วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

227. พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก สายวัง ฝีมือช่างสิบหมู่ สมัย ร.5

ผู้เขียนเคยเรียนบทความเกี่ยวกับ
พระชัยวัฒน์ หรือ 
พระไชยวัฒน์ ของสายวังที่สร้างโดยช่างสิบหมู่มาก่อนหน้านี้  ได้เขียนพร้อมทั้งอ้างอิงมากมาย ว่า องค์นั้น องค์นี้ สร้างใน พ.ศ. อะไร? ในรัชกาลใด?

ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ได้รับพระเมตตาจากพระเบื้องบน...สงเคราะห์ แต่มีข้อมูลอีกด้านหนึ่ง เป็นข้อมูลสืบค้นจากทางประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนได้พบมานานแล้ว

ดังนั้นในกระทู้นี้จะนำข้อมูลเหล่านี้มาเปิดเผย เรียบเรียง เพื่อให้กระชับ ด้วยการสรุปเนื้อหาเป็นช่วงๆ


พระชัยวัฒน์ หรือ พระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัย ร.3 หาข้อมูลยาก
พระชัยวัฒน์ หรือ พระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัย ร.4 หาข้อมูลพอได้บ้าง
พระชัยวัฒน์ หรือ พระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัย ร.5 หาข้อมูลได้ ไม่ยาก แต่ไม่ทั้งหมด


ดังนั้นในกระทู้นี้ผมจะขอกล่าวถึง พระชัยวัฒน์ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 


มีตำราหลายเล่มลอกกันไปลอกกันมาว่า พระชัยวัฒน์ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นพระชัยวัฒน์ทองคำหนัก 1 เฟื่อง พร้อมทั้งนำรูปพระชัยวัฒน์องค์เล็กๆมาแสดงพร้อมทั้งอ้างว่าเป็นพระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมทั้งราคาขาย(ให้เช่า) ราคาคนชั้นกลางไม่สามารถซื้อได้

1. ศึกษาเรื่อง พิธีกรรมในการสร้างพระชัยวัฒน์มีขั้นตอนการสร้างอย่างไรเมื่อ พ.ศ.2436
บันทึกเรื่อง การ พระ ราช พิธี หล่อ พระไชยวัฒน์ รศ.112 หรือ พ.ศ.2436 

***หมายเหตุ***
    /// บันทีกเรื่อง การพระราช พิธี หล่อ พระไชยวัฒน์ " สังเกตุสักนิดจะพบว่าหล่อ พระไชยวัฒน์ ไม่ได้ระบุว่าเป็นโลหะธาตุชนิดใด
ผู้เขียนขอย่อสรุป เพื่อให้กระชับเนื้อหา
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(พ.ศ.2436 คือ รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งพระราชพิธีหล่อ พระไชยวัฒน์ที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ "วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา"

ขั้นตอนการเตรียมพิธีหล่อ พระไชยวัฒน์
- พนักงานได้จัดการในพระอุโบสถ  ตั้งพระแท่นมณฑลอย่างน้อย ประดิษฐานพระไชยวัฒน์ประจำราชกาลทั้ง 5 องค์  และพระเนาวโลหะ 1 องค์
- หลังพระแท่นมณฑลตั้งพานรองหุ่นพระพุทธรูปที่จะหล่อใหม่ 
- ริมพระแท่นมีปืนมหาฤกษ์  มหาไชย  มหาจักร์  มหาปราบยุค
- ตั้งเตียงสงฆ์ สวดภาณ  หน้าประตูพระอุโบสถตรงพระแท่นมณฑล และตั้งกระโจมเทียนไชยหน้าเตียงสงฆ์
- ปลูกประรำำที่จะหล่อพระพระพุทธรูป  ที่ชาลาหน้าพระอุโบสถ
- มีศาลเทพรักษ์ สูงเพียงตาสำหรับโหรบูชาเทพดาทั้ง 4 ทิศ
 
หมายกำหนดการของพิธีหล่อ พระไชยวัฒน์
วันที่ 19 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436) 
- เป็นวันเริ่มการพระราชพิธี  พระสงฆ์ราชาคณะ 10 รูป  พร้อมอยู่ในพระอุโบสถ
- เวลาทุ่มเศษ ร.5 เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังบางปะอินด้วยเรือพระที่นั่งทองทั้งแท่ง ไปประทับวัดนิเวศฯ์ธรรมประวัติ
- เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถทรงจุดเทียนนมัสการ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่น วชิรญาณ วโรรส ถวายศลี 
- พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สัตปริตร (พระพุทธมนต์ใน เจ็ดตํานานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตํานานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตํานานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง)
-โปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จไปจุดเทียนบูชาเจดียฐาน  ในบริเวณพระอารามนี้
- พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้ว ร.5 เสด็จสู่พระราชวัง

