พระ ชัยวัฒน์ หรือ พระชัย หรือ พระไชย ได้มีปรากฏ ในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ว่าเป็นตำรับการสร้างของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ( และ สมเด็จ ฯ ท่านยังเป็นผู้รจนาพระคาถาพาหุงมหากา ถวาย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ได้ทรงสวดสาธยายเป็นประจำ จนมีชัยชนะในการศึกมาตลอด ) โดยมีนัยยะ ว่า " ปราบมาร ได้ชัยชนะ " ด้วยแต่เดิมมีความมุ่งหมายที่จะอัญเชิญ ไปในการเสด็จออกพระราชสงคราม ก็ได้มีการอัญเชิญให้ประดิษฐานทั้งทางเรือ และบนหลังช้าง ในยามที่ กองทัพออกศึกสงคราม
ต่อ มาจึงมีการอัญเชิญพระชัยวัฒน์ มาในงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พระราชพิธีโสกันต์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการสร้างพระชัยประจำรัชกาลต่าง ๆ และได้มีการอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในพระบรมมหาราชวัง
พระ ชัยวัฒน์ที่สร้างกันในยุคหลัง ส่วนใหญ่จะนิยมสร้างให้มีขนาดเล็กกว่าพระกริ่ง เพื่อให้ผู้หญิง และ เด็ก ได้ห้อยบูชาได้ อีกประการหนึ่งก็เพื่อเป็นนัยยะแห่งชัยชนะ เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจแก่ผู้บูชา และในยุคนี้(พ.ศ.2554) นิยมสร้างคู่กันกับพระกริ่ง
พระชัยวัฒน์ เริ่มใช้คำนามนี้ในสมัยรัชกาลที่ 7
ในสมัยก่อนหน้ารัชกาลที่ 7 ใช้คำนามเรียกว่า พระไชยวัฒน์ มักนิยมเรียกสั้นๆ เช่น พระไชยทอง พระไชยเงิน พระไชยเนาวโลห
พระไชยเนาวโลหะ คือ พระอะไร? ก่อนสมัยรัชกาลที่ 7 จะเรียกว่าพระไชยเนาวโลหะ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 สืบๆมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า พระชัยนวโลหะ ซึ่งก็คือ พระชัยวัฒน์เนื้อนวโลหะหรือเนื้อสัมฤทธิ์
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นพระบูชาของพระมหากษัตริย์ไทยประจำรัชกาล ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับพิธีกรรมที่ต้องใช้พระพุทธรูป ขนาดหน้าตักในแต่ละรัชกาลมีขนาดแตกต่างกัน
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก จะมีขนาดประมาณความสูง 1 เซนติเมตร(ไม่รวมฐาน) ส่วนใหญ่ที่สร้างพระมหากษัตริย์มอบให้กับเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการในสมัย ร.3, ร.4 และ ร.5 และสร้างเพื่อใช้ในการประกอบพิธีฯ มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อนวโลหะกะไหล่ทอง(เปียกทอง, ชุบทอง) ประกอบด้วยก้นทองคำ ก้นเงิน ก้นนาค ก้นธรรมดา และมีทั้งประเภทมีกริ่งบรรจุอยู่ภายในและแบบไม่มีกริ่ง มีทั้งจารก้นและไม่ได้จารก้น
พระยอดธง เป็นพระชัยวัฒน์องค์เล็กมีทั้งแบบช่อเดือยไม่ได้ตัดออก และแบบไม่มีช่อเดือยซึ่งก็คือพระชัยวัฒน์นั้นเอง เช่นในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกพระยอดธง "เฉลิมพล" อันเป็นชื่อของ ธงชัยเฉลิมพล ในปัจจุบัน พระยอดธงแบบหุ้นทองคำก็มี
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระชัยวัฒน์ พระชัยหลังช้าง |
จากหลักฐานพบว่า ได้มีการหล่อพระชัยสององค์เมื่อปี พ.ศ. 2325 เมื่อจะทำพระราชพิธีปราบดาภิเษก ขนาดหน้าตักกว้าง 21 เซนติเมตร สูงถึงยอดรัศมี 32 เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร 88 เซนติเมตร เมื่อครั้งที่พม่ายกทัพเข้ามาจะตีพระนคร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จทางเรือพระที่นั่งบัลลังก์บุษบกพิศาล พระที่นั่งพิมานเมืองอินทร ทรงพระชัยนำเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 2 |
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงสร้างพระชัยประจำรัชกาลขึ้นอีกองค์หนึ่ง มีขนาดใกล้เคียงกันพระชัยในรัชกาลที่ 1 ผิดกันที่องค์พระและฐานเป็นทองทั้งหมด
