วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

วิเคราะห์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2397

 พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2397 เนื้อสำริด
 
พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397 นับถึง พ.ศ.2556 มีอายุการสร้าง 159 ปี
--- องค์สภาพเดิมๆ หาดูชมได้ยากยิ่ง  
--- ในอดีต พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397 ภายหลังจากที่หล่อและตบแต่งเสร็จ จะมีกรรมวิธีดังต่อไปนี้
      ชั้นแรก ทาครั่งบนผิวองค์พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397(เนื้อสำริด)
      ชั้นที่ 2 ลงรักทาทับครั่ง
      ชั้นที่ 3 ปิดทองคำเปลว

(ชื่อพระเครื่อง)
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2397 เนื้อสำริด

(สร้างสมัย)
รัชกาลที่ 4  พ.ศ.2397

(ผู้อธิษฐานจิต) สมเด็จ ฯ โต พรหมรังสี วัดระฆัง

(มวลสาร) เนื้อสำริด(เหลืองทอง) หรือ เนื้อสัมฤทธิ์(เหลืองทอง)


(พลานุภาพ)
รักษาป้องกันโรคภัยอันตราย  มหาอำนาจ บารมี  โชคลาภ  วาสนา  พลานุภาพ 108 เหนือคำบรรยาย มีครบทุกด้าน ไร้ขีดจำกัด


(ราคาเหมะสม) -

(ราคาเซียน) -


(ราคาท้องตลาด) -

(ราคาสมบัติผลัดกันซื้อ) มีกำไรซื้อ-ขายได้ทุกราคา 

หมายเหตุ.....เป็นพระกริ่งปวเรศที่คนรู้จักในวงแคบ  จึงนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานเผื่อคนที่มีในครอบครองได้จะรู้จัก

พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397 สภาพเก่าธรรมชาติ ผ่านการใช้...  ไม่เคยล้างผิว
ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง
พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397 ทาครั่ง ลงรัก ปิดทอง  อายุ 159 ปี เก่าวรรณะสีผิวธรรมชาติ





วิเคราะห์พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397  ผ่านการใช้...  เคยล้างผิว

พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397
--- ในขอบ ลูกตา จมูก ซอกคอ  เผยให้เห็น รักเก่า ที่ยังยึดเกาะแน่นผ่านมาอายุ 159 ปี
--- บนใบหน้าและแก้มสีน้ำตาลเข็ม  คือ ครั่ง ที่ช่างโบราณได้ทาเป็นสีรองพื้นเพื่อรักษาองค์กริ่ง...
--- เนื้อสำริดเกิดจากโลหะธาตุหลายชนิดมาผสมรวมกัน  ออกวรรณะสีเหลืองทอง(บริเวณใบหน้าองค์พระกริ่ง...)


ขยายภาพพระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397 ดูความเก่ากันชัดๆ

ในร่องนิ้วมือ และผ้าทิพย์ สีเหลืองๆ คือ ทองคำ ที่เป็นเนื้อมวลสารโลหะธาตุผสมอยู่ในองค์พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397


ในร่องบัว เผยให้เห็นสีเหลือง คือ ทองคำที่เป็นส่วนผสมของโลหะธาตุในการสร้างพระกริ่งปวเรศ...สีน้ำตาล คือ ครั่ง ที่ทาเป็นสีรองพื้น
ลูกศรชี้ สีเหลือง คือ ทองคำ
ลูกศรสีแดง โค๊ตลับ พระกริ่งปวเรศ...........
--- ลูกศร สีแดง คือ โค๊ตลับที่ผมเคยกล่าวถึงบ่อยๆ
--- ลูกศร สีขาวชี้ สีน้ำตาล คือ ครั่ง  สีดำ คือ รักที่ทาไว้เพื่อปิดทองคำเปลว

สรุป
*** พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397 และ พ.ศ.2398 มีความคล้ายกันมาก  และในอดีต
*** จำนวนที่สร้าง...มีหลักร้อย...องค์  
*** มีพลานุภาพแรงกว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ไม่ว่าจะเป็น พ.ศ.2434  รุ่นฉลองพระรูปทรงม้า  และรุ่นสร้างสมัย ร.6 (จีวรลายพิกุล)




วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

พระสมเด็จเนื้อว่านมงคล

พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 วัดระฆัง พ.ศ.2414

พระสมเด็จเนื้อว่าน ส่องพบผิวละเอียดหนึกแน่นและเนียน วรรณะสีน้ำตาลคล้ำ เป็นเนื้อผงผสมว่าน 108 น้ำหนักเบา เป็นพระพิมพ์ที่ สมเด็จฯ โต  พรหมรังสี วัดระฆัง อธิษฐานจิตปลุกเสก มีจำนวนสร้างน้อย คนรู้จักในวงแคบ  หาดูได้ยากยิ่ง  ในอดีตชนชั้นธรรมดายากนักที่จะได้ครอบครอง ใช่ว่ามีเงินเพียงอย่างเดียวจะหาไว้ครอบครองได้ง่ายๆ  จะต้องเป็นผู้มีบุญญาธิการบารมี  จึงจะได้ครอบครอง ใครได้ครอบครองไว้จะมี อำนาจ บารมี เหนือผู้อื่น พกพาติดตัวแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บ กิจการงานเจริญก้าวหน้า  มีโชคลาภ เลื่อนยศ  เลื่อนตำแหน่ง  เดินทางไปที่ใดมีเทวดารักษา ฯลฯ

(ชื่อพระเครื่อง)
พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 วัดระฆัง พ.ศ.2414

(สร้างสมัย)
รัชกาลที่ 5  พ.ศ.2414

(ผู้อธิษฐานจิต) สมเด็จ ฯ โต พรหมรังสี วัดระฆัง

(มวลสาร) ผงวิเศษ และว่าน 108


(พลานุภาพ)
รักษาป้องกันโรคภัยอันตราย  มหาอำนาจ บารมี  โชคลาภ  วาสนา  พลานุภาพ 108 เหนือคำบรรยาย มีครบทุกด้าน ไร้ขีดจำกัด


(ราคาเหมะสม) 300,000.00 บาท(สามแสนบาท)

(ราคาเซียน) -


(ราคาท้องตลาด) -

(ราคาสมบัติผลัดกันซื้อ) มีกำไรซื้อ-ขายได้ทุกราคา 

หมายเหตุ.....เป็นพระสมเด็จที่หาคนรู้จักยากยิ่ง  จึงนำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานเผื่อคนที่มีในครอบครองได้จะรู้จัก


พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 (พิมพ์ไกเซอร์) 
ด้านหน้าและด้านหลัง
พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 สมเด็จฯโต พรหมรังสี สร้างอธิษฐานจิต พ.ศ.2414
--- พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 มองจากรูปถ่ายด้านหน้าและด้านหลัง  ผิวละเอียดหนึกแน่นและเนียน วรรณะสีน้ำตาลคล้ำ
--- พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 องค์นี้เป็นพิมพ์ไกร์เซอร์ มีขนาดใกล้เคียงกับพระสมเด็จฯทั่วๆไป 
พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 (พิมพ์ไกเซอร์) 
ขยายเนื้อมวลสารด้านหน้า
พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (ใบหน้าองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (อกและไหล่ขวาองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (ไหล่ซ้ายองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (แขนขวาองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (แขนซ้ายองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (หัวเข่าขวาองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (หัวเข่าซ้ายองค์พระ)

พระสมเด็จเนื้อวาน 108 พ.ศ.2414 (ฐานกลีบบัว)
 
พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 (พิมพ์ไกเซอร์) 
ขยายเนื้อมวลสารด้านหลัง ศึกษาเรียนรู้ ดูด้วยตาของตนเอง สิบปากว่าไม่เท่ากับหนึ่งตาเห็น





พระสมเด็จเนื้อว่าน 108 (พิมพ์ไกเซอร์) 
ขยายเนื้อมวลสารขอบด้านข้างขององค์พระ ยุบย่น แตกแยก ทรุดตัว มีครอบ