วันที่ 20 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436) 
- เวลาย่ำรุ่งครึ่ง(ประมาณ 5.30 น.)  ร.5 เสด็จประทับในพระอุโบสถวัดนิเวศ์ธรรมประวัติ  พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย และพระพิธีกรรมรวม 30 รูป พร้อมกันอยู่ในพระอุโบสถ ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศลีแล้ว 
- พระราชทานเทียนทอง ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่น วชิรญาณ วโรรส ทรงจุดเทียนไชย  ขณะนั้นพระสงฆ์สวดคาถา
- เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์ พิณพาทย์ พร้อมกัน
- พระสงฆ์ 30 รูปได้รับพระราชทานฉัน และพระพิธีธรรม  ได้ผลัดเปลี่ยนกันสวดพุทธาภิเศก
- พระราชาคณะนั่งปรกประจำเทียนไชยต่อไปจึงเสร็จการพระราชพิธี
- เวลายามเศษ(ประมาณ 7.00-8.00 น.)  ร.5 เสด็จประทับในพระอุโบสถทรงจุดเทียนนมัสการ  พระสงฆ์ 30 รูปเจริญพระพุทธมนต์แล้วเสด็จกลับ


วันที่ 21 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436) 
- เวลาเช้า 4 โมง ( 10.00 น.) พระสงฆ์รับพระราชทานฉัน
- เวลาค่ำเจริญพระพุทธมนต์
- โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมโอรสาธิราบเสด็จไปบำเพ็ญพระราชกุศล

วันที่ 22 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436) 
- โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เสด็จไปถวายอาหารบิณฑบาตพระสงฆ์ 30 รูป รับพระราชทานฉัน  ในพระอุโบสถเหมือนวันก่อน
- เวลาค่ำ ร.5 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงจุดเทียนนมัสการ  พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์แล้วเสด็จกลับ


วันที่ 23 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436) 
- เวลาเช้า 3 โมงครึ่ง (9.30 น.)  ร.5 เสด็จพระราชดำเนินไปวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ  ประทับในพระอุโบสถ ทรง จุดเทียนนมัสการ ทรงศลีแล้ว
- เสด็จประทับในโรงหล่อหน้าพระอุโบสถ
- ทรงเท ทอง หล่อ 
     1. พระไชยเนาวโลหะองค์ใหญ่ 1 องค์  
     2. พระไชยเนาวโลหะองค์เล็ก 1 องค์  
     3. พระไชยวัฒน์(พระชัยวัฒน์)องค์เล็กหล่อ 25 องค์   
     4. พระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษาปีนี้ 1 องค์
***หมายเหตุ***
    /// สังเกตุสักนิด  
        ทรงเท ทอง หล่อ พระพุทธรูปในครั้งนี้มี 4 แบบ  และไม่ได้ระบุเป็นเนื้อทองคำ 
        ทุกๆปี ร.5 ทรงเท ทอง หล่อ พระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษาปีละ 1 องค์ 
        เมื่อสิ้นประชนม์จำนวนพระ...ที่หล่อมี 52 องค์ และไม่มีองค์ใดที่มีมองแล้วเป็นเนื้อทองคำทั้งองค์ 
        แต่ที่พบพระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษา ร.5 เป็นเนื้อนวโลหะ
    /// คำว่า "ทรงเท ทอง หล่อ" ให้ท่านสืบค้นในอินเตอร์เน็ต ด้วยคำว่า "ทรงเท ทอง หล่อ" จะพบว่า ประธานในพิธี ทรง เท ทองคำ หล่อ ร่วมกับโลหะประเภทอื่นฯที่ผสมเตรียมรอไว้อยู่ในเบ้า 
    /// หากท่านใดเคยร่วมพิธีหล่อพระ...คงนึกภาพออกว่าเป็นเช่นไร
    /// ดูรายการ ทรงเท ทอง หล่อ  พระ...
     1. พระไชยเนาวโลหะองค์ใหญ่ 1 องค์  
     2. พระไชยเนาวโลหะองค์เล็ก 1 องค์  
     ระบุชัดเจนว่าเป็นเนื้อ เนาวโลหะ  หรือ สมัยนี้ที่เรียกกันว่า เนื้อนวโลหะ  
     สรุป  พระไชยวัฒน์ ที่หล่อ ในครั้งนี้เป็นเนื้อนวโลหะ จะเป็นโลหะประเภทอื่นย่อมเป็นไปไม่ได้
- ขณะนั้นพระสงฆ์สวดไชยมงคล  เจ้พนักงานประโคมดุริยดนตรี  และยิงปืนมหาฤกษ์  มหาไชย  มหาจักร์  มหาปราบยุค  สลูด 21 นัด  
- แล้วเสด็จในพระอุโบสถ  ทรงประเคนอาหารบิณฑบาต  พระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้วสมเด็จพระวันรัตดับเทียนไชย  เสร็จการพิธี