แต่ไม่ทันได้ใช้ คงใช้พระชัยในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพราะพระองค์มาสร้างพระชัยตอนปลายรัชกาล
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 3 |
พระชัยประจำรัชกาล มีขนาดเล็กลงมาก คือ หน้าตักกว้าง 12 เซนติเมตร สูงถึงยอดรัศมี 18 เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร 57 เซนติเมตร และทำผ้าพิเศษขึ้นเป็นทองลงยา เข้าใจว่าไม่ได้สร้างใหญ่ แต่เลือกพระชัยของเก่ามาซ่อมแซม เพราะพบว่ามีพระชัยขนาดเดียวกันนี้อยู่มาก ในหอพระสุราลัยพิมาน ทำด้วยเงินก็มี ทองก็มี และไม้ก็มี
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 4
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระชัยวัฒน์ ประจำ ร.4 พระชัยเนาวโลหะ(พระชัยนวโลหะเนื้อสัมฤทธิ์เหลือง) |
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ ได้อัญเชิญพระชัยมาตั้งรวม 6 องค์ ร่วมกับพระพุทธรูป พระนามอื่นอีก 6 องค์ รวมเป็น 12 องค์ พระชัย(พระไชย)ทั้ง 6 องค์ได้แก่
1. พระปฏิมาไชย
2. พระไชยทอง หรือ พระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง(เปียกทอง, ชุบทอง)
3. พระไชยเงิน
4. พระไชยนวโลหะ
5. พระไชยผ้าห่มลงยาราชาวดี
6. และพระไชยพิธี
พระไชยประจำประองค์ในรัชกาลที่ 4 มีขนาดเล็กกว่าในรัชกาลที่ 3 เป็นทองทั้งองค์พระและฐาน หน้าตักกว้าง 10 เซนติเมตร สูงถึงยอดรัศมี 17 เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร 70 เซนติเมตร
นอกจากนั้นพระองค์ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระชัยวัฒน์ทองเนาวโลหะองค์เล็ก เมื่อปี พ.ศ. 2396 เพื่ออัญเชิญไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินประทับแรม นอกพระนคร และตั้งในการพระราชพิธีต่าง ๆ
พระชัยวัฒน์ประจำ ร.5 พระชัยเนาวโลหะ |
ในสมัย ร.5 พระองค์ทรงสร้างพระชัยขึ้นอีกองค์หนึ่ง เอาแบบอย่างพระชัยในรัชกาลที่ 4 มีขนาดเล็ก ใกล้เคียงกับ พระชัยในรัชกาลที่ 1 และที่ 2 คือ หน้าตัก 8 นิ้ว สูงถึงยอด รัศมี 28 เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร 84 เซนติเมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2412 โดยตั้งโรงพระราชพิธีฯที่หน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
การหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 1 เหมือนกับพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็กครั้งที่ 2 โตกว่าหน่อยหนึ่ง ได้หล่อในครั้งนั้น 4 องค์ โปรดพระราชทานให้กับ
- พระองค์เจ้า สวัสดิโสภณไป 1 องค์ในการเสด็จไปยุโรป
การหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 2
มีชื่อเรียกว่า พระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ (พระชัยศิริวัฒน์) เป็นพระชัยวัฒน์ขนาดเล็กที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885)
การหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 2
มีชื่อเรียกว่า พระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ (พระชัยศิริวัฒน์) เป็นพระชัยวัฒน์ขนาดเล็กที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885)
ครั้งที่ 2 เริ่มพิธีวันเสาร์ เดือนแปดขึ้นเก้า ถึงจันทร์ เดือนแปดแรม 3 ค่ำ ในการสร้างครั้งนี้ ทรงโปรดพระกรุณาโปรดให้พระเจ้าลูกเธอ 4 พระองค์ เสด็จออกไปเรียนวิชาในเมืองอังกฤษ เพื่อเป็นเครื่องบูชาในเวลาที่จากประเทศสยามไปช้านาน ครั้นจะโปรดเกล้า พระราชทานพระพุทธรูปหรือสิ่งใดที่มีอยู่แล้วในหอหลวง ก็ล้วนแต่เป็นของใหญ่โตเป็นการนำไปมาลำบากทุกสิ่งทุกอย่าง จึงทรงพระราชดำริห์ที่จะหล่อพระพุทธรูป ที่เรียกว่าพระชัยวัฒน์ทองคำหนัก 1 เฟื้อง
