เบ้าประกบใช้หล่อหลอมพระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ที่พบประกอบด้วยแม่พิมพ์ประกบพระกริ่งฯ 3 แม่พิมพ์ แต่ละแม่พิมพ์ที่นำมาประกบหล่อเป็นองค์พระกริ่งฯ ช่างฯสมัยโบราณ ได้สร้างพระกริ่งต้นแบบขึ้นมาก่อน 1 องค์
นำพระกริ่งฯไปกดในดินที่ได้ผสมเตรียมเอาไว้ ในขั้นตอนนี้ช่างฯที่ทำแบบพิมพ์จะต้องมีความระมัดระวังและความละเอียด ปราณีต จึงจำทำให้ได้แม่แบบที่คมชัด
ดินที่นำมาทำเป็นแม่แบบประกบนั้น เป็นดินเหนียวผสมเข้าสูตรตามตำราของช่างปั้นดินเผา
เมื่อนำไปเผาในเตา ได้เบ้าพิมพ์พระกริ่งฯออกมา เนื่องจากดินเหนียวมีความหนาแน่น จึงทำให้ผิวของเบ้าพิมพ์เมื่อโลหะที่เทเข้ามาในเบ้ารวมตัวกันเป็นองค์พระกริ่งฯ เมื่อพระกริ่งฯเย็นตัวลงเทออกมาจากเบ้าพิมพ์จึงมีผิวโลหะเรียบมันวาว การหล่อด้วยเบ้าพิมพ์ประกบจึงมีข้อดีที่ได้ผิว และองค์พระสวยสง่างามดั่งกับองค์ต้นแบบ
ช่างฯจะทำการเกลาตบแต่งพร้อมทั้งขัดตบแต่งรอยประกบทุกองค์ ในแต่ละองค์จะเห็นรอยประกบมากน้อยแตกต่างกัน แต่ก็สามารถแยกได้ว่าองค์ใดหล่อจากแม่พิมพ์ชุดไหน
รูปแสดงตะเข็บรอยประกบของแม่พิมพ์แบบที่ 1
รูปแสดงตะเข็บรอยประกบของแม่พิมพ์แบบที่ 2
รูปแสดงตะเข็บรอยประกบของแม่พิมพ์แบบที่ 3