วันที่ 24 สิงหาคม รศ.112(พ.ศ.2436) 
- เวลาเช้า 5 โมงเศษ(11.00 น. กว่าๆ) เจ้าพนักงานและกรรมการกรุงเก่า  ได้เวียนเทียนสมโภชพระพุทธรูปที่หล่อใหม่  ตามธรรมเนียม

2271001 
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ก้นทองคำ



2271002
พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 ปางมารวิชัย ก้นเงิน





2. ศึกษาเรื่อง การฉลอง พระไชยวัฒน์ พ.ศ.2437 (รศ.113)

บันทึกเรื่อง การ ฉลอง พระไชยวัฒน์ รศ.113 หรือ พ.ศ.2437 *** เป็นการฉลองพระไชยวัฒน์ที่สร้างในปี พ.ศ.2437 ไม่ใช่ พ.ศ.2436 นะครับ อย่างนำเรื่องด้านบนมาคิดว่าเป็นพระ...ที่หล่อในพิธีเดียวกัน  

วันที่ 14 พฤศจิกายน รศ.113(พ.ศ.2437) 
- โปรดเกล้าฯ ให้จัดการ  ฉลอง พระไชยวัฒน์ 26 องค์ 
***ข้อสังเกต 
      พ.ศ.2436 ทรงครองราชสมบัติ 25 ปี หล่อพระชัยวัฒน์ 25 องค์
      พ.ศ.2437 ทรงครองราชสมบัติ 26 ปี หล่อพระชัยวัฒน์ 26 องค์
- ที่หล่อพระราชวังบางปะอิน  ที่พระที่นั่้งอมรินทร วินิจฉัย
***ข้อสังเกต 
      พ.ศ.2436 ที่หล่อวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ
      พ.ศ.2437 ที่พระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย
- เจ้าพนักงานได้เชิญ พระไชย ประจำราชกาลนี้ (ร.5) และพระชัยวัฒน์ 26 องค์นั้น ขึ้นประดิษฐานบน พระที่นั่งเสวตรฉัตร  
- ถัดออกมาตั้งพระแท่นมีเทียน 26 เล่ม  เครื่องนมัสการตามธรรมเนียม
- เวลา 4 ทุ่มเศษ ณ.5 เสด็จออกทรงจุดเทียนนมัสการ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรม หมื่น วชิรญาณ วโรรส ถวายศลี 
- ทรงศลีแล้ว  พระสงฆ์ 26 รูป  เจริญพระพุทธมนต์  จบแล้วทรงประเคน  จีวร  สาลู และขาญชีเครื่องไทยธรรมล้วนเป็นเภสัช
- และโปรดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราล และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ  ทรงประเคนพระองค์ละรูปตามเลขในฉลาก

วันที่ 15 พฤศจิกายน รศ.113(พ.ศ.2437) 
- เวลาเช้าเจ้าพนักงานได้นำเข้ากระทง  ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สมเด็ยพระเจ้าลูกยาเธอ  และพระเจ้าลูกเธอทรงจัดไปถวายพระสงฆ์  ที่ได้มาเจริญพระพุทธมนต์ตามฉลากนั้น
- เวลา 2 ทุ่มเศษ  ร.5 เสด็จออกทรงจุดเทียนนมัสการ  พระราชกวีถวายเทศนา 1 กัณฑ์ 
- จบแล้ว  ทรงประเคนเครื่อง บรีก ขาร และกับปัจจัย 10 ตำลึง
- พระราชกระวี ถวาย อดิเรก ถวายพระพรลา
- แล้วพระราชทาน พระไชยวัฒน์ แก่ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  และพระเจ้าลูกเธอพระองค์ละองค์
- เวลา 2 ยามเศษ เสด็จขึ้น
- ในการนี้มีดอกไม้เพลิงทั้ง 2 เวลา

