สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ตามความเชื่อของวงการพระเครื่อง-วัตถุมงคลต่างยอมรับและเชื่อว่าทรงให้กำเนิดพระกริ่งในประเทศไทย ทรงสร้างพระกริ่งที่เรียกกันว่า พระกริ่งปวเรศ ซึ่งเป็นต้นแบบของพระกริ่ง ในยุคต่อมาของไทย ในวงการพระเครื่องจึงขนานนามเป็น พิมพ์“ พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก”
- "ความเข้าใจในเรื่องนี้คลาดเคลื่อน" เพราะผู้ที่เขียนตำรา ต่างอ้างอิงกันไปมา เป็นความเข้าใจที่ผิดๆ
- คำว่า ปวเรศ ข้อเท็จจริง เป็นชื่อย่อของ พระบาทสมเด็จปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ผู้เขียนจึงขอเรียกตามว่าเป็นพระกริ่งปวเรศรุ่นแรก หรือ พระกริ่งปวเรศรุ่น 1 เช่นเดียวกัน ทั้งๆอันที่จริงแล้วพระกริ่งฯเหล่านี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นภายในวัดบวรนิเวศวิหาร แต่เป็นการสร้างขึ้นภายใต้ฝีมือของช่างสิบหมู่หรือช่างหลวงประจำราชสำนักทั้งของวังหน้าและวังหลวงทั้งหมดทั้งสิ้น มีการสร้างพระกริ่งฯเกิดขึ้นในประเทศไทยก่อนที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์(เกิด)ประสูต รวมไปถึงองค์ครูที่อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหารในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ซึ่งหากสังเกตุให้ดีๆจะพบมีเม็ดงาตอกอยู่ด้านหลังบริเวณด้านข้างของกลีบบัวเป็นการกำกับให้ทราบถึงวาระที่ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ.2416 เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 ทรงผนวช
ดังนั้นผู้เขียนจึงขอสรุปดังนี้
พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก หรือ พระพิมพ์ พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก หรือ พระกริ่งประจำรัชกาล...พระกริ่งรัชกาล.. สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2382 - พ.ศ. 2434
มีผู้กล่าวไว้เป็นตำราหนังสือพระกริ่งปวเรศที่เกิดขึ้นรุ่นแรกของวัดบวรนิเวศที่อธิฐาตจิตโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ตามที่ได้มีผู้บันทึกการสร้างไว้ พ.ศ. 2404, พ.ศ.2409, พ.ศ.2411, พ.ศ. 2416, พ.ศ.2426 และ พ.ศ.2434 เป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
มีผู้กล่าวไว้เป็นตำราหนังสือพระกริ่งปวเรศที่เกิดขึ้นรุ่นแรกของวัดบวรนิเวศที่อธิฐาตจิตโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ตามที่ได้มีผู้บันทึกการสร้างไว้ พ.ศ. 2404, พ.ศ.2409, พ.ศ.2411, พ.ศ. 2416, พ.ศ.2426 และ พ.ศ.2434 เป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยา ทรงเป็นพระบรมราโชปัธยาย และเป็นอุปัธยายของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช กรมพระราชวัง เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ในพระบรมราชตระกูล และเจ้าประเทศราช ข้าราชการเป็นอันมาก ดังนั้น พระกริ่งปวเรศรุ่นแรกที่เกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยา โดยตรงเป็นพระกริ่งปวเรศที่สร้างในยุค พ.ศ.2416 ถึง พ.ศ.2434 ซี่งมีพลังพุทธคุณอ่อน(เบา)กว่าในยุคก่อนหน้าที่สมเด็จโต วัดระฆังอธิษฐานจิตมาก
พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ทั้งหมดนั้นสร้างโดยช่างสิบหมู่ หรือ ช่างหลวงในสมัยโบราณที่ได้รับคำสั่งจากเจ้านายผู้ควบคุมให้สร้างตามวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบในงานพระราชพิธีฯสำคัญของพระราชสำนักในวาระต่างๆ เช่น
· พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
· พระราชพิธีผนวชเป็นสามเณร
· พระราชพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ
· การตั้งกรม(การเฉลิมพระยศเจ้านาย)
ที่พบเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2382 ในยุครัชกาลที่ 3 ถึง พ.ศ.2434 ในยุคของรัชกาลที่ 5
ที่พบเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2382 ในยุครัชกาลที่ 3 ถึง พ.ศ.2434 ในยุคของรัชกาลที่ 5
โลหะและมวลสารที่สร้างนั้นสร้างตามตำราโบราณสืบทอดกันมา เพราะเนื้อโลหะธาตุที่สร้างจะใกล้เคียงแทบจะเหมือนกันมากจากที่เคยสร้างทุกประการ ซึ่งมีหลากหลายมวลสารโลหะธาตุที่ผสม รุ่นไหนสร้างออกมาเป็นเนื้อสีเหลืองก็จะเหลือง รุ่นไหนสร้างออกมาเป็นเนื้อสีแดง(คล้ายสีนาค)ก็จะเหมือนกันทั้งรุ่น ที่เด่นชัด คือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างเริ่มแรกในปี พ.ศ.2394 ถึง พ.ศ.2434
เมื่อครั้งสมัยที่ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขได้สร้างในวาระ พ.ศ.2434 อีกครั้งหนึ่ง กล่าวได้ว่าเป็นพิมพ์พระกริ่งปวเรศที่มีบทบาทการสร้างอย่างยาวนานที่สุดพิมพ์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2434 มีการสร้างพระกริ่งหลากหลายพิมพ์เช่นเดียวกันกับในอดีตที่ผ่านมา มีทั้งสร้างพระกริ่งจากแม่พิมพ์เก่า สร้างจากแม่พิมพ์ใหม่ ทั้งที่เรียนแบบแม่พิมพ์เดิมและที่ทำพิมพ์ใหม่ทั้งหมด ประเด็นสำคัญคือ การเกิดความแตกต่างขึ้นระหว่างลักษณะงานศิลปะฝีมือของ “ช่างหลวง” กับสกุลช่างนอกพระราชสำนักที่ภาษาสามัญนิยมเรียกกันว่า “ช่างราษฎร์” ในยุคถัดมาที่ไม่มีเทคโนโลยีเทียบช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ได้ หลายสำนักที่สร้างพระกริ่งฯ ต่างๆฝีมือยังห่างชั้นเกือบ 100 ปีที่ตามกันไม่ทัน คนที่ไม่มีความรู้ศึกษามาไม่ถึงต้นทาง ต่างคิดว่าเป็นพระกริ่ง ปลอมเก๊ เรียนแบบ เป็นการดูถูกภูมิปัญญาของช่างหลวง หรือ ช่างสิบหมู่ของไทยในยุคโบราณ
เมื่อครั้งสมัยที่ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขได้สร้างในวาระ พ.ศ.2434 อีกครั้งหนึ่ง กล่าวได้ว่าเป็นพิมพ์พระกริ่งปวเรศที่มีบทบาทการสร้างอย่างยาวนานที่สุดพิมพ์หนึ่ง ในปี พ.ศ.2434 มีการสร้างพระกริ่งหลากหลายพิมพ์เช่นเดียวกันกับในอดีตที่ผ่านมา มีทั้งสร้างพระกริ่งจากแม่พิมพ์เก่า สร้างจากแม่พิมพ์ใหม่ ทั้งที่เรียนแบบแม่พิมพ์เดิมและที่ทำพิมพ์ใหม่ทั้งหมด ประเด็นสำคัญคือ การเกิดความแตกต่างขึ้นระหว่างลักษณะงานศิลปะฝีมือของ “ช่างหลวง” กับสกุลช่างนอกพระราชสำนักที่ภาษาสามัญนิยมเรียกกันว่า “ช่างราษฎร์” ในยุคถัดมาที่ไม่มีเทคโนโลยีเทียบช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ได้ หลายสำนักที่สร้างพระกริ่งฯ ต่างๆฝีมือยังห่างชั้นเกือบ 100 ปีที่ตามกันไม่ทัน คนที่ไม่มีความรู้ศึกษามาไม่ถึงต้นทาง ต่างคิดว่าเป็นพระกริ่ง ปลอมเก๊ เรียนแบบ เป็นการดูถูกภูมิปัญญาของช่างหลวง หรือ ช่างสิบหมู่ของไทยในยุคโบราณ
