รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
ช่างในสมัยโบราณมีความชาญฉลาดอย่างยิ่งได้นำใบลิ้นเสือมาใช้งาน เปรียบได้กับการใช้กระดาษทรายในสมัยนี้
เอกสารอ้างอิงจาก หมายรับสั่ง พ.ศ.2389
1. ให้ส่งใบลิ้นเสือ สำหรับขัดรูปช้างหล่อ 8 ตัว(สมัย ร.3 เรียกเป็นตัวไม่ได้เรียกเป็นเชือกเหมือนในสมัยนี้)
2. ช้างที่หล่อให้ไปตั้งที่วัดอรุณราชวราราม
3. ช่างหล่อมีความประสงค์ต้องการใบลิ้นเสือ เพื่อใช้ขัดรูปช้าง ช้างที่หล่อเป็นเนื้อโลหะ ดังนั้นจึงทำให้ทราบว่าคนในสมัยโบราณใช้ใบลิ้นเสือ(ใช้แทนกระดาษทราย) เพื่อขัดโลหะ ที่หล่อขึ้นตบแต่งขัดให้สวยงาม รวมไปถึงรูปพระบูชา และพระเครื่องเนื้อโลหะองค์เล็กๆ เช่น พระกริ่งเป็นต้น
4. สถานที่หล่ออยู่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งก็คือ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยกรมศิลปากรในปัจจุบัน (สถานที่ทำงานของช่างสิบหมู่ในสมัยโบราณ)
5. สังเกตุในวงกลมสี่เหลือง มีคำว่า รับ และ ตัวอุณาโลม โดยเฉพาะตัวอุณาโลมนี้ ผู้เขียนพบเห็นในพระเครื่องเนื้อผงพิมพ์พิเศษหลายๆองค์ ที่ได้มีการเขียนจารึก และลงท้ายด้วยตัวอุณาโลม จึงเป็นข้อสังเกตุทำให้ทราบถึงที่ไปที่มาของพระเครื่ององค์นั้นแท้ หรือ ปลอม เพราะ ณ เวลานี้พระเครื่องที่สร้างปลอมไม่เคยพบการจาลึก อุณาโลม
พระเนื้อโลหะที่สร้างในยุคสมัยโบราณ ที่ผู้เขียนพบเห็นอายุการสร้างมากกว่า 1,000 ปี(หนึ่งพันปี) ยังมีร่องรอยเหมือนกับการตะไบ หรือ รอยกระดาษทรายขัด จึงทำให้เชื่อว่าเป็นร่องรอยการขัดตบแต่งด้วยใบลิ้นเสือของช่างในสมัยนั้นๆ
มาถึงยุคนี้ เซียนตำรา เชื่อในสิ่งที่ตนเองเชื่อ ส่วนใหญ่พอพบเห็นร่อยรอยเหมือนกับการขัดด้วยกระดาษทราย เหมาไว้ก่อนประการแรก ของปลอม เพราะใช้เครื่องมือสมัยใหม่ทำปลอมขึ้น ฮาครับท่าน
ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง พระบูชาขนาดใหญ่ ที่เราๆ ท่านๆ ต่างรู้จักกันดี
องค์ที่ 1 พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก สร้างในยุคสุโขทัย องค์พระเรียบดีไหม เกิดจากอะไร ภูมิปัญญาของช่างในสมัยโบราณขัดตบแต่งจนไร้ที่ติ งดงาม
องค์ที่ 2 หลวงพ่อทองคำ พระบูชาทองคำแท้ น้ำหนัก 5.5 ตัน (ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา). วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพ
พระเครื่ององค์เล็กๆ พบเห็นร่องรอยการขัดคล้ายกระดาษทราย ที่ผู้เขียนพบเห็นพระเนื้อโลหะ เช่น พระสมเด็จทองคำ พระกริ่งปวเรศ พระเชียงแสนสิงห์ 1-2-3 ที่สร้างในยุคมากกว่า 1,000 ปี และพระเครื่องเนื้อโลหะอื่นๆอีกมากมาย หากจะยกตัวอย่างในพระเครื่องเนื้อโลหะ 100 องค์ ใช้กล่องส่องดูดีๆ มีร่องรอยการขัดทั้ง 100 องค์
พระสมเด็จ วัดระฆัง
