ตะกั่วถ้ำชา ชิน นวโลหะ สัมฤทธิ์ สำริด ต่างกันอย่างไร?
ชินวร หรือ
ชินสังกะสี มีส่วนผสมของสังกะสีมากถึง 90% ทองแดงประมาณ 6% และรีเนียม ประมาณ 3% และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ เนื้อแข็ง สนิมดำ แกร่งมาก น้ำหนักเบากว่าเนื้อชินตะกั่วและเนื้อชินดีบุก
ชินอุทุมพร หรือ
ชินเขียว มีส่วนผสมของตะกั่วและแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ สีเขียว(เกิดจากมีส่วนผสมทองแดงมาก) สนิมเป็นเม็ดสีขาวหม่น
ชินเงิน มีส่วนผสมของตะกั่ว ทองแดง และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ฯลฯ และมีปรอทผสมอยู่มาก จะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ
ชินตะกั่ว แบบที่1
สัมฤทธิ์
สัมฤทธิ์ หรือ สำริด เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง และดีบุก สัมฤทธิ์บางชนิดอาจมีส่วนผสมของสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่ด้วย สัมฤทธิ์ที่เป็นโลหะผสมของทองแดง นิยมใช้ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่ใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม สัมฤทธิ์แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามชนิดและส่วนผสมของสาร คือ
1. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 ค่อนข้างอ่อน ตีแผ่ หรือรีดได้ง่าย เหมาะกับงานทั่วๆ ไป
2. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 แต่มีสังกะสี หรือตะกั่วผสมอยู่ด้วย เช่น สัมฤทธิ์ 5-5-5 คือ สัมฤทธิ์ที่มีส่วนผสมของดีบุกร้อยละ 5 สังกะสีร้อยละ 5 ตะกั่วร้อยละ 5 ใช้ทำเฟือง และหล่อทำเครื่องสูบน้ำ
3. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกร้อยละ 8-10 อาจมีสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่บ้าง สัมฤทธิ์ชนิดนี้ใช้ทำท่อน้ำ
4. สัมฤทธิ์ที่มีฟอสฟอรัสผสมอยู่ร้อยละ 0.1-0.6 ดีบุกร้อยละ 6-14 สัมฤทธิ์ชนิดนี้ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ทำชิ้นส่วนของเรือเดินทะเล เช่น ใบพัดเรือ และทำเฟืองเกียร์
5. สัมฤทธิ์ที่มีตะกั่วผสมร้อยละ 8-20 บางชนิดอาจสูงถึงร้อยละ 30 ส่วนดีบุกนั้นมีตั้งแต่ร้อยละ 0-10 ใช้ทำแท่นรองรับ (bearing)
6. สัมฤทธิ์ชนิดที่ใช้ทำระฆัง หรือเครื่องเสียง มีส่วนผสมของดีบุกมากกว่าร้อยละ 30 โดยผสมตะกั่วและสังกะสีลงไปเล็กน้อย
จากการศึกษาข้อมูลทางวิชาการที่มีผู้เขียนขึ้นกล่าวถึง...และจากผลการวิเคราะห์โลหะธาตุ ทั้งหมดเรียกว่าสัมฤทธิ์ หรือ สำริด ภาษาฝรั่งเรียกว่า Bronze เป็นโลหะธาตุที่มีสูตรหรือส่วนผสมหลากหลาย อยู่ที่ผู้หลอมโลหะธาตุการการนำไปใช้ทำอะไร เมื่อหลอมหล่อโลหะธาตุสำเร็จออกมามีวรรณะสีผิวแตกต่างกันไป เช่น ขาว เหลือง แดงอ่อน เป็นต้น
