เคยมีประสบการณ์แบบนี้ไหมครับ?
--- เสกกระเป๋าสตางค์ หรือที่ๆเก็บเงินของเรา ด้วยคาถาเรียกทรัพย์ แต่เคล็ดอยู่ที่ว่า เวลาเสกนั้น กระเป๋าเงินหรือที่เก็บเงินของเรา จำต้องมีเงินจริงๆ และเกจิอาจารย์ท่านนั้นเสกแล้วสมปราถนาหรือไม่?
--- เงินขวัญถุง คือ เงินที่พระเกจิอาจารย์ปลุกเสก นำมาเก็บไว้ในกระเป๋าตังเพื่อเรียกทรัพย์เข้ามาในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น
เหรียญอัฐ โภคทรัพย์ หรือ
เหรียญดีบุก รัชกาลที่ 4 ราคา 1 อัฐ หรือ 8 อันเป็น 1 เฟื่อง หรือ
เหรียญพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ
คือ เหรียญที่ผมแนะนำ ท่านที่ชอบเงินขวัญถุง ควรมีไว้ในกระเป๋าเงิน
ชื่อ:
เหรียญดีบุก รัชกาลที่ 4 ราคา 1 อัฐ หรือ 8 อันเป็น 1 เฟื่อง พ.ศ.2408
สร้างสมัย: รัชกาลที่ 4 พ.ศ.2408
ผู้สร้าง: โรงกระสาปน์สิทธิการ หรือ โรงกษาปณ์แห่งแรก(พ.ศ.
2403 – 2418)
ผู้อธิษฐานจิต: สมเด็จฯ โต พรหมรังสี วัดระฆัง และเกจิอาจารย์อื่นๆ
มวลสาร: ชินดีบุก
วิเคราะห์โลหะธาตุเหรียญพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ ราคา 1 อัฐ หรือ 1/8 เฟื้อง สมัยรัชกาลที่
4
50 Sn (ดีบุก) = 71.80%
29 Cu (ทองแดง) = 18.23%
82 Pb (ตะกั่ว) =
7.44%
26 Fe (เหล็ก) =
2.52%
ออกแรงบิดที่เหรียญรับรู้ถึงการอ่อนตัวของโลหะ เหรียญมีความแข็งปานกลาง
- บทความอ้างอิงฯ คลิกลิงก์ http://dr-natachai.blogspot.com/2013/10/blog-post_26.html
พลานุภาพ:
ครบเครื่องฯลฯ เด่นทางด้านโภคทรัพย์ ป้องกันภัยพิบัติ เมตตามหานิยม ฯลฯ
อายุ: (2556-2408) = 148 ปี
ราคาเหมะสม:-
ราคาเซียนใหญ่: -
ราคาท้องตลาด: -
ราคาสมบัติผลัดกันซื้อ: มีกำไรซื้อ-ขายได้ทุกราคา
|
เหรียญดีบุก รัชกาลที่ 4 หรือ
เหรียญพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ |
|
เหรียญดีบุก รัชกาลที่ 4 หรือ
เหรียญพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ |
เหรียญพระแสงจักร-พระมหามงกุฎ
เหรียญเงินรัชกาลที่
4 เหรียญนี้ผลิตออกแทนพดด้วงโดยผลิตจากเครื่องจักรที่สั่งซื้อ
จากประเทศอังกฤษ เป็นเหรียญแบน ด้านหน้าเป็นรูปมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีฉัตรกระหนาบ 2
ข้าง ด้านหลังเป็นรูปช้างยืนอยู่ตรงกลางพระแสงจักร
โรงกษาปณ์แห่งแรก(พุทธศักราช
2403 – 2418) ของประเทศไทยสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในยุคที่ประเทศไทยกำลัง
พัฒนาและปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยพร้อม ๆ กับการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ และการค้า
ในปีพ.ศ. 2401 รัชกาลที่ 4 ทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้สร้างขึ้นและพระ ราชทานนามว่า " โรงกระสาปน์สิทธิการ " ซึ่ง ตั้งยู่บริเวณโรงทำเงิน พดด้วงด้านหน้าพระคลังสมบัติบริเวณมุมถนนใกล้กับทางออกประตู
สุวรรณบริบาลด้านทิศตะวันออกลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้นก่ออิฐเป็น ปูนมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมีทางขึ้นชั้นสองอยู่ทาง
ด้านหน้า
ครั้นถึง พ.ศ. 2403 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรที่บริเวณประตูพรหมโสภา หน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังแล้วเสร็จ
พระราชทานนามว่า “โรงกระษาปน์สิทธิการ” เพื่อผลิตเงินเหรียญแบบสากลนิยม โดยใช้เครื่องจักรทำการแทนแรงคน เริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ.2403 เงินเหรียญที่ผลิตขึ้นใช้ในระยะแรกเรียกว่า
“เงินแป” หรือ “เงินแบน” เพราะมีรูปลักษณะแบนกลมเหมือนเหรียญต่างประเทศทั่วไป ตราของเงินเหรียญใช้รูปจักรมีช้างยืนบนแท่นอยู่กลางเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนตราประจำรัชกาล มีรูปร่างเป็นพระมหามงกุฎยอดมีรัศมี
มีฉัตร 5 ชั้น กระหนาบสองข้าง พื้นเป็นเปลวกนกมีดอกจันล้อมรอบจำนวนเท่าด้านตราจักร
ใน พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงกระษาปน์ผลิตเหรียญดีบุก เพื่อเป็นเครื่องแลกใช้แทนเบี้ยหอย และประกาศให้ใช้กะแปะอัฐ(เหรียญอัฐ) และโสฬสที่ทำขึ้นใหม่นี้
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2405 เหรียญดีบุกนี้ทำด้วยดีบุกดำผสมทองแดง ด้านหนึ่งมีตราช้างในวงจักร อีกด้านหนึ่งมีรูปพระมหามงกุฎกับฉัตร เหรียญดีบุกขนาดใหญ่เรียกว่า “อัฐ” มีราคา 8 อันต่อหนึ่งเฟื้อง สำหรับขนาดเล็กเรียกว่า “โสฬส” มีราคา 16 อันต่อหนึ่งเฟื้อง
พิกัดอัตราแลกเปลี่ยนสมัยรัชกาลที่ 4
8 อัฐ เป็น 1 เฟื้อง
1/8 เฟื้อง = 1อัฐ สมัยโบราณมักกล่าวถึงอัฐยายซื้อขนมยาย
***ใครที่ชื่นชอบ เงินขวัญถุง ผู้เขียนขอแนะนำ เหรียญดีบุกสมัย รัชกาลที่ 4 ราคา 1/8 เฟื่อง หรือ 1 อัฐ ที่สมเด็จฯ โต พรหมรังสี อธิษฐานจิตปลุกเสก มีใส่ไว้ในกระเป๋าเงิน สักเหรียญ ดีกว่าไม่มี อย่างน้อยก็เป็นเหรียญเงินโบราณอายุ 148 ปี มีพลานุภาพอีกต่างหาก ใครสามารถสัมผัสเรื่องอจิตไตยได้ เชิญพิสูจน์ครับว่าจริงไหม...