วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

59. พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2434 วาระ 2

พระกริ่งปวเรศ  พ.ศ.2434 วาระ 2 พิมพ์จีวรลายดอก


พระกริ่งปวเรศ 2 องค์นี้เป็นของเพื่อนสมาชิกทางจังหวัดเชียงใหม่ส่งรูปมาให้ชื่นชม  พระกริ่งจีวรลายดอกทั้ง 2 องค์สร้างในปี พ.ศ.2434 วาระที่ 2 เม็ดกริ่งจะไม่กลมเหมือนกับพระกริ่งปวเรศ รุ่น สมบูรณ์พูนสุข  เม็ดกริ่งพิมพ์นี้เป็นเหล็กไหลเช่นกัน  จะมีขนาดเม็ดใหญ่กว่าเสียงจะดังกังวานกว่ารุ่นสมบูรณ์พูนสุข 


 
พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พิมพ์จีวรลายดอก(ลายจุด)นี้เป็นพระกริ่งที่ทำแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2434   พระกริ่งชุดนี้เป็นพระกริ่งที่สร้างโดยเงินส่วนพระองค์ของรัชกาลที่มวลสารของเนื้อโลหะธาตุที่นิยมสร้างในอดีตก่อน พ.ศ.2434 ที่พบในเวลานี้มีดังนี้
เนื้อนวโลหะหรือเนื้อสัมฤทธิ์ มี 3 ชนิด

เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 1 เนื้อสัมฤทธิ์เดช โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีแดงแก่-อ่อน ลักษณะสีคล้ายสีนาค อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกเปลี่ยนเป็นสีดำ เทา อมน้ำตาล  

เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 2 เนื้อสัมฤทธิ์ศักดิ์ โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีขาวหรือขาวจัด ลักษณะสีคล้ายสีเนื้อเงินโบราณ อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำ

 เนื้อสัมฤทธิ์ ชนิดที่ 3 เนื้อสัมฤทธิ์โชค โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีเหลือง สีคล้ายดอกจำปาแก่-อ่อน อายุผ่านมานับร้อยปีวรรณะสีผิวภายนอกกลับดำ อมน้ำตาล

พระกริ่งพิมพ์จีวรลายดอก พระกริ่งที่สร้างส่วนใหญ่ที่พบเป็นเนื้อสัมฤทธิ์เดช โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีแดงแก่-อ่อน ลักษณะสีคล้ายสีนาค ส่วนเนื้อสัมฤทธิ์ศักดิ์ โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีขาวหรือขาวจัด ลักษณะสีคล้ายสีเนื้อเงินโบราณพบเห็นได้ยากยิ่ง
 องค์ซ้ายมือ เนื้อสัมฤทธิ์(นวโลหะ) เดช เนื้อในสีนาค  หน้าผากหมุดทองคำ
องค์ขวามือ เนื้อสัมฤทธิ์ศักดิ์ โลหะธาตุที่นำมาผสมมีวรรณะสีผิวออกสีขาวหรือขาวจัด ลักษณะสีคล้ายสีเนื้อเงินโบราณ  ก้นปิดด้วยแผ่นเงินต่างกับพระกริ่งปวเรศทั่วๆไปที่ปิดด้วยแผ่นทองแดง และหมุดรอบองค์พระกริ่งพิมพ์จีวรลายดอกรวมทั้งสายสร้อยเป็นหมุดเงิน