ขอกล่าวถึงพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง ในรายละเอียดของเนื้อพระสมเด็จที่สร้างมีสีสันวรรณะต่างๆ มีลักษณะเช่นไร พร้อมนำภาพพระสมเด็จพิมพ์พิเศษและพระสมเด็จที่มีเนื้อมวลสารแต่ละประเภทรวบรวมไว้ เพื่อเป็นกรณีศึกษา
เนื้อพระสมเด็จ
สีสันวรรณะของเนื้อพระ และน้ำหนักพระสมเด็จของเจ้าประคุณ สมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง
1. เนื้อสีขาวอมเทา หรือสีขาวขุ่น
2. เนื้อสีขาวนวล
3. เนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายดอกจำปี
4. เนื้อสีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาลอมแดง
5. เนื้อสีน้ำตาลอมดำ
6. เนื้อชานหมาก
7. เนื้อสีดำ
8. เนื้อกระแจะจันทน์ หรือ เนื้อหอมแก่นจันทน์
เนื้อพระสมเด็จฯ ที่มีสร้างแต่ไม่เคยกล่าวถึงมาก่อนในตำรา
9. เนื้อสีเขียว
10. เนื้อสีชมพูอมแดง
1. เนื้อสีขาวอมเทา หรือสีขาวขุ่น
2391001
พระสมเด็จสีขาวอมเทา พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จกลีบบัวโรยกากเพชรดำ ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศฐานใหญ่ อธิษฐานปลุกเศก โดยเจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง
2391002
พระสมเด็จสีขาวอมเทา พระองค์นี้เป็นพระที่มีส่วนผสมมวลสารต่างๆ เช่น ผงใบราน โดยมีผงวิเศษสีขาวเป็นจุดเล็กๆ ทั่วองค์พระสร้างที่วัดระฆัง พ.ศ.2413
2391003
พระ
สมเด็จสีขาวอมเทา พระองค์นี้เป็นพระที่มีส่วนผสมมวลสารต่างๆ สร้างที่วัดระฆัง พ.ศ.2408 พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ หรือที่เรียกกันว่า
พระสมเด็จกักไม้ขีด ซึ่งมีขนาดเท่ากับพระสมเด็จทั่วๆไป แต่มีความหนากว่าหลายเท่า และมีพลังพุทธคุณแรงพิเศษ ไร้ขีดจำกัด
2. เนื้อสีขาวนวล
2391004
พระสมเด็จเนื้อสีขาวองค์นี้ผู้เขียนได้รับมอบจากญาติธรรมท่านหนึ่ง เป็นพระสมเด็จที่ติดอยู่บนไม้กระดานด้านหลังองค์พระยังพบเห็นครั่งที่ใช้เป็นตัวยึดประสานระหว่างองค์พระกับไม้กระดาน
2391005
พระสมเด็จเนื้อสีขาวพิมพ์พิเศษโรยกากเพชรดำ ด้านหลังฝังพระพิมพ์หลวงพ่อเงิน อธิษฐานจิตปลุกเศก โดยเจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง
3. เนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายดอกจำปี มีส่วนผสมของผงวิเศษ ผงเกสรดอกไม้นานาชนิด ฯลฯ เนื้อเกสรเป็นเนื้อที่ละเอียดมาก
2391006
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
มีคำจารึกด้านหลังองค์พระเนื้อผง
ด้านซ้าย = ลาภผล
ด้านขวา = พูลทวี
ด้านล่างมีจารึก พ.ศ.ที่สร้าง และชื่อ โต หมายถึง ขรัวโต หรือ เจ้าประคุณ สมเด็จโต ผู้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเศก
2391007
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ เนื้อผงสีดำ
มีคำจารึกด้านหลังองค์พระเนื้อผง
ด้านบน= 11