ชิน
หมายถึง โลหะผสมได้มากกว่าหนึ่งอย่าง
พระเครื่องในเมืองไทยที่สร้างจากเนื้อชิน มักจะมีส่วนผสมหลักๆ ได้แก่ ปรอท ดีบุก ตะกั่ว และทองแดง ทั้งนี้เมื่อผสมแล้วจะออกมาเป็นเนื้ออะไร
ขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งมาก เช่น
ถ้าใส่ทองแดงจะช่วยให้มีความแข็งของโลหะและยิ่งใส่ผสมมากขึ้นยิ่งทำให้โลหะที่ได้มีความแข็งมากขึ้น
(เมื่อโลหะที่นำมาหลอม
โลหะที่มีน้ำหนักเบาจะลอยอยู่ด้านบน พระองค์ใดเทก่อนโลหะเบาลงเบ้าก่อน
พระชุดแรกออกมาเนื้อแบบหนึ่ง องค์ที่เทภายหลังโลหะหนัก เช่น ตะกั่วนอนก้นเตาหลอมเทออกมาเป็นเนื้ออีกแบบหนึ่ง)
โลหะธาตุเนื้อมวลสารต่างกันจะมีลักษณะเฉพาะตัวและมีชื่อเรียกขานที่แตกต่างกันไป
เช่น ชินตะกั่ว ชินเงิน ชินอุทุมพร ชินเขียว ก็สุดแท้แต่จะเรียกขานกันไป ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าแยกตามวรรณะสีผิว
เมื่อผ่านกาลเวลามีความเก่ามากขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด(ยิ่งเก่ายิ่งเห็นชัด)
ทั้งในด้านสีสันและลักษณะพื้นผิว ไข สนิม รอยเหี่ยว รอยปริราน ฯลฯ
เนื้อ นวโลหะ
ฝรั่งเขาตั้งชื่อจดทะเบียนให้ว่า Thai bronze หมายถึง
สัมฤทธิ์ไทย (สำริดไทย)
คำว่า bronze หมายถึง สำริด หรือ
โลหะหลายชนิดมารวมกัน ไม่มีสูตรตายตัวแน่นอน ซึ่งก็ คือ ชิน
โลหะที่โบราณนิยมมาสร้างเป็นเครื่องมือเครื่องใช้รวมถึงสร้างองค์พระขนาดใหญ่และเล็กมีมานานนับหลายพันปีที่ได้พบตามสถานที่ต่างๆทั่วประเทศไทย
พระเนื้อชิน หมายถึง พระโลหะ ที่มีวรรณะสีผิว
แววๆ ผิวออก ขาวๆ เงินๆ ตะกั่วๆ โดยปกติ กระแสสัดส่วนของโลหะ แก่ตะกั่ว(ผิวขาว) แก่ปรอท(ผิววาว) แก่ทองแดง (สนิมเขียว) โบราณนิยมสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล
ในอดีตกล่าวกันว่า ชิน เป็นโลหะธาตุผสมของ ดีบุก
ตะกั่ว สังกะสี เหล็ก พลวง ปรอท และเงิน ฯลฯ ที่ไม่มีสูตรตายตัว อยู่ที่ความเชื่อและศรัทธาของผู้สร้างว่าต้องการใส่แร่ธาตุชนิดใดบ้าง ส่วนผสมมากน้อยไม่เท่ากัน
ประเภทของโลหะธาตุ
ปรอท ใส่ปรอทลงไปเป็นส่วนผสม เพื่อให้เนื้อโลหะหลอมเหลววิ่งเข้าติดซอกมุมของพิมพ์
เพราะปรอทจะหนีความร้อน ทำให้โลหะธาตุอื่นๆวิ่งตามไปติดเต็มพิมพ์ทำให้องค์พระเทออกมาสมบูรณ์สวยงาม
ปรอทหากอยู่ส่วนผิวนอกสุดจะทำให้พระมีสีเงินแวววาว
ผิวปรอทจะเปลี่ยนแปลงยากต้องใช้เวลาหลายร้อยปีถึงพันปีขึ้นไปจึงจะมีลักษณะซีดหมองลง
หรือเรียกว่าปรอทตาย เมื่อสัมผัสความชื้น ความเค็มผ่านไปหลายร้อยปีจะหมองลงๆ
จนกระทั่งดำ
เนื้อตะกั่ว เป็นส่วนผสมหลักของพระเครื่องประเภทเนื้อชินที่มีการสร้างในไทยมากที่สุด
การสร้างการผลิตทำได้ง่าย มีจุดหลอมเหลวต่ำ ลักษณะของตะกั่วเมื่อผ่านกาลเวลาจะมีสีดำคล้ำ
