วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

3. การสร้างพระกริ่งจากตำนานพระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ

  การสร้างพระกริ่ง
                        การสร้างพระกริ่งมีมาแต่โบราณ เริ่มขึ้นที่ประเทศทิเบต และจีน จึงเรียกติดปากว่า พระกริ่งทิเบต และ กริ่งหนองแส  พระกริ่งเป็นพระพุทธเจ้าปางมาช่วยโปรดสัตว์โลก หรือเรียกกันว่า "พระไภสัชคุรุ"เป็นพระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายาน ซึ่งหมายความว่าทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือ การรักษาพยาบาล ต่อมาได้แพร่หลายมานิยมสร้างในเขมรเรียกว่า "พระกริ่งอุบาเก็ง" หรือ "พระกริ่งพนมบาเก็ง" และ "พระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์" ตำราสร้างพระกริ่งดั้งเดิมอยู่กับ สมเด็จพระพนรัต วัดปาแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) จ.พระนครศรีอยุธยา แต่จะรวบรวมข้อมูลมาจากที่ใดบ้าง และท่านจะสร้างสร้างไว้บ้างหรือเปล่า ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ต่อมาตำราได้ตกมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระปรมานุชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ แต่ไม่มีหลักฐานการสร้างพระกริ่งของสมเด็จฯ ท่าน จนกระทั่งตำราตกทอดมาถึง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แห่งวัดบวรนิเวศ จึงได้ทรงสร้าง "พระกริ่งปวเรศ" ขึ้น โดยใช้โลหะ 9 อย่างที่เรียกว่า "นวโลหะ" คือ ทองคำ, เงิน, ทองแดง, สังกะสี, ปรอท, บริสุทธิ์, เหล็กละลายตัว, จ้าวน้ำเงิน, ชิน ซึ่งต่อมา เจ้าคุณเฒ่า วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้นำแบบของพระองค์ไปจัดสร้างขึ้นบ้าง แต่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน หลังจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ สิ้นพระชนม์ ตำราการสร้างพระกริ่งตกทอดมายัง "พระพุฒาจารย์ (มา)" หรือ "ท่านเจ้ามา" วัดสามปลื้ม เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์เป็น "พระมงคลทิพมุนี" ท่านเคยดำริว่าเมื่ออายุครบ 80 ปีจะสร้างพระกริ่งตามตำรับเดิมที่ได้รับตกทอดมา แต่ท่านก็มรณภาพลงเสียก่อน ตำรานี้จึงตกไปอยู่กับ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ และที่วัดนี้เองถือว่าเป็นตำนานในการพระกริ่งในประเทศไทย ตั้งแต่บัดนั้นมาจนปัจจุบัน พระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ มีชื่อเสียงทรงคุณวิเศษหลายประการ มีผู้นิยมนับถือกันมาก ยิ่งในปัจจุบันนี้ยิ่งหายาก เพราะ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงสร้างไว้จำนานไม่มาก  สาเหตุที่ทรงสร้างพระกริ่งนั้น เนื่องจากเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระวันรัต (แดง) พระอุปัชฌาย์ อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเคยรักษาผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคให้หายได้ด้วยการอาราธนาพระกริ่งลงในน้ำทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์แล้วโปรด ให้น้ำนั้นแก่ผู้ป่วยดื่มปรากฏว่าหายอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็อาราธนาพระกริ่งลงในน้ำ ทำน้ำพระพุทธมนต์ประทานแก่ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์นั้นแล้วก็บรรเทาหายอาพาธเป็นปกติ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้ทอดพระเนตรเห็นคุณวิเศษน่าอัศจรรย์ของพระกริ่งในขณะนั้นแล้ว จึงเกิดความสนพระทัยและทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าตำราที่จะสร้างพระกริ่งเรื่อยมาจนมีความรู้เชี่ยวชาญในการสร้างจนเจนจบ  เมื่อจะมีการสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งใด พระองค์จะถูกขอร้องให้เป็นผู้ชี้แจงการสร้าง และการหล่อในฐานะประธานการหล่อเสมอมา ถึงพ.