บริเวณเศียรพระซ้ายขวา = ....(ไม่แน่ใจครับดูกันเอาเอง)
ไหล่ซ้าย - ขวา = 24
ด้านล่างซ้าย - ขวา = 11 (หมายถึง พ.ศ.2411)
ด้านล่างตรงกลาง มีจารึก = โต หมายถึง ขรัวโต หรือ เจ้าประคุณ สมเด็จโต ผู้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเศก
2391008
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ มีจารึกวาระการสร้าง และผู้สร้างสมเด็จโต พรหมรังสี
2391009
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ มีจารึกวาระการสร้าง และผู้สร้างสมเด็จโต พรหมรังสี
2391010
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ มีจารึกวาระการสร้าง และผู้สร้างสมเด็จโต พรหมรังสี
2391011
พระสมเด็จเนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายสีดอกจำปี พระองค์นี้เป็นพิมพ์
พระผงรูปเหมือนสมเด็จโตข้างเม็ด ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข มีจารึก "โต" ผู้สร้างสมเด็จโต พรหมรังสี
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ องค์นี้สร้างในปี พ.ศ.2411 เจ้าประคุณสมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเศก
4. เนื้อสีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาลอมแดง
2391012
พระสมเด็จเนื้อสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ
พระสมเด็จกลีบบัวโรยกากเพชรดำ ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
ด้านหลัง ใต้ฐานพระกริ่งปวเรศ เนื้อผงสมเด็จ จารึก คำว่า
ปวเรศ
2391013
พระสมเด็จเนื้อสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ
พระสมเด็จกลีบบัว ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
ด้านหลัง ใต้ฐานพระกริ่งปวเรศ เนื้อผงสมเด็จ จารึก คำว่า
ปวเรศ
พระสมเด็จกลีบบัวองค์นี้ นำห้อยขึ้นคอประจำ สีเนื้อของพระสมเด็จจะค่อยๆเปลี่ยนสีไปทางโทนสีน้ำตาลมากขึ้น
5. เนื้อสีน้ำตาลอมดำ
2391014
พระสมเด็จเนื้อสีน้ำตาลอมดำ
พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จเนื้อผงยาวาสนา
สรรพคุณของสมเด็จเนื้อผงยาวาสนานั้น สามารถใช้แทนพระพิมพ์เนื้อผงยาจินดามณีของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วได้สบายๆ
ลักษณะเด่นพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือองค์พระทีน้ำหนักเบาเมื่อวางในน้ำองค์พระจะลอยน้ำ ที่พบพิมพ์สี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จทั่วๆไปก็มีสร้าง และพระองค์นี้จัดได้ว่าเป็นพระสมเด็จประเภทมวลสารพิเศษ
6. เนื้อสีชานหมาก สีดำอมแดง
2391015
พระสมเด็จเนื้อชานหมากเป็นพระสมเด็จมวลสารพิเศษ
7. เนื้อสีดำ
2391016
พระรูปเหมือนเนื้อผงสมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง บรรจุกริ่งผงใบราณ พระองค์นี้เป็นพระรูปเหมือนที่เจ้าประคุณสมเด็จโต สร้างอธิษฐานจิตปลุกเศก