จำนวนในการหล่อครั้งนี้ 50 องค์ และทรงโปรดให้สร้างตลับพระไชยด้วยทองคำลงยา ตลับทำรูปคล้ายดวงตราปทุมอุณาโลม ประจำแผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตลับนี้ตรงกลางเป็นแก้วปล่าวไม่มีอุณาโลม และมีสร้อยสวมต่อด้วย
พระราชทานครั้งที่ 1 ในจำนวน 50 องค์ที่สร้าง วันอังคารเดือน 8 แรม 4 ค่ำ พ.ศ.2428
1. พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
2. พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
3.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
4.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช
พระราชทานครั้งที่ 2 ในจำนวน 50 องค์ที่สร้าง วันพฤหัสบดี เดือน 8 แรมสิบสามค่ำ พ.ศ.2428
โปรดเกล้าให้ส่งพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็กออกไปพระราชทานที่ลอนดอน
1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์
2. พระเจ้าน้องยาเธอ องค์เจ้าโสณบัณฑิตย์
พระราชทาน พ.ศ.2434 ในวันที่ 24 กันยายน
โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก
1. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า วัฒนานุวงษ์
2. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไขยันตมงคล
พระราชทาน พ.ศ.2435 ในวันที่ 25 กันยายน รศ. 111
โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็กในพิธีแต่งตั้งองค์มนตรีทั้งหมด 12 องค์
การหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 3
ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) เริ่มพิธีวันที่ 19 - 23 สิงหาคม พระองค์ได้ทรงหล่อในวันที่ 23 สิงหาคม
1. พระชัยเนาวโลหะองค์ใหญ่ 1 องค์
2. พร้อมด้วย พระชัยเนาวโลหะองค์เล็กอีก 1 องค์ พระชัยเนาวโลหะหล่อในพิธีอีก 25 องค์ รวมเป็น 26 องค์ ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ
พระราชทานครั้งที่ 1 ของพระชัยวัฒน์เนื้อนวโลหะจำนวน 25 องค์ พระราชทานใน พ.ศ. 2436 ให้กับ
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ(ร.6)
- พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอาภรกรเกียรติวงษ์
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า สวัสดิโสภณ (ได้รับครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 รวม 2 รุ่นอย่างละองค์)
เนื่่องในการเสด็จไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
พระราชทาน พ.ศ.2440 ในวันที่ 9 พฤษภาคม รศ.116 โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 2 องค์
พระราชทาน พ.ศ.2441 ในวันที่ 7 เมษายน รศ.117 โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 1 องค์
พระราชทาน พ.ศ.2442 ในวันที่ 25 สิงหาคม รศ.118 โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 1 องค์
พระราชทาน พ.ศ.2443 รศ.119
ในวันที่ 29 เมษายน โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 1 องค์
ในวันที่ 22 กันยายนโปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 2 องค์
ผู้ที่จะได้รับพระราชทานพระชัยวัฒน์องค์เล็ก รัชกาลที่ 5 ทรงดำริห์ว่า มี 3 ข้อดังนี้
1. เป็นผู้มีความเชื่อถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยมั่นคง
2. เป็นผู้มีความรักใคร่ต่อบ้านเมือง และวงษ์ตระกูลของตน
3. เป็นผู้มีความกตัญญซื่อสัตย์จงรักภัคดี ต่อพระองค์
พระราชทาน พ.ศ.2440 ในวันที่ 9 พฤษภาคม รศ.116 โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 2 องค์
พระราชทาน พ.ศ.2441 ในวันที่ 7 เมษายน รศ.117 โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 1 องค์
พระราชทาน พ.ศ.2442 ในวันที่ 25 สิงหาคม รศ.118 โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 1 องค์
พระราชทาน พ.ศ.2443 รศ.119