ช่างหลวง หรือ ช่างสิบหมู่ ในสมัยโบราณก่อนปี พ.ศ.2382 ที่ผู้เขียนพบ สร้างแม่แบบเบ้าหล่อพระกริ่งฯ ได้แล้วและมีฝีมือการตบแต่งองค์พระได้งดงาม ประณีตสวยงามมาก แต่เทคนิรการหล่อยังเกิดมีตำหนิในองค์พระกริ่งพบเห็นอยู่บ้างพอสมควร ภายหลังจากปี พ.ศ.2387 ช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ได้พัฒนาการหล่อพระกริ่งฯ และ การตบแต่งที่ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อมาถึงยุค พ.ศ.2401 พระกริ่งที่สร้างโดยช่างหลวง หรือ ช่างสิบหมู่ มีฝีมือไร้เทียมทาน ชนิดที่ช่างสมัยนี้เห็นแล้วต่างยกมือยกย่อง สวยงามปราณีต
เมื่อเข้ามาถึงยุค ร. 4 ขึ้นครองราชย์กับพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.2394 ผู้เขียนได้พบพระกริ่งปวเรศยุคแรกเริ่มตามชื่อเรียกสั้นๆของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า (พระกริ่งปวเรศ) พิมพ์นี้มีความสมบูรณ์ทุกประการ ผู้เขียนขอเรียกพิมพ์นี้ว่า “พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข” การสร้างพระพุทธรูปภายในพระราชสำนักพระพุทธรูปในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 สืบๆมา ได้รับทัศนคติตามความนิยมรูปลักษณ์ที่เลียนแบบธรรมชาติ คล้ายมนุษย์มาก จึงสร้างพระปฏิมากรพระพุทธรูปของพระกริ่งฯ มีความอ้วน ท่วมสมบูรณ์ หล่อด้วยเบ้าพิมพ์ประกบ 2 ด้าน มีความงดงามสมส่วน ขนาดได้มาตรฐานทุกองค์
เมื่อเข้ามาถึงยุค ร. 4 ขึ้นครองราชย์กับพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.2394 ผู้เขียนได้พบพระกริ่งปวเรศยุคแรกเริ่มตามชื่อเรียกสั้นๆของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า (พระกริ่งปวเรศ) พิมพ์นี้มีความสมบูรณ์ทุกประการ ผู้เขียนขอเรียกพิมพ์นี้ว่า “พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข” การสร้างพระพุทธรูปภายในพระราชสำนักพระพุทธรูปในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 สืบๆมา ได้รับทัศนคติตามความนิยมรูปลักษณ์ที่เลียนแบบธรรมชาติ คล้ายมนุษย์มาก จึงสร้างพระปฏิมากรพระพุทธรูปของพระกริ่งฯ มีความอ้วน ท่วมสมบูรณ์ หล่อด้วยเบ้าพิมพ์ประกบ 2 ด้าน มีความงดงามสมส่วน ขนาดได้มาตรฐานทุกองค์
ช่างราษฎร์ การสร้าง ความงดงามและสมส่วนของพระปฏิมากรพระพุทธรูปของพระกริ่งฯ ด้อยกว่าฝีมือช่างหลวงมาก สังเกตุได้จากพระกริ่งฯของสายวัดสุทัศน์ฯในยุคถัดมา
จวบจนถึง ยุคสุดท้ายของ พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก พ.ศ. 2434 ที่สร้างมีหลากหลายพิมพ์ทรง มีทั้งแบบทรงเครื่องหรือแบบทรงจีวรลายดอก พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก พ.ศ.2434 เป็นจีวรลายดอก(ลายจุด) เกิดขึ้นหลายพิมพ์ด้วยกัน พระกริ่งปวเรศจีวรลายดอก พ.ศ.2434 ที่สร้างเป็นฝีมือของช่างหลวง ลายดอก(ลายจุด)ที่เกิดขึ้นบนองค์พระกริ่งฯต้องมีความมานะอุตสาหะในการทำลายดอก(ลายจุด) บนจีวรเป็นอย่างมาก ช่างฯจะต้องค่อยๆบรรจงแต่งที่ละองค์ ซึ่งแต่ละองค์ลายดอก(ลายจุด) บนจีวรไม่เหมือนกัน และจีวรพิมพ์เดียวกันกับที่เป็นลายดอกพระกริ่งบางองค์ไม่ได้แต่งลายดอกก็มี มีบางพิมพ์ได้ตอกหมุดทองคำไว้ที่หน้าผากองค์พระฯ และบางพิมพ์ตอกหมุดทองคำเป็นสายสร้อย และที่บริเวณต่างๆขององค์พระ
