วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

65. พระผู้ทรงอภิญญาบารมีร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต

พระผู้ทรงอภิญญาบารมีพระคณาจารย์ที่ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีบทบาทสำคัญของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)  วัดพระแก้ว(วังหน้า) และวัดบวรนิเวศวิหาฯลฯ ในสมัยโบราณที่หาผู้รู้ในปัจจุบันได้ยาก


     พระเครื่องฯของทั้ง 3 วัดนี้หากตรวจสอบด้วยวิธีทางฌาณสมาบัติหรือขอพระฯท่านเมตตาสงเคราะห์จะทราบว่า พระพุทธวิถีนายก หรือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ได้ร่วมอธิฐานปลุกเสกร่วมอยู่ด้วยในหลายวาระ  

     พระเครื่องฯที่แตกกรุจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)  วัดพระแก้ว(วังหน้า) ที่พบมีพระพิมพ์เนื้อผงยาจินดามณี เบี้ยแก้บุทองคำ เงิน นาค ฯลฯของหลวงปู่บุญที่ได้ร่วมอธิฐานจิตรวมอยู่ในกรุดังกล่าวจำนวนมาก

     พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พ.ศ.2434  ตรวจสอบด้วยวิธีทางฌาณสมาบัติหรือขอพระฯท่านเมตตาสงเคราะห์ หลวงปู่บุญ ท่านก็ได้ร่วมอธิฐานจิตด้วยเช่นกัน
 


รูปถ่ายหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

เข้าพบสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พรหมรังษี) วัดระฆังฯ
     เมื่อหลวงปู่บุญ  ได้บวชเรียนไม่กี่พรรษา ท่านได้เดินทางไปนมัสการท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) แห่งสำนักวัดระฆังฯ เพื่อได้พบปะสนทนากัน พอตอนลากลับ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตฯ ได้มอบ พระสมเด็จ ให้องค์หนึ่ง และหลวงปู่บุญได้นำมาใช้ทำน้ำมนต์อยู่เสมอ จนพระเนื้อกร่อนไปหมด
     เรื่องนี้ หลวงปู่เพิ่มเคยเล่าให้ฟังว่า...ต่อมาพระสมเด็จองค์นั้นได้ตกทอดอยู่กับหลวงปู่เพิ่ม  นอกจากนี้ท่านยังเคยเล่าว่า  หลวงปู่บุญได้รับนิมนต์ไปในงานพิธีหนึ่ง  ท่านได้ฉันเพลในงานนั้น   โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระพทฒาจารย์(โต) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์นั่งอยู่หัวแถว ส่วนหลวงปู่บุญนั่งปลายแถว


กาลสมภพ
     ชาตะเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก จุลศักราช 1210 สัมฤทธศก เวลาจวนสว่าง ตรงกับวันที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2391 อันเป็นปีที่ 25 แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


กาลมรณภาพ
     เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2478 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำเดือน 5 ปีชวด เวลา 10.45 น. โดยโรคอาพาธ ณ กุฏีของหลวงปู่บุญ สิริอายุได้ 89 ปี พรรษา 67

ลูกศิษย์ของหลวงปู่บุญ
     นักนิยมพระเครื่องฯรู้จักเด่นๆ เช่น หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว  และพระมงคลราชมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ เป็นต้น


สหธรรมมิกที่สนิทสนม
     สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมหลวงวิชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระสังฆราฃ (แพ) ติสุสเทวเถร วัดสุทัศน์ฯ, หลวงปู่นาค วัดห้วยจรเข้, ท่านเจ้าคุณพระวินัยกิจโกศล (ตรี) เจ้าอาวาสวัดกัลยารมิตร, หลวงปู่พรหม (พระสุนทรมาจารป วัดกัลยาฯ ราชาแห่งพระนาคปรกใบมะขาม ที่ขึ้นชื่อกระฉ่อนในกระบวนพระชุดจิ๋วแต่แจ๋ว, หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค(ขณะนั้นหลวงปู่ปาน มีพรรษาอ่อนกว่าหลวงปู่บุญมาก)


วัดบางแก้วแหล่งชุมนุมผู้เยี่ยมยุทธสมัยหลวงปู่บุญครองวัด
     เป็นขุมข่ยแหล่งยอดพระคณาจารย์มักจะเป็นที่ประชุมของอาจารย์ดังทางจังหวัดนครปฐม-สมุทรสงครามและที่อื่นๆ ซึ่งจะพากันมาเยี่ยมเยื่ยนท่านอยู่เนื่องๆ เช่น หลวงพ่ออ๋อย หรือ พระครูถาวรสมณวงศ์ วัดไทร ธนบุรี, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, พระครูปจฉิมทิศบริหาร (หลวงพ่อเกิด) วัดงิ้วราย นครปฐม, หลวงพ่อพา วัดระฆังฯ ธนบุรี, พระครูทักษิณานุกิจ (ผัน) วัดเทียนดัด นครปฐม, หลวงพ่อใย (เป็นลูกพี่ลูกน้อยกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม) วัดช้างใต้, หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก นครปฐมฯลฯ