3. ศึกษาเรื่อง การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2435 (รศ.111)

***หมายเหตุ***
    ///  สังเกตุสักนิดจะพบว่า การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2435 (รศ.111)ไม่ได้ระบุว่าเป็นโลหะธาตุชนิดใด

วันที่ 18 กันยายน รศ.111(พ.ศ.2435) 
- ในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล(พิธีสาบานตน)  ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระไชยวัฒน์องค์เล็ก...
- เจ้าพนักงานได้จัดพระแท่นมณฑล  ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาสดาราม  ตั้งพระขันหยกและพระเต้าต่างๆ  และพาดพระแสดงต่างๆ  เชิญพระไชยวัฒน์ประจำรัชกาลปัจจุบันนี้(ร.5)  ขึ้นสถิตย์และตั้งหม้อน้ำพระพุทธมนต์ตามธรรมเนียม
- นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย 38 รูป  พร้อมกันในพระอุโบสถ
- เวลา 2 ยามเศษ  ร.5 เสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชยาน  ไปประทับเกยหน้าประตูวัดพระศรีรัตนสาสดาราม  ด้านตะวันตกแล้วทรงพระดำเนินสู่พระอุโบสถ ทรงจุดเทียนนมัสการ
- พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่น วชิรญาณ วโรรส ถวายศลี
- ทรงศลีแล้ว  ขุนพิพิธอักษรพรรณ์กรมพระอาลักษณ์ อ่านประกาศเรื่องรัตนพิมพ์วงษ์จบแล้ว
- พระสงฆ์เจริญ พระพุทธมนต์ทวาทสปริต (พระพุทธมนต์ใน เจ็ดตํานานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตํานานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตํานานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง)

- เวลา 7 ทุ่มเศษ  เสด็จกลับจากพระอุโบสถ  
- พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้วกลับไป
- พราหมณ์อ่านดุษดีสังเวย  สรรเสริญพระมหามณีรัตนปฏิมากรต่อไป

วันที่ 19 กันยายน รศ.111(พ.ศ.2435) 
- เวลาเข้า 4 โมง  พระสงฆ์ที่สวดมนต์ 18 รูป  รับพระราชทานฉันที่พระที่นุ่งพุทไธสวริยประสาท  แล้วมาพร้อมกันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนสาสดาราม
- เวลาบ่าย 2 โมง  ร.5 เสด็จออกพระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ประทับพระราชยานลงยาราชาวดีเสด็จพระราชดำเนิน  พร้อมด้วยกระบวนตำรวจ ทหารมหาดเล็ก แห่นำขบวนตามเสด็จพระราชดำเนินไปถึงเกย  หน้าประตูวัดพระศรีรัตนสาสดารามแล้ว  ทรงพระดำเนินไปประทับในพระอุโบสถ
- ทรงจุดเทียนนมัสการ ทรงศลีแล้ว
- หลวงราชมุนี ปลัด กรม พราหมณ์พิธี เชิญพระแสง ศร พรหม บาศ ประลัยวาต อัคนีวาต  อ่านโองการแล้วเชิญ ลง ชุบใน พระขันหยก และอ่านแช่งน้ำตามแบบพรหมณ์จบแล้ว
- ขุนวิจิตร ราชสาสน กรมพระอาลักษณ์ ประกาศแช่งน้ำ
- ในขณะนี้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรัสให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร  เสด็จไปเฉพาะหน้าพระที่นั่ง  มีพระราชดำรัส  เป็นพระบรมราโชวาทก่อนแล้ว
- ทรงสรวมสร้อยมีพระไชยวัฒน์ องค์เล็ก  พระราชทาน
     สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช 
       ///  สังเกตุสักนิดจะพบว่า การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2435 (รศ.111)ไม่ได้ระบุว่าเป็นโลหะธาตุชนิดใด
- ต่อด้วยพิธีสาบานตนฯลฯ