กล่าวได้ว่าเป็นมวลสารชนิดพิเศษอีกพิมพ์หนึ่งราคาไม่แพง เพราะเซียนตำราไม่รู้จัก
พระรูปเหมือนสมเด็จโต วัดระฆังพิมพ์นี้ไม่เป็นรองพระสมเด็จที่เซียนตำราปั่นราคาซื้อขายองค์ละหลายสิบล้านบาท แพงสุดองค์ละ 100 ล้านบาทและ 200 ล้านบาท ที่พยายามปั่นราคากันในขณะนี้
8. เนื้อกระแจะจันทน์ หรือ เนื้อหอมแก่นจันทน์ มีกลิ่นหอมแก่นจันทน์ ในตำราการแพทย์โบราณน้ำหอมแก่นจันทน์ใช้เป็นยารักษาโรค
พระสมเด็จเนื้อหอมนี้พบได้ยากยิ่ง เพราะมีจำนวนการสร้างน้อย กล่าวได้ว่าใครมี
พระสมเด็จเนื้อหอมแก่นจันทน์ ผู้ใดได้ครอบครอบนับว่าเป็นบุคคลพิเศษที่ได้รับเลือกคัดสรรอย่างแท้จริง
พระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์ องค์นี้ ผู้เขียนได้รับมอบจากญาติธรรมท่านหนึ่ง และอดีตเคยอยู่ในครอบครองของ
พระครูปลัดธรรมขันธ์ เมฆาโภ รองเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราม
พระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์องค์นี้เป็นพระสมเด็จที่ พระครูปลัดธรรมขันธ์ เมฆาโภ รองเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราม ได้เขียนบรรทึกไว้ว่า เป็นพระสมเด็จที่ได้จากในเจดีย์ วัดระฆัง
พระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์ เจ้าประคุณ สมเด็จโต วัดระฆังสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2410 อายุผ่านมา 145 ปี ยังมีกลิ่นหอมของแก่นจันทน์
สีของพระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์ องค์นี้ ผู้เขียนได้พยายามแต่งสีให้ใกล้เคียงกับสีองค์จริงจากการมองภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้เขียน
เนื้อพระสมเด็จกลิ่มหอมแก่นจันทน์ เป็นเนื้อสีขาว สีน้ำตาลเข้มผู้เขียนไม่ทราบว่าเป็นอะไร มีลักษณะแห้ง ถ้าเอาพู่กันปัดจะมีลักษณะหลุดออกเป็นเกล็ดเล็กๆและแตกตัวออกมาเป็นผง
2391017
พระสมเด็จกลิ่นหอมแก่นจันทน์ เจ้าประคุณสมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง สร้างอธิษฐานจิตปลุกเศก พ.ศ.2410
ข้อสังเกตุ
เนื้อพระสมเด็จที่ไม่เคยผ่านการใช้งาน มือจับแทบจะไม่เคยจับเก่าเก็บ หรือ พระอยู่ในกรุรักษาไว้อย่างดี เนื้อผงจะแห้งเบา มองผ่านๆเหมือนกับพระสร้างเสร็จใหม่ๆ
ถ้าพบเห็นให้ดูให้ดีๆ แล้วจะพบความแห้งตามอายุของเนื้อพระที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ความเก่าจะพบเห็นจากหลายๆจุดของมวลสารเนื้อพระสมเด็จที่พระใหม่ไม่สามารถทำได้
เช่น (ยกตัวอย่าง) ยิ่งถ้ามีพระกริ่งที่ฝั่งอยู่จะพบว่าโลหะของพระกริ่งสีผิวขององค์พระกริ่งมีความเก่า มวลสารพระสมเด็จเนื้อพระที่ยึดติดกับพระกริ่งเชื่อมประสาน ไม่ใช่ของใหม่พึ่งทำ และบางองค์สนิมขุมหรือการกลับดำของเนื้อโลหะซึมเข้าไปในเนื้อผงพระสมเด็จ แต่ผงพระแห้งเก่า คุณลักษณะเช่นนี้ที่ของปลอมเก๊ทำเรียนแบบไม่สามารถทำได้
