วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

5. ประวัติสมเด็จองค์ปฐม

ประวัติสมเด็จองค์ปฐม

สมเด็จองค์ปฐม ก็คือพระพุทธเจ้าองค์แรกหรือองค์ที่ 1 เรียกว่า องค์ปฐม

สมเด็จองค์ปฐมทรงพระ นามว่า สมเด็จพระพุทธสิกขีที่ 1แต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ผ่านไปแล้ว อาจจะมีชื่อซ้ำกันก็ได้ โดยเฉพาะ ชื่อนี้มีด้วยกันถึง 5 พระองค์ จึงเรียกขานกันว่าเป็น สมเด็จพระพุทธสิกขีที่ 1” พระองค์จึงทรงเป็นต้นพระวงศ์ ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ จึงสมควรยกย่องพระองค์ว่าทรงเป็น สมเด็จองค์ปฐมบรมครู"

ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จมาเล่าให้หลวงพ่อฟังที่บ้านสายลมว่า สมัยที่พระองค์ทรงอุบัติในโลกมนุษย์ ในเวลานั้นคนมีอายุขัย ประมาณ 8 หมื่นปี พระองค์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์เมื่อพระชนมายุได้ 4 หมื่นปีหลังจากทรงผนวชแล้วเป็นเวลาอีก 2 หมื่นปี จึงได้ ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์แรกของโลก พระองค์ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์อีกประมาณ 2 หมื่นปี จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน หลังจากทรงใช้เวลาอันยาวนานถึง 40 อสงไขยกัป ในการบำเพ็ญพระบารมี เพื่อแสวงหาพระโพธิญาณด้วยพระองค์เอง

(จาก ประวัติการสร้างสมเด็จองค์ปฐมวัดท่าซุง)

พระพุทธเจ้าแบ่งตามกัปป์ โดยการนับอสงไขยในที่นี้ จะนับอสงไขยแรกโดยเริ่มนับจากช่วงเวลาที่ อดีตชาติของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มสร้างบารมี โดยการอธิษฐานในใจต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก จะมีพระพุทธเจ้าในอดีตดังต่อไปนี้
  • กัปแรกในต้นอสงไขยที่ 17 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์[1]
4.      พระทีปังกรพุทธเจ้า
  • กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 18 เป็นสารกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
  • กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 19 เป็นสารมณฑกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 4 พระองค์
1.      พระสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.      พระสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า
3.      พระเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
4.      พระโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
  • กัปหนึ่งในอสงไขยที่ 20 เป็นสารวรกัป คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์
1.      สมเด็จพระอโนมทัสสีสัมพุทธเจ้า
2.      สมเด้จพระปทุมะสัมพุทธเจ้า
3.      สมเด็จพระนารทะสัมพุทธเจ้า
  • ช่วงเศษแสนมหากัป ของ อสงไขยปัจจุบัน
1.      กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์. บางตำราว่าเป็นมัณฑกัป บางตำราก็ว่าเป็นสารกัป.
1.      พระปทุมมุตระพุทธเจ้า
2.      สูญกัป (กัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น) 30,000 กัป
3.      มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
1.      พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.      พระสุชาตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
4.      สูญกัป 60,000 กัป
5.      วรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 3 พระองค์
1.      พระปียทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.      พระอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
3.      พระธรรมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
6.      สูญกัป 24 กัป
7.      สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
1.      พระสิทธัตถะสัมมาสัมพุทธเจ้า
8.      สูญกัป 1 กัป
9.      มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
1.      พระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.      พระมหาปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า
10.    สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
1.      พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
11.    สูญกัป 60 กัป
12.    มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
1.      พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.      พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า
13.    สูญกัป 30 กัป
14.    กัปปัจจุบัน เป็น ภัทรกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
1.      พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.      พระโกนาคมสัมมาสัมพุทธเจ้า
3.      พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า
4.      พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน 80 ปีก่อนพุทธกาล)
5.      พระศรีอริยเมตไตรยสัมพุทธเจ้า (อนาคต พุทธศักราช 5,000 เป็นต้นไป)
15.    สูญกัป 1 อสงไขย
16.    มัณฑกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์
1.      พระรามะสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.      พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า
17.    สารกัป คือ มีพระพุทธเจ้า 1 พระองค์
1.      พระธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