หมายเหตุ จาก ราชกิจจานุเบกษา กรุงเทพมหานครในพระบรมมหาราชวังที่บันทึก รัตนโกสิทร์(รศ.) 111 - 113 (พ.ศ.2435 - พ.ศ.2437)
       ///  พระไชยวัฒน์ที่ ร.5 ทรง พระราชทาน บันทึก "พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก" ตั้งแต่ พ.ศ.2435 - พ.ศ.2437  ไม่ได้ระบุว่าเป็นเนื้อโลหะธาตุอะไร
       ///  สาเหตุ เพราะว่า "พระไชยวัฒน์ องค์เล็ก" ทั้งหมดที่สร้างเป็นพระไชยวัฒน์เนื้อนวโลหะ หรือ เนาวโลหะ ดังรายละเอียดที่พบในบันทึกฯ วาระ ทรง เท ทอง หล่อพระไชยวัฒน์ในปี พ.ศ.2436 

4. ศึกษาเรื่อง การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ องค์เล็ก พ.ศ.2428 (รศ.104)

***หมายเหตุ***
    ///  สังเกตุสักนิดจะพบว่า การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ องค์เล็ก พ.ศ.2428 (รศ.104) ระบุว่าเป็นโลหะธาตุ ทองคำ
    ///  พระไชยวัฒน์ เป็น เนื้อ ทองคำ ทั้งองค์ หรือว่าผู้บันทึกราชกิจจานุเบกษาเข้าใจผิด?

ในบันทึก อ้างถึง(อดีต เกี่ยวกับพระไชยวัฒน์) ซึ่งเป็นการสร้างในวาระครั้งที่ 1 มีรายละเอียดดังนี้
- เรื่องเดิมพระไชยวัฒน์ทองคำองค์เล็กนั้น เดิมจะทรงพระกรุณาโปรดให้พระเจ้าลูกเธอ 4 พระองค์  ซึ่งจะกล่าวนามภายหลัง  เสด็จออกไปเรียนวิชาในเมืองอังกฤษ  ซึ่งเป็นหนทางไกลนั้น
- จะโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ส่ิงสำคัญอันใดอันหนึ่ง  ที่เนื่องในพระพุทธสาสนาให้ทรงไว้เป็นเครื่องรฦถบูชา  ในเวลาที่ต้องเสด็จจากประเทศสยามไปช้านาน
- ครั้นจะโปรดเกล้าฯ  พระราชทานพระพุทธรูปฤาสิ่งใดที่มีอยู่แล้ว  ในหอหลวง ก็ล้วนแล้วแต่เป็นของใหญ่โต เป็นการลำบากที่นำไปนำมาทุกสิ่งทุกอย่าง
- จึงทรงพระราชดำริห์ที่จะทรงหล่อพระพุทธรูป อย่างที่เรียกว่าพระไชยวัฒน์ องค์หนึ่ง มีทองคำ หนัก 1 เฟื้อง
       ///  ขยายประโยคที่บันทึก

             ถ้อยคำประโยคนี้ ผู้เขียนขยายความได้ดังนี้ ให้สร้างเรียนแบบพระชัยวัฒน์ทองคำในอดีตองค์หนึ่งมีน้ำหนัก 1 เฟื้อง
             พระชัยวัฒน์ทองคำในอดีตองค์หนึ่งมีน้ำหนัก 1 เฟื้อง มีสร้างในสมัย รัชกาลที่ 4 และสมัยรัชกาลที่ 3 รูปแบบพระชัยวัฒน์องค์เล็กทั้งสองราชกาลนี้มีน้ำหนัก 1 เฟื่อง


วันเสาร์ เดือนแปด ขึ้น 9 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) 
- ตั้งการพระราชพิธีสวดมนต์ครบ 3 จบแล้ว
       ///  สังเกตุสักนิดจะพบว่า 
      ในปี พ.ศ.2428 ไม่ได้กล่าวรายละเอียดในการเตรียมพิธีการต่างๆ...
         พิธีฯร ายละเอียดหากไปดูวาระที่ทรง เท ทองหล่อฯ ในปี พ.ศ.2436 จะพบ รายละเอียดที่ได้บันทึกไว้

วันอังคาร เดือนแปด ขึ้น 12 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เวลาอีก 3 วันต่อมา
- เป็นวันทรง เท ทองคำ  หล่อในครั้งนี้ 50 องค์
- และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตลับสำหรับทรงพระไชยนี้  "ด้วยทองคำลงยา" ตลับนั้นทำรูปและลวดลายคล้ายกับดวงตรารูปประทุมอุณาโลม  ประจำแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
- แต่ตลับนี้ตรงกลางเป็นแก้วเปล่าไม่มีอุณาโลม  และมีสร้อยสำหรับสรวมคอด้วย
 