การแตกลายงา
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ ที่ผู้เขียนพบจากหลายๆกลุ่มของต้นตระกุล เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในอดีตที่ตกทอดมาสู่ทายาทรุ่นสู่รุ่นถึงปัจจุบัน การแตกลายงาของพระสมเด็จ ไม่ว่าจะเป็นองค์เล็ก หรือ องค์ใหญ่ ไม่ว่าจะมีความหนาหรือบาง แทบจะไม่พบเห็นร่องรอยการแตกลายงาในเนื้อผงพระสมเด็จ ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่าพระเครื่องที่อยู่ในครอบครองของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงในอดีต ณ เวลาที่ปั้มพระเสร็จใหม่ๆ ก่อนที่เนื้อมวลสารจะสูญเสียความชื้น ได้มีการบ่มองค์พระ คล้ายๆกับวิธีการบ่มพื้นผิวของคอนกรีตที่ไม่ให้สูญเสียน้ำเร็วเกินไป ทำให้ผิวของเนื้อพระสมเด็จไม่แตกลายงาและมีความสมบูรณ์งดงาม อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อพระสมเด็จที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง เพราะไม่แตกลายงา หากเกิดการแตกลายงาจะทำให้องค์พระสูญเสียความแข็งแรง
บทความเพิ่มเติมวันที่ 29/11/2555
เนื้อพระสมเด็จ ที่ในอดึตมีผู้กล่าวถึง
สีสันวรรณะของเนื้อพระ และน้ำหนักพระสมเด็จของเจ้าประคุณ สมเด็จโต พรหมรังสี วัดระฆัง
1. เนื้อสีขาวอมเทา หรือสีขาวขุ่น
2. เนื้อสีขาวนวล
3. เนื้อสีขาวอมเหลือง คล้ายดอกจำปี
4. เนื้อสีน้ำตาล หรือ สีน้ำตาลอมแดง
5. เนื้อสีน้ำตาลอมดำ
6. เนื้อชานหมาก
7. เนื้อสีดำ
8. เนื้อกระแจะจันทน์ หรือ เนื้อหอมแก่นจันทน์
เนื้อพระสมเด็จ ที่มีสร้างแต่ไม่เคยกล่าวถึงมาก่อนในตำรา
9. เนื้อสีเขียว
10. เนื้อสีชมพูอมแดง
9. เนื้อสีเขียว
2391018 พระสมเด็จรูปเหมือนสมเด็จโต ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข
2391019 พระสมเด็จรูปเหมือนสมเด็จโตข้างเม็ด ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
--- ใต้รูปเหมือนสมเด็จฯ จารึก พ.ศ.2411
--- ใต้ฐานพระกริ่ง จารึก ปวเรศ
2391020 พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ ผสมหินเขียวจากลังกา
10. เนื้อสีชมพูอมแดง
2391021 พระสมเด็จกลีบบัว โรยกากเพชร ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
--- ใต้ฐานพระกริ่ง จารึก ปวเรศ
2391022 พระสมเด็จกลีบบัว โรยกากเพชร ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
2391023 พระสมเด็จกลีบบัว โรยกากเพชร ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
พระสมเด็จ ที่สร้างโดยวังหน้าแท้ๆ แต่เจ้าประคุณสมเด็จโต วัดระฆัง ปลุกเศก
กระทู้นี้ขอขั้นรายการ พระสมเด็จ ที่สร้างโดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หรือ วังหน้าองค์สุดท้ายของประเทศไทยในสมัย ร.5 ว่ามีลักษณะอย่างไร?
