กริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งประจำรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5
โลหะธาตุของพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ประกอบด้วยเนื้อของพระกริ่งฯ 3 ชนิด
- เนื้อทองคำ โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวเน้นเนื้อทองคำ อายุผ่านมานับร้อยปียังคงมีสีผิวดั่งสีทองคำ
- เนื้อเงิน โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวเน้นเนื้อเงิน อายุผ่านมานับร้อยปียังคงมีสีผิวดั่งสีเงิน สีผิวภายแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
- เนื้อนวโลหะหรือเนื้อสัมฤทธิ์ มี 3 ชนิด
- เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 1 เนื้อสัมฤทธิ์เดช โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีแดงแก่-อ่อน ลักษณะสีคล้ายสีนาค อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกเปลี่ยนเป็นสีดำ เทา อมน้ำตาล
- เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 2 เนื้อสัมฤทธิ์ศักดิ์ โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีขาวหรือขาวจัด ลักษณะสีคล้ายสีเนื้อเงินโบราณ อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำสนิท
- เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 3 เนื้อสัมฤทธิ์โชค โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีเหลือง สีคล้ายดอกจำปาแก่-อ่อน อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำ อมน้ำตาล
เนื้อในของพระกริ่งปวเรศ ประเภท
นวโลหะเนื้อสัมฤทธิ์โชค
นวโลหะเนื้อสัมฤทธิ์โชค
1. สภาพผิวองค์พระกริ่งฯเดิมๆ มีสีกลับดำอมน้ำตาลทั้งองค์ ยกเว้นบางจุดจะเป็นเป็นสีคล้ายกับสีน้ำตาลแดงเก่าๆเป็นจุดเล็กๆบ้างใหญ่บ้าง เช่นบริเวณหน้าผากของพระกริ่งเป็นต้น
2. หากนำพระกริ่งฯ ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน สีกลับดำอมน้ำตาลจะลดน้อยลงจะมองเห็นสีที่หน้าผากและบริเวณอื่นๆเป็นสีออกเหมือนสีเหลืองคล้ายทองคำมากขึ้นและบางองค์จะมองเห็นเป็นจุดเล็กๆสีเหลืองๆนั้นก็คือผงทองคำที่ไม่ได้หลอมละลายผสมกับมวลสารทั้งหมด
3. ใช้ครีมขัดโลหะ wenol ขัดสีผิวเมื่อขัดเสร็จใหม่ๆจะมีวรรณะสีเงินขาวๆ
…ผ่านไป 30 นาทีจะเปลี่ยนเป็นสีเงินขาวๆอมสีเหลืองเกิดขึ้นน้อยมาก
...ผ่านไป 60 นาที จะเปลี่ยนเป็นสีเงินขาวๆอมสีเหลืองเกิดมากขึ้น
...เวลาผ่านไป 11 ชั่วโมง สีผิววรรณะสีจำปาอ่อนๆ
...เวลาผ่านไป 15 ชั่วโมง สีผิววรรณะสีจำปาอ่อนๆ อมชมพูบางๆ
...เวลาผ่านไป 25 ชั่วโมง สีผิววรรณะเปลี่ยนเป็นสีจำปาแก่ ในมุมซอกที่น้ำยา wenol ขัดไม่โดนตรงๆสีผิวจะเริ่มออกสีดำอมเขียนกลับดำมากน้อยต่างกัน
...เวลาผ่านไป 3 วัน สีผิววรรณะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองอมชมพูบางๆ ในมุมซอกที่น้ำยา wenol ขัดไม่โดนตรงๆสีผิวจะกลับดำมากน้อยต่างกัน
...หากปล่อยทิ้งไว้ 3 เดือน มองผ่านๆผิวองค์พระจะเป็นสีทองเหลืองเก่าๆและมีผิวสีดำๆเกือบทั้งองค์
กระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้เป็นคุณสมบัติของเนื้อนวโลหะ
ประกอบด้วย 1. ทองแดง 2. พลวง 3. ดีบุก 4. เงิน 5. สังกะสี 6. เหล็ก 7. ตะกั่ว 8. ทองคำ 9.ปรอท
หมายเหตุ จ้าวน้ำเงินหรือพลวง และชินเป็นส่วนผสมระหว่าง (ตะกั่ว+ดีบุก)
หมายเหตุ จ้าวน้ำเงินหรือพลวง และชินเป็นส่วนผสมระหว่าง (ตะกั่ว+ดีบุก)
การสร้างในสมัยโบราณนำผสมโลหะทำเป็นแผ่นบาง แล้วจึงมีพิธีลงพระยันต์ ลงแล้วก็ลบ แล้วก็ลงพระยันต์ใหม่ ผ่านกระบวนการประณีตและซับซ้อนมากมาย ก่อนจะถึงวันกำหนดสร้างพระกริ่ง
การสร้างพระกริ่งตามตำราฯ ให้สร้างปีละหนึ่งครั้ง ทรงถือฤกษ์ วันกลางเดือน 12 เวลา 24.00 น. ตรง จำนวนพระกริ่งทรงกำหนดตามกำลังวัน...
