วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10. ลักษณะเฉพาะและตำนิที่เกิดจากการหล่อด้วยเบ้าประกบ

รูปพระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก  พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ทั้งหมดเป็นการถ่ายด้วยการอาศัยแสงพระอาทิตย์ในช่วงเย็นทั้งหมด  จึงทำให้เห็นโลหะต่างๆที่หลอมหล่อเป็นองค์พระเปล่งแสงสีต่างๆเมื่อแสงพระอาทิตย์กระทบ

รูปที่ 1 บริเวณวงกลมสีแดง เนื้อโลหะไม่เต็ม  ภายในกรอบเส้นสีเหลืองจะเห็นเบ้าประกบได้ชัดเจน  บางองค์ช่างฯได้ทำการเการอยประกบออก (คลิ๊กรูป ขยายรูปใหญ่)



รูปที่ 2 ภายในกรอบเส้นสีเหลืองจะเห็นเบ้าประกบ  ภายในกรอบสีชมพูจะเห็นลักษณะการหดตัวของโลหะที่พบในพระกริ่งฯหลายๆองค์  ในกรอบสีขาวเนื้อโลหะหดตัวทำให้โลหะแยกตัวฉีกขาดออกจากกัน (คลิ๊กรูป ขยายรูปใหญ่)


รูปที่ 3 โลหะที่เทในเบ้าประกบมีตำนิเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้างดังเช่นในวงกลมสีแดง (คลิ๊กรูป ขยายรูปใหญ่)




รูปที่ 4 วงกลมสีแดงเล็ก  เป็นตำนิที่เกิดจากการหล่อโลหะด้วยการไล่อากาศ  ในวงกลมสีแดงใหญ่นั้นเป็นเอกลักษณะของพระกริ่งฯพิมพ์นี้ที่หล่อแล้วเป็นดังเช่นในวงกลม คือ ผิวโลหะจะไม่ตึง  เกิดขึ้นจากธรรมชาติของแบบแม่พิมพ์ (คลิ๊กรูป ขยายรูปใหญ่)



รูปที่ 5  ภายในกรอบเส้นสีเหลืองร่องรอยของเบ้าที่ประกบหลุดออกกินเข้าไปในเนื้อองค์พระกริ่งได้ชัดเจน   ในวงกลมสีแดงเป็นตำนิที่เกิดขึ้นจากการหล่อ  ในวงกลมสีเขียวเผยให้เห็นผิวของพระกริ่งฯ ที่ยังไม่ได้ผ่านการขัด (คลิกรูป ขยายรูปใหญ่)


รูปที่ 6 พระกริ่งฯองค์นี้ ช่างฯได้ทิ้งร่องรอยการขัดให้เห็นได้อย่างเด่นชัด (คลิกรูป  ขยายรูปใหญ่)




รูป 6.1 ลูกศรสีเขียวชี้ให้เห็นถึงร่องรอยการขัดขององค์พระกริ่งฯ  วงกลมสีแดงเป็นตำนิที่เกิดจากการหล่อ(ลึกมาก)  ช่างฯตบแต่งจึงปล่อยเอาไว้ให้เห็นร่องรอยตำนิ  องค์พระกริ่งฯที่ผ่านการขัดถูบริเวณที่ได้รับการขัดแต่งจะมีผิวที่เรียบกลมกลืนดั่งผิวเหล็กปัดเงา  สวยงามมากจนเซียนตาไม่ถึงตีเป็นพระกริ่งปวเรศปลอม    (คลิกรูป  ขยายรูปใหญ่)


รูปที่ 7  ภายในกรอบเส้นสีเหลืองเผยให้เห็นร่องรอยของเบ้าประกบหลุดออกกินเข้าไปในเนื้อองค์พระกริ่งฯ วงกลมสีแดงเป็นตำนิที่เกิดจากการหล่อ  ในวงกลมสีเขียวเป็นเป็นการออกแบบเมล็ดงาหรือหยดน้ำที่งดงาม  เมล็ดงาที่เห็นนี้เป็นการใช้แท่นกดตอกลงไปในเนื้อโลหะ โดยการสร้างบล๊อกบังคับให้องค์พระกริ่งฯทุกๆองค์อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน  นับว่าเป็นความฉลาดของช่างฯในสมัยโบราณที่คิดวิธีนี้ขึ้นมาใช้ทำโค๊ด(คลิ๊กรูป  ขยายรูปใหญ่)