มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ  มหิศเรศ  รังสรรค์  มหรรต  วรรคไชไชยมโหฬารคุณอดุลยพิเศษ  สรรพเทเวศรานุรักษ์  บวรจักรพรรดิราช  บวรนาถบพิตร  พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว"  ชื่อของพระองค์ท่านที่เรียกกันสั้นๆ ในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ คือ "ปวเรศ"
     จึงมีคำกล่าวไว้ว่า "พระวังหน้า" หรือคำว่า "ปวเรศ" ล้วนหมายถึง "พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" ทั้งหมดทั้งสิ้น  ดังนั้น  พระเนื้อผงพิมพ์โบราณที่ผนักพระกริ่งไว้ด้านหลังประกอบคำจารึกว่า "ปวเรศ" จึงหมายถึงวังหน้า หรือ มหาอุปราช เท่านั้น  หาได้หมายถึง  เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  อธิบดีสงฆ์แห่งวัดบวรนิเวศวิหารไม่
     สำหรับผู้เขียน(หนังสือฯ) เห็นว่า "ปวเรศ" ซึ่งคือ "พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" กับ "เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" เป็นคนละองค์กันอยู่แล้ว  พระกริ่งที่ท่าน  เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สร้างในยุคตแรกๆ ไม่ว่าจะสร้างในปี พ.ศ.2404 หรือ พ.ศ.2409 เป็นต้นก็ตาม  ท่านก็ไม่เรียกว่า "พระกริ่งปวเรศ" แต่นิยมเรียกว่า "พระกริ่งบวรรังสี" ซึ่งเรียกตามพระนามกรมของท่านว่า "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์" ดังนั้น  ตรงนี้จึงเป็นอันยุติ
     "พระกริ่ง อันมีชื่อว่า  ปวเรศ"  ที่สร้างขึ้นในยุคของ  พระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จวบจนถึง พ.ศ.2515  ซึ่งจัดเป็นพิมพ์ช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่  ท่านก็เรียกว่า "พระกริ่งปวเรศ" โดยพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้สร้าง/ให้สร้าง/ขออนุญาตสร้าง ไม่ใช่กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นผู้สร้าง
     และในยุคเดียวกันกับ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ก็ได้มีพระกริ่งอีกสายหนึ่งเกิดขึ้น  โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าฤกษ์  กรมหมื่นบวรรังสีสุรยพันธุ์ หรือ  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  เป็นผู้สร้างขึ้น  พุทธลักษณะของพระกริ่งคล้ายกันมาก  จัดเป็นพิมพ์ช่างหลวงหรือช่างสิหมู่เช่นกัน  เพราะนัยว่าคนแกะพิมพ์คือคนคนเดียวกัน  แต่พระกริ่งที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์  กรมหมื่นบวรรังสีสุรยพันธุ์ หรือ  กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สร้างถวาย ร.4  และ  ร.5  นั้น  คนในยุคนั้นนิยมเรียกว่า "พระกริ่งบวรรังสี"
     พระกริ่ง  อันมีชื่อว่า "พระกริ่งปวเรศ"(ที่เรียกกันในสมัยนี้)  จริงๆ นั้นเกิดขึ้นหลังปี พ.ศ. 2416  โดยกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ อธิบดีสงฆ์ วัดบวนิเวศวิหาร เป็นผู้สร้าง  ช่วงที่สร้างจริงๆ ก็เริ่มแต่ปี พ.ศ.2417 - 2420 เท่านั้น  และจัดเป็นพิมพ์ที่สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สร้างด้วยพระหัตถ์พระองค์เองหลังจากช่วงนั้นมา  ก็ได้แต่นำเอาแม่พิมพ์ดังเดิมที่เคยสร้างในยุคของ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มาสร้างใหม่อีกครั้ง  และที่ชัดไปกว่านั้น  นายวัยวัฒน์  เวชชาชีวะ  กล่าวว่า  หลังปี พ.ศ.2420  ไม่มีการสร้างพระกริ่งปวเรศด้วยพระหัตถ์ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์อีกเลย จะมีก็แต่การนำเอาพระกริ่งองค์ที่เคยอธิษฐานจิตปลุกเสกมาแล้วในช่วงก่อนๆมาอธิษฐานจิตซ้ำอีกเท่านั้น
     สรุปความว่า  พระกริ่งที่สร้างในช่วง พ.ศ.2401 - 2411 นั้น  หรือก่อนหน้า พ.ศ.2401  ก็ตาม  ซึ่งบางองค์สร้าง  และประกอบคำจารึกว่า "ปวเรศ" ก็หมายถึง "เจ้าสายวังหน้า" เท่านั้น  หาได้หมายถึงท่านเจ้าพระคุณสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  อธิบดีสงฆืวัดบวรนิเวศวิหารไม่
     ในยุคเดียวกันกับ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ท่านพระคุณสมเด็ยกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เคยสร้างพระกริ่งถวายล้นเกล้า ร.4 และ ร.5 ก็จริง  ถึงกระนั้นพระกริ่งที่ท่านสลักสร้างไว้ในห้วงเวลานั้น  ก็ไม่เรียกว่า "พระกริ่งปวเรศ"  แต่อย่างใด  แต่คนยุคนั้นนิยมเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พระกริ่งบวรรังสี"  พอเรียกแบบนี้  คนโบราณในยุคนั้นย่อมทราบกันดีว่า  "พระกริ่งที่สร้างนั้น  ใครเป็นผู้สร้าง"