การหล่อ พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 หรือพระกริ่งประจำรัชการที่ 3 ที่สร้าง ถึงรัชกาลที่ 5 เป็นเบ้าพิมพ์ประกบสองด้านทั้งสิ้น และเบ้าพิมพ์ที่ช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ทำแบบแม่พิมพ์ขึ้นมาหล่อ ที่สำคัญก็คือ"พระกริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งประจำรัชกาล"เป็นพระหล่อโบราณ แต่หล่อโดยช่างหลวงที่มีฝีมือปราณีตมาก สามารถไล่อากาศออกได้ดี ทำให้เนื้อพระเนียนและแน่น เมื่อกระทบกันเสียงดังคล้ายดั่งลูกแก้ว หล่อด้วยกรรมวิธีเทหยอดโลหะในทางก้นฐาน รอยตะเข็บทำการตบแต่งภายหลังหากไม่สังเกตุหรือมองแค่องค์สององค์อาจจะคิดว่าไม่มีรอยตะเข็บ และไม่มีรอยช่อเดือยให้เห็นเนื่องจากอยู่ในฐานบัวด้านในแผ่นปิดกันฐานได้ปิดเอาไว้ คราบเบ้าผิวไฟ หรือคราบดินเก่าจากเบ้าแม่พิมพ์ ยังคงหลงเหลือพอติดอยู่ให้เห็นตามผิวในซอกแขนบริเวณเบ้าประกบ (ถ้าพระไม่ผ่านการล้างมาอย่างหนัก) ธรรมชาติของผิวกับเนื้อนั้น มีผิวดำกลับมัน (แต่จะแห้งจัดจนหมดประกาย) การหดตัวของเนื้อจะเป็นลายที่หดตัวละเอียดยิบ องค์ที่ไม่ได้ทาน้ำมันปืนไว้สนิมขึ้นกินได้น้อยไม่หนามาก เพราะผสมโลหะจนได้สูตร อย่างที่เห็นตามผิวของพระองค์ จะมีสนิมของนวโลหะที่เป็นสีดำขึ้นจับไม่สามารถกินเข้าเนื้อเป็นสนิมขุมได้ลึก และหากเกิด"สนิมหยก"เฉพาะองค์ที่แช่น้ำมนต์ที่ถูกขับออกมา อมติดอยู่กับผิวอีกชั้น
การตบแต่ง พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก หรือ พระกริ่งตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 3 ถึงยุครัชกาลที่ 5 ทุกๆองค์จะต้องมีการเกลาแต่งองค์พระกริ่งฯไม่มากก็น้อย ตั้งแต่ขัดแต่งรอยต่อของเบ้าพิมพ์ เกลาแต่งองค์พระกริ่งฯ ที่หลอมหล่ออกมาไม่สวยงามและเด่นชัด เกลาตบแต่งขัดให้มีความสวยงามและคมชัดยิ่งขึ้น พระกริ่งฯที่ได้รับการเกลาแต่งแต่ละองค์จะมีฝีมือการตบแต่งหากเป็นช่างฯคนเดียวกันฝีมือจะใกล้เคียงและไปในแนวทางเดียวกัน ถึงแม้นจะเป็นช่างฯแต่งคนเดียวกันการตบแต่งก็ยังไม่เหมือนกับทั้งหมด
การขัดผิวขององค์พระกริ่งปวเรศ ผู้เขียนขอเรียกพิมพ์ ดังรูป เป็น “พิมพ์ สมบูรณ์พูนสุข” องค์นี้เป็นการสร้างในวาระ พ.ศ.2411 ซึ่งพิมพ์นี้ได้มีการสร้างโดดเด่นมากที่สุด เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2394, 2397, 2398, 2411, 2416, 2434
พิมพ์นี้ ผู้เขียนเรียกว่า พิมพ์ "สมบูรณ์ พูนสุข" เป็นการออกแบบองค์พระกริ่งโดยช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2394 และภายหลังในปี พ.ศ. 2434 ได้นำเข้าแม่พิมพ์เก่ามาทำการหล่อพระกริ่งฯพิมพ์นี้ขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง เบ้าพิมพ์ที่ออกแบบได้ปราณีตมาก ลักษณะขององค์พระกริ่งฯ สมส่วนทุกประการ ไม่อ้วน ไม่ผอม หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ผิวพระกริ่งฯจะไม่ตึง เพราะเป็นการหล่อด้วยเบ้าประกบ2 ด้านแบบโบราณ ผิวของพระกริ่งได้รับการขัดแต่งที่ประณีตมากเกือบทั้งองค์ ซึ่งมองผ่านๆจะไม่เห็นถึงความประณีต หากมองพิจารณาดีๆจะพบว่าเป็นการขัดผิวโลหะให้ราบเรียบดั่งการขัดหน้าปัดนาฬิกาที่เป็นรอยให้สวยงาม การตบแต่งได้ปราณีต จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่เซียนพระไม่เข้าใจตีว่าเป็นพระฝีมือสนาม ทั้งๆที่จริงแล้วเป็นพระกริ่งปวเรศที่สร้างโดยช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่สมัย ร.5 ที่ประณีตสุดบรรจงในการสร้างได้สวยสดงดงามยิ่งนัก ทุกสัดส่วน
