วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

235. วิเคราะห์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข องค์ครู

จากกระทู้ที่ 235 เป็นต้นไป ผู้เขียนจะนำพระกริ่งปวเรศ พิมพ์ต่างๆ มาวิเคราะห์ เป็นกรณีศึกษา เพื่อสำหรับท่านที่กำลังศีกษาทั้งที่มีพระกริ่งปวเรศและไม่มีพระกริ่งปวเรศ

ในกระทู้นี้จึงได้นำพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข องค์ต้นแบบ เนื้อเงิน และก้นประกบเนื้อเงินมาวิเคราะห์เล่าสู่กันฟัง

ภาพด้านหน้าของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู องค์นี้จะมีความแตกต่าง คือ ขนาดใหญ่กว่าพระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขทั่วๆไป ทั้งขนาดลำตัวและส่วนสูง แต่มีรอยตุ๊กตู่ที่บริเวณศรีษะตำแหน่งตรงกัน เพียงแต่มีขนาดต่างกันเล็กน้อย สาเหตุ... ขอกล่าวลงในรายละเอียดในภายหลัง

ภาพด้านหน้าข้างซ้ายของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู

ภาพด้านหน้าข้างขวาของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู


ภาพด้านหลังของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู

ภาพศรีษะด้านหน้าของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
1. ยอดบนสุดของศรีษะ...
2. การเกลาเนื้อโลหะรอบๆใบหน้า...และส่วนอื่นๆ
3. การตอกตุ๊กตู่ซ้ำรอยเดิม มีการตอกที่ลงน้ำหนักไม่เท่ากันในแต่ละวง
4. การเกลาแต่ง ตา จมูก ปาก และข้างมุมปากตอกเป็นจุดกลมลึก


ภาพศรีษะด้านหลังของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
1. ยอดบนสุดของศรีษะ...
2. การเกลาเนื้อโลหะรอบๆหลังใบหู
3. การตอกตุ๊กตู่ซ้ำรอยเดิม มีการตอกที่ลงน้ำหนักไม่เท่ากันในแต่ละวง
4. การเกลาแต่ง เส้นจีวรจากด้านหน้ามาด้านหลัง
5. ด้านหลังบริเวณศรีษะการหล่อของโลหะไม่สมบูรณ์ พบเห็นตำหนิของโลหะที่วิ่งไม่สม่ำเสมอจากการหล่อโลหะที่เกิดขึ้นด้วยวิธีหล่อโบราณ ไม่ใช่พระกริ่ง...ที่ทำปลอมเรียนแบบด้วยการฉีดดังเช่นการสร้างพระเก๊ พระปลอมในยุคปัจจุบัน


ภาพศรีษะด้านข้างซ้ายของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
1. ยอดบนสุดของศรีษะ...
2. การเกลาเนื้อโลหะรอบๆหลังใบหู
3. การตอกตุ๊กตู่ซ้ำรอยเดิม มีการตอกที่ลงน้ำหนักไม่เท่ากันในแต่ละวง

4. ด้านหลังบริเวณศรีษะการหล่อของโลหะไม่สมบูรณ์ พบเห็นตำหนิของโลหะที่วิ่งไม่สม่ำเสมอจากการหล่อโลหะที่เกิดขึ้นด้วยวิธี หล่อโบราณ ไม่ใช่พระกริ่ง...ที่ทำปลอมเรียนแบบด้วยการฉีดดังเช่นการสร้างพระเก๊ พระปลอมในยุคปัจจุบัน

ภาพศรีษะด้านข้างซ้ายของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
1. ยอดบนสุดของศรีษะ...
2. การเกลาเนื้อโลหะรอบๆ ใบหู และรูหู ด้วยความปราณี งดงาม ของฝีมือช่างชั้นสูง
3. การตอกตุ๊กตู่ซ้ำรอยเดิม มีการตอกที่ลงน้ำหนักไม่เท่ากันในแต่ละวง
4. การเกลาแต่ง เส้นจีวรจากด้านหน้ามาด้านหลัง




