น่าจะ...คิดไปเอง
ลิงค์รายละเอียด คมชัดลึก 6 มค 2553
ก่อน อื่นต้องขอกล่าวในเบื้องต้นไว้ ณ ที่นี้ก่อนว่า รายละเอียดต่างๆเป็นการวิเคราะห์หาเหตุและผลทางวิชาการของความน่าเชื่อถือใน บทความของคมชัดลึก ลงวันที่ 6 มค 2553 เพื่อเป็นการวิเคราะห์ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของบทความ ซึ่งผู้เขียนไม่ได้มีอคติหรือรู้จักกับเจ้าของบทความ ต้องขอกล่าวขออภัยล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ ที่วิเคราะห์ตามเอกสารข้อเท็จจริงที่เห็น
1. รูปพระกริ่งปวเรศที่นำมาประกอบในบทความ สังเกตุสักนิดจะเห็นว่าเก็บรวบรวมมาจากหลายที่ เนื่องจากไม่ใช่องค์เดียวกัน
2. บทความช่างที่ 1
3. บทความอ้างอิงพระกริ่งปวเรศ องค์ที่ประทับอยู่ในเก๋งจีน วัดบวรนิเวศวิหาร
สรุป บทความการอ้างอิงพระกริ่งฯ วัดบวรนิเวศวิหาร จะพบเห็นได้ทั่วๆไปในบทความตามสื่อต่างๆ เนื่องจากลอกกันไปก็ลอกกันมา แสดงให้ทราบว่ามีความรู้และข้อมูลแค่เพียงองค์ต้นแบบที่วัดบวรนิเวศวิหาร
4. บทความช่วงที่ 3 .....
วัตถุมงคลภายนอกกายหรือพระเครื่องฯที่นักสะสมเล่นแสวงหา มักจะเล่นตามตำราหรืออาจจะสั่งสอนต่อๆกันมา ถามว่าย้อนกลับไป 20 ปีมีเกจิดังๆไหม? ปัจจุบันยังมีเกจิฯที่น่าเชื่อถืออยู่หรือไม่? แล้วทำไมไม่เอาพระเก๊ปลอมเรียนแบบของเซียน(ตำรา) ขอให้พระฯท่านช่วยตรวจสอบด้วยฌาณฯว่าใช่กรมพระยาปวเรศฯท่านอธิฐานจิตเมื่อสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ใช่หรือไม่? และสร้างใน พ.ศ.ไหน?
สรุปก่อนจบ แล้วท่านทั้งหลายจะเชื่อเซียน(ตำรา) หรือเกจิอาจารย์...
---ส่วนตัวผมเองนั้นสืบค้นหาข้อมูลจากการบันทึกในอดีตนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาความน่าเชื่อถือและมีรายละเอียดอะไรที่พอจะสืบค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นมาประกอบการอ้างอิงได้มากขึ้น---และขอเมตตาขอพระฯ ท่านช่วยสงเคราะห์ในสิ่งที่ตนเองสงสัย
ลิงค์รายละเอียด คมชัดลึก 6 มค 2553
ก่อน อื่นต้องขอกล่าวในเบื้องต้นไว้ ณ ที่นี้ก่อนว่า รายละเอียดต่างๆเป็นการวิเคราะห์หาเหตุและผลทางวิชาการของความน่าเชื่อถือใน บทความของคมชัดลึก ลงวันที่ 6 มค 2553 เพื่อเป็นการวิเคราะห์ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของบทความ ซึ่งผู้เขียนไม่ได้มีอคติหรือรู้จักกับเจ้าของบทความ ต้องขอกล่าวขออภัยล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ ที่วิเคราะห์ตามเอกสารข้อเท็จจริงที่เห็น
1. รูปพระกริ่งปวเรศที่นำมาประกอบในบทความ สังเกตุสักนิดจะเห็นว่าเก็บรวบรวมมาจากหลายที่ เนื่องจากไม่ใช่องค์เดียวกัน
- รูปแรกซ้ายมือพระกริ่งฯอยู่ในกรอบพระล้อมเพชรองค์สีดำๆ(สีพระกริ่งฯดำเกินจริง)
- รูปกลางเป็นพระกริ่งปวเรศองค์ที่อยู่ในเก๋งจีนวัดบวรนิเวศวิหาร สังเกตุสีพื้นหลังสีแดง จะเห็นว่าสีไม่เท่ากัน ล้วนแต่ผ่านการปรับแต่งสีมาทั้งสิ้น (องค์จริงไม่ใช่วรรณะสีผิวดังในรูป)
- รูปที่ 3 พระกริ่งปวเรศประทับอยู่ในเก๋งจีน ให้สีดำมากเกินจริง
- รูปที่ 4 เบ้าพิมพ์ประกบของพระกริ่งฯ ให้สีดำมากจนเห็นเบ้าสีออกดำชัดเจน เป็นการเน้นสีสรรเกินของจริง
- รูปที่ 5 ล่างสุด ไล่เรียงรูปทั้งหมด 6 ด้าน คือ หน้า หลัง ซ้าย ขวา บน ล่าง สังเกตุสักนิดสีพื้นรอบๆองค์พระสีจะไม่เ่ท่ากันในแต่ละรูป มีการตบแต่งสีที่ไม่เหมือนองค์จริง ยิ่งรูปก้นพระกริ่งฯ จะเห็นชัดเจนเน้นสีออกส้ม เพื่อใ้ห้แผ่นปิดก้นพระกริ่งออกสีน้ำตาลแดง