4. พระสมเด็จทองคำ

พระสมเด็จทองคำ สร้างในโอกาส รัชกาลที่ 5 ครบรอบอายุ 39 ปี พ.ศ.2435 และเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 24 ปี

เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396
เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ(ไต) รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา



เน้นหนักทางด้านเมตตามหานิยม
  1. ฐาน 3 ชั้น คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  2. ปางสมาธิ คือ ทำฌานสมาบัตร
  3. เศียรเป็นดอกบัวตูม เพื่อถวายพระพุทธเจ้า คือ ความบริสุทธิ์
  4. ช่างแต่ละคนแกะตามหลักข้อ 1, 2, 3 รูปแบบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่มีเจตนาแน่วแน่ ทำให้มีกระแสจิตของช่างอยู่ด้วย

น้ำหนักองค์พระ 15.14 กรัม
ทองคำ                 78.40     %
เงิน                        11.06     %
ทองแดง               10.51     %

วัตถุประสงค์การจัดสร้าง
เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส ฉลองพระชนมายุครบ 39 พรรษา ในปี 2435 และเนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ 24 ปี

พิธีการจัดสร้าง
การ จัดสร้างวัตถุมงคลฯ ครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์ได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณี โบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งมหาพุทธาภิเษกมวลสาร ชนวนโลหะ ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททอง พระเกจิอาจารย์สมัย ร.5 ที่มาร่วมพิธี ซึ่งได้จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธี

พิธีมหาพุทธาภิเษก
รายละเอียด: พระดีพิธีใหญ่ พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในราวเดือน เมษายน 2435 ร.5 เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก
ประธานสงฆ์ในพิธี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับมหาสมณุตมาภิเษก เมื่อ ปี พ.ศ. 2434 เมื่อพระชนมายุได้ 82 พรรษา เป็นพระมหาสมณเจ้า ฯ ได้ 10 เดือน พระองค์ทรงพระประชวรด้วยพระโรคชราและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2435 พระชนม์มายุได้ 83 พรรษา 13 วัน ทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ 64 พรรษา อธิฐานจิตร่วมกับพระ อภิญญาใหญ่ในสมัยนั้น เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

พุทธานุภาพ  ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ ของพระสมเด็จเนื้อทองคำ พ.ศ.2435
1.      คงกะพัน
2.      ชาตรี
3.      มหาอุด
4.      แคล้วคลาด
5.      มหาอำนาจ
6.      หนุนดวง
7.      ขับไล่วิญญาณ
8.      เมตตา
9.      เสน่ห์ธรรมดาที่ใครเห็นก็รู้สีกชอบ
10.    โชคลาภ
11.    โภคทรัพย์
12.    ดูดทรัพย์
13.    ป้องกันอาถรรพ์ มนต์ดำ ยาสั่ง
14.    กันนิวเคลียร์ อาวุธเคมี
15.    ช่วยเจริญสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน
16.    สารพัดนึก
17.    ทำ น้ำมนต์ รักษาโรค, สิ่งที่เป็นอัปมงคล คุณไสยอวิชา คุณผี คุณคน, รักษาโรคภัยไข้เจ็บ, รักษาโรคระบาด, ภัยพิบัติจากรังสีของอาวุธศาตราทั้งปวง

และได้รับพระเมตตาจากสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์อธิฐานจิตเพิ่ม พุทธานุภาพ  ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ ดังนี้
18.    เสน่ห์อันเป็นที่รักของ 3 ภูมิ คือ เทวดา โลกมนุษย์ และนรก
19.    ทำน้ำมนต์รักษาโรคเวร โรคกรรมจากหนักเป็นเบา ฯลฯ

เทวดาผู้ดูแลรักษาองค์พระเทวดาชั้นยามา

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

3. การสร้างพระกริ่งจากตำนานพระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ

  การสร้างพระกริ่ง
                        การสร้างพระกริ่งมีมาแต่โบราณ เริ่มขึ้นที่ประเทศทิเบต และจีน จึงเรียกติดปากว่า พระกริ่งทิเบต และ กริ่งหนองแส  พระกริ่งเป็นพระพุทธเจ้าปางมาช่วยโปรดสัตว์โลก หรือเรียกกันว่า "พระไภสัชคุรุ"เป็นพระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายาน ซึ่งหมายความว่าทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือ การรักษาพยาบาล ต่อมาได้แพร่หลายมานิยมสร้างในเขมรเรียกว่า "พระกริ่งอุบาเก็ง" หรือ "พระกริ่งพนมบาเก็ง" และ "พระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์" ตำราสร้างพระกริ่งดั้งเดิมอยู่กับ สมเด็จพระพนรัต วัดปาแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) จ.พระนครศรีอยุธยา แต่จะรวบรวมข้อมูลมาจากที่ใดบ้าง และท่านจะสร้างสร้างไว้บ้างหรือเปล่า ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ต่อมาตำราได้ตกมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระปรมานุชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ แต่ไม่มีหลักฐานการสร้างพระกริ่งของสมเด็จฯ ท่าน จนกระทั่งตำราตกทอดมาถึง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แห่งวัดบวรนิเวศ จึงได้ทรงสร้าง "พระกริ่งปวเรศ" ขึ้น โดยใช้โลหะ 9 อย่างที่เรียกว่า "นวโลหะ" คือ ทองคำ, เงิน, ทองแดง, สังกะสี, ปรอท, บริสุทธิ์, เหล็กละลายตัว, จ้าวน้ำเงิน, ชิน ซึ่งต่อมา เจ้าคุณเฒ่า วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้นำแบบของพระองค์ไปจัดสร้างขึ้นบ้าง แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน หลังจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ สิ้นพระชนม์ ตำราการสร้างพระกริ่งตกทอดมายัง "พระพุฒาจารย์ (มา)" หรือ "ท่านเจ้ามา" วัดสามปลื้ม เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์เป็น "พระมงคลทิพมุนี" ท่านเคยดำริว่าเมื่ออายุครบ 80 ปีจะสร้างพระกริ่งตามตำรับเดิมที่ได้รับตกทอดมา แต่ท่านก็มรณภาพลงเสียก่อน ตำรานี้จึงตกไปอยู่กับ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ และที่วัดนี้เองถือว่าเป็นตำนานในการพระกริ่งในประเทศไทย ตั้งแต่บัดนั้นมาจนปัจจุบัน พระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ มีชื่อเสียงทรงคุณวิเศษหลายประการ มีผู้นิยมนับถือกันมาก ยิ่งในปัจจุบันนี้ยิ่งหายาก เพราะ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงสร้างไว้จำนานไม่มาก  สาเหตุที่ทรงสร้างพระกริ่งนั้น เนื่องจากเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระวันรัต (แดง) พระอุปัชฌาย์ อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเคยรักษาผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคให้หายได้ด้วยการอาราธนาพระกริ่งลงในน้ำทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์แล้วโปรด ให้น้ำนั้นแก่ผู้ป่วยดื่มปรากฏว่าหายอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็อาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำน้ำพระพุทธมนต์ประทานแก่ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์นั้นแล้วก็บรรเทาหายอาพาธเป็นปกติ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้ทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษน่าอัศจรรย์ของพระกริ่งในขณะนั้นแล้ว จึงเกิดความสนพระทัยและทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าตำราที่จะสร้างพระกริ่งเรื่อยมาจนมีความรู้เชี่ยวชาญในการสร้างจนเจนจบ  เมื่อจะมีการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งใด พระองค์จะถูกขอร้องให้เป็นผู้ชี้แจงการสร้าง และการหล่อในฐานะประธานการหล่อเสมอมา ถึงพ.