วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

161. รูปเหมือนทรงผนวช ร.5 พ.ศ.2416 และ พระกริ่ง จปร

      การที่เรามีพระฯมาไว้ในครอบครอง จะเป็นพระฯบูชาหรือพระฯหามาไว้ติดตัว  ต่างมีเหตุผลของแต่ละคน ส่วนตัวผู้เขียนทั้งศึกษาและเคารพนับถือ บางคนอาจกล่าวว่าห้อยคอเพื่อเป็นพุทธานุสติบ้าง ขอพระเมตตาคุ้มครองภัยฯลฯ หรือ นักสะสมประเภทชอบหยิบพระขึ้นมาส่อง มาดู ทำให้เราใจเย็นขึ้น ไม่เฉพาะแต่เรื่องคุณงามความดีที่นับถือ ทำให้อยากศึกษาและค้นคว้าต่อไป ยังมีบางคนทำเป็นอาชีพนำมาค้าขายและก็มีบ้างแลกเปลี่ยนกับคนรู้จัก เพื่อนำมาศึกษา ไม่ใช่แต่เฉพาะเรื่องของความขลังเท่านั้นเพียงด้านเดียว

       ในกระทู้นี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง รูปเหมือนทรงผนวชของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.5 เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเวลา 15 วัน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
พุทธศักราช 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ทรงผนวชแล้วเสด็จประทับ ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑราราม ในพระบรมหาราชวังชั้นใน ทรงเชิญเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชปัธยาจารย์ และนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่วัดต่าง ๆ เข้าไปอยู่ด้วยพอครบคณะสงฆ์ ครั้งทรงผนวชได้ 15 วัน จึงทรงลาผนวชแล้วทรงรับพระบรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง

1611001 รูปถ่ายในหลวง ร.5 ซ้ายมือสุด

1611002 พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับยืน ณ พระพุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน

 
1611003 พระพุทธรัตนสถานมณฑิราราม ในพระบรมมหาราชวัง        


1611004 รูปหล่อพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2416 เป็นพระรูปหล่อจากรูปถ่ายพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับยืน มีอายุความเก่ามากกว่า 138 ปี  องค์นี้เป็นของญาติธรรมท่านหนึ่งเปิดเผยเพื่อเป็นวิทยาทานและได้ชื่นชมบารมีร่วมกัน


         ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามย่อ " จปร "  

         ในการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2  ได้มีการสร้างพระกริ่งวังหลวงที่เรียนแบบพิมพ์มาจาก พระกริ่งฯ พ.ศ. 2401 (รูป 1611005 - 1611006 ) และ พ.ศ.2411(รูป 1611007ในวาระ พ.ศ. 2416 (รูป 1611008 - 161109) ได้สร้างพระกริ่งให้มีความแตกต่างโดยที่แผ่นประกบฐานพระกริ่งฯมีพระนามย่อ " จปร "  

พระกริ่ง วังหลวง สร้างเพื่อบูชาพระรัตนะเมื่อครั้งสร้างพระธาตุพนมที่วังหน้า ปี พ.ศ.2401 ก้นฐานพระกริ่งฯที่พบมีจารรอยลายมือ ธาตุพนม พ.ศ. 2401 และ ขรัวโต 2401 ดังรูปที่ 161105 และ 161106

1611005 พระกริ่งฯ สร้างวาระ ปี พ.ศ. 2401 มีหลายพิมพ์

1611006 ก้นฐานพระกริ่งฯ สร้างวาระ ปี พ.ศ. 2401 สร้างเพื่อบูชาพระรัตนะ เนื่องในวาระสร้างพระธาตุพนม(วังหน้า กรุงเทพฯ) ก้นมีรอยจารธาตุพนม 2401 และ ขรัวโต 2401 เพื่อให้ชนรุ่นหลังทราบว่าขรัวโต(สมเด็จโตวัดระฆัง) ร่วมสร้างและอธิษฐานจิต  พระกริ่งฯทั้งหมดที่สร้างในวาระนี้ได้ถูกบรรจุกรุที่วัดพระแก้ว  ไม่ใช่บรรจุในเจดีย์พระฐานพนม(วังหน้า กรุงเทพ)

1611007 ก้นฐานพระกริ่งฯ สร้างวาระ ปี พ.ศ. 2411 สมเด็จโตอธิษฐานจิต สร้างเพื่อบูชาพระรัตนะ เนื่องในวาระขึ้นครองราชย์ของ ร.5 ในปี พ.ศ. 2411 พิมพ์นี้เป็นพิมพ์เดียวกันกับพระกริ่งฯที่สร้างวาระ ปี พ.ศ. 2401


1611008 ก้นฐานพระกริ่งฯ " จปรพระนามย่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธย ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416
         สร้างวาระ ปี พ.ศ. 2416 สมเด็จโตไม่ได้อธิษฐานจิต เนื่องจากสมเด็จโต มรณภาพ ในปี พ.ศ. 2515 (มกราคม)
         สร้างเพื่อบูชาพระรัตนะ เนื่องในวาระขึ้นครองราชย์ฯของ ร.5 ในปี พ.ศ. 2411 พิมพ์นี้เป็นพิมพ์เดียวกันกับพระกริ่งฯที่สร้างวาระ ปี พ.ศ. 2401 และ พระกริ่ง พ.ศ.2411


1611009 พระกริ่ง ก้น " จปร " ด้านหน้าและด้านหลัง เป็นพระกริ่งเรียนแบบพิมพ์ พระกริ่งในปี พ.ศ.2401 และ พ.ศ.2411 องค์นี้เป็นพระกริ่งเนื้อทองคำ ได้ผ่านการตรวจด้วย X-Ray Fluorescent มี
เนื้อโลหะที่พบ มีดังนี้ Au =85.79%
Ag = 6.25% Cu = 7.84% Pb = 0.12%



1611010 พระกริ่ง ก้น " จปร " ด้านหน้าและด้านหลัง เป็นพระกริ่งเรียนแบบพิมพ์ พระกริ่งในปี พ.ศ.2401 และ พ.ศ.2411 องค์นี้เป็นพระกริ่งเนื้อเงิน

1611010 พระกริ่ง ก้น  ด้านหน้าและด้านหลัง เป็นพระกริ่งเรียนแบบพิมพ์ พระกริ่งในปี พ.ศ.2401 และ พ.ศ.2411 องค์นี้เป็นพระกริ่งเนื้อทองเหลือง


หมายเหตุ พระกริ่ง ก้น" จปร " เป็นพระกริ่งของญาติธรรม เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงวาระการสร้างพระกริ่งฯ อีกทั้งเข้าใจวิวัฒนาการฝีมือในแต่ละยุคสมัยของช่างสิบหมู่ เพือเป็นวิทยาทานกับผู้ที่ศึกษา

ในคำจำกัดความไม่ว่าจะเป็นคำว่า พระวังหน้า หรือ พระวังหลวง ยากที่จะแยกได้ว่าเป็นพระของวังใด ดังเช่นพระกริ่ง พ.ศ. 2401, พ.ศ.2411 และ พ.ศ. 2416 มีลักษณะทรงพิมพ์เหมือนกัน  ดังนั้นผู้เขียนมักจะเรียกสั้นๆว่า "พระฯของสายวัง"