หัวข้อ
หลวงปู่ใหญ่พระเทพโลกอุดร
     ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงที่มาที่ไปในมุมมองหลวงปู่ใหญ่พระเทพโลกอุดร และกล่าวถึง หลวงปู่สิงขร  และเรื่องเกี่ยวกับ
     เหล็กไหลน้ำค้าง  
     เหล็กไหลอัมรินทร์  
     เหล็กไหลอยู่ในท้องฟ้า หรือ เหล็กไหลสายฟ้า
     เหล็กไหลกัมมรเต็ง
     และ เหล็กไหลกินน้ำผึ้ง
เรื่อ่ง ฤทธิ์ของหลวงปู่ใหญ่พระเทพโลกอุดร  หลวงปู่ใหญ่ฯมาร่วมอธิษฐานจิตด้วย "อทิสสมานกาย"  ในงานพระราชพิธี  ได้มีการจัดวางปูลาดอาสนะสำหรับนั่งไว้ให้ท่านหลวงปู่ใหญ่เทพโลกอุดรด้วย  มีผู้รู้ได้โดยวิสัยแห่งผู้ทรงฤทธิ์เหมือนหลวงปู่ใหญ่ฯ มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต  พรหมรังสี เป็นต้น
     นี่ว่าถึงหลวงปู่ใหญ่พระเทโลกอุดรได้มาร่วมในพิธี  ในปัจจุบันอันใกล้นี้ก็มีเรื่องทำนองเดียวเกิดขึ้น  รืนในบางโอกาสที่หลวงปู่เจ้าคุณตรฯ รับนิมนต์นั่งปรกพระเครื่อง ฯลฯ ท่านจะให้ปูลาดอาสนะไว้  เมื่อถึงเวลาอธิษฐานจิตปกแผ่  ท่านก็ไปด้วยอทสสมานกาย  ดังกล่าวมานี้
     เรื่องนี้หากท่านที่นิยมพระเครื่องไม่เคยรู้เลยก็นับว่าตกยุคพอดู  เพราะใครๆที่ศรัทธาในหลวงปู่เจ้าคุณนรฯ  รู้กันทั้งนั้น  ทั้งหลวงปู่ใหญ่พระเทพโลกอุดร  และหลวงปู่เจ้าคุณนรฯ  ท่านทั้งสองต่างก็ไม่ได้ไปด้วยการไปธรรมดา  แต่ท่านไปด้วยอทิสสมานกาย

หัวข้อ
ความศักดิ์สิทธิ์เกิดจากสมาธิ : ฌานจิต
ญาณวิปุผาราอิทธิ
สมาธิวิปุผาราอิทุธิ
(สามหัวข้อนี้ ไม่ได้นำรายละเอียดมาลงในกระทู้นี้)

ว่าด้วยเรื่อง พระที่สร้างด้วยการเทหล่อ 
ช่างราษฏร์ - ช่างหลวง  เบ้าทุบ - เบ้าประกบ
เป็นคนละอย่างกัน
     ศิลปะพระเครื่อง  ทั้งเนื้อผงพุทธคุณ / ดิน / โลหะ ในยุครัตนโกสินทร์  ผู้เขียนคิดว่าอาจแบ่งงานศิลปะออกได้เป็น 3 หมวด  พร้อมกับยุคสมัย คือ
     ช่วงรัชสมัยล้นเกล้า ร.1 - ร.3  จัดเป็นยุคก่อนคลาสสิก
     ช่วงรัชสมัยล้นเกล้า ร.4 - ร.9  จัดเป็นยุคคลาสสิกบริบูรณ์       
     ช่วงหลังจากรัชสมัยนี้ไป  จัดเป็นยุคหลังคลาสสิก
     งานช่างแบ่างเป็นยุค 2 สกุลช่าง คือ
     1. ช่างราษฏร์
     ช่างราษฏร์ไม่ได้เคร่งครัดในส่วนผสมของโลหะเท่าใดนัก เพราะวัสดุในการจัดสร้างส่วนใหญ่มาจากกลุ่มชาวบ้านที่มีความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งในบวรพระพุทธศาสนา
     2. ช่างหลวง
     ส่วนช่างหลวงนั้น  แม่งานเป็นระดับเจ้ากรม  งานทุกอย่างจึงเป็นไปตามรูปแบบวิธีการและแบบฉบับของช่างหลวงอย่างแท้จริง  ช่างหลวงจะเน้นอัตราส่วนของการผสมโลหะ  ดังนั้นโลหะที่ปรากฏออกมาในรูปของพระเครื่องพระบูชาจึงงดงามและประณีตอย่างยวดยิ่งไร้ที่ติ  พระเครื่องทุกองค์จะหล่อได้อย่างสวยงามคมชัดลึก  ละเอียดลออ  ละเมียดละไม  ตะมุนละม่อม  กระแสโลหะธาตุถือว่าเป็นความสำเร็จของการผสมโลหะที่ถึงขึดสุด
     ในยุคสมัยรัตนโกสินทร์นี้  อาจมีเช่นกันที่ทางช่างหลวงสร้างพระเครื่องพระบูชาดดยใช้เบ้าทุบ  แต่เท่าที่เห็นมีน้อยมาก  ยิ่งการสร้างพระเครื่องด้วยโลหะธานุและในงานใหญ่ระดับราชพิธีด้วยแล้ว  ช่างหลวงจะนิยมใช้เบ้าประกบสร้างงานมากกว่า  ทั้งนี้เพราะพระเครื่องจะออกมาสมบูรณ์แบบและสวยงามยิ่งกว่าการหล่อด้วยเบ้าทุบอย่างเทียบกันไม่ได้เลย (ผู้สนใจควรหาดูเรื่องเบ้าทุบ - เบ้าประกบ)

หมายเหตุกระทู้นี้     ยังขาด....รูปภาพพระเครื่องประกอบในหนังสือ  
                             เมื่อได้ไฟล์ต้นฉบัจะนำมาลงให้ได้ชมเพื่อเป็นกรณีศีกษาในวาระต่อไป