การอุด พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก พิมพ์ สมบูรณ์พูนสุข ในปีพ.ศ.2411 ได้พบองค์พระกริ่งฯที่มีตำนิหล่อเนื้อองค์พระกริ่งฯไม่สมบูรณ์ ช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ได้ทำการอุดด้วยชันโรง พร้อมทั้งตบแต่งอย่างปราณีตขัดถูเรียบสนิทกับเนื้อนวโลหะดั่งผิวเดียวกัน
โลหะส่วนผสม แต่ละกลุ่มที่สร้างพระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก จะมีส่วนผสมที่ไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่ม เนื้อโลหะจะมีลักษณะอัตราส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน ประกอบด้วยเนื้อนวโลหะ และเนื้อทองคำ เนื้อนวโลหะประกับด้วย เนื้อสัมฤทธิ์คุณ(สีคล้ายสีนาค) สัมฤทธิ์ศักดิ์(สีคล้ายเงินโบราณ) และสัมฤทธิ์เดช(สีเหลืองคล้ายดอกจำปา)
การเก็บรักษาด้วยวิธีทาน้ำมัน พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่สร้างในปี พ.ศ.2394 - 2398 ผู้ครอบครองเดิมได้ทำการล้าง วรรณะสีผิวเก่าออก จึงไม่ได้พบสีผิวเดิมๆ ส่วนพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่สร้างวาระ พ.ศ.2411 และ พ.ศ.2434 ถ้าหากเป็นองค์ที่บรรจุเพื่อเก็บรักษาไว้ในกรุจะได้รับการทาน้ำมันปืนโบราณที่ผิวพระกริ่งทุกองค์ ลักษณะขององค์พระกริ่งฯ ที่พบเห็นครั้งแรกจะออกสีดำมีคราบน้ำมันแห้งๆ เมื่อเอามือถูกับองค์พระกริ่งฯคราบน้ำมันจะติดมือ หากนำไปล้างด้วยสบู่เหลวจะเป็นไขยึดเกาะเห็นได้เด่นชัด หากใช้น้ำยาล้างจานทำการขัดถูล้างออกจะเหมือนกับพระกริ่งที่สร้างเสร็จใหม่ๆที่มีวรรณะของสีผิวกลับดำ เมื่อเช็ดให้แห้งจะเห็นความเก่าของผิวพระกริ่งฯได้ชัดเจน พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรกที่บรรจุกรุนั้นทาด้วยน้ำมันปืนทั้งหมดจึงไม่พบพระกริ่งปวเรศที่ลงรักปิดทอง ดังเช่นพระเนื้อโลหะประเภทอื่นๆที่ได้สร้างมาก่อนหน้าหรือหลัง ผิววรรณะของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์เจริญพูนสุขรูปนี้จะเป็นพระกริ่งฯที่ไม่ได้ทาน้ำมันไว้ทำให้เห็นความเก่า แห้ง ได้ชัดเจน
พระกริ่งปวเรศ พ.ศ. 2411 พิมพ์ "สมบูรณ์ พูนสุข" | ในปี พ.ศ. 2434 ได้นำแบบแม่พิมพ์ไปทำการหล่อซ้ำอีกวาระหนึ่ง ใช้สูตรผสมโลหะที่เหมือนกัน ไม่สามารถแยกด้วยตานอกได้ ต้องแยกด้วยตาในเท่านั้น |
พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2411 และ 2434 มีทั้งแบบหมุดหน้าากทองคำ, หมุดหน้าผากเงิน และแบบไม่มีหน้าผากหมุดทองคำ และบางพิมพ์ก็ไม่ได้สร้างหมุดหน้าผากทองคำ และพิมพ์ที่มีตอกหน้าผากทองคำและก้นปิดแผ่นทองคำ มีการปลอมแปลงมากที่สุด
แผ่นประกบปิดก้นฐานพระกริ่งฯ มีทั้งแผ่นทองแดง แผ่นทองคำ และแผ่นเงิน การเชื่อมปิดแผ่นประกบ ของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขในวาระพ.ศ. 2411 เป็นต้นมา ใช้การหลอมโลหะดีบุกกับตะกั่วเป็นตัวเชื่อมประกบ แล้วทำการเคาะทุบให้แผ่นประกบสนิทกับก้นฐานพระกริ่ง ทำให้เกิดเป็นเบ้าหรือถ้วยใต้ฐานพระกริ่งปวเรศที่เชื่อม หากล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจานแผ่นประกอบใต้ฐานพระกริ่งฯ พิมพ์เจริญพูนสุข จะเห็นร่องรอยความร้อนที่เกิดจากการเชื่อมประสานในอดีตเมื่อ 120 ถึง 143 ปีที่ผ่านมา
รูปแสดงให้เห็นถึงแผ่นปิดก้นที่เคยถูกน้ำยาขัดเช็ดถูทำความสะอาดเพื่อดูเนื้อในมาก่อนในอดีต
