วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

34. เบ้าประกบวัดบวรนิวเศวิหาร

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่พบเป็นพระกริ่งที่สร้างหล่อทีละองค์ 
มีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
--- ใช้เบ้าพิมพ์ประกบ 2 ด้าน คือ ด้านหน้ากับด้านหลัง นำมายึดประกบเข้าด้วยกัน นำขึ้ผึ้งหรือเทียนที่หลอมละลายเทลงในเบ้าพิมพ์ประกบ 
--- เมื่อถอดเบ้าประกบออกจากกัน จะได้หุ่นเทียนหรือหุ่นขี้ผึ้งเป็นองค์พระกริ่งฯ ระหว่างเบ้าประกบ  พระกริ่งฯที่เป็นหุ่นเทียนหรือหุ่นขี้ผึ้ง ทุกองค์มีรอยประกบมากน้อยแตกต่างกัน ช่างฯจะทำการตบแต่งหุ่นเทียนในเบื้องต้นให้มีรอยประกบน้อยที่สุด
--- ช่างฯจะนำหุ่นเทียนที่เป็นองค์พระกริ่งฯ ทำการเชื่อมเป็นช่อมีแกนชนวนยึดอยู่ภายในฐานกริ่งขององค์พระ... มีแกนชนวนหล่ออยู่ตรงกลางดังรูปขวามือที่ผู้เขียนได้ตั้งสมมุติฐานของแบบ เบ้าพิมพ์ประกบ  --- ผู้เขียนได้ทำการวิเคราะห์พบพระกริ่งฯบางองค์มีแร่โลหะที่พบได้เฉพาะในดินเหนียว  จึงทำให้เชื่อได้ว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ใช้แม่แบบพิมพ์เนื้อดินอย่างแน่นอนในการหุ้มหุ่นเทียนองค์พระกริ่งฯ  มีการพัฒนาเบ้าพิมพ์แบบประกบ 2 ด้าน เมื่อหล่อเป็นองค์พระเสร็จทำให้ได้พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขที่งดงาม 
--- เมื่อช่างสิบหมู่และคณะผู้สร้างพระกริ่งปวเรศฯได้ออกแบบองค์พระกริ่ง ปวเรศองค์ต้นแบบ สร้างเป็นเบ้าหล่อพระกริ่งปวเรศ   เมื่อเทเสร็จแทบจะทุกองค์จะมีความสวยสดงดงาม 
--- บางองค์มีการเกลาแต่งรอยประกบบ้างเล็กน้อย พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ที่พบทุกๆองค์มีการตบแต่งขัดผิว บางองค์พบร่องรอยการขัด จึงทำให้วรรณะผิวมองทั่วๆไปสวยงามเหมือนกับพระที่สร้างในสมัยนี้ หากสังเกตุที่ซอกแขนกับลำตัวองค์พระกริ่งทุกองค์จะพบรอยประกบ 
--- การบรรจุเม็ดกริ่งภายในฐานพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข มีวิวัฒนาการ  ดังนี้
         ยุคแรกหล่อก้นต้น มีทั้งแบบเจาะรูที่ฐานบัวด้านขวาขององค์พระกริ่งฯ และแบบเจาะรูที่ใต้ฐานพระกริ่งฯ
         ภายหลังปรับปรุงรูปแบบการหล่อฐานพระกริ่ง  หล่อออกมาเป็นโพรงคล้ายกับถ้วย มีแกนช่ออยู่ด้านในฐาน  แล้วปิดก้นพระกริ่งฯ ด้วยแผ่นทองแดง และโลหะธานุอื่นๆ ตามความเหมาะสมของประเภทเนื้อโลหะที่ใช้หล่อองค์พระกริ่งปวเรศฯ ประสานด้วยตะกั่ว 
--- สำหรับโค๊ดเมล็ดงานั้น เป็นสัญลักษณ์ของผู้สร้าง เพื่อบ่งบอกถึง      1. กลุ่มใด(ใคร) เป็นผู้สร้าง
     2. สร้างในวาระโอกาสอะไร และ พ.ศ.ใด 
     3. การตอกอยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกองค์ ด้วยการใช้แท่นกดกระแทกลงบนผิว องค์พระ ที่พบองค์แรกๆที่ทำการตอกโค๊ดเมล็ดงาจะมีความคมในการกดตัดเข้าไปในเนื้อผิว ของพระกริ่งฯ เมื่อทำการตอกโค๊ดมากองค์  เครื่องมือที่เป็นตัวตอกโค๊ตเมล็ดงาหลายๆองค์ความคมในการตอกเข้าเนื้อ ของผิวองค์พระกริ่งลดน้อยลง องค์มาตราฐานทั่วๆไปส่วนใหญ่จะมีเมล็ดงา 1 โค๊ด ที่พบมากที่สุด 9 โค๊ด   มีเทคนิคการตอกที่ยึดองค์พระกริ่งฯแล้วตอกซ้ำรอยเดิมทุกองค์
     4. ละเอียดของโค๊ตมีทั้งอยู่ด้านซ้าย และด้านขวาของกลีบบัวด้านหลังที่อยู่กลีบบัวด้านบน เป็นสัญลักษณ์แบ่งแยก พระกริ่งปวเรศที่สร้างในวาระต่างกัน
        พระกริ่งปวเรศที่คนโบราณนิยมกัน เพราะพบเห็นได้ยาก มีอยู่เนื้อเดียว คือเนื้อนวโลหะผิวกลับดำ มีอยู่ 3 เนื้อ
        เนื้อโลหะชนิดที่ 1 เมื่อขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะจะพบเนื้อในสีจำปาอ่อน และเมื่อทิ้งไว้ถูกกับอากาศสักระยะเวลาหนึ่งก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเข้มมาก ขึ้น และเมื่อนานไปเนื้อจะกลับดำอีกครั้ง การอุดก้นที่พบอุดด้วยแผ่นทองแดง    
        เนื้อโลหะชนิดที่ 2 เมื่อขัดด้วยน้ำยาบัดโลหะจะพบเนื้อในเป็นสีทองแดง(คล้ายกับสีนาค) 
        เนื้อโลหะชนิดที่ 3 เมื่อขัดด้วยน้ำยาบัดโลหะจะพบเนื้อในเป็นสีเงิน (เนื้อโลหะหลักคือ เงิน)
        
        พระกริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งสายวังในอดีตพระกริ่ง...เหล่านี้เกือบทั้งหมดอยู่ในกรุ และในอดีตอยู่ในห้องพระของเชื้อพระวงศ์และข้าราชการชั้นสูง  คนทั่วๆไปจึงไม่ได้พบเห็นและรู้จัก  เมื่อพระกริ่งปวเรศ หรือ พระกริ่งสายวังออกสู่ตลาดมากมาย จึงหาผู้ที่มีความรู้เรื่องพระกริ่งปวเรศได้ยากยิ่ง  อีกทั้งยังไม่มีความรู้เรื่องเทคนิคการหล่อด้วยเบ้าประกบดีพอ นอกจากจะมีองค์ที่เป็นองค์ครูหลายๆองค์แล้วนำเอาองค์อื่นมาเทียบเคียง...กรณีนี้คือเล่นแบบเซียนพระ...พอจะทำให้เห็นอะไรดีๆ
        ส่วนกรณีที่ 2 นำพระกริ่งฯขอความเมตตาจาก "พระสุปฏิปันโน" “พระอริยสงฆ์” หลายรูปที่มี “พระอภิญญา” ขอท่านช่วยสงเคราะห์ตรวจเช็คให้ว่า ใช่ พระกริ่งปวเรศ หรือไม่? และสร้างในยุครัชกาลที่เท่าไหร่ พ.ศ.อะไร? เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังอธิษฐานจิต ใช่ หรือ ไม่?
        กรณีที่ 3 ตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ XRF เพื่อวิเคราะห์โลหะธาตุที่ผสมอยู่ในองค์พระกริ่งฯ ถ้าหากเป็นเนื้อนวโลหะ จะพบโลหะธาตุที่เรียกว่าสมฤทธิ์เนื้อนวโลหะมีกลุ่มโลหะธาตุหลัก 9 ชนิด ผลการวิเคราะห์ถ้าหากในพระกริ่งฯองค์เดียวกันแร่ทองคำที่พบบริเวณเศียรพระจะมีเนื้อทองคำมากกว่าบริเวณฐานพระกริ่งฯ 
     5. ภายในฐานพระกริ่งปวเรศยุคหลัง เมื่อหล่อเสร็จจะได้รับการตบแต่ง (เนื่องจากได้ใช้วัสดุอุด เพื่อสร้างเป็นโพลงภายใน ให้เม็ดกริ่งวิ่งไปมาได้สะดวกและเป็นการควบคุมโลหะที่ใช้หล่อและทำให้มี น้ำหนักขององค์พระกริ่งฯแต่ละองค์มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน
     6. ฯลฯ