ค่อยๆ พิจารณาเรียนรู้เนื้อมวลสารทีละรูป 
         พระสมเด็จเนื้อวานมีมวลสารและว่าน 108 เป็นพระสมเด็จเนื้อว่านที่ไม่อยู่ในสาระบบของเซียนใหญ่  เพราะสร้างน้อย  มีกล่าวถึงในหนังสือ  พระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง  ที่คุณ มัตตัญญู ได้กล่าวถึง  แต่เป็นคนละพิมพ์กัน
         หากใครมีในครอบครองนับว่าเป็นโชควาสนาวงศ์ตระกูลของท่าน  เพราะเป็นพระสมเด็จฯที่สร้างจำนวนน้อย  จะพบสักองค์ยากๆๆๆๆครับผม...

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

พระสมเด็จวัดพลับใครสร้าง?

พระสมเด็จวัดพลับ หรือ
พระสมเด็จพิมพ์วัดพลับ ใครสร้าง?  อดีตมีผู้สัญนิษฐานไว้ 2 ท่าน คือ
1. พระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
หรือ
2. หลงตาจัน

      เนื้อมวลสารของพระวัดพลับ หาศึกษาได้จากอินเตอร์เน็ตมีมากมาย ขอสรุปใจความที่เด่นๆมาให้รับทราบดังนี้
     1. มีเนื้อมวลสารคล้ายกับพระสมเด็จของสมเด็จฯโต พรหมรังสี วัดระฆัง...
     2. มีผู้รู้กล่าวว่า พระสมเด็จวัดพลับ มีผสมน้ำมันตังอิ้ว...คิดตามนะครับ  สมเด็จฯโต พรหมรังสีสร้างพระสมเด็จ...มีคนกล่าวว่ายุคหลังมีผู้แนะนำให้ท่านผสมน้ำมันตังอิ้วเพื่อเป็นตัวประสานเนื้อมวลสาร  ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ยุคของพระสังฆราช สุกไก่เถื่อนจะสร้างพระด้วยการผสมน้ำมันตังอิ้ว จริงไหมครับ?

บังเอิญวันนี้รื้อค้น พระเก่าเก็บ มีพระสมเด็จพิมพ์วัดพลับอยู่ 4 องค์  ได้มาจากที่ไหน  เมื่อไร  จำไม่ได้  จึงนำมาพิจารณาดู  เหตุเกิดจากก่อนหน้านี้ประมาณ 1 อาทิตย์มีคนนำพระสมเด็จวัดพลับมาสอบถามผม

ทำให้จำได้  ได้เคยสอบถามเจ้าของพระ...ว่าใครสร้าง สร้างเมื่อไร "เจ้าของพระตอบไม่ได้"  แต่พระ...ที่นำมาสอบถามเป็นพระเก๊-ปลอม  จึงไม่มีการถามต่อ...

จึงได้พิจารณามองดูด้วยตาพบมวลสารพระเหมือนกับพระสมเด็จของสมเด็จฯโต  พรหมรังสี สร้างอธิษฐานจิต  จึงได้เข้าอินเตอร์เน็ตสืบค้นที่ไปที่มา "เซียน" เขาว่าอย่างไร?  สรุปมีแต่คาดคะเนว่าอย่างโน้นอย่างนี้...ผิดหมด

พระสมเด็จวัดพลับของผม 4 องค์  เป็นพระเครื่องที่เจ้าประคุณสมเด็จฯโต พรหมรังสี สร้างอธิษฐานจิตปลุกเสก เมื่อ พ.ศ.2414  เป็นข้อมูลใหม่ที่ผมพึ่งทราบ และขัดแย้งกับเซียนตำราในอดีตอย่างแรง


พระสมเด็จวัดพลับ ความจริงเป็นพระเครื่อง...ที่สมเด็จฯ โต  พรหมรังสีสร้างอธิษฐานจิตปลุกเสก 
--- พระสมเด็จพิมพ์วัดพลับที่สมเด็จฯโต  อธิษฐานจิตมีขนาดเล็กกว่าเหรียญ 1 บาท
--- ด้านหน้าองค์พระมีลงรักปิดทอง
--- ใต้ผิวรัก ที่ติดกับองค์เนื้อมวลสารสีน้ำตาลอ่อน-เข้ม  เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง ที่จะพบเห็นมีวรรณะสีผิวเช่นนี้  เพราะถูกทาทับรักษาเนื้อพระด้วย ครั่ง  
--- องค์ซ้ายมือบนจะเห็นชัดเจนสีน้ำตาลบนผิวพระเป็น ครั่ง ที่ได้ทารักษาเนื้อพระสมเด็จ...
---  ความรู้เรื่อง ครั่ง จาก สารานุกรมไทยฯ ฉบับอินเตอร์เนต (คลิก)


 พระสมเด็จวัดพลับ ด้านหลัง
--- พระสมเด็จวัดพลับ ด้านหลัง มีบางจุดที่รักยังหลุดไม่หมด
--- สีน้ำตาล อ่อน ด้านหลังขององค์พระคือ ครั่ง ที่ถูกทาลงบนองค์พระ...เพื่อรักษาองค์พระ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทยสมัยก่อนที่สร้างพระ
--- องค์ซ้ายมือบน  ด้านหลังพระสมเด็จวัดพลับ องค์นี้  ผมได้ล้าง ครั่ง  ออกเพื่อให้เห็นเนื้อมวลสาร มีลักษณะเช่นไร? เพื่อศึกษาเรียนรู้


วิเคราะห์เนื้อมวลสาร 
พระสมเด็จวัดพลับ 
ด้านหน้า

พระสมเด็จวัดพลับ ด้านหน้า ขยายให้เห็นกันใกล้ชิดยิ่งกว่าส่องด้วยกล้อง 10X
--- สีแดงๆอมชมพูที่เห็นซ้ายมือบน เป็นคุณสมบัติหนึ่งของครั่ง
--- สีน้ำตาลอ่อน-เข้ม ที่มีกระจายเกือบทั้งรูป คือ ครั่ง ที่ได้ทาลงบนผิวพระ...
--- สีดำ เข้มๆ คือ รัก ที่ทาทับบน ครั่ง (ชั้นที่ 2 )
--- ทองคำเปลว  ติดทับบนรักที่ทาทับ


พระสมเด็จวัดพลับ มีเนื้อมวลสารเหมือนกับ เนื้อมวลสารของพระสมเด็จ วัดระฆังที่สมเด็จฯโต สร้าง


เนื้อมวลสารพระสมเด็จวัดพลับ คือ เนื้อมวลสารพระสมเด็จ วัดระฆัง  เพราะคนสร้างชุดเดียวกัน


วิเคราะห์เนื้อมวลสาร 
พระสมเด็จวัดพลับ 
ด้านหลัง  
--- ภาพขยายละเอียดคมชัด
--- ดูด้วยตา ศึกษามองเองรู้เอง เข้าใจเอง

พระสมเด็จวัดพลับ ที่จริง คือ พระ...อีกพิมพ์หนึ่งที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯโต พรหมรังสีสร้างอธิษฐานจิต
พระสมเด็จวัดพลับ ที่จริง คือ พระ...อีกพิมพ์หนึ่งที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯโต พรหมรังสีสร้างอธิษฐานจิต

พระสมเด็จวัดพลับ จุดสีแดงๆ คือ สีของ ครั่ง
พระสมเด็จวัดพลับ จุดสีแดงๆ คือ สีของ ครั่ง และสีน้ำตาลอ่อน-แก่ ก็เป็นสีของ ครั่ง เช่นกัน

--- สีดำ ยาวๆ คือ รัก ที่ทาทับ...
--- สีใสๆ ที่อยู่ในเนื้อพระ คือ ข้าว สุก
--- สีขาวขุ่น สีเหลืองอ่อน และสีขาวใส เป็น ผงวิเศษ ของเจ้าประคุณ สมเด็จฯ โต พรหมรังสี
--- สีดำเล็กๆ คือ เกสรดอกไม้
--- ฯลฯ