อ้างอิง... (เดือน12 ปีใหม่ เมษายน สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศสยาม ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าสิ้นปี)
พระกริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งประจำัรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 5 มีหลากหลายพิมพ์
...........และไวยาวัชกรวัดบวรนิเวศเมื่อ พ.ศ.2434 ก็ได้สร้าง จึงมีหลายทรงพิมพ์ บางแบบใช้แม่พิมพ์เก่าก็มี โลหะก็ไม่เหมือนกัน บางพิมพ์ใช้แม่แบบเก่าก็มี บางองค์ก็แบบพิมพ์ใหม่ รวมทั้งกริ่งแบบที่อยู่ในขันน้ำมนต์ และยอดไม้เท้าของพระองค์ท่าน
.........พระกริ่งฯที่สร้างนี้ ใช้แบบหล่อประกบ 2 ด้าน หล่อเป็นองค์จากแม่พิมพ์ดินเผ่าใหม่ที่ปราณีต
พระกริ่งฯที่สร้างตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 พระกริ่งฯจำนวนนี้อยู่ที่ใด
1.พระกริ่งฯที่สร้างเนื่องในพระราชพิธีเนื่องในโอกาสพิเศษทั้งสิ้น ประกอบด้วย
· พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
· พระราชพิธีผนวชเป็นสามเณร
· พระราชพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ
· การตั้งกรม(การเฉลิมพระยศเจ้านาย)
เมื่อประกอบพระราชพิธีเสร็จจะได้รับการอัญเชิญไว้ในวัดพระแก้วทั้งหมด 2. เช่น พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ. 2434 สมัยที่สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2434 พระกริ่งปวเรศอยู่กับผู้สร้างจำนวนหนึ่ง เมื่อระยะเวลาผ่านไปนาน 119 ปี(พ.ศ.2553) สมบัติผลัดกันชม อยู่กับทายาทรุ่นสู่รุ่น ซึ่งที่ผู้เขียนพบบางตระกูล(ขนนางเก่า) ที่มีครอบครองยังไม่ทราบด้วยว่าเป็นพระอะไรเนื่องจากอยู่ในห้องพระในบ้านนานจนไม่มีใครรู้จัก
3. พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2434 จำนวนหนึ่งที่มีทั้งผู้ได้รับมอบในสมัยนั้นและออกมาจากทายาทของผู้สร้างได้ออกสู่ตลาดพระโดยที่เซียนพระส่วนใหญ่ไม่รู้จัก คนที่รู้จักเมื่อพบเห็นต่างเก็บเงียบ
4. พระกริ่งฯที่สร้างเสร็จส่วนใหญ่ได้ถูกบรรจุกรุที่วัดพระแก้ว(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพ) เมื่อครั้งบูรณะพ.ศ. 2523 ได้ถูกขนออกมาฯ ภายหลังออกสู่ตลาด แต่เซียนพระฯไม่รู้จัก ดังนั้นผู้เขียนขอแนะนำผู้ที่เข้ามาอ่านบล๊อกนี้หากเห็นที่ไหนราคาไม่แพงให้เช่า(ซื้อ)มา 1 องค์แล้วให้ตรวจสอบองค์ผู้อธิฐานจิตว่าใครเป็นผู้อธิฐานจิต ถ้าใช่ให้กลับไปเก็บให้หมด