ภาพลำตัวด้านข้างซ้ายของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ

1. การเกลาเนื้อโลหะของจีวรที่หน้าอกเส้นคู่  จีวรแขนซ้าย และปลายจีวรแนบติดกับขาซ้าย ด้วยความปราณีต งดงาม ของฝีมือช่างชั้นสูง
2. การเกลาแต่งหม้อน้ำมนต์
3. การเกลาแต่ง มือ รวมทั้งเท้า และฝ่าเท้าที่เผยให้เห็นนิ้วเท้า 4 นิ่ว(จีวรปิดบัง 1 นิ้ว) ด้วยความปราณี งดงาม  ฝีมือช่างชั้นสูง ของช่างสิบหมู่ในยุคสมัย รัชกาลที่ 4

ภาพลำตัวด้านข้างขวาของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ

1. การเกลาเนื้อโลหะของจีวรที่หน้าอกเส้นคู่  จีวรแขนซ้าย จีวรใต้รักแรขวา และ จีวรแขนซ้าย ด้วยความปราณีต งดงาม ของฝีมือเชิงช่างชั้นสูง
2. การเกลาแต่งหม้อน้ำมนต์
3. การเกลาแต่ง มือ รวมทั้งเท้า ด้วยความปราณี งดงาม  ฝีมือช่างชั้นสูง ของช่างสิบหมู่ในยุคสมัย รัชกาลที่ 4

ภาพลำตัวด้านหน้าของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
     ในวงกลมสีแดง ที่วงเอาไว้  เป็นตำหนิที่เกิดจาก เครื่องไม้เครื่องมือในยุคโบราฯที่ใช้จับยึดองค์พระกริ่ง...เพื่อใช้ในการเกลาตบแต่งองค์พระกริ่ง...จะพบเห็นร่องรอยเหล่านี้ชัดเจนในองค์ที่ได้มีการเกลาตบแต่งองค์พระกริ่ง...และร่องรอยตำหนิของเครื่องมือแต่ละยุคแต่ละสมัยได้มีการพัฒนา  ทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการของเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ และทราบถึงวาระการสร้างต่างวาระ ต่าง พ.ศ. อีกทั้งทำให้ทราบว่าองค์ใดเป็นฝีมือช่างคนเดียวกันที่เกลาตบแต่งองค์พระกริ่ง...เพราะประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอยเดิมเสมอ

ภาพลำตัวด้านหน้าของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
1. การเกลาเนื้อโลหะของ  จีวรแขนซ้าย ด้วยความปราณีต งดงาม ของฝีมือเชิงช่างชั้นสูง
2. การเกลาแต่งหม้อน้ำมนต์
3. การเกลาแต่ง มือ รวมทั้งเท้า
4. รวมไปถึงการเกลาตบแต่งผ้าทิพย์ที่อยู่ใต้มือซ้าย  ด้วยความปราณี งดงาม  ฝีมือช่างชั้นสูง ของช่างสิบหมู่ในยุคสมัย รัชกาลที่ 4


ภาพลำตัวของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
1. การเกลาแต่งรูปริมฝีปากบน(มีท่านอาวุโสท่านหนึ่งเรียกพิมพ์ปากหนา) และ เห็นฟันด้านใน ได้งดงาม มีรอยรักยิ้ม ลึกตอกเป็นจุดมุมปากซ้ายขวา...


2. การเกลาแต่ง เส้นจีวรจากด้านบ่ามาบรรจบที่หม้อน้ำมนต์ได้ตรงคมชัด งดงาม
3. เอกลักษณ์ของพระกริ่งพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข อีกจุดหนึ่งคือ ไหล่ขวาจะต้องสูงกว่าไหล่ซ้าย เล็กน้อย ซึ่งเกิดจากท่าการวางมือซ้ายที่ต้องยื่นแขนไปด้านหน้าเพื่อให้หม้อน้ำมนต์อยู่บนฝ่ามือ



ภาพลำตัวช่วงล่างของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
1. การเกลาแต่งรูปมือซ้าย รับกับหม้อน้ำมนต์ได้สมส่วนแนบกับลำตัว
2. การเกลาแต่ง เส้นจีวรจากเส้นฝ่าเท้า เส้นมือ มีมิติ งดงาม สมส่วน
3. การเกลาแต่ง นิ้วเท้าและฝ่าเท้าล้วนมีความงดงามสมบูรณ์ ไม่เล็กเกินไป และไม่ให้มากเกินไป

ภาพฐานของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
1. การเกลาแต่งฐานบัว ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง มีมิติ งดงาม สมส่วน สมบูรณ์ ไม่เล็กเกินไป และไม่ให้มากเกินไปและมีความคมชัดของร่อง และเส้นสายต่างๆ ตามขนาดและรูปทรงที่ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่เริ่มต้น  ซึ่งไม่ใช่เป็นการลอกเรียนแบบ แล้วมาหัดตบแต่ง ผู้เขียนมั่นใจว่าในยุคสมัยนี้ มีเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย จริง  แต่หาช่างที่มีฝีมือที่จะมาตบแต่งได้ถึงงดงามหาที่ติดไม่ได้ขนาดนี้ไม่มี
2. แผ่นประกบใต้ฐานพระกริ่ง ตบแต่งงดงามแนบสนิท





ภาพก้น(แผ่นปิดประกบก้น)ของ
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนเสุขเนื้อเงิน องค์ครู
ให้สังเกตุ
         ความเก่าของโลหะเนื้อเงิน ที่กลับดำ(อมสีน้ำตาล) ขึ้นเขียวเพราะความเก่าที่มีอายุ สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  ลักษณะความเก่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเกินกว่า 100 ปี ไม่มีมนุษย์ที่ไหนสามารถสร้างหรือทำเรียนแบบด้วยน้ำยาเคมีหรือตัวช่วยใดๆให้เหมือนได้ด้วยระยะเวลาสั้นๆ

 ดังนั้น 
กลุ่มคนที่ไม่มีพระกริ่งปวเรศ ของจริง เห็นแต่ในหนังสือ นั่งคิดไปเอง ว่าต้องเป็นอย่างโน้น ว่าต้องเป็นอย่างนี้ ยังไงก็ไม่ใช่  เพราะไม่มีของจริงอยู่ในมือ... อีกทั้งยังไม่เคยพบเห็นของจริง ดันมาแสดงความคิดเห็น ยิ่งกว่าฮา...

ที่ใดมีของจริง ของไม่พอกับความต้องการของมวลชน ที่นั้นไม่นานก็จะมีของเก๊-ปลอมเรียนแบบ  ไม่มีการยกเว้น พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่ผู้เขียนเห็นในท้องตลาด มีสร้างทำปลอมมากมาย
ที่พบ มีปลอมเนื้อนวะโลหะสัมฤทธิ์(เนื้อเหลือง, แดง) เนื้อทองคำ ล้วนแต่มีทำปลอมทั้งสิ้น  มีทั้งประเภท หมุดปลอม สร้อยสังวาลย์ปลอม แผ่นประกบก้นเงิน ก้นทอง ปลอมมากมายจริงๆ

ยังมีอีกกลุ่มคนประเภทหนึ่ง บังเอิญได้พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข อยู่ในครอบครอบ อ้างไว้ก่อน พ.ศ. 2434 พวกนี้ก็เป็นประเภทมั่วนิ่มๆ  ที่จริงแล้วพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขมีสร้างเริ่มแรกใน พ.ศ.2394 ตั้งแต่สมัย ร.4 ทรงขึ้นครองราชย์ สืบมาถึง ไล่มาอีกหลายยุค หลายวาระที่สร้าง ต่าง พ.ศ.  เกี่ยวข้องกับผู้สร้างหลายกลุ่ม เช่น ที่ผู้เชียนพบและได้สัมผัสว่ากันเฉพาะ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ประกอบด้วย
1. พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2394
2. พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2397
3. พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2398
4. พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2410
5. พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2411
6. พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2412
การสร้างทั้ง 6 วาระนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆัง มีส่วนร่วม เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังได้อธิษฐานจิตปลุกเสก  จึงเป็น พระกริ่งปวเรศสุดของเมืองไทยพิมพ์หนึ่ง

7. พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2416 - พ.ศ.2434 ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์ในยุคนั้นอธิษฐานจิต โดยเฉพาะ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก 
         พระกริ่งปวเรศ ... ที่สร้าง ใน พ.ศ.2416 - พ.ศ.2434 
ผู้เขียนเรียกว่า พระกริ่งกรมพระยาปวเรศ ไม่ใช่พระกริ่่งปวเรศ (แต่มีพิมพ์ทรงเหมือนกัน) 
         ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จโต วัดระฆังไม่ได้อธิษฐานจิตปลุกเสก จึงมีพุทธคุณด้อยกว่า พระกริ่ง...ที่สร้างในยุควาระ ก่อน พ.ศ. 2415 

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2410 - พ.ศ.2434  เฉพาะเนื้อนวโลหะ วรรณะสีผิวใกล้เคียงกัน(ใช้สูตรส่วนผสมเกือบจะเหมือนกัน) 

ใครมีพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ให้เก็บรักษาเป็นมรดกให้ลูกหลานครับ ถึงแม้นจะมีการสร้างไว้พอสมควร แต่ก็ยังน้อยกว่าคนที่อยากได้ครอบครอง เมื่อถึงเวลาที่เขาเชื่อ ยอมรับ อยากจะมีในครอบครอบราคาไม่ใช่เช่นทุกวันนี้ ถีบตัวสูงไปกว่านี้อีกมาก  เพราะของจริงไม่สามารถสร้างเสริมได้ ยกเว้นของปลอมที่ ณ เวลานี้มีอยู่ในตลาดเต็มไปหมด

ซึ่งผู้เขียนได้ครอบครอบไว้จำนวนหนึ่ง  มีทั้งแบ่งปันให้ญาติธรรมไปบูชา และนำไปถวายให้พระสงฆ์องค์เจ้าจำนวนหนึ่ง และอีกจำนวนหนึ่งเก็บไว้ในกรุฯ รอผู้มีบุญ(เนื้อคู่)มารับไป

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขที่ผู้เขียนพบ มีอยู่หลายแหล่งด้วยกัน ดังนี้
1. จากอดีตพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้ตกทอดมาถึงทายาทในปัจจุบัน
2. จากอดีตขุนนาง ที่ได้ตกทอดมาถึงทายาทในปัจจุบัน
3. จากคหบดีรุ่นทวด ที่ได้ตกทอดมาถึงทายาทในปัจจุบัน
ทั้ง 3 แหล่งนี้ล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีนามสกุลดังของประเทศทั้งสิ้น
4. จากท้องตลาดที่มีการหมุนเวียนของวัตถุมงคล  มีทั้งที่หลุดออกมาจากทายาทที่ตกทุกข์ได้ยาก และของที่ถูกขโมยหลุดออกมาสู่ตลาด จากวันเป็นปีและผ่านมาหลายสิบปีถึงปัจจุบัน

ผู้ที่ได้ครอบครองกล่าวได้ว่าในอดีตชาติล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น มีส่วนร่วมทางหนึ่งทางใด หรือมีญาติผู้ใหญ่ในอดีตชาติสงเคราะห์ให้ได้ครอบครอง

เรื่องพุทธคุณไม่ขอกล่าวถึง  เพราะผู้เขียนได้เคยเขียนกล่าวถึงในก่อนหน้า และในตำราเกี่ยวกับพระกริ่ง...ก็ได้มีผู้กล่าวและอ้างอิงมากมาย

โปรดติดตาม...ในกระทู้ต่อๆไปผู้เขียนจะนำพระกริ่งปวเรศที่ทันเจ้าพระคุณสมเด็จโตมา วิเคราะห์เล่าสู่กันฟัง...อีกหลายพิมพ์

*** หมายเหตุ  
ภาพทั้งหมดที่ถ่ายรูป
สีจริงขององค์พระกริ่งปวเรศ...กับในรูปมีความแตกต่าง
ความละเอียดไม่สามารถถ่ายทอดด้วยฝีมือการถ่ายภาพที่ไร้อันดับ(ห่วย)ของผู้เขียนได้  
ความสมจริงผู้เขียนให้ 70%