วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

77. พระชัยวัฒน์องค์เล็ก เนื้อนวโลหะชนิดต่างๆ

เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 3 
พระชัยวัฒน์องค์เล็กประจำรัชกาลที่ 4เนื้อสัมฤทธิ์โชค 
โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีเหลือง สีคล้ายดอกจำปาแก่-อ่อน อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำ อมน้ำตาลดำ

เนื้่อนวโลหะ เนื้อสัมฤทธิ์โชค ในยุคของรัชกาลที่ 4 และสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมนำโลหะธาตุดังกล่าวมาสร้างเป็นองค์พระชัยวัฒน์...และพระกริ่งปวเรศ... ที่พบโดนเด่นเช่น พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2411 เป็นต้น

---เนื่องจากมีเพื่อนสมาชิกได้นำพระช้อชัยวัฒน์...สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4  จำนวนองค์พระชัยวัฒน์...ทั้งช่อแบ่งออกเป็น 7 ชั้น จากชั้นล่างถึงชั้นที่ 6 มีชั้นละ 8 องค์ รวมองค์ยอดด้วย 1 องค์เท่ากับทั้งช้อมีพระชัยวัฒน์ 49 องค์   จึงได้นำมาเปิดเผยให้ได้ศึกษาเป็นวิทยาทาน 



รูปที่ 1 และรูปที่ 2 แสดงช่อพระชัยวัฒน์(หัวไม้ขีด) สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2394  มีวรรณะสีผิวออกสีเหลือง  อายุผ่านมานับร้อยหกสิบปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำ(ดำสนิทแต่ไม่อมสีน้ำตาลแดง)  ดังรายละเอียดของรูปที่ 1 และรูปที่ 2



รูปที่ 3 ถึง รูปที่ 6  แสดงรูปพระชัยวัฒน์องค์ยอดที่ได้หัก  ออกมาจากช้อพระชัยวัฒน์  แสดงให้เห็นองค์พระชัยวัฒน์ฯ และร่องรอยการหักจากช้อ...





รูปที่ 7 ถึงรูปที่ 16  แสดงรอยหักที่หักจากช้อพระชัยวัฒน์... สร้างพ.ศ.2394 สังเกตุจะพบว่า  มีมวลสารโลหะธาตุหลากหลายชนิด  ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ คือ เนื้อออกสีเหลืองทอง



รูปที่ 17 และรูปที่ 18  แสดงก้านที่เชื่อมระหว่างพระชัยวัฒน์ กับแกนต้น(แกนช้อ)  การหักก้านออกจากช้อจะหักขึ้น 1 ครั้ง  หักลง 1 ครั้ง  และหักขึ้นอีก 1 ครั้ง  ก้านที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะหักออกจากกัน  จากรูปจะแสดงให้เห็นสีกลับดำถูกแรงดัดในการงอขึ้นงอลง  แสดงให้เห็นวรรณะสีผิวเหลืองอร่ามมีสีผิวสวยงดงามยิ่งนัก

เพื่อความกระจ่างชัดเนื้อสีเหลืองนี้เป็นเนื้อโลหะธาตุอะไร?
---ขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol
รูปที่ 19 ถึงรูปที่ 21

เมื่อขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol แสดงให้เห็นวรรณะสีผิวของโลหะเป็นเนื้อสีเหลือง  และโลหะธาตุมีน้ำหนักเบา  ซึ่่งมีเปอร์เซนต์การผสมของเนื้อทองคำที่พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสรุปได้ว่าพระชัยวัฒน์หัวไม้ขีดช้อนี้ทั้งช้อเป็น "พระชัยวัฒน์สัมฤทธิ์ สีทองเหลือง"

พระชัยวัฒน์เนื้อสัมฤทธิ์โชค

รูปที่ 22 และรูปที่ 23
     ขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol แสดงให้เห็นวรรณะสีผิวของโลหะเป็นเนื้อสีเหลืองอ่อน  วรรณะสีผิวกลับดำอมน้ำตาลบางๆ  ซึ่งเป็น "พระชัยวัฒน์เนื้อสัมฤทธิ์โชค"มีวรรณะคล้ายกับวรรณะสีผิวของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข เนื้อสีเหลืองคล้ายสีดอกจำปา
     ระหว่างเนื้อทองเหลืองกับเนื้อนวโลหะเนื้อสัมฤทธิ์โชคจะมีสีเหลือง  แต่สีและความแข็งของโลหะรวมทั้งน้ำหนักของโลหะธาตุจะแตกต่างกัน


เนื้อสัมฤทธิ์ชนิดที่ 2 พระชัยวัฒน์เนื้อสัมฤทธิ์เดช
รูปที่ 24 เป็นพระชัยวัฒน์ หัวไม้ขีด ปี พ.ศ.2394 เนื้อออกสีน้ำตาลแดง  เมื่อขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol วรรณะสีผิวภายในจะเป็นสีดั่งสีนาค  ที่เห็นรูปองค์พระออกสีเหลืองอมเขียวนั้นเกิดจากช่างโบราณได้นำองค์พระไปชุบทองคำหรือเปียกทอง   องค์นี้ก้นบรรจุกริ่งเหล็กไหลปิดด้วยแผ่นปิดประกบก้นเนื้อเงิน  และพระชัยวัฒน์ที่บรรจุกริ่งจะปิดประกบด้วยแผ่นปิดก้น เนื้อทองคำ  เนื้อเงิน และเนื้อนาค









รูปที่ 25
พระชัยวัฒน์ ปี พ.ศ.2427 องค์ต้นแบบแม่พิมพ์ในสมัย ร.5 สร้างด้วยเนื้อนวโลหะสัมฤทธิ์เดช มีวรรณะสีผิวภายในออกสีแดงอ่อน(คล้านสีเนื้อนาค)
ขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะ wenol
รูปที่ 26
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ 4 หัวไม้ขีด องค์ซ้ายเนื้อสัมฤทธิ์เดชสีคล้ายนาค(ก้นทองคำ)  องค์ขวาเนื้อสัมฤทธิ์โชคสีเหลืองจำปา(ก้นตันประทับอักขระยันต์ มะ อุ อะ)


สรุป 
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ 4 พิมพ์หัวไม้ขีด พ.ศ.2394 จะประกอบด้วย

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก เนื้อสัมฤทธิ์เดช  ก้นทองคำ...ก้นเงิน...ก้นนาค  บรรจุเม็ดกริ่งเหล็กไหล  พิมพ์ทรงจะได้รับการขัดตบแต่งสวยงามสง่า ทั้งรูปร่าง หน้าตาและขนาด สมส่วน

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก เนื้อสัมฤทธิ์โชค  ก้นตัน  ประทับอักขระยันต์ มะ อุ อะ

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก เนื้อสีทองเหลือง  ก้นตัน  ประทับอักขระยันต์ มะ อุ อะ