วันจันทร์ เดือนแปด แรม 3 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เวลาอีก 6 วันต่อมา
- ได้มีการสวดมนต์ฉลองพระไชยวัฒน์นี้
       ///  สังเกตุสักนิดจะพบว่า 
      ภายหลังจากหล่อพระไชย์วันเสร็จ มีเวลา 5 - 6 วัน  ช่างสิบหมู่มีเวลาที่จะต้องเร่งงาน คือ
         1. ตบแต่งเกลา พระไชย์วัฒน์ ให้งดงาม
         2. ชุบพระไชยวัฒน์เนื้อเนาวโลหะ หรือ เนื้อนวโลหะ ให้มีวรรณะสีผิวเป็นเนื้อทองคำ ที่เรียกว่า เปรียกทอง หรือ เคลือบผิวพระไชยวัฒน์ให้เป็นผิวทองคำ 
         3. ทำตลับทองคำลงยา
         4. สร้อยคอทองคำ ในงานนี้ช่างสิบหมู่ไม่จำเป็นต้องสร้าง  ในท้องพระคลัง มีเยอะแยะ  ถ้าจะสร้างจริง  เป็นหน้าที่ของกรมช่างทอง  ไม่ใช่หน้าที่ของกรมช่างหล่อ  
 
วันอังคาร เดือนแปด แรม 4 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) วันถัดมา
- เป็นวันที่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์ จะเสด็จไปประเทศยุโรป
- ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไชยวัฒน์ในจำนวนนี้แก่
     พระเจ้าลูกเธอ  พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ 1 องค์
     พระเจ้าลูกเธอ  พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ 1 องค์
     พระเจ้าลูกเธอ  พระองค์เจ้าประวิฺตรวัฒโนดม 1 องค์
     พระเจ้าลูกเธอ  พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช 1 องค์
- เป็นครั้งแรกที่ได้พระราชทานพระไชยวัฒน์จำนวน 50 องค์นี้

วันพฤหัศบดี เดือนแปด แรม 13 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เวลาอีก 9 วันต่อมา
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งพระไชยวัฒน์องค์เล็กในจำนวนนี้  ออกไปพระราชทาน
     พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นนเรศ วรฤทธิ์ 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอองค์เจ้า โสณบัณฑิตย์ 1 องค์
     ซึ่งเสด็จออกไปอยู่กรุงลอนดอนทั้งสองพระองค์
- อนึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ์  ซึ่งอยู่ประเทศยุโรปในเวลานั้นด้วยไม่ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานออกไปนั้น  
- เพราะเมื่อเวลาพระองค์เจ้า สวัสดิ โสภณ  จะเสด็จออกไปยุโรปได้ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปทองคำองค์เล็ก  มีอาการอย่างนี้เหมือนกัน  แต่โตกว่าพระไชยวัฒน์ครั้งนี้หน่อยหนึ่ง
- ได้หล่อครั้งนั้นใน พ.ศ.2427(รศ103)จำจำนวน 4 องค์ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระองค์เจ้าสวัสดีโสภณไป 1 องค์  
- ครั้งนี้จึงไม่ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานไป
       ///  สังเกตุสักนิดจะพบว่า 
      1. ได้เคยมีการหล่อพระไชย์ในสมัย รัชกาลที่ 5 ครั้งแรก จำนวน 4 องค์  มีขนาดใหญ่กว่าพระไชยวัฒน์ที่หล่อขึ้นในปี พ.ศ.2428(รศ.104) หน่อยหนึ่ง
         2. หล่อพระไชยวัฒน์หล่อใน พ.ศ.2427 (รศ.103) จำนวน 4 องค์ พระราชทานไป 1 องค์  คงเหลือพระไชยวัฒน์ที่มีขนาดใหญ่กว่าพระชัยวัฒน์ที่สร้างในปี พ.ศ.2428(รศ.104) จำนวน 3 องค์

2271003
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางมารวิชัย



2271004
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางสมาธิ



วันพฤหัศบดี เดือนแปด แรม 13 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เวลาอีก 9 วันต่อมา
- ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระไชยวัฒน์จำนวนใหม่นี้(พ.ศ.2428, รศ.104) แด่
     พระวงษเธอ พระองค์เจ้าสายสินิทธวงษ 1 องค์