แผ่นทองคำปิดทับแผ่นปิดก้นฐานพระกริ่งฯ อีกชั้นหนึ่ง เป็นแผ่นทองคำบางๆมีรอยประทับอักขระยันต์ มีเฉพาะพระกริ่งปวเรศ วาระ พ.ศ.2411 และ พ.ศ.2434 พิมพ์ สมบูรณ์พูนสุข ก้นทองคำและก้นเงิน
การจาร พระกริ่งปวเรศ อักขระยันต์ที่จารมีหลายแบบ ในพิมพ์เดียวกันมีทั้งที่จารและไม่ได้จาร การจารที่พบมีหลายแบบ หากเป็นการจารจากท่านฯ เดียวกันลายมือจะใกล้เคียงกัน ที่พบมีรอยจารในสมัยที่สร้างเมื่อ 119 ปีที่ผ่านมา และร่องรอยการจารใหม่สดๆ ทั้งจากเหล็กจารและจากประกาไฟฟ้าสมัยใหม่(พ.ศ.2553) และรอยจารใหม่นี้หากวันเวลาผ่านไปสัก 10-30 ปี รอยจารเหล่านี้ก็จะเป็นรอยจารเก่าที่บอกไม่ได้ว่าเป็นรอยจารใหม่อีกต่อไป
เสียงกริ่ง หากเป็นกริ่งที่สร้างโดยช่างหลวงจะมีเสียงวิ่งราบเรียบก้องกังวาน และมีเม็ดกริ่งบางวาระที่สร้างจะดังเสียงเหมือนกับเม็ดกริ่งวิ่งได้ไม่สะดวกคือเม็ดกริ่งไม่กลม พระกริ่งปวเรศรุ่นแรกนั้นจะประกอบด้วยรุ่นที่มีกริ่งและไม่มีกริ่ง
เม็ดกริ่ง เม็ดกริ่งที่บรรจุอยู่ในฐานพระกริ่งพิมพ์ สมบูรณ์ พูนสุข พ.ศ.2411 และ พ.ศ.2434 จะมี ขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เนื่องจากเม็ดกริ่งเป็นเหล็กไหล
เม็ดกริ่ง เม็ดกริ่งที่บรรจุอยู่ในฐานพระกริ่งพิมพ์ สมบูรณ์ พูนสุข พ.ศ.2411 และ พ.ศ.2434 จะมี ขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เนื่องจากเม็ดกริ่งเป็นเหล็กไหล
เมล็ดงา พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก มีทั้งชนิดมีโค๊ดและชนิดไม่มีโค๊ด การตอกเมล็ดงาเพื่อบ่งบอกถึงวาระปีที่สร้าง และหากเป็นชุดก็จะเป็นการระบุจำนวนที่ได้สร้างๆไปกี่ชุด ชนิดมีโค๊ดยังแบ่งเป็นโค๊ด 2 ชนิด คือ
- โค๊ดชนิดตอกด้วยมือ เมล็ดงาที่ตอกด้วยมือตำแหน่งจะไม่แน่นอน ประกอบด้วยโค๊ตเมล็ดงา และโค๊ตประจำตัวของผู้สร้าง
- โค๊ดชนิดใช้แท่นกด พบในพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2394 ซึ่งยังเป็นยุคแรกที่เริ่มมีการตอกในพระกริ่ง จะพบเห็นได้ว่าฝีมือยังไม่ปราณีตเท่ากับพระกริ่งพปวเรศที่สร้างในยุคหลัง เช่น พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2397 สืบมาจนถึง พ.ศ.2434 เมล็ดงาที่พบจะอยู่ในตำแหน่งตรงกันทั้งหมด
จำนวนโค๊ดที่พบในยุคแรกของพิมพ์สมบูรณ์พูนสุขจะมีเพียง 1 เมล็ดงา แต่ในปี พ.ศ.2411 ที่พบมีตั้งแต่ 1 เมล็ดงา มากที่สุด 9 เมล็ดงา แต่ละวาระที่สร้างตำแหน่งของเมล็ดงาส่วนใหญ่จะอยู่ในตำแหน่งและทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นโค๊ดที่ใช้บ่งบอก พ.ศ.ที่สร้างพระกริ่งฯ หากเมล็ดงาที่หันทิศต่างกันจะสื่อถึง พ.ศ. ที่สร้างต่าง พ.ศ. กัน ตำแหน่งของเมล็ดงาอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวาของฐานบัว เป็นการบ่งบอกถึง พ.ศ. ที่สร้าง
ลักษณะเมล็ดงาที่พบ มีเมล็ดงาหลายรูปแบบ หากเป็นเมล็ดงาของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์ สมบูรณ์พูนสุข ที่สร้างในวาระ พ.ศ.2394 จะมีขนาดใหญ่ และในยุคถัดมาจะมีขนาดที่เล็กลง และพัฒนารูปแบบขงเมล็ดงานให้มีความคมชัดและสวยงาม เช่น พระกริ่งปวรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ. 2411 และ พ.ศ.2434 เมล็ดงาจะซ้อนด้านในอีกชั้นหนึ่ง เป็นเมล็ดงาที่ออกแบบได้ปราณีตที่สุดของพระกริ่งปวเรศที่สร้างมาทุก พ.ศ.