2381001
พระสมเด็จบรมสุข เนื้อชาดนวหรคุณ หรือ
พระสมเด็จวังหน้า เนื้อชาดนวหรคุณ มีวรรณะสีแดงเข้มหรือแดงคล้ำ ผิวละเอียดเรียบและมันได้ง่ายเมื่อนำสำลีเช็ดเบาๆ
เมื่อใช้แว่นขยายส่องเนื้อ จะพบมวลสารหนึกแน่น วรรณะแดงเข้ม ส่องมุมที่เนื้อพระบิ่น ปรากฏจุดขาวๆของเปลือกหอย จุดสีน้ำตาลของเกสรบัวขาว จุดสีดำ จุดสีเงิน จุดสีทองฯลฯ
2381002
พระสมเด็จบรมสุข หรือ พระสมเด็จวังหน้า อักษรที่เขียนจารึกไว้ด้านหลังองค์พระ ผู้เขียนได้เขียนตามแนว(ใกล้เคียง)กับอักษรเดิม เพื่อให้อ่านง่าย รายละเอียดดังรูป
พระสมเด็จ
บรมสุข
กรมพระราชวังบวร = กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หรือ วังหน้า
สร้างฑูลทวาย ร.5
ขึ้นครองราชย์
ขรัวโตปลุกเศก
ลาภผล พูนทวี
2411
2381003
เปรียบเทียบ ขนาด
พระสมเด็จบรมสุข(วังหน้า) กับ พระสมเด็จวัดระฆังขนาดทั่วๆไป
จากรายละเอียดต่างๆที่ได้จารึกด้านหลังองค์พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ ที่ผู้เขียนพบสามารถแยกได้ดังนี้
1. มวลสารที่นำมาผสมสร้างเป็นมวลสารชนิดพิเศษกว่าพระสมเด็จเนื้อผงทั่วๆไป
2. องค์พระส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่กว่าพระสมเด็จทั่วๆไป
3. จารึก วาระการสร้าง
4. จารึก ชื่อผู้สร้าง (นายทุน)
5. จารึก พุทธานุภาพขององค์พระเด่นทางด้านใด เช่น ลาภผล พูนทวี
6. พระสมเด็จพิมพ์พิเศษจะมีความแรงของพุทธคุณ มีความแรงมากกว่า พระสมเด็จรุ่นทั่วๆไป
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษจึงกล่าวได้ว่าสร้างในวาระพิเศษ จึงมีอะไรที่พิเศษๆๆๆ หากพบเห็นที่ใด ให้เก็บครับ และนิมนต์ท่านขึ้นคอ
พระกริ่งปวเรศนั้นหากกล่าว ถึงโค๊ตที่ตอกในองค์พระ ที่พบเห็นมีหลากหลายแบบ
แต่ละแบบล้วนมีวาระเรื่องราวในการตอก เช่น ขนาดและรูปร่างที่ตอก ตำแหน่งที่ตอก สื่อถึงกลุ่มผู้สร้าง(สมัยนี้เรียกว่านายทุน) วาระพิธี พ.ศ.ต่างกัน ตอกตำแหน่งต่างกัน ฯลฯ
ในหนังสือหลายๆเล่มมักกล่าวถึง โค๊ตงา หรือโค๊ตที่ตอกด้านหลังบริเวณฐานบัว ว่าเป็นโค๊ตลับ ใช้ความคิดๆสักนิด โค๊ตลับจริงหรือว่าคิดไปเอง? ถ้าเป็นของลับ ต้องไม่มีคนเห็นหรือพบเห็นโค๊ตได้ยาก แต่นี่ตอกให้เห็นๆ จะเรียกว่าโค๊ตลับได้อย่างไร?