มีความฉ่ำที่สัมผัสได้ทางสายตา มีความยับ ความย่น ความโปร่งพรุน ตามธรรมชาติ มีสนิมและไขขาว พระเนื้อชินตะกั่วที่มีอายุมากๆบางทีสนิมกับไขนั้นก็กินลึกเข้าไปถึงเนื้อในทำให้เกิดหลุมบ่อหรือกินจน
แทบไม่เหลือเนื้อแท้อยู่เลย กลายเป็นไขและสนิมมาแทนที่เนื้อโลหะเดิม ขึ้นอยู่กับสภาพการเก็บรักษา
สนิมและไขนั้นเกิดจากภายในเนื้อแร่โลหะที่ผสมหล่อหลอมกับเนื้อตะกั่ว
เนื้อดีบุก เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในไทย ในสมัยโบราณใช้ทำเหรียญและเครื่องใช้หลายชนิด ลักษณะเด่นของดีบุกเมื่อผ่านกาลเวลาไปคือจะมีสีดำสนิท
ถ้าถูกความชื้นเพราะเก็บรักษาไม่ดี โลหะธาตุที่ผสมในเนื้อตะกั่วจะมีลักษณะพองตัวและทำให้ตะกั่วปริแยกออก
นักเล่นพระจะเรียกว่า ระเบิด
*** พระเนื้อชินมีสูตรมากชนิด...สร้าง...แต่ละยุคสมัย...ต่าง
พ.ศ....ต่างที่...ต่างกรุ จะมีมวลสารเนื้อหาต่างกันไป...อายุสร้าง 100 ปี 500 ปี มากกว่า 1,000 ปี วรรณะสีผิวมีความแตกต่างกันสิ้นเชิง
หลักในการพิจารณาพระเนื้อชิน สร้างสมัย รัชกาลที่ 4
ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังนี้
ชินวร หรือ
ชินสังกะสี มีส่วนผสมของสังกะสีมากถึง 90% ทองแดงประมาณ 6% และรีเนียม ประมาณ 3% และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ เนื้อแข็ง สนิมดำ แกร่งมาก น้ำหนักเบากว่าเนื้อชินตะกั่วและเนื้อชินดีบุก
ชินอุทุมพร หรือ
ชินเขียว มีส่วนผสมของตะกั่วและแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ สีเขียว(เกิดจากมีส่วนผสมทองแดงมาก) สนิมเป็นเม็ดสีขาวหม่น
ชินเงิน มีส่วนผสมของตะกั่ว ทองแดง และแร่ธาตุอื่นๆเช่น ทองคำ ฯลฯ และมีปรอทผสมอยู่มาก จะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ
ชินตะกั่ว แบบที่1
ตะกั่วถ้ำชา มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดประมาณ
98 % มีทองแดง 2 % และแร่ธาตุอื่นๆเช่น
ทองคำ ปรอทฯลฯ พระที่มีส่วนผสมของทองแดงมากจะมีความแข็งเพิ่มขึ้น
ชินตะกั่ว แบบที่2 มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดประมาณ
90 % มีทองแดง 9.5 % และแร่ธาตุอื่นๆเช่น
ทองคำ ปรอทฯลฯ พระที่มีส่วนผสมของทองแดงมากจะมีความแข็งเพิ่มขึ้น(เอกลักษณะเฉพาะของทองแดงเมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศและโลหะธาตุอื่นๆจะเกิดสีเป็นสนิทสีเขียว) และพระองค์ใดมีส่วนผสมของตะกั่วยิ่งมาก
พระองค์นั้นจะมีความอ่อนจับบิดงอได้ง่าย
ชินดีบุก มีส่วนผสมของดีบุกมากที่สุดประมาณ 71 % มีทองแดงประมาณ 18 % ตะกั่วประมาณ 7.5% เหล็กประมาณ 2.5% และแร่ธาตุ
อื่นๆเช่น
ปรอทฯลฯ
