วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี หรือ ชินวร พ.ศ.2408

พระกริ่งปวเรศ หรือ
พระกริ่งประจำรัชกาล...  มีสร้างขึ้นตั้งแต่ยุค รัชกาลที่ 3 สืบต่อมาถึง ยุค รัชกาลที่ 4  รัชกาลที่ 5 และยุครัชกาลที่ 6  บางพิมพ์สร้างหลายยุคหลายสมัย  สืบเนื่องกันมา และมีหลากหลายเนื้อ เช่น 
เนื้อนวโลหะ คือ โลหะมากกว่า 1 ชนิดหลอมหล่อรวมกัน
สัมฤทธิ์ หรือ สำริด คือ โลหะมากกว่า 1 ชนิดหลอมหล่อรวมกัน เมื่อหลอมหล่อมออกมาเสร็จ มีทั้งเนื้อสีเหลือง  สีชมพูอมแดงคล้ายทองแดง(แก่ทองแดง)  สีคล้ายเงินแก่เงิน  สีกลับดำสนิท
ชิน  คือ โลหะมากกว่า 1 ชนิดหลอมหล่อรวมกัน  อยู่ที่โลหะธาตุอะไรมีมาก

***จากการวิเคราะห์โลหะธาตุด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์  ไม่ว่าจะเป็นโลหะประเภทสำริด นวโลหะ ชิน ล้วนแล้วแต่เป็นโลหะในหมวดหมู่เดียวกัน  ความแตกต่างอยู่ที่โลหะธาตุอะไรมีมากที่สุด เช่น
   ตะกั่วมีมากที่สุด เรียกว่า ชินตะกั่ว
   ดีบุกมีมากที่สุด  เรียกว่า ชินดีบุก
   สังกะสีมีมากที่สุด เรียกว่า ชินสังกะสี
   ทองแดงมีมากที่สุด  เรียกว่า ทองสำริด

ผู้เขียนขอแนะนำให้รู้จักพระกริ่งปวเรศที่แทบจะไม่มีคนรู้จัก 
มีมวลสารพิเศษอีกชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึง คือ เนื้อชินวร หรือ ชินสังกะสี เป็นพระกริ่งปวเรศ...ที่นักสะสมพระกริ่งปวเรศ...ควรมีไว้ในครอบครอง

ชินวร หรือ 
ชินสังกะสี มีส่วนผสมของสังกะสีมากถึง 90% ทองแดงประมาณ 6% และรีเนียม ประมาณ 3% มีแร่ธาตุอื่นๆอีก เช่น ทองคำ ปรอทฯลฯ   เนื้อแข็ง สนิมดำ แกร่งมาก น้ำหนักเบากว่าเนื้อชินตะกั่วและเนื้อชินดีบุก


ภาพขยายโลหะธาตุ ชินสังกะสี หรือ ชินวร
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก ภาพขยายเนื้อชินสังกะสี
พระกริ่วปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี เผยให้เห็นความเก่าอายุ 148 ปี และสีเหลืองที่เห็นคือ ทองคำ

 
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก ภาพขยายเนื้อชินสังกะสี
พระกริ่วปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี เผยให้เห็นความเก่าและรอยขัดแต่งโลหะ จุดสีเหลือง คือ ทองคำ

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก ภาพขยายเนื้อชินสังกะสี
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี เผยให้เห็นความเก่า สนิมดำ สีเขียวและไขสีขาว
 
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก ภาพขยายเนื้อชินสังกะสี
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี เผยให้เห็นความเก่า สนิมดำ และไขสีขาว

ชื่อ:
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี หรือ ชินวร พ.ศ. 2408 (ไม่มีกริ่งก้นตัน)


สร้างสมัย:
รัชกาลที่ 4  พ.ศ.2408


ผู้อธิษฐานจิต(สร้าง):