โค๊ตประจำตัวผู้สร้าง พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก ที่สร้างโดยกลุ่มวังหน้าจะมีตอกโค๊ตที่องค์พระเพื่อบ่งบอกถึงผู้ที่สร้าง รวมทั้งบางองค์ยังบ่งบอกถึงวาระที่เกี่ยวข้องในพิธีที่ถูกกำหนดสร้างขึ้น เช่น ทิศของพระราชพิธีฯที่องค์พระกริ่งฯที่อยู่ประจำตำแหน่งเป็นต้น
น้ำหนัก พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก พ.ศ.2434 พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข เนื้อทองคำองค์ที่แต่งและเนื้อนวโลหะจะต้องมีน้ำหนักมากกว่า 30 กรัม ขอสงวนไม่บอกน้ำหนักเพราะจะถูกเรียนแบบทำปลอมขึ้นมาภายหลัง เนื่องจากพระกริ่งฯ พิมพ์เจริญ พูนสุข หล่อด้วยเบ้าหล่อที่มาตราฐานน้ำหนักขององค์พระกริ่งไม่ว่าจะเป็นเนื้อทองคำหรือเนื้อนวโลหะจึงมีน้ำหนักแต่ละองค์ที่ใกล้เคียงกันมาก พระกริ่งปวเรศที่พบทั้่งหมดหลากหลายพิมพ์ กลับพบว่าเนื้อทองคำไม่ได้เป็นพระกริ่งที่มีพลังพุทธคุณแรงที่สุด
จำนวนที่สร้าง เฉพาะพระกริ่งปวเรศเนื้อทองคำ รุ่นแรก พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ผู้เขียนขอกล่าวถึงจำนวนที่สร้างทั้งหมดและเฉพาะที่พบเห็นจากผู้เขียน ซึ่งผู้ครอบครองมีทั้งตกทอดสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นและจากผู้ที่ได้ครอบครองใหม่ในหลายๆกลุ่มคนด้วยกัน มีรายละเอียดดังนี้
- ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 1 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม
- ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 2 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม
- ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 5 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม
- ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 6 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม
- ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 7 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม
- ตอกโค๊ดเมล็ดงา(รูปหยดน้ำ) 9 โค๊ด มีทั้งของแท้และของปลอม
พระกริ่งปวเรศ เนื้อทองคำ พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ขณะนี้ที่พบ พระกริ่งฯเฉพาะเนื้อทองคำ ทั้งหมดจะต้องผ่านการเกลาแต่งทุกๆองค์ หากพบองค์มาตราฐานที่เป็นเนื้อทองคำไม่ได้ผ่านการเกลาตบแต่งให้สัญนิฐานในเบื้องต้นไว้ก่อนว่าผิดปกติ ให้ระวัง แต่พระกริ่งฯพิมพ์นี้ผู้เขียนพบเนื้อทองคำมีทำปลอมมากที่สุด
ความเชื่อเรื่องกฤษ์กับการตอกโค๊ตเมล็ดงาของพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1
พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ทั้งหมดนั้นสร้างโดยช่างสิบหมู่ หรือ ช่างหลวงในสมัยโบราณที่ได้รับคำสั่งจากเจ้านายผู้ควบคุมให้สร้างตามวัตถุประสงค์ เพื่อประกอบในงานพระราชพิธีฯสำคัญของพระราชสำนักในวาระต่างๆ เช่น
· พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
· พระราชพิธีผนวชเป็นสามเณร
· พระราชพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ
· การตั้งกรม(การเฉลิมพระยศเจ้านาย)