วันศุกร์ เดือนสิบ ขึ้น 3 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) ประมาณ 2 เดือนต่อมา
- ทรงบำเพญพระราชกุศลในสมัย ซี่ง ร.5 เจริญพระชนพรรษาเสมอด้วยถึงพระชนพรรษาในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
- ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระไชยวัฒน์จำนวนใหม่นี้(พ.ศ.2428, รศ.104) แด่
     พระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ (แต่เมื่อเวลานั้นดำรงพระยศกรมพระ) 1 องค์
     พระเจ้าราชวรวงเธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ  1 องค์
     สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช (ในสมัยนั้นดำรงพระยศกรมหลวง) 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิริอัชสังกาศ 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ (เวลานั้นยังไม่ได้รับกรม) 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษาโรประการ (เวลานั้นดำรงตำแหน่งพระยศกรมหมื่น) 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ (เวลานั้นยังไม่ได้รับกรม) 1 องค์
     
วันสุกร(วันศุกร์ครับผม)  เดือนสิบ ขึ้น 10 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) อีก 7 วันต่อมา
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระไชยวัฒน์จำนวนใหม่นี้(พ.ศ.2428, รศ.104) แด่
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษศิลปาคม 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (เมื่อเวลานั้นยังไม่ได้รับกรม) 1 องค์
    
วันสุกร(วันศุกร์)  เดือนสิบเอ็ด ขึ้น 15 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) เดือนต่อมา
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน แด่
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (เมื่อเวลานั้นดำรงพระยศในที่กรมหมื่น) 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ 1 องค์

วันเสาร์  เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) ถ้าเป็นสมัยนี้เปลี่ยน พ.ศ.แล้วครับ  แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยน พ.ศ. วันสงกรานต์
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน แด่
     สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ เมื่อวันรับกรม 1 องค์

วันพุฒ(วันพุธ)  เดือนสี่ ขึ้น 6 ค่ำ รศ.104 (พ.ศ.2428) ถ้าเป็นสมัยนี้เปลี่ยน พ.ศ.แล้วครับ  แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยน พ.ศ. วันสงกรานต์
- ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน  แด่
     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษ 1 องค์

สรุป ในปี พ.ศ.2427- พ.ศ.2428

     1. พระไชยวัฒน์องค์เล็ก สร้างวาระ พ.ศ.2427(รศ.103)ทั้งหมด 4 องค์
     2. พระไชยวัฒน์องค์เล็ก สร้างวาระ พ.ศ.2428(รศ.104)ทั้งหมด 50 องค์

    
5. ศึกษาเรื่อง การพระราชทาน พระไชยวัฒน์ทองคำ องค์เล็ก พ.ศ.2434 (รศ.110) 
 

วันที่ 24 กันยายน รศ.110 (พ.ศ.2434)
- ร.5 เสด็จออกที่ศัลลักษณสฐาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระไชยวัฒน์ ทองคำ องค์เล็กและตลับทองคำ เป็นรูปตราประทุมลงยาราชาวดี และมีสร้อยทองคำ แก่
     พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์ 1 องค์
     พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล 1 องค์

สรุปการศึกษาเรื่อง พระไชยวัฒน์ที่สร้างในสมัย ร.5 
     ที่พบมีการเทหล่อสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก 4 วาระ(พ.ศ.)
     --- ครั้งที่ 1 พ.ศ.2427 จำนวนการสร้าง  4 องค์
     --- ครั้งที่ 2 พ.ศ.2428 จำนวนการสร้าง 50 องค์
     --- ครั้งที่ 3 พ.ศ.2435 จำนวนการสร้าง 25 องค์
     --- ครั้งที่ 4 พ.ศ.2436 จำนวนการสร้าง 26 องค์
     รวมการสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก สมัยรัชกาลที่ 5 ทั้ง 4 ครั้ง จำนวนพระไชยวัฒน์ที่สร้างหล่อขึ้นทั้งหมด 105 องค์ 
     พระไชยวัฒน์องค์เล็กที่พบ มี 2 พิมพ์ คือ ปางสมาธิและพิมพ์มารวิชัย 
     พระชัยวัฒน์องค์เล็กที่สร้างในสมัย ร.5 วาระแรกๆ เป็นพระชัยวัฒน์ก้นตัน  
     พระชัยวัฒน์ในปี พ.ศ.2436 ที่พบก้นบรรจุเม็ดกริ่ง มีการปิดก้นด้วยแผ่นทองคำและแผ่นเงิน  เพื่อพิธีการดังนี้
     ///ก้นทองคำ มีไว้สำหรับโปรดเกล้าฯ พระราชทานบุคคลผู้ใกล้ชิดหรือมียศฐานบันดาศักดิ์สูง  
     ///ก้นเงินมีไว้สำหรับโปรดเกล้าฯ พระราชทานบุคคลที่มียศฐานบันดาศักดิ์น้อยกว่ากลุ่มก้นทองคำ  

