วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

13. จำลองเบ้าพิมพ์ประกบพระกริ่งปวเรศ

สร้างเบ้าพิมพ์ประกบจากปูนปลา่สเตอร์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของเบ้าพิมพ์หล่อพระกริ่งปวเรศในอดีต

รูปที่ 1 แสดงแม่พิมพ์เรียนแบบแม่พิมพ์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข   การสร้างแม่พิมพ์นั้นขั้นแรกต้องมีกริ่งปวเรศต้นฉบับ 1 องค์  แล้วนำมากดลงในดินที่จะทำเป็นเบ้าประกบ  เมื่อได้แม่พิมพ์ดินเผาออกมาดังรูป  ความคมชัดของพระกริ่งจะปรากฏอยู่ในแบบแม่พิมพ์ทั้งหมด  แม่พิมพ์เบ้าประกบจะมีความงดงามดั่งกับพระกริ่งปวเรศองค์ที่เป็นต้นแบบ  ผิวเรียบเนียนมันเงาปราณีต



รูปที่ 2 แม่พิมพ์ประกบ 2 ด้าน  พระกริ่งปวเรศ  พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขที่พบฐานบัวจะเป็นโพรงซึ่งเกิดจากการนำัวัสดุใส่เข้าไปในแม่พิมพ์ก่อนที่จะทำการเทขี้ผึ้งหรือเทียนหล่อเป็นองค์พระกริ่งปวเรศ ดังรูป  เมื่อเทขี้ผึ้งหรือเทียนลงไปในเบ้าพิมพ์ประกบจะทำให้บริเวณฐานบัวด้านในของพระกริ่งปวเรศ ไม่มีเนื้อโลหะ  เนื่องจากมีวัสดุใส่เพื่อทำเป็นโพรง  ภายหลังจึงคว้านวัสดุที่เตรียมไว้ออกแล้วใส่เม็ดกริ่งเข้าไปแทน



รูปที่ 3 แสดงให้เห็ถึงพระกริ่งปวเรศที่เทหล่อเป็นหุ่นเทียน(ขี่ผึ้ง) เสร็จแล้ว  เมื่อแข็งจับตัวเย็นลง ทำการถอดแม่พิมพ์เบ้าประกบออกจะพบหุ่นเทียนหรือหุ่นขี้ผึ้งที่หล่อได้ดังรูป ซึ่งมีแกนชนวนอยู่ภายในใต้ฐานหุ่นเทียนพระกริ่งปวเรศ  เมื่อทำการคว้านวัสดุที่เตรียมไว้เพื่อทำโพรงออก นำหุ่นเทียนฯพระกริ่งฯไปเกลาตบแต่งรอยประกบรอบองค์พระกริ่งฯพร้อมทั้งขัดตบแต่งให้สวยงาม


รูปที่ 4 แสดงเบ้าพิมพ์ประกบหน้าหลัง  ซึ่งช่างสมัยโบราณได้คิดวิธีการหล่อด้วยเบาพิมพ์ประกบ มีข้อดีคือ พระกริ่งฯที่เทออกมามีความงดงามดั่งพระกริ่งฯองค์ต้นฉบับ  เพราะเบ้าประกบแม่พิมพ์ดินเผามีเนื้อแข็งแรง แกร่ง เนื้อดินของเบ้าประกบมีความเนียนละเอียด  ทั้งยังสามารถใช้เบ้าพิมพ์ประกบเทพระกริ่งได้หลายๆรอบ  2. เมื่อทำการเทโลหะที่หลอมเสร็จแล้วใส่ในเบ้าพิมพ์ประกบ  ร่องรอยต่อของแม่พิมพ์ประกบระหว่างกลางของแม่พิมพ์ที่มาประกบกันเป็นช่องว่างทำให้โลหะที่เทเข้าไปในแม่พิมพ์เป็นตัวไล่อากาศ


รูปที่ 5 รูปนี้ผู้เขียนวิเคราะห์เบ้าพิมพ์ประกบที่ใช้เป็นแบบหล่อช่างสมัยโบราณมีเทนิควิธีเทโลหะเข้าเบ้าประกบเพื่อทำการหล่อพระกริ่งปวเรศง่ายๆดังรูป