วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

30. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระกริ่งปวเรศ Phra Kring Powareth

Phra Kring Pawareth (药师佛)

The Ringing Amulet


พระกริ่งปวเรศฯ  มีพุทธนุภาพครอบจักวาล ดังคำกล่าวที่ว่า "องค์เดียวเที่ยวทั่วโลก"
พระกริ่งปวเรศ พบเห็นได้จาก 3 แหล่ง
1. สืบทอดจากผู้ครอบครองดั่งเดิมตั้งแต่ พ.ศ.2382 - พ.ศ.2343
2. ออกจากกรุ...
3. อยู่ในตลาดพระเครื่อง
ผู้เขียนได้พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข  เนื้อนวโลหะ(สัมฤทธิ์) องค์แรกมาเป็นองค์ครู แต่พอพบเห็นพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข  องค์ที่ 2 บอกตรงๆ ทำไมใหม่จัง เมื่อวิเคราะห์พิจารณาให้ละเอียดดีๆ จะพบว่าเป็นพระเก่า เนื่องจากพระกริ่งฯ รุ่นนี้โลหะธาตุที่นำมาหลอมหล่อเป็นองค์พระกริ่งฯได้อัตราส่วนผสมโลหะธาตุที่สุดยอดมาก อีกทั้งผู้เขียนยังพบ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุขทุกองค์ได้ทาน้ำมันปืนบางๆรักษาเนื้อองค์พระ เพื่อป้องกัน เกิดการผุกร่อนที่เกิดจากการทำปฏิกริยากับอากาศ จึงทำให้พระกริ่งปวเรศรุ่นนี้สมบูรณ์เหมือนกับพระที่สร้างเมื่อ 119 ปีที่ผ่านมา(2553 - 2434)
ชาวพุทธทั่วๆไปมักจะมีพระเครื่องแต่ละคนล้วนแต่มีมากกว่า 1 องค์ทั้งสิ้น  
         ผู้เขียนได้พบและครอบครองพระเครื่อง...ที่ทรงคุณค่า  จึงได้สร้างบล็อกนี้เพื่อเก็บข้อมูลพระ เครื่องของฉันขึ้น เพื่อให้ได้ชื่นชมบารมีของผู้สร้าง ผู้อธิฐานจิต และเป็นพุทธานุสติ อีกทั้งนำความรู้ที่ได้จากพระเบื้องบน...เปิดเผยเป็นวิทยาทาน

ตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ 5 ตระกูล คือ  
สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ 5 ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้

1.
สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตรีโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก(ขัดด้วยน้ำยาขัดโลหะคล้ายทองแดง) แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม
*** เนื้อโลหะ สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตรีโลหะ เป็นเนื้อแบบเดียวกันกับพระกริ่งปวเรศ ที่อยู่วัดบวรนิเวศวิหาร
พระกริ่งปวเรศ องค์นี้ เนื้อ สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตรีโลหะ

2. สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ โบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ
พระหลวงพ่อเงิน สายวัง  องค์นี้เนื้อ สัมฤทธิ์โชค คือ สัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ

3. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ เป็น มงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด
พระกริ่งปวเรศ องค์นี้ เนื้อ สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ

4. สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลห หมาย ถึงนัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ เนื้อภายในมีวรรณะสีจำปาอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ
พระชัยวัฒน์ หัวไม้ขีด รัชกาลที่ 4 องค์นี้เนื้อ สัมฤทธิ์คุณ คือ สัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลห

5. สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำจะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ นำโลหะมากระทบกันเสียงดังก้องดั่งเสียงลูกแก้ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ นี้เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2411 องค์นี้ เนื้อสัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ

อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด ประกอบด้วย
1.
ชิน (ดีบุก+ตะกั่ว)
2.
จ้าวน้ำเงิน(พลวงเงิน)
3.
เหล็กละลายตัว
4.
ตะกั่วเถื่อน
5.
ปรอท
6.
สังกะสี
7.
ทองแดง หรือ บริสทธิ์
8.
เงิน
9.
ทองคำ

เนื้อ สัมฤทธิ์นวโลหะ ส่วนผสมมีผู้กล่าวอ้างกันไปอ้างกันมา แต่ไม่เคยนำหลักฐานของจริงมาอ้างอิง เปรียบเสมอการกล่าวลอยๆ เขียนอ้างอัตราส่วนผสมของโลหะแต่ละชนิดไล่น้ำหนักเรียงตัวเลขสวยงามตั้งแต่เลข 9, 8, 7, 6, 5, 4, 3, 2, 1 น้ำหนัก(บาท) เห็นได้ทั่วๆไปมีดังนี้
1.
ชินน้ำหนัก 1 บาท (1 บาท = 15.2 กรัม)
2.
จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)
3.
เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท
4.
บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์น้ำหนัก 4 บาท
5.
ปรอท น้ำหนัก5 บาท
6.
สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท
7.
ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท
8.
เงิน น้ำหนัก 8 บาท
9.
ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท

ข้อเท็จจริงที่พบเห็น มีผู้กล่าวอ้างเหตุผลอัตราส่วนของโลหะที่วิเคราะห์ไม่ตรงตามสูตร  
   1. อ้างเนื่องจากต้องเพิ่มโลหะเช่นทองแดงฯลฯ ลงไปเพื่อจะได้หล่อครบจำนวนที่ต้องการหลอมหล่อ ฮาครับ 555 เซียนเขาเล่าว่าพระกริ่งปวเรศของจริงมีไม่กี่องค์ในมือเซียนใหญ่ ของคนอื่นปลอมหมด "ช่างฯคำนวณโลหะธาตุกำหนดไม่ได้หรือไงว่าต้องใช้หล่อหลอมเท่าไร" ถ้าหากต้องเพิ่มทองแดงอย่างที่กล่าวอ้าง แสดงว่าสร้างกันในแต่ละรอบมากมาย  เหตุผลขัดแย้งจริงๆ
   2. อ้างชนวนบ้าง อ้างเพื่อหล่อขันน้ำมนต์เพิ่มบ้าง "ถ้าอ้างกันแบบนี้แสดงว่า งานหล่อพระกริ่งฯเป็นงานที่วิ่งกันวุ่นทั้งงาน เพราะไม่มีการเตรียมโลหะส่วนผสมล่วงหน้า อย่างนี้เรียกว่างานหล่อพระกริ่งที่หล่อโดยไม่มีสูตรส่วนผสม มั่วทั้งงาน" เหตุผลขัดแย้งจริงๆ

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตุ  

        ผู้สร้างนำตำราสูตรที่คิดด้วยความยากลำบากและวางแผนตั้งแต่ต้นว่าหล่อมาแล้วจะได้โลหะชนิดพิเศษ ถ้าผิดจากอัตราส่วนผสมในตำรา ชนิดฟ้ากับเหว จะได้องค์พระกริ่ง ดี หรือ ไม่ดี?
        แสดงว่าคนสร้างมั่วผู้ให้สร้างจะยอม หรือ ไม่?
        หรือว่าคนที่กล่าวอ้างคิดไปเองเรื่อง ฮาครับ 555
        อีกทั้ง 1 บาท = 15.2 กรัม ในสมัยอยุธยาคุณคิดว่าผู้เขียนตำราส่วนผสมองค์พระกริ่งฯรู้จัก จริง หรือ ไม่?

จาก การวิเคราะห์เนื้อโลหะด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ X-ray Fluorescence Spectrometer รุ่น EDX-720 หรือเรียกสั้นๆว่าเครื่อง XRF

มีผู้นำพระกริ่งฯ ไปทำการตรวจสอบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการหรืออาจจะเป็นที่อื่นก็ได้ เช่นในหนังสือพระเครื่อง อภินิหาร ฉบับที่ 131-132 ปีที่ 11 เดือนพ.ย. และ ธ.ค. 2553 หน้า 32-33 ได้มีการนำพระกริ่งเทพโมฬี นำไปตรวจสอบด้วยเครื่อง XRF ผลการวิเคราะห์ของเครื่องทีได้มีโลหะธาตุกลุ่มเดียวกัน ส่วนเรื่อง % ของโลหะที่สรุปผล ย่อมต้องแตกต่างกันไปในแต่ละองค์และแต่ละรุ่นที่สร้าง หากเป็นช่างคนละกลุ่มวัสดุมาจากต่างสถานที่ย่อมได้ % ไม่เท่ากัน อัตราส่วนแร่โลหะธาตุที่เป็นส่วนผสม ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นความลับของเฉพาะกลุ่มต่อให้เป็นตำราเล่มเดียวกัน หลอมหล่อ 10 ครั้งก็จะได้เนื้อธาตุโลหะที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

สรุปผลออกมาโลหะที่ตรวจพบมี 9 ชนิดตามที่มีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นตำรา แต่อัตราส่วนไม่ได้เป็นไปตามอัตราส่วนที่มีผู้ได้กล่าวอ้างไว้เป็นทฤษฏีตัวเลขสวยหรู หากสังเกตุสักนิด จะพบว่าส่วนผสมอันที่จริงเป็นความลับ อ้างอิงการทดสอบจาก http://www.pra.kachon.com/pra/detail.asp?id=336

และผู้เขียนได้นำพระกริ่งปวเรศ พิพม์สมบูรณ์พูนสุข ทดสอบด้วยเครื่องมือระบบสแกนสมัยใหม่ X-ray Fluorescence Spectrometer รุ่น EDX-720 หรือเรียกสั้นๆว่าเครื่อง XRF ทำงานด้วยระบบลำแสงเลเซอร์ ผลที่ได้เป็นการผสมผสานหลอมหล่อของโลหะ 9 ชนิด ได้กลุ่มโลหะเหมือนกัน กับผู้ที่นำพระกริ่งฯคนละสำนักไปทดสอบก่อนหน้านี้ แต่อัตราส่วน % ของพระกริ่งฯทั้งสองสำนักจะต่างกันสิ้นเชิง

ผลที่ได้ ย่อมเป็นการสื่อให้ทราบถึงอัตราส่วนผสมของช่างแต่ละกลุ่มหรือต่างกลุ่มกันจะ ไม่เหมือนกัน เนื่องจากโลหะที่นำมาเป็นส่วนผสมมาจากสถานที่ต่างกัน ยิ่งคนสร้างคนละกลุ่มกันด้วยแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่อัตราส่วนจะเท่ากัน แต่จะมีข้อสังเกตุ โลหะที่นำมาผสมจะมีส่วนประกอบของโลหะ 9 ชนิด เมื