รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
ช่างในสมัยโบราณมีความชาญฉลาดอย่างยิ่งได้นำใบลิ้นเสือมาใช้งาน เปรียบได้กับการใช้กระดาษทรายในสมัยนี้
เอกสารอ้างอิงจาก หมายรับสั่ง พ.ศ.2389
1. ให้ส่งใบลิ้นเสือ สำหรับขัดรูปช้างหล่อ 8 ตัว(สมัย ร.3 เรียกเป็นตัวไม่ได้เรียกเป็นเชือกเหมือนในสมัยนี้)
2. ช้างที่หล่อให้ไปตั้งที่วัดอรุณราชวราราม
3. ช่างหล่อมีความประสงค์ต้องการใบลิ้นเสือ เพื่อใช้ขัดรูปช้าง ช้างที่หล่อเป็นเนื้อโลหะ ดังนั้นจึงทำให้ทราบว่าคนในสมัยโบราณใช้ใบลิ้นเสือ(ใช้แทนกระดาษทราย) เพื่อขัดโลหะ ที่หล่อขึ้นตบแต่งขัดให้สวยงาม รวมไปถึงรูปพระบูชา และพระเครื่องเนื้อโลหะองค์เล็กๆ เช่น พระกริ่งเป็นต้น
4. สถานที่หล่ออยู่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งก็คือ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยกรมศิลปากรในปัจจุบัน (สถานที่ทำงานของช่างสิบหมู่ในสมัยโบราณ)
5. สังเกตุในวงกลมสี่เหลือง มีคำว่า รับ และ ตัวอุณาโลม โดยเฉพาะตัวอุณาโลมนี้ ผู้เขียนพบเห็นในพระเครื่องเนื้อผงพิมพ์พิเศษหลายๆองค์ ที่ได้มีการเขียนจารึก และลงท้ายด้วยตัวอุณาโลม จึงเป็นข้อสังเกตุทำให้ทราบถึงที่ไปที่มาของพระเครื่ององค์นั้นแท้ หรือ ปลอม เพราะ ณ เวลานี้พระเครื่องที่สร้างปลอมไม่เคยพบการจาลึก อุณาโลม
พระเนื้อโลหะที่สร้างในยุคสมัยโบราณ ที่ผู้เขียนพบเห็นอายุการสร้างมากกว่า 1,000 ปี(หนึ่งพันปี) ยังมีร่องรอยเหมือนกับการตะไบ หรือ รอยกระดาษทรายขัด จึงทำให้เชื่อว่าเป็นร่องรอยการขัดตบแต่งด้วยใบลิ้นเสือของช่างในสมัยนั้นๆ
มาถึงยุคนี้ เซียนตำรา เชื่อในสิ่งที่ตนเองเชื่อ ส่วนใหญ่พอพบเห็นร่อยรอยเหมือนกับการขัดด้วยกระดาษทราย เหมาไว้ก่อนประการแรก ของปลอม เพราะใช้เครื่องมือสมัยใหม่ทำปลอมขึ้น ฮาครับท่าน
ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง พระบูชาขนาดใหญ่ ที่เราๆ ท่านๆ ต่างรู้จักกันดี
องค์ที่ 1 พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก สร้างในยุคสุโขทัย องค์พระเรียบดีไหม เกิดจากอะไร ภูมิปัญญาของช่างในสมัยโบราณขัดตบแต่งจนไร้ที่ติ งดงาม
องค์ที่ 2 หลวงพ่อทองคำ พระบูชาทองคำแท้ น้ำหนัก 5.5 ตัน (ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา). วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพ
พระเครื่ององค์เล็กๆ พบเห็นร่องรอยการขัดคล้ายกระดาษทราย ที่ผู้เขียนพบเห็นพระเนื้อโลหะ เช่น พระสมเด็จทองคำ พระกริ่งปวเรศ พระเชียงแสนสิงห์ 1-2-3 ที่สร้างในยุคมากกว่า 1,000 ปี และพระเครื่องเนื้อโลหะอื่นๆอีกมากมาย หากจะยกตัวอย่างในพระเครื่องเนื้อโลหะ 100 องค์ ใช้กล่องส่องดูดีๆ มีร่องรอยการขัดทั้ง 100 องค์