· ฯลฯ
สุดยอดพิธีมหาพุทธาภิเษกหลวงแห่งยุคของประเทศไทย
ผู้เขียนขออธิบายสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจและได้เนื้อหาดังนี้
1. ยกตัวอย่าง พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ.2394 สร้างและเข้าพิธีพุทธาภิเษกหลวง เสร็จเรียบร้อย พ.ศ. 2394 แล้วนำพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ.2394 ทั้งหมดเก็บไว้ในห้อง
2. ถัดมา สร้างพระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2397, 2398, 2401, พ.ศ. 2411, พ.ศ. 2416, พ.ศ. 2426 และ พ.ศ. 2434 ยังมีพิธีพุทธาภิเษกหลวงเกี่ยวกับวัตถุมงคลอีกหลาย พ.ศ. ถ้าคิดง่ายๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2523 รวมเวลา 129 ปี บางปี บาง พ.ศ. ได้มีการสร้างวัตถุมงคลหลายวาระหลายพิธี ถ้าหากนับเป็นจำนวนครั้งต้องมีงานพิธีพุทธาพิเษกหลวงมากกว่า 129 ครั้งอย่างแน่นอน
3. ยกตัวอย่างพระฯที่สร้างเสร็จดังเช่น พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ. 2394 ซึ่งได้เก็บไว้อยู่ในห้องใต้เพดานของห้องที่อยู่ในรัศมีของพลังจิตที่ได้รับจากการอธิฐานจิตมากกว่า 129 ครั้ง รวมทั้งพระประเภทอื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วนที่สร้างในวาระ พ.ศ. ต่างกันจำนวนการได้รับอธิฐานจิตที่ได้รับจะมากน้อยขึ้นอยู่กับ พ.ศ. ที่สร้างในครั้งแรกว่าสร้างมานานเท่าใด
ผู้เขียนขอสรุปว่า พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ได้ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษกหลวงยาวนานเกินกว่า 100 พิธี เป็นวัตถุมงคลที่ได้รับการอธิฐานจิตจากพระเกจิอาจารย์สุดยอดของประเทศหลายยุคหลายรัชกาลติดต่อกันมาเกินกว่า 100 ปี ดังนั้นจึงไม่มีวัตถุมงคลจากวัดอื่นที่สามารถเปรียบเทียบทั้งทางด้านพิธีกรรมการปลุกเสกอัดพลังอย่างยาวนานเท่ากับพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 หรือ พระกริ่งประจำรัชกาล...ได้ ยกเว้นวัตถุมงคลที่อยู่ในบริเวณเดียวกันเท่านั้น
ของดีราคาไม่แพง ในยุคนี้หาไม่ได้ง่ายๆครับ บุญพาวาสนาส่ง พระออกจากวัดฯมาสงเคราะห์นานกว่า 30 ปี คนมีบุญเท่านั้นที่ได้ครอบครอง พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 ไม่ว่าพิมพ์ไหน พุทธานุภาพครอบจักรวาล ยิ่งความเชื่อเรื่องภัยพิบัติ มีพระฯแขวนห้อยคอไว้สักองค์ย่อมไม่ผิดหวัง ถึงแม้นจะไม่เกิดภัยพิบัติพระฯท่านก็แรงมากในหลายๆด้าน
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์ต้นฌาน ที่สร้างในยุค รัชกาลที่ 3 ผู้เขียนยกย่องให้เป็น พระกริ่งปวเรศอันดับ 1 ของเมืองไทย ที่สมเด็จโตพรหมรังสี วัดระฆัง ร่วมอธิษฐานจิต มีพลังพุทธคุณไร้ขีดจำกัด
รองลงมาเป็นพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2394, พ.ศ.2397 และ พ.ศ.2398 ที่มีความน่าสนใจ นอกนั้นไม่ว่าจะเป็นโลหะธาตุอะไร ในมุมมองของผู้เขียนเฉยๆ ยกเว้นพิมพ์พิเศษที่เป็นเนื้อผง ด้านหลังฝังพระกริ่งปวเรศ
กระทู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
ลิงก์....123. พระกริ่งกลับดำ
ลิงก์....127. สุดยอดของพระกริ่ง