2. บทความช่างที่ 1
- การกล่าวอ้างอิงฯ เรื่องที่มีเขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้จะต้องมีการกล่าวอ้างถึงที่ไปที่มา จากบทความนี้จะเห็นว่าได้กล่าวลอยๆ ทำให้ไม่น่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง
- กล่าวถึงการสร้าง "ไม่น่าจะเกิน 3 ครั้ง" คำพูดแบบนี้น้ำหนักความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากเป็นข้อมูลที่กล่าว แบบไม่มั่นใจ
3. บทความอ้างอิงพระกริ่งปวเรศ องค์ที่ประทับอยู่ในเก๋งจีน วัดบวรนิเวศวิหาร
สรุป บทความการอ้างอิงพระกริ่งฯ วัดบวรนิเวศวิหาร จะพบเห็นได้ทั่วๆไปในบทความตามสื่อต่างๆ เนื่องจากลอกกันไปก็ลอกกันมา แสดงให้ทราบว่ามีความรู้และข้อมูลแค่เพียงองค์ต้นแบบที่วัดบวรนิเวศวิหาร
4. บทความช่วงที่ 3 .....
- ในบทความนี้ได้อ้างถึง กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เคยได้ยินถึงเรื่องสร้างพระกริ่งปวเรศของกรมพระยาปวเรศฯ สร้างไว้ ไม่น่าจะเกิน 30 องค์--- สังเกตุข้อความชุดนี้สักนิด จะพบเงื่อนไขหลายประเด็น...เคยได้ยินมาหากตีประเด็นให้กว้าง...ได้ยินมาครบถ้วนหรื่อไม่...สร้างในวาระทั้งหมดใช่หรือไม่..หรือว่าสร้างใน 1 วาระ---การกล่าวลักษณะอย่างนี้คือกล่าวเท่าที่เคยได้ยินมาจะจริงหรือเท็จก็คือได้ยินมา...ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าไม่น่าเกิน 30 องค์---ก็ยังเป็นการกล่าวที่ไม่มั่นใจอีกเช่นเคย ทำให้น้ำหนักของข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ
- ในบทความนี้จะสื่อถึงในวงกว้างว่า หลวงชำนาญเลขา(หุ่น) ได้รับอนุญาตให้สร้างพระกริ่งฯจำนวนหนึ่ง...สังเกตุบทความนี้จะทราบว่า ผู้เล่า คือ กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ท่านเล่าตามที่ท่านมีข้อมูล และข้อมูลนี้จะถูกหรือผิดก็ได้ แต่จากประวัติศาสตร์ที่ได้มีการบันทึกไว้เกี่ยวกับการสร้างพระกริ่งปวเรศทั้งหมด 6 ครั้ง 10 วาระจะพบว่า เฉพาะในพิธี พ.ศ.2434 ซึ่งเป็นวาระการสร้างช่วงสุดท้าย กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ท่านมีข้อมูลไม่แน่นพอที่จะให้เชื่อถือได้ครบถ้วน แล้วข้อมูลที่ท่านกล่าวเล่ามาตั้งแต่ต้นจะถือว่าสมบูรณ์ครบถ้วน 100% ย่อมเป็นไปไม่ได้
วัตถุมงคลภายนอกกายหรือพระเครื่องฯที่นักสะสมเล่นแสวงหา มักจะเล่นตามตำราหรืออาจจะสั่งสอนต่อๆกันมา ถามว่าย้อนกลับไป 20 ปีมีเกจิดังๆไหม? ปัจจุบันยังมีเกจิฯที่น่าเชื่อถืออยู่หรือไม่? แล้วทำไมไม่เอาพระเก๊ปลอมเรียนแบบของเซียน(ตำรา) ขอให้พระฯท่านช่วยตรวจสอบด้วยฌาณฯว่าใช่กรมพระยาปวเรศฯท่านอธิฐานจิตเมื่อสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ใช่หรือไม่? และสร้างใน พ.ศ.ไหน?
สรุปก่อนจบ แล้วท่านทั้งหลายจะเชื่อเซียน(ตำรา) หรือเกจิอาจารย์...
---ส่วนตัวผมเองนั้นสืบค้นหาข้อมูลจากการบันทึกในอดีตนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาความน่าเชื่อถือและมีรายละเอียดอะไรที่พอจะสืบค้นหาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นมาประกอบการอ้างอิงได้มากขึ้น---และขอเมตตาขอพระฯ ท่านช่วยสงเคราะห์ในสิ่งที่ตนเองสงสัย