ช่างในสมัยโบราณมีความชาญฉลาดอย่างยิ่งได้นำใบลิ้นเสือมาใช้งาน เปรียบได้กับการใช้กระดาษทรายในสมัยนี้
เอกสารอ้างอิงจาก หมายรับสั่ง พ.ศ.2389
1. ให้ส่งใบลิ้นเสือ สำหรับขัดรูปช้างหล่อ 8 ตัว(สมัย ร.3 เรียกเป็นตัวไม่ได้เรียกเป็นเชือกเหมือนในสมัยนี้)
2. ช้างที่หล่อให้ไปตั้งที่วัดอรุณราชวราราม
3. ช่างหล่อมีความประสงค์ต้องการใบลิ้นเสือ เพื่อใช้ขัดรูปช้าง ช้างที่หล่อเป็นเนื้อโลหะ ดังนั้นจึงทำให้ทราบว่าคนในสมัยโบราณใช้ใบลิ้นเสือ(ใช้แทนกระดาษทราย) เพื่อขัดโลหะ ที่หล่อขึ้นตบแต่งขัดให้สวยงาม รวมไปถึงรูปพระบูชา และพระเครื่องเนื้อโลหะองค์เล็กๆ เช่น พระกริ่งเป็นต้น
4. สถานที่หล่ออยู่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งก็คือ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยกรมศิลปากรในปัจจุบัน (สถานที่ทำงานของช่างสิบหมู่ในสมัยโบราณ)
5. สังเกตุในวงกลมสี่เหลือง มีคำว่า รับ และ ตัวอุณาโลม โดยเฉพาะตัวอุณาโลมนี้ ผู้เขียนพบเห็นในพระเครื่องเนื้อผงพิมพ์พิเศษหลายๆองค์ ที่ได้มีการเขียนจารึก และลงท้ายด้วยตัวอุณาโลม จึงเป็นข้อสังเกตุทำให้ทราบถึงที่ไปที่มาของพระเครื่ององค์นั้นแท้ หรือ ปลอม เพราะ ณ เวลานี้พระเครื่องที่สร้างปลอมไม่เคยพบการจาลึก อุณาโลม
พระเนื้อโลหะที่สร้างในยุคสมัยโบราณ ที่ผู้เขียนพบเห็นอายุการสร้างมากกว่า 1,000 ปี(หนึ่งพันปี) ยังมีร่องรอยเหมือนกับการตะไบ หรือ รอยกระดาษทรายขัด จึงทำให้เชื่อว่าเป็นร่องรอยการขัดตบแต่งด้วยใบลิ้นเสือของช่างในสมัยนั้นๆ
มาถึงยุคนี้ เซียนตำรา เชื่อในสิ่งที่ตนเองเชื่อ ส่วนใหญ่พอพบเห็นร่อยรอยเหมือนกับการขัดด้วยกระดาษทราย เหมาไว้ก่อนประการแรก ของปลอม เพราะใช้เครื่องมือสมัยใหม่ทำปลอมขึ้น ฮาครับท่าน
ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง พระบูชาขนาดใหญ่ ที่เราๆ ท่านๆ ต่างรู้จักกันดี
องค์ที่ 1 พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก สร้างในยุคสุโขทัย องค์พระเรียบดีไหม เกิดจากอะไร ภูมิปัญญาของช่างในสมัยโบราณขัดตบแต่งจนไร้ที่ติ งดงาม
องค์ที่ 2 หลวงพ่อทองคำ พระบูชาทองคำแท้ น้ำหนัก 5.5 ตัน (ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา). วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพ
พระเครื่ององค์เล็กๆ พบเห็นร่องรอยการขัดคล้ายกระดาษทราย ที่ผู้เขียนพบเห็นพระเนื้อโลหะ เช่น พระสมเด็จทองคำ พระกริ่งปวเรศ พระเชียงแสนสิงห์ 1-2-3 ที่สร้างในยุคมากกว่า 1,000 ปี และพระเครื่องเนื้อโลหะอื่นๆอีกมากมาย หากจะยกตัวอย่างในพระเครื่องเนื้อโลหะ 100 องค์ ใช้กล่องส่องดูดีๆ มีร่องรอยการขัดทั้ง 100 องค์