กรรมวิธีการสร้างพระ เนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมโลหะธาตุที่สำคัญ พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง
พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำ
มิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย
หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ
ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำได้
พระเนื้อชิน ถือเป็น อมตะพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล
พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นโลหะธาตุชนิดหนึ่งที่ครองใจผู้คนมานาน นับแต่โบราณความเชื่อและศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง
พระเนื้อชิน ถือเป็น อมตะพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล
พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นโลหะธาตุชนิดหนึ่งที่ครองใจผู้คนมานาน นับแต่โบราณความเชื่อและศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง
สัมฤทธิ์
สัมฤทธิ์ หรือ สำริด เป็นโลหะผสมระหว่างทองแดง และดีบุก สัมฤทธิ์บางชนิดอาจมีส่วนผสมของสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่ด้วย สัมฤทธิ์ที่เป็นโลหะผสมของทองแดง นิยมใช้ทำเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลที่ใช้กันมากในงานอุตสาหกรรม สัมฤทธิ์แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามชนิดและส่วนผสมของสาร คือ
1. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 ค่อนข้างอ่อน ตีแผ่ หรือรีดได้ง่าย เหมาะกับงานทั่วๆ ไป
2. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกต่ำกว่าร้อยละ 8 แต่มีสังกะสี หรือตะกั่วผสมอยู่ด้วย เช่น สัมฤทธิ์ 5-5-5 คือ สัมฤทธิ์ที่มีส่วนผสมของดีบุกร้อยละ 5 สังกะสีร้อยละ 5 ตะกั่วร้อยละ 5 ใช้ทำเฟือง และหล่อทำเครื่องสูบน้ำ
3. สัมฤทธิ์ที่มีดีบุกร้อยละ 8-10 อาจมีสังกะสี หรือตะกั่วปนอยู่บ้าง สัมฤทธิ์ชนิดนี้ใช้ทำท่อน้ำ
4. สัมฤทธิ์ที่มีฟอสฟอรัสผสมอยู่ร้อยละ 0.1-0.6 ดีบุกร้อยละ 6-14 สัมฤทธิ์ชนิดนี้ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล จึงเหมาะที่จะนำไปใช้ทำชิ้นส่วนของเรือเดินทะเล เช่น ใบพัดเรือ และทำเฟืองเกียร์
5. สัมฤทธิ์ที่มีตะกั่วผสมร้อยละ 8-20 บางชนิดอาจสูงถึงร้อยละ 30 ส่วนดีบุกนั้นมีตั้งแต่ร้อยละ 0-10 ใช้ทำแท่นรองรับ (bearing)
6. สัมฤทธิ์ชนิดที่ใช้ทำระฆัง หรือเครื่องเสียง มีส่วนผสมของดีบุกมากกว่าร้อยละ 30 โดยผสมตะกั่วและสังกะสีลงไปเล็กน้อย
***
จากข้อมูลสัมฤทธิ์(สำริด) ที่นิยมในงานอุตสาหกรรม สรุปได้ว่า สำริด ก็คือ ชิน
เป็นโลหะธาตุที่มีส่วนผสม(สูตร)เฉพาะเจาะจงของผู้สร้าง... ที่วงการพระเครื่องกล่าวขานถึงนั้นเอง