สมเด็จฯ โต พรหมรังสี วัดระฆัง

มวลสาร:
ชินวร หรือ
ชินสังกะสี มีส่วนผสมของสังกะสีมากกว่าถึง 90% ทองแดงประมาณ 6% และรีเนียม ประมาณ 3%  มีแร่ธาตุอื่นๆอีก เช่น ทองคำ ปรอท ฯลฯ  เนื้อแข็ง  สนิมดำ  แกร่งมาก  น้ำหนักเบากว่าเนื้อชินตะกั่วและเนื้อชินดีบุก

 
พลานุภาพ:
ครบเครื่องทุกเรื่องฯลฯ
เมตตามหานิยม มหาอำนาจ บารมี  โชคลาภ  วาสนา  พลานุภาพ 108 เหนือคำบรรยาย มีครบทุกด้าน ไร้ขีดจำกัด

ฝีมือสร้าง:
ช่างสิบหมู่

อายุ:
(2556-2408) 148 ปี


(ราคาเหมะสม) 800,000.00 บาท(แปดแสนบาท)

(ราคาเซียนใหญ่) 1 million U.S. dollars. หรือ 30 ล้านบาท


(ราคาท้องตลาด) -

(ราคาสมบัติผลัดกันซื้อ) มีกำไรซื้อ-ขายได้ทุกราคา
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี พ.ศ.2408  ไม่มีกริ่ง ก้นตัน องค์ที่ 1

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี พ.ศ.2408 ไม่มีกริ่ง ก้นตัน องค์ที่ 2

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี พ.ศ.2408 ไม่มีกริ่ง ก้นตัน องค์ที่ 3

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี พ.ศ.2408 ไม่มีกริ่ง ก้นตัน องค์ที่ 4

สรุป
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก เนื้อชินสังกะสี 
--- เป็นพระกริ่งปวเรศ ที่สร้างอธิษฐานจิต โดยสมเด็จฯโต พรหมรังสี พ.ศ.2408 ณ เวลานี้หาคนที่รู้จักยากยิ่ง  สาเหตุเพราะไม่มีบันทึกในตำราเล่มใดๆ
--- พระกริ่ง...พิมพ์นี้ที่เคยพบได้มีสร้างขึ้นหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองคำ เนื้อทองสำริด เนื้อชินสังกะสี หรือชินวร
--- เนื้อชินสังกะสี หรือ ชินวร ที่ผู้เขียนพบและได้วิเคราะห์โลหะธาตุมีเพียงพระกริ่งปวเรศ พิมพ์จุก พิมพ์อื่นไม่เคยพบเห็น
--- พระกริ่ง...เนื้อชินสังกะสีที่พบทุกองค์บริเวณฐานบัวจะมีตำนิ คือ เนื้อองค์พระกริ่งฐานหล่อได้ไม่เต็ม(ต่างที่ต่างตำแหน่ง)
--- พระกริ่ง...ทุกองค์จะผ่านการเกลาตบแต่งไม่เท่ากัน
--- การกลับดำ จะเกิดสนิมดำขึ้นบริเวณผิวพระดำสนิท  บริเวณใดผ่านการจับบ่อยๆ หรือขัดถู เผยให้เห็นเนื้อชินสังกะสี
--- พระกริ่ง...พิมพ์จุก ชุดนี้ ในอดีตเคยผ่านการลงรัก ปิดทองคำเปลว
--- วรรณะสีผิวอายุ 148 ปี ขึ้นสนิมดำ ไขขาว และบางองค์ขึ้นสีเขียวเล็กน้อย
--- พระกริ่งปวเรศ เนื้อชินสังกะสี สร้างน้อยมากๆ น่าจะมีสร้างเพียง 1 ช่อเท่านั้น


รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม  ว่า พระกริ่งปวเรศ ยังมีเนื้อชินสังกะสีอีกประเภทหนึ่งที่ สมเด็จฯ โต  อธิษฐานจิตปลุกเสกในปี พ.ศ.2408