ศ. 2441 ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็น "พระเทพโมลี" ได้สร้างขึ้นเองเป็นครั้งแรกเพียง 9 องค์ และใช้วัตถุตามตำรับ ที่เรียกว่า "นวโลหะ" สร้างพระมีสีดำสนิท จากนั้นทรงสร้างพระกริ่งเรื่อยมาถึงวันคล้ายวันเกิด ภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระวันรัต จึงได้สร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะขึ้นเป็นสีค่อนข้างแดง 69                        องค์ เมื่อพ.ศ. 2482 สร้างตามแบบพระกริ่งหนองแสขนาดใหญ่ พระอาจารย์อินทร์ เป็นผู้หล่อที่วัดคอกหมู พระกริ่งแบบนี้ได้สร้าง ครั้งสุดท้ายมีจำนวน 424  องค์ เมื่อทรงสร้างพระกริ่งรุ่นนี้แล้วก็ทรงมอบตำราการสร้างให้แก่ศิษย์ที่ใกล้ชิดต่อไป ซึ่งก็คือ "เจ้าคุณพระศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์)" ผู้เป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระกริ่งทุกรุ่นของท่าน    พระกริ่งของ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) หรือตำรับวัดสุทัศน์ฯ นั้น จะต้องเป็นเนื้อนวโลหะสัมฤทธิ์ ผิวเนื้อชั้นนอกดำสนิทเป็นมัน ซึ่งผิวเนื้อสัมฤทธิ์นั้นมี 3 ชนิดคือ
                        1. สัมฤทธิเดช เนื้อออกสีแดงอ่อน หรือแดงแก่ เฉลิมพระนามว่า "พระกริ่งยอดฟ้า"
                        2. สัมฤทธิศักดิ์ เนื้อออกสีขาว หรือขาวจัด เฉลิมพระนามว่า "พระกริ่งเลิศหล้า"
                        3. สัมฤทธิโชค เนื้อออกสีเหลือง หรือเหลืองจัด เฉลิมพระนามว่า"พระกริ่งนั่งเกล้า"
                        ทั้งนี้ โลหะที่จะใช้หล่อสร้างพระกริ่งนั้น สมเด็จฯ จะทรงเป็นผู้ให้ส่วนผสมเองทุกครั้ง เพื่อที่จะให้เนื้อนวโลหะเป็นเนื้อ กลับดำสนิท หรือที่เรียกว่า "เนื้อสัมฤทธิ์ดำ" (สัมฤทธิ์ แปลว่า สำเร็จด้วยอิทธิฤทธิ์) แต่โบราณนิยมใช้สัมฤทธิ์รวมประกอบในการพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น ครอบน้ำพระพุทธมนต์สัมฤทธิ์ ขันน้ำสัมฤทธิ์ โถเจมิสัมฤทธิ์ เต้าปูนสัมฤทธิ์ ตะยันหมากสัมฤทธิ์ ฯลฯ ถือกันว่าเป็นมงคลเสนียดจัญไร ด้วยเหตุนี้ พระกริ่งของสมเด็จฯ จึงมีคุณวิเศษที่หลากหลาย ทั้งในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภ แม้กระทั่งทางอยู่ยงคงกะพัน พระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ นับว่าเป็นสำนักที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากเป็นสำนักที่สืบทอดตำราการสร้างไว้อย่างครบถ้วน แม้จะมี                        สำนักอื่น ๆ จัดสร้างขึ้นมากมาย แต่ไม่ สามารถทัดเทียมได้ยิ่งนานวันก็ยิ่งทำให้พระกริ่งของ สมเด็จพระ สังฆราช (แพ), เจ้าคุณศรีฯ ( สนธิ์) และอดีตเจ้าอาวาส ทุกองค์ รวมทั้งพระกริ่งรุ่นใหม่ที่สร้างขึ้นในยุคปัจจุบันล้วนเป็นที่ต้องการในหมู่นัก สะ สมและได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย
จากตำนานพระกริ่งวัดสุทัศน์
...ข้อสังเกตุบันทึกในอดีตทราบได้ว่าเคยสร้างพระกริ่งถึง 424 องค์ใน 1 ครั้ง  แต่พระกริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งประจำรัชกาลเฉพาะรุ่นที่นำรูปมาโชร์ผู้เขียนได้พบเห็นเกือบ 200 องค์ หากรวมกันทั้งหมดที่มีผู้ครอบครองมีทั้งสิ้น หลายร้อยองค์  และพระกริ่งปวเรศ (พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข) ณ.ปี 2553 ได้มีการทำปลอมเกิดขึ้นแล้ว