ศ. 2441 ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็น "พระเทพโมลี" ได้สร้างขึ้นเองเป็นครั้งแรกเพียง 9 องค์ และใช้วัตถุตามตำรับ ที่เรียกว่า "นวโลหะ" สร้างพระมีสีดำสนิท จากนั้นทรงสร้างพระกริ่งเรื่อยมาถึงวันคล้ายวันเกิด ภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระวันรัต จึงได้สร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะขึ้นเป็นสีค่อนข้างแดง 69                        องค์ เมื่อพ.ศ. 2482 สร้างตามแบบพระกริ่งหนองแสขนาดใหญ่ พระอาจารย์อินทร์ เป็นผู้หล่อที่วัดคอกหมู พระกริ่งแบบนี้ได้สร้าง ครั้งสุดท้ายมีจำนวน 424  องค์ เมื่อทรงสร้างพระกริ่งรุ่นนี้แล้วก็ทรงมอบตำราการสร้างให้แก่ศิษย์ที่ใกล้ชิดต่อไป ซึ่งก็คือ "เจ้าคุณพระศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์)" ผู้เป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระกริ่งทุกรุ่นของท่าน    พระกริ่งของ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) หรือตำรับวัดสุทัศน์ฯ นั้น จะต้องเป็นเนื้อนวโลหะสัมฤทธิ์ ผิวเนื้อชั้นนอกดำสนิทเป็นมัน ซึ่งผิวเนื้อสัมฤทธิ์นั้นมี 3 ชนิดคือ
                        1. สัมฤทธิเดช เนื้อออกสีแดงอ่อน หรือแดงแก่ เฉลิมพระนามว่า "พระกริ่งยอดฟ้า"
                        2. สัมฤทธิศักดิ์ เนื้อออกสีขาว หรือขาวจัด เฉลิมพระนามว่า "พระกริ่งเลิศหล้า"
                        3. สัมฤทธิโชค เนื้อออกสีเหลือง หรือเหลืองจัด เฉลิมพระนามว่า"พระกริ่งนั่งเกล้า"
                        ทั้งนี้ โลหะที่จะใช้หล่อสร้างพระกริ่งนั้น สมเด็จฯ จะทรงเป็นผู้ให้ส่วนผสมเองทุกครั้ง เพื่อที่จะให้เนื้อนวโลหะเป็นเนื้อ กลับดำสนิท หรือที่เรียกว่า "เนื้อสัมฤทธิ์ดำ" (สัมฤทธิ์ แปลว่า สำเร็จด้วยอิทธิฤทธิ์) แต่โบราณนิยมใช้สัมฤทธิ์รวมประกอบในการพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น ครอบน้ำพระพุทธมนต์สัมฤทธิ์ ขันน้ำสัมฤทธิ์ โถเจมิสัมฤทธิ์ เต้าปูนสัมฤทธิ์ ตะยันหมากสัมฤทธิ์ ฯลฯ ถือกันว่าเป็นมงคลเสนียดจัญไร ด้วยเหตุนี้ พระกริ่งของสมเด็จฯ จึงมีคุณวิเศษที่หลากหลาย ทั้งในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภ แม้กระทั่งทางอยู่ยงคงกะพัน พระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ นับว่าเป็นสำนักที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากเป็นสำนักที่สืบทอดตำราการสร้างไว้อย่างครบถ้วน แม้จะมี                        สำนักอื่น ๆ จัดสร้างขึ้นมากมาย แต่ไม่ สามารถทัดเทียมได้ยิ่งนานวันก็ยิ่งทำให้พระกริ่งของ สมเด็จพระ สังฆราช (แพ), เจ้าคุณศรีฯ ( สนธิ์) และอดีตเจ้าอาวาส ทุกองค์ รวมทั้งพระกริ่งรุ่นใหม่ที่สร้างขึ้นในยุคปัจจุบันล้วนเป็นที่ต้องการในหมู่นัก สะ สมและได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย
จากตำนานพระกริ่งวัดสุทัศน์
...ข้อสังเกตุบันทึกในอดีตทราบได้ว่าเคยสร้างพระกริ่งถึง 424 องค์ใน 1 ครั้ง  แต่พระกริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งประจำรัชกาลเฉพาะรุ่นที่นำรูปมาโชร์ผู้เขียนได้พบเห็นเกือบ 200 องค์ หากรวมกันทั้งหมดที่มีผู้ครอบครองมีทั้งสิ้น หลายร้อยองค์  และพระกริ่งปวเรศ (พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข) ณ.ปี 2553 ได้มีการทำปลอมเกิดขึ้นแล้ว

2พระกริ่งปวเรศ . เนื้อนวโลหะ พ.ศ.2394, พ.ศ.2397, พ.ศ.2398, พ.ศ.2404, 2409, 2411, 2426 และ 2434

กริ่งปวเรศ หรือ  พระกริ่งประจำรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5



โลหะธาตุของพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ประกอบด้วยเนื้อของพระกริ่งฯ 3 ชนิด
  1. เนื้อทองคำ  โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวเน้นเนื้อทองคำ อายุผ่านมานับร้อยปียังคงมีสีผิวดั่งสีทองคำ 
  2. เนื้อเงิน โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวเน้นเนื้อเงิน อายุผ่านมานับร้อยปียังคงมีสีผิวดั่งสีเงิน สีผิวภายแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  3. เนื้อนวโลหะหรือเนื้อสัมฤทธิ์ มี 3 ชนิด  
    1. เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 1 เนื้อสัมฤทธิ์เดช โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีแดงแก่-อ่อน ลักษณะสีคล้ายสีนาค อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกเปลี่ยนเป็นสีดำ เทา อมน้ำตาล
    2. เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 2 เนื้อสัมฤทธิ์ศักดิ์ โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีขาวหรือขาวจัด ลักษณะสีคล้ายสีเนื้อเงินโบราณ อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำสนิท
    3. เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 3 เนื้อสัมฤทธิ์โชค โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีเหลือง สีคล้ายดอกจำปาแก่-อ่อน อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำ อมน้ำตาล

เนื้อในของพระกริ่งปวเรศ  ประเภท  
นวโลหะเนื้อสัมฤทธิ์โชค
1.      สภาพผิวองค์พระกริ่งฯเดิมๆ  มีสีกลับดำอมน้ำตาลทั้งองค์ ยกเว้นบางจุดจะเป็นเป็นสีคล้ายกับสีน้ำตาลแดงเก่าๆเป็นจุดเล็กๆบ้างใหญ่บ้าง เช่นบริเวณหน้าผากของพระกริ่งเป็นต้น
2.      หากนำพระกริ่งฯ ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน สีกลับดำอมน้ำตาลจะลดน้อยลงจะมองเห็นสีที่หน้าผากและบริเวณอื่นๆเป็นสีออกเหมือนสีเหลืองคล้ายทองคำมากขึ้นและบางองค์จะมองเห็นเป็นจุดเล็กๆสีเหลืองๆนั้นก็คือผงทองคำที่ไม่ได้หลอมละลายผสมกับมวลสารทั้งหมด
3.      ใช้ครีมขัดโลหะ wenol ขัดสีผิวเมื่อขัดเสร็จใหม่ๆจะมีวรรณะสีเงินขาวๆ
ผ่านไป 30 นาทีจะเปลี่ยนเป็นสีเงินขาวๆอมสีเหลืองเกิดขึ้นน้อยมาก
...ผ่านไป 60 นาที จะเปลี่ยนเป็นสีเงินขาวๆอมสีเหลืองเกิดมากขึ้น
...เวลาผ่านไป 11 ชั่วโมง สีผิววรรณะสีจำปาอ่อนๆ
...เวลาผ่านไป 15 ชั่วโมง สีผิววรรณะสีจำปาอ่อนๆ อมชมพูบางๆ
...เวลาผ่านไป 25 ชั่วโมง สีผิววรรณะเปลี่ยนเป็นสีจำปาแก่ ในมุมซอกที่น้ำยา wenol ขัดไม่โดนตรงๆสีผิวจะเริ่มออกสีดำอมเขียนกลับดำมากน้อยต่างกัน
...เวลาผ่านไป 3 วัน สีผิววรรณะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองอมชมพูบางๆ ในมุมซอกที่น้ำยา wenol ขัดไม่โดนตรงๆสีผิวจะกลับดำมากน้อยต่างกัน
...หากปล่อยทิ้งไว้ 3 เดือน มองผ่านๆผิวองค์พระจะเป็นสีทองเหลืองเก่าๆและมีผิวสีดำๆเกือบทั้งองค์

กระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้เป็นคุณสมบัติของเนื้อนวโลหะ
ประกอบด้วย  1. ทองแดง   2. พลวง   3. ดีบุก   4. เงิน    5. สังกะสี    6. เหล็ก    7. ตะกั่ว    8. ทองคำ   9.ปรอท  
หมายเหตุ จ้าวน้ำเงินหรือพลวง และชินเป็นส่วนผสมระหว่าง (ตะกั่ว+ดีบุก)
การสร้างในสมัยโบราณนำผสมโลหะทำเป็นแผ่นบาง แล้วจึงมีพิธีลงพระยันต์ ลงแล้วก็ลบ แล้วก็ลงพระยันต์ใหม่ ผ่านกระบวนการประณีตและซับซ้อนมากมาย ก่อนจะถึงวันกำหนดสร้างพระกริ่ง
การสร้างพระกริ่งตามตำราฯ ให้สร้างปีละหนึ่งครั้ง ทรงถือฤกษ์ วันกลางเดือน 12 เวลา 24.00 น. ตรง จำนวนพระกริ่งทรงกำหนดตามกำลังวัน...
อ้างอิง... (เดือน12 ปีใหม่ เมษายน สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศสยาม ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าสิ้นปี)

พระกริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งประจำัรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 5 มีหลากหลายพิมพ์
...........และไวยาวัชกรวัดบวรนิเวศเมื่อ พ.ศ.2434 ก็ได้สร้าง จึงมีหลายทรงพิมพ์ บางแบบใช้แม่พิมพ์เก่าก็มี โลหะก็ไม่เหมือนกัน บางพิมพ์ใช้แม่แบบเก่าก็มี บางองค์ก็แบบพิมพ์ใหม่ รวมทั้งกริ่งแบบที่อยู่ในขันน้ำมนต์ และยอดไม้เท้าของพระองค์ท่าน
.........พระกริ่งฯที่สร้างนี้ ใช้แบบหล่อประกบ 2 ด้าน หล่อเป็นองค์จากแม่พิมพ์ดินเผ่าใหม่ที่ปราณีต

พระกริ่งฯที่สร้างตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 พระกริ่งฯจำนวนนี้อยู่ที่ใด
1.พระกริ่งฯที่สร้างเนื่องในพระราชพิธีเนื่องในโอกาสพิเศษทั้งสิ้น ประกอบด้วย
·       พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
·       พระราชพิธีผนวชเป็นสามเณร
·       พระราชพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ
·       การตั้งกรม(การเฉลิมพระยศเจ้านาย)
เมื่อประกอบพระราชพิธีเสร็จจะได้รับการอัญเชิญไว้ในวัดพระแก้วทั้งหมด 2. เช่น พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ. 2434 สมัยที่สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2434 พระกริ่งปวเรศอยู่กับผู้สร้างจำนวนหนึ่ง เมื่อระยะเวลาผ่านไปนาน 119 ปี(พ.ศ.2553) สมบัติผลัดกันชม อยู่กับทายาทรุ่นสู่รุ่น ซึ่งที่ผู้เขียนพบบางตระกูล(ขนนางเก่า) ที่มีครอบครองยังไม่ทราบด้วยว่าเป็นพระอะไรเนื่องจากอยู่ในห้องพระในบ้านนานจนไม่มีใครรู้จัก
3.  พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2434 จำนวนหนึ่งที่มีทั้งผู้ได้รับมอบในสมัยนั้นและออกมาจากทายาทของผู้สร้างได้ออกสู่ตลาดพระโดยที่เซียนพระส่วนใหญ่ไม่รู้จัก คนที่รู้จักเมื่อพบเห็นต่างเก็บเงียบ
4.  พระกริ่งฯที่สร้างเสร็จส่วนใหญ่ได้ถูกบรรจุกรุที่วัดพระแก้ว(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพ) เมื่อครั้งบูรณะพ.ศ. 2523 ได้ถูกขนออกมาฯ ภายหลังออกสู่ตลาด แต่เซียนพระฯไม่รู้จัก ดังนั้นผู้เขียนขอแนะนำผู้ที่เข้ามาอ่านบล๊อกนี้หากเห็นที่ไหนราคาไม่แพงให้เช่า(ซื้อ)มา 1 องค์แล้วให้ตรวจสอบองค์ผู้อธิฐานจิตว่าใครเป็นผู้อธิฐานจิต ถ้าใช่ให้กลับไปเก็บให้หมด


1.ผู้สร้างพระกริ่งปวเรศ วัตถุประสงค์ ของพิธีมหาพุทธาภิเษกหลวง

พระกริ่งปวเรศ หรือพระกริ่งประจำรัชกาล  มีพระราชประสงค์การจัดสร้างพระกริ่งฯ ดังนี้

1. เพื่อใช้ในพระราชพิธีเจริญน้ำพุทธมนต์ ประกอบพระราชพิธีต่างๆของพระราชสำนัก

พระราชพิธีที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้างพระกริ่งปวเรศ
               จากที่ผู้เขียนศึกษาประวัติศาสตร์พระราชพิธีสำคัญต่างๆในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 9 พระราชพิธีต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนเกี่ยวข้องการเรื่องน้ำ(พุทธมนต์)ทั้งสิ้น  พระราชพิธีที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้างพระกริ่งปวเรศจะเป็นพระราชพิธีเนื่องในโอกาสพิเศษทั้งสิ้น ประกอบด้วย
·       พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
·       พระราชพิธีผนวชเป็นสามเณร
·       พระราชพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ
·       การตั้งกรม(การเฉลิมพระยศเจ้านาย)

2. เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา  

3.เพื่อมอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเบื้องต้น นอกจากนั้นก็มอบให้แก่คหบดี
4. เพื่อ นำไปทำบุญแก่วัด หรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดมูลค่า และไม่หวังสิ่งตอบแทน
5. เพื่อ เป็นเครื่องรางของขลัง สำหรับการออกสงคราม สู้รบปกป้องบ้านเมือง
6. สร้างพระโดย เน้นพุทธศิลป์ ศิลปวัฒนธรรม ในยุคนั้น
7. สร้างพระกริ่งฯ โดย เน้นวัตถุประสงค์พิเศษ ก่อให้องค์พระฯมีพลานุภาพ เช่น

      7.1 คงกะพัน

     7.2 ชาตรี

     7.2 แคล้วคลาด

     7.3 มหาอำนาจ

     7.4 หนุนดวง เสริมดวง

     7.5 ป้องกัน-ขับไล่วิญญาณ

     7.6 เมตตาขั้นสูงระดับต้น

     7.7 เสน่ห์ใครเห็นใครชอบ

     7.8 ป้องกันอาถรรพ์ คุณไสย์อวิชา คุณผี คุณคน

     7.9 ช่วยให้ผู้ครอบครองมีสติทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน

     7.10 มวลสารส่วนผสมเป็นเนื้อนวโลหะขององค์พระกริ่งฯ มีฤทธิ์เดชทางด้าน โภคทรัพย์ ฯลฯ 

     7.11 ทำน้ำมนต์รักษโรค สิ่งอัปมงคล คุณไสยอวิชา คุณผี คุณคน รักษาโรคภัยไข้เจ็บ โรคระบาด โรคเวรให้ทุเลาบายหาย รักษาโรคเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์-อาวุธเคมี ฯลฯ

     7.12 อื่นๆ

            พระกริ่งปวเรศ หรือพระกริ่งประจำราชกาล...องค์พระกริ่งฯ มีคราบน้ำมันที่แห้งติดองค์พระสีดำแทบจะทุกองค์ ยกเว้นบางองค์ที่ผ่านการล้างทำความสะอาด มูลเหตุนี้จึงเป็นข้อดีทำให้ผิวขององค์พระกริ่งปวเรศที่มีอายุมากกว่า 100 ปี คงความสวยงามสมบูรณ์ มองผ่านๆเหมือนสมัยที่สร้างเสร็จใหม่ๆ ทำให้เซียนพระทั่วๆไปต่างมองว่าเป็นของเก๊ แต่ถ้าวิเคราะห์พิจารณาให้ดีจะเห็นความเก่าของผิวองค์พระกริ่งปวเรศ เกิดขึ้นภายใต้คราบน้ำมันบ่งบอกถึงความเก่าอายุการสร้างมากกว่า 100 ปี
         พระกริ่งปวเรศ หรือพระกริ่งประจำรัชกาลเพียงแค่รูปที่เห็นคนทั่วไปก็จะวิจารณ์ว่าเก๊ก่อนในอันดับแรก  พระเครื่องที่มีอายุผ่านมามากกว่า 120 ถึง 143 ปีใครจะเกิดทัน และถ้าหากไม่ได้บันทึกข้อมูลการสร้างไว้ยิ่งทำให้เชื่อถือได้ยาก  มีคำชี้แนะจากผู้เขียนดังนี้ คนที่ชื่นชมในพระเครื่อง-พระบูชาอย่างน้อยก็ต้องนับถือพระสงฆ์องค์เจ้าที่มีเชื่อเสียงว่าท่านมี “อภิญญา” เก่งในเรื่อง “ฌาน” ขอพระท่าน          เมตตาสงเคราะห์ตรวจสอบ สอบถามว่า ใครเป็นผู้อธิฐานจิต เช่น พระกริ่งปวเรศ ก็จะสอบถามว่า องค์ประธานในพิธีใช่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์หรือไม่? ของแท้ก็คือของแท้  ถ้าเก๊ก็ต้องเก๊จะเป็นของแท้ย่อมเป็นไปไม่ได้  ดังนั้นจะแท้หรือเก๊ในปัจจุบันอยู่ที่คน  ไม่ใช่อยู่ที่วัตถุมงคล

      พิธีมหาพุทธาภิเษกหลวง พระกริ่งปวเรศ   พ.ศ.2434 หรือพระกริ่งประจำรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2434  พระกริ่งที่สมัยในสมัย รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ที่พบเห็นก็มี  

       ในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 พระกริ่งที่สร้างขึ้นมีความเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกตามชื่อพระนามย่อของพระองค์คือ พระบทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปวเรศฯ พระกริ่งที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นจึงเรียกกันว่า "พระกริ่งปวเรศ"

         ส่วนพระกริ่งปวเรศที่มีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นชื่อย่อของ   

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  

ที่มีชื่อคล้อง(คล้าย)กับ  พระกริ่งปวเรศ  ความจริงแล้วไม่ใช่


     ใครมีพระกริ่งปวเรศ  พ.ศ. 2434 ? เจ้านายและเชื้อพระวงศ์ในอดีตที่ตกทอดสืบต่อกันมา ที่ผู้เขียนพบมีหลายท่าน แต่ละท่านต่างไม่อยากจะเปิดเผยชื่อและนามสกุลของท่าน เพราะในโลกยุคปัจจุบันโจรผู้ร้าย นักย่องเบา มากมายเหลือที่จะบรรยาย  
     แต่ปัจจุบันนี้พระกริ่งปวเรศ ได้ออกจากวังนับหลายร้อยองค์ได้เกิดขึ้นมานานว่า 30 ปี  กระจัดกระจายพบเห็นได้ทั่วประเทศ  แต่น้อยคนที่รู้จัก  ซึ่งมีเพียงกลุ่มผู้รู้จริงเก็บเงียบๆอยู่หลายปี  ความลับจึงได้ถูกเปิดเผยให้กลุ่มภายนอกได้พบ  เป็นการโปรดของพระฯให้ผู้มีบุญได้ชื่นชมบารมีแท้จริง

เทวดาผู้ดูแลรักษา...พระเครื่องที่มีพิธีมหาพุทธาภิเษกถูกต้องดังเช่น พระกริ่งปวเรศ มีเทวดาเป็นผู้ดูแล หากเป็นพระเครื่องฯเก๊เรียนแบบ ไม่มีเทวดาดูแล
...........................................................................
เขียนเพิ่มเติม 3 มกราคม 2559
*** จากอดีตผ่านมาหลายปีที่ได้เขียนบทความพระกริ่งปวเรศ  มีคนได้ลอกบทความไปใช้ทั้งที่ได้อ้างอิงและส่วนใหญ่ไม่ได้กล่าวอ้างอิงว่านำบทความต้นฉบับมาจากบล๊อคฯนี้  
*** มีกลุ่มคนได้นำพระกริ่งปวเรศต้นฉบับของแท้  หลายๆพิมพ์นำมาทำปลอมเรียนแบบ(เก๊)  ขายในท้องตลาดมากมาย  คนไม่มีก็อยากจะได้  คนที่มีแล้วก็ยังถูกหลอกเพราะความโลภอยากได้เพิ่ม  ฝีมือการปลอมใกล้เคียงของจริงมาก
*** เปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือขายมาหลายปี  คนเห็นแล้วไม่มีจุดดึงดูดสนใจ ต้องทำรุ่นใหม่ๆออกมาขายตลอดเวลา  พระกริ่งฯก็เช่นเดียวกัน  ปลอมทำเก๊มาขายคนซื้อก็ซื้อกันไปเยอะแล้ว  เริ่มขายได้ยาก  คนทำพระกริ่งฯปลอมก็ทำรูปแบบพระกริ่งแปลกๆออกมาขาย  คนไม่เข้าใจหลงและโลภคิดไปเองว่าใช่  เพราะเห็นคนนั้นมีก็อยากมีกับเขา  (ปลอมพบกับปลอมต่างดีใจ)  ทำให้วงการทำพระกริ่งฯปลอมขายได้อีก  สำหรับผมเห็นแล้วได้แต่สงสารคนซื้อมา  พระกริ่งผิวบางแบบ  สมัยโบราณหากศึกษาดีๆเปิดใจเป็นกลาง  จะทำให้ทราบว่าเป็นเทคนิคเทคโนโลยีสมัยใหม่  เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมายังทำกันไม่ได้