วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

181. พระสมเด็จ พระคาถาชินบัญชร


พระสมเด็จ พระคาถาชินบัญชร

ช่วงก่อนหน้านี้น้ำท่วมใหญ่  คนที่เก็บพระฯหลากหลายพิมพ์ที่เก็บไว้มากมายตั้งแต่สมัยกรุแตก...  โดยเฉพาะพระเนื้อประเภทโลหะ  ซึ่งเป็นประเภทกลัวน้ำ  จะเก็บไว้ชั้นล่างหรือบนดินก็ต้องแบก(ยกสูง)หนีน้ำ  มีน้ำหนักมาก  เก็บมากก็เหนื่อยมาก  เมื่อน้ำลด  จึงต้องระบายออก

ในกระทู้นี้จะกล่าวถึงพระเนื้อโลหะเปียกทอง ในเบื้องต้น วิเคราะห์ด้วยตาเนื้อและจิตใต้สามัญสำนึก

181001 
พระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร  ตัวอักษรที่เห็นเป็นพระคาถาฯ มีขนาดตัวเล็กเรียงช่องไฟได้สวยงามมาก  คล้ายกับการออกแบบด้วยเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ยุคนี้ทำกันแทบจะไม่ผิดเพี้ยน

181002
พระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร ขยาย(จับผิด) อักษร จ (จ.จาน) 4 ตัว ในวงกลมสีเขียว มองและสังเกตุให้ดีๆ จะพบว่าคนเขียนแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ  มีขนาดใกล้เคียงกันมาก แต่มีความแตกต่าง ไม่ได้ออกแบบด้วยการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยออกแบบเหมือนในยุคนี้ แต่เป็นการใช้มือเขียนตัวอักษรได้ขนาดที่ใกล้เคียงกันและจัดระเบียบช่องไฟที่มีขนาดตัวเล็กมากๆ 

181003
พระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร ขยาย(จับผิด) อักษร ต (ต.เต่า) ในวงกลมสีแดงๆ อักษรตัว ต.เต่า มีขนาดที่เล็กมากๆ  เมื่อขยายรูป  ทำให้เห็นว่าเป็นการออกแบบด้วยมือบรรจงเขียนทีละตัวอักษรลงบนแบบแม่พิมพ์  เมื่อทำการหล่อเทองค์พระ...จึงเป็นหลักฐานดังรูปที่เห็น 

การทำแม่แบบได้ระดับนี้  ผู้ที่ทำได้จะ่ต้องอาศัยเครื่องมือ ที่ ร.4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระราชทานนามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ" เป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกในประเทศไทย



181004
พระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร ขยาย(จับผิด) อักษร น (น.หนู) ในวงกลมสีแดงๆ อักษรตัว น.หนู เมื่อทำการขยายจะเห็นชัดเจนว่า เขียนด้วยลายมือ  ไม่ใช่ออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์


ผู้เขียนให้ข้อคิดสักนิดว่า  ถ้าเป็นพระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร  ที่สร้างในยุคนี้ด้วยการใช้คอมผิวเตอร์ช่วยออกแบบ  ไม่สามารถที่จะออกแบบดังรูปที่ขยายได้  และหากจะเขียนด้วยลายมือ  ในยุคนี้ผู้เขียนหน้าไหนจะมีความสามารถเขียนพระคาถาชินบัญชรได้ถูกต้อง  และมีลายมืองดงามได้เช่นนี้

สรุป  เพียงแค่ขยายรูป  วิเคราะห์ด้วยตาเนื้อ  และจิตใต้สามัญสำนึก  เพียงเท่านี้ก็ทราบแล้วว่าไม่ได้สร้างในยุคสมัยนี้  การเขียนด้วยลายมือจะต้องเป็นยุคที่ยังไม่มีเครื่องพิมพ์ เขียนได้ตัวเล็กมากแทบจะ(มองไม่เห็น) แต่อ่านออก  ใครจะทำได้ถ้าไม่ใช่ ช่างสิบหมู่  โปรดทราบเมื่อมีของจริงก็ต้องมีของปลอมนะครับ ถ้าความต้องการมีมากกว่าของจริง


181005

พระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร เนื้อโลหะเปียกทอง อธิษฐานโดยสมเด็จฯโต วัดระฆัง เมื่อวาระ พ.ศ.2409


 181006

พระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร เนื้อโลหะเปียกทอง อธิษฐานโดยสมเด็จฯโต วัดระฆัง เมื่อวาระ พ.ศ.2409


181007

พระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร เนื้อโลหะเปียกทอง อธิษฐานโดยสมเด็จฯโต วัดระฆัง เมื่อวาระ พ.ศ.2409

181008

พระสมเด็จ ด้านหลังพระคาถาชินบัญชร ลักษณะเช่นนี้ สร้าง สมัย ร.5 (ไม่ทันสมเด็จพุฒจารย์โต พรหมรังษี)