ในวันที่ 29 เมษายน โปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 1 องค์
ในวันที่ 22 กันยายนโปรดเกล้าพระราชทานพระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 2 องค์
ผู้ที่จะได้รับพระราชทานพระชัยวัฒน์องค์เล็ก รัชกาลที่ 5 ทรงดำริห์ว่า มี 3 ข้อดังนี้
1. เป็นผู้มีความเชื่อถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยมั่นคง
2. เป็นผู้มีความรักใคร่ต่อบ้านเมือง และวงษ์ตระกูลของตน
3. เป็นผู้มีความกตัญญซื่อสัตย์จงรักภัคดี ต่อพระองค์
หมายเหตุ
---จากข้อมูลบันทึกที่พบ มีทั้งที่กล่าวถึงการหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กทองคำ และพระชัยวัฒน์เนาวโลหะ ความเป็นไปได้ พระชัยวัฒน์องค์เล็กในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่พบเป็นพระชัยวัฒน์นวโลหะชุบทอง(เปียกทอง) ดังนั้นในสมัย ร.5 ที่สร้างพระชัยวัฒน์เนาวโลหะ(นวโลหะ)ก็อาจจะมีการสร้างในลักษณะเปียกทองได้เช่นกัน
---พระชัยวัฒน์องค์เล็กที่สร้างในสมัย ร.5 จากบันทึกในการสร้าง 3 ครั้ง มีจำนวน 80 องค์
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 6
รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ สร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เมื่อปี พ.ศ. 2453 (ร.ศ.129) มีขนาดหน้าตักกว้าง 19 เซนติเมตร สูงถึงยอดรัศมี 30 เซนติเมตร สูงถึงยอดฉัตร 87 เซนติเมตร พระราชพิธีหล่อพระชัยวัฒน์ครั้งนี้ มีทั้งพิธี ทางศาสนาพุทธ และพิธีทางศาสนาพราหมณ์ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลองค์นี้ มียันต์เช่นเดียวกับ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 4 และที่ 5 ยันต์ดังกล่าว เป็นยันต์อริยสัจ
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 6 |
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 7 |
พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ในรัชสมัยของพระองค์ ไม่มีพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล อาจจะเป็นด้วยเวลาไม่ให้ เมื่อมีงานพระราชพิธีก็ใช้ พระชัยวัฒน์รัชกาลที่ 5 แทนพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระชัยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ 9 |
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ภายใต้ฉัตร 5 ชั้น หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว ความสูงยอดพระรัศมี 9 นิ้ว ทรงพัดแฉก หล่อด้วยเงิน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีพระราชพิธี โดยย่อดังนี้
วัน อังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และพระพุทธรูปฉลองพระองค์แล้ว ทรงจุดธูปเทียนมนัสการทรงศีล สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะรวม 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ถวายน้ำเทพมนต์
วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงประเคนผ้าไตรแด่พระสงฆ์ ทรงจุดเทียนทอง และถวายเทียนทองแด่สมเด็จพระสังฆราช ได้เวลาพระฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย สมเด็จพระสัฆราชจุดเทียนชัย ชาวประโคม ประโคมสังข์แตร บัณเฑาะว์และดุริยางค์ พระราชาคณะอีก 29 รูปเจริญคาถาจุดเทียนชัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชาธรรมที่เตียง พระสงฆ์สวดภาณวาร
กระทู้บทความอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง
70. มีพระกริ่งปวเรศเหตุไฉนจะไม่มีพระชัยวัฒน์หรือพระไชยวัฒน์
73. พระชัยวัฒน์ ตอนที่ 2
กระทู้บทความอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง
70. มีพระกริ่งปวเรศเหตุไฉนจะไม่มีพระชัยวัฒน์หรือพระไชยวัฒน์
73. พระชัยวัฒน์ ตอนที่ 2