เริ่มแรกผู้เขียนได้ให้ผู้ดูแลเครื่องตั้งโปรแกรมเครื่อง XRF หาค่าโลหะธาตุทุกๆชนิดที่มีผสมอยู่ในองค์พระกริ่งปวเรศฯ ผลที่ได้จะพบโหละธาตุ 13 - 16 ชนิด(ตัวอย่างรูปองค์ที่ 1 และองค์ที่ 2) ในแต่ละองค์ที่พบจะมีประเภทโลหะธาตุรวมทั้ง % ของโลหะธาตุที่พบไม่เท่ากัน
การตั้งโปรแกรมของเครื่อง XRF เจาะจงให้ตรวจเฉพาะโลหะธาตุที่ต้องการก็ได้ อย่างน้อยต้องมี 3 ชนิดขึ้นไป
ผลจากการวิเคราะห์รอบแรกประมาณ 10 องค์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ เปรียบเทียบโลหะธาตุที่พบ ทุกๆครั้งที่ทำการวิเคราะห์จะมีโลหะธาตุหลักๆ 12 ชนิด
ดังนั้นภายหลังผู้เขียนพิจารณาแล้วเห็นว่าตามข้อมูลที่มีผู้บันทึกไว้กล่าวว่า พระกริ่งฯนั้นจะมีส่วนผสมของโลหะธาตุ 9 ชนิด นำมาหลอมรวมกันเป็นองค์พระกริ่ง ถูกต้องแต่ยังมีโลหะธาตุชนิดอื่นผสมอยู่มากเช่น กำมะถัน ที่ใช้ซัดลงไปในเบ้าหลอมโลหะเพื่อเร่งความร้อนให้สูงขึ้น ตรวจพบมีปริมาณ % ที่สูง หากจะตั้งโปรแกรมไม่ให้แสดงค่า กำมะถัน ก็ได้ แต่ผู้เขียนพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมเหตุผล ที่จะทำการตัดออก จึงขอให้ผู้ดูแลเครื่องทดสอบตั้งค่าโปรแกรมของเครื่อง XRF ให้วิเคราะห์โลหะธาตุที่ตรวจพบ 12 ชนิดเป็นหลัก ดังในรูปองค์ที่ 3 และองค์ที่4
|
รูปแสดง ผลวิเคราะห์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ด้วยการตั้งโปรแกรมวิเคราะห์ตรวจสอบโลหะธาตุทุกชนิด สรุปสูงสุดพบทั้งหมด 16 ชนิด
|
|
รูปแสดง ผลวิเคราะห์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ด้วยการตั้งโปรแกรมวิเคราะห์ตรวจสอบโลหะธาตุทุกชนิด สรุปต่ำสุดพบทั้งหมด 13 ชนิด
|
|
รูปแสดง ผลวิเคราะห์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ตั้งโปรแกรมวิเคราะห์ตรวจสอบโลหะธาตุเฉพาะเจาะจง 12 ชนิด |
รูปแสดง ผลวิเคราะห์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ตั้งโปรแกรมวิเคราะห์ตรวจสอบโลหะธาตุเฉพาะเจาะจง 12 ชนิด