สรุป พระสมเด็จวัดพลับ เป็นพระ...ของเจ้าประคุณสมเด็จฯโต พรหมรังสี อธิษฐานจิตปลุกเสก แล้วนำไปบรรจุกรุ...ตามสถานที่ต่างๆ 

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

พระสมเด็จผสมเพชรดำ

มวลสารพระสมเด็จฯ ที่เคยกล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ "เพชรดำ"

ในกระทู้นี้จึงได้นำเสนออีกครั้งหนึ่ง  ขยายรายละเอียดเกี่ยวกับ เพชรดำ เพื่อให้เห็นชัดมากขี้น ให้ทราบถึงคุณค่ามวลสารของพระสมเด็จที่ได้ผสม เพชรดำ ไม่ธรรมดาเช่นไร.

พระสมเด็จผสมเพชรดำ ที่เจ้าประคุณ สมเด็จฯ โต  พรหมรังสี วัดระฆังอธิษฐานจิตปลุกเสก


ขยายภาพให้เห็นวรรณะสีผิวของเพชรดำ เมื่อกระทบแสงเป็นประกายแสงดั่งเพชรทั่วๆไป

เพชรดำมีประกายแสงงดงาม และภาพขยายมวลสารพระสมเด็จสีขาวผสมเม็ดข้าวสุก

ใบหน้าขององค์พระ เผยให้เห็นมวลสารพระสมเด็จได้เด่นชัด  สังเกตซ้ายมือยางไม้(มะตุม)ที่เป็นน้ำประสานผสม

ภาพขยายเผยให้เห็นมวลสารของเพชรดำเมื่อมีแสงมากระทบเป็นประกาย  และเนื้อมวลสารพระสมเด็จผสมข้าวสุกฯลฯ มุมบนซ้ายมีส่วนผสมของทองคำ

เพชรดำมีทั้งพื้นผิวธรรมชาติเดิมๆ และผิวที่ถูกตัดออกมาจากเพชรดำเม็ดใหญ่  มวลสารพระสมเด็จเนื้อนี้เป็นเนื้อที่มีการแตกลายงาน้อยมาก

มวลสารพระสมเด็จ ที่ล้างผิวไม่หมดเผยให้เห็นถึงความเก่าและน้ำประสานที่ถูกขับออกจากเนื้อพระสมเด็จ

เพชรดำ เมื่อกระทบกับแสง  มีความงดงามระยิบระยับ

เนื้อมวลสารประเภทนี้มีรอยแตกลายงาน้อยมาก

วรรณะสีผิวที่ล้างทำความสะอาดไม่หมด  เผยให้เห็นถึงส่วนผสมที่เป็นน้ำประสานถูกขับออกมาจากมวลสารพระสมเด็จมีความเก่าแห้งแบบธรรมชาติ

ภาพนี้เผยให้เห็นถึงความเก่าที่ถูกล้างของผิวพระไม่หมดและ เพชรดำส่องแสงประกายงดงาม

สีน้ำตาลอมดำทางขวามือมีความเก่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติอายุไม่น้อยกว่า 150 ปี

ภาพนี้เผยให้เห้นถึงคุณสมบัติของเพชรดำเมื่อแสงมากระทบมีความงดงามยิ่งนัก

ภาพนี้เผยให้เห้นถึงคุณสมบัติของเพชรดำเมื่อแสงมากระทบมีความงดงามและเผยให้เห็นมวลสารพระสมเด็จที่ผสม

มวลสารพระสมเด็จ ผสม เพชรดำ เป็นมวลสารพิเศษอีกชนิดหนึ่งที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ โต พรหมรังสี อธิษฐานจิตปลุกเสก  พบเห็นในพิมพ์พระหลายๆพิมพ์   เซียนตำราบางท่านเข้าใจผิดว่าเป็นไหลไหลก็มี

เพชรดำ เมื่อมีแสงมากระทบจะสวยงามมาก