     พระไชยวัฒน์ที่สร้างในวาระปี พ.ศ.2427  พ.ศ.2428  พ.ศ.2435  และ พ.ศ.2436 ที่ผู้เขียนพบทั้งหมดเป็น พระไชยวัฒน์ เนื้อเนาวโลหะ หรือ เนื้อนวโลหะ เปรียกทอง
      ไม่เป็นที่แปลกใจสำหรับผู้เขียน ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่บันทึกในราชกิจจานุเบกษาได้บันทึกในปี พ.ศ.2427-พ.ศ.2434  เป็น พระไชยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก  เพราะท่านผู้บันทึก  บันทึกตามวรรณะสีผิวของพระไชยวัฒน์ที่พบเห็น
     แต่ต่อมาภายหลัง ปี พ.ศ.2535 - พ.ศ. 2537 บันทึกใน ราชกิจจานุเบกษา บันทึก พระไชยวัฒน์องค์เล็ก  ไม่มีคำว่า ทองคำ เพราะเวลาผ่านมา 7 ปี  ทำให้ทราบว่าพระไชยวัฒน์องค์เล็กที่มีวรรณะสีทอง ไม่ใช่ ทองคำ ทั้งองค์  
     ผู้บันทึก ราชกิจจานุเบกษาฯ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2535 - พ.ศ. 2537 จึงบันทึกเพียง พระไชยวัฒน์องค์เล็ก
 

อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา กรุงเทพมหานครในพระบรมมหาราชวัง รัตนโกสินทร์ศก 103 - 113



เพิ่มเติมรูปภาพ 31/7/2555

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2427 หรือ
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2427 
ปางมารวิชัย กับ ปางสมาธิ (จับคู่เปรียบเทียบ ความเหมือนและแตกต่างของพิมพ์ทรง)
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2427 รูปด้านหน้า

พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2427 รูปด้านหลัง


พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2428 หรือ
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2428
ปางมารวิชัย กับ ปางสมาธิ (จับคู่เปรียบเทียบ ความเหมือนและแตกต่างของพิมพ์ทรง)
พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428  พิมพ์ปางมารวิชัย และ พิมพ์ปางสมาธิ รูปด้านหน้า

พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2428  พิมพ์ปางมารวิชัย และ พิมพ์ปางสมาธิ รูปด้านหลัง

พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2428 ปางมารวิชัย เปรียบเทียบกับเหรียญ 1 บาท

พระชัยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436 หรือ
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436
ปางมารวิชัย ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง ก้นปิดแผ่นทองคำ

พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2436  ปางมารวิชัย ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง ก้นปิดแผ่นทองคำ
แผ่นปิดก้นทองคำ พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก ปางมารวิชัย พ.ศ.2436
พระไชยวัฒน์องค์เล็ก พ.ศ.2436
ปางมารวิชัย ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง ก้นปิดแผ่นเงิน


พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก พ.ศ.2436  ปางมารวิชัย ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง ก้นปิดแผ่นเงิน
แผ่นปิดก้นเนื้อเงิน พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก ปางมารวิชัย พ.ศ.2436


***ภาพชุดนี้ ถ่ายใหม่เมื่อคืนนี้  เพื่อให้เห็นวรรณะสีผิวความเก่า เมื่อ 119 ปี ที่ผ่านมา
     - ความเก่งของโลหะกลับดำลักษณะสีดำ+สีเขียวเข้ม+อมแดง  ไม่ใช่ดำสนิท
     - มีสนิทเขียว  เกิดขึ้น ด้วยระยะเวลาการสั่งสม 119 ปี  
     - กระไหล่ทองที่ฉาบไว้บางๆ เมื่อ พ.ศ.2436 เสียหายด้วยการเกิดปฏิกริยากับอากาศและอื่นๆ
     - พระชัยวัฒน์ องค์เล็ก ที่สร้างในวาระ พ.ศ.2428 ผิวด้านนอกยังคงพบเห็นเป็นสีทองคำ แต่มีสนิมเขียวที่เกิดจากการทำปฏิกริยาทางอากาศ บางจุดที่มีเนื้อทองคำบาง(หรือถูกสัมผัส) จะพบเห็นเนื้อโลหะด้านในเป็นเนื้อนวะโลหะ