มีหนังสือพระอยู่ฉบับหนึ่งในอดีต คือ ปกหนังสือ
ลานโพธิ์ ฉบับ 291 ราคาเล่มละ 7 บาท ได้แสดงรูปพระกริ่งปวเรศ องค์หนึ่ง ผู้เขียนจึงนำมาเพื่อประกอบการศึกษาเกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศ
2371001
พระกริ่งปวเรศ จากปกหนังสือลานโพธิ์ ฉบับ 291
2371002
พระกริ่งปวเรศ จากหนังสือลานโพธิ์ ฉบับ 291 --- ให้พิจารณาโค๊ตที่ตอกด้านหลัง
ตอกอยู่บริเวณฐานบัวแถวล่าง ลักษณะตอกปลายแหลมชี้ขึ้นบน และเฉียงไปทางด้านขวามือ เมื่อก่อนผู้เขียนไม่เคยเห็นของจริง บอกได้แต่เพียงเป็นของแปลก
2371003
พระกริ่งปวเรศ ตอกโค๊ตงาฐานบัวแถวล่างปลายแหลมขึ้นบนเฉียงไปทางขวามือ
พระกริ่งปวเรศ องค์นี้เป็นพระกริ่งฯองค์ที่ผ่านการเกลาตบแต่ง จึงได้ผ่านการตบแต่งองค์พระกริ่งปวเรศทั้งองค์ เป็นพระกริ่งปวเรศที่สวยที่สุดของประเทศไทยองค์หนึ่งที่ได้พบ
2371004
พระกริ่งปวเรศ ขยายการตอกโค๊ตงาฐานบัวแถวล่างปลายแหลมขึ้นบนเฉียงไปทางขวามือ
2371005
แผ่นปิดปิดก้นถ้วยของพระกริ่งปวเรศ ตอกโค๊ตงาฐานบัวแถวล่างปลายแหลมขึ้นบนเฉียงไปทางขวามือ
พระกริ่งปวเรศ ตอกโค๊ตงาฐานบัวแถวล่างปลายแหลมขึ้นบนเฉียงไปทางขวามือ เป็นพระกริ่งฯที่ในอดีตมีการสร้างจำนวนน้อย เมื่อผู้เขียนได้พบพระกริ่งปวเรศองค์นี้จึงได้ถ่ายรูปภาพเพื่อเป็นกรณีศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศที่ได้สร้างไว้ในอดีตที่ผ่านมา 100 กว่าปี
พระกริ่งปวเรศ องค์นี้สร้างในวาระ พ.ศ.2417 โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดบวรนิเวศวิหาร อธิษฐานจิตปลุกเสก
ถ้าหากจะเรียกให้ถูกต้อง ผู้เขียนเรียกว่า พระกริ่งกรมพระยาปวเรศ
ผู้เขียนได้กล่าวถึง พระกริ่วงปวเรศ หรือ พระกริ่งของสายวังที่สร้างในสมัย รัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5 ที่ผ่านๆมาหลายกระทู้ แต่ในกระทู้นี้จะกล่าวถึงพระกริ่งปวเรศรุ่นพิเศษชุดหนึ่ง ที่โลหะธาตุขององค์พระกริ่งได้มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียก
เหล็กไหลเปียกได้ถูกใช้เป็นมวลสารพิเศษที่เป็นส่วนผสมกับโลหะธาตุอีกหลายๆชนิดได้หลอมสร้างอยู่ในองค์พระกริ่งปวเรศชุดนี้ ทำให้องค์พระกริ่งฯเกิดความเย็นและวรรณะสีผิวจะมีความชื้นตลอดเวลา ไม่แห้งเหมือนกับพระกริ่งปวเรศรุ่นอื่นๆที่สร้างแล้วสีผิวจะแห้งสนิท
2361001
ภาพขยายด้านหน้า ความชื้นขององค์พระกริ่งปวเรศที่มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียก คล้ายกับการเกิดตะไคร่น้ำสีเขียวๆ
2361002
ภาพขยายด้านหน้า ความชื้นขององค์พระกริ่งปวเรศที่มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียก คล้ายกับการเกิดตะไคร่น้ำสีเขียวๆ
2361003
พระกริ่งปวเรศ ผสมเหล็กไหลเปียก องค์นี้มีรูปร่าง-ท่าทางต่างๆ กล่าวได้ว่าเป็นองค์ต้นแบบของพระกริ่งปวเรศองค์ที่อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารนำมาเป็นแบบพิมพ์สร้าง
2361004
พระกริ่งปวเรศ ผสมเหล็กไหลเปียก
2361005
พระกริ่งปวเรศ ผสมเหล็กไหลเปียก
2361006
พระกริ่งปวเรศ ผสมเหล็กไหลเปียก
2361007
พระกริ่งปวเรศ ผสมเหล็กไหลเปียก
2361007
พระกริ่งปวเรศ ผสมเหล็กไหลเปียก อายุการสร้างผ่านมามากกว่า 150 ปี อธิษฐานจิตปลุกเสกโดยเจ้าประคุณสมเด็จโต วรรณะสีผิวกลับดำ แต่มีสิ่งที่แปลกจากพระกริ่งปวเรศรุ่นอื่นๆ คือ ผิวพรรณขององค์พระเหมือนกับมีความชื้นและคล้ายกับมีตะไคร่น้ำสีเขียวเกาะ จะเก็บไว้ในที่ใดความชุ้มชื้นจะคงมีไม่เปลี่ยนแปลง
พระกริ่งปวเรศชุดนี้เป็นพระกริ่งปวเรศที่ผู้เขียนเคยเขียนขึ้นกระทู้มาก่อนหน้านี้ มาบัดนี้ผู้เขียนทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า เป็นพระกริ่งปวเรศที่มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียก จึงได้เขียนเพิ่มข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษา และผู้ที่มีพระกริ่งปวเรศวรรณะสีผิวลักษณะดังรูปได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติม ว่าพระกริ่งปวเรศรุ่นนี้มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียก
พระกริ่งปวเรศผสมเหล็กไหลเปียกที่ผู้เขียนพบจำแนกได้ดังนี้
พระกริ่งฯองค์ใด มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียกมาก จะมีสีเขียว(คล้ายตะไคร่น้ำ)เกิดขึ้นมาก
พระกริ่งฯองค์ใด มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียกน้อย จะมีสีเขียว(คล้ายตะไคร่น้ำ)เกิดขึ้น
น้อย
และผู้เขียนยังได้พบพระกริ่งปวเรศที่มีหน้าหน้าพิมพ์ทรงเหมือนกับพระกริ่งปวเรศที่ผสมเหล็กไหลเปียก แต่ไม่มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียกก็มี
ดังนั้นถ้าหากองค์ใดมองแล้วไม่มีความชื้นและไม่เกิดลักษณะสีเขียวคล้ายตะไคร่น้ำ ให้เข้าใจว่าพระกริ่งฯองค์นั้นไม่มีส่วนผสมของเหล็กไหลเปียก
และท้ายสุดขอแสดงความยินดีกับญาติธรรมหลายๆท่านที่ได้เป็นเจ้าของครอบครองพระกริ่งปวเรศรุ่นเหล็กไหลเปียก และพระกริ่งปวเรศเหล็กไหลเปียกชุดนี้ดีอย่างไร ในกระทู้นี้ไม่ขอกล่าวถึง
หากกล่าวถึงเหล็กไหลเปียก หรือ เหล็กเปียก ที่ผู้เขียนเคยพบเป็นเหล็กไหลที่หาได้ยากมาก พรรณสัณฐาน สีขาวขุ่นเหมือนตะกั่ว นับเป็น โลหะธาตุที่มีเนื้อเปียกชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา คล้าย ๆ กับน้ำค้างจับเกาะ และมีความเย็น เหล็กไหลเปียกอยู่ในสถานที่ใดก็จะเกิดบรรยากาศเย็นสบาย ถ้าอยู่ใกล้ลูกปืน อาจทำให้กระสุนด้านเพราะการแผ่รังสีความเย็นของเหล็กเปียก สมัยโบราณนิยมใช้เหล็กเปียกประดับไว้ที่ ยอดพระเจดีย์ ป้องกันฟ้าผ่า มีอานุภาพทางหนังเหนียว คงกระพันอาวุธทุกชนิด ดูดพิษร้อน(พลังงานความร้อน)
แต่จะสรุปสั้นๆดังนี้ พระกริ่งปวเรศผสมเหล็กไหลเปียกนี้มีพลังฯ ไร้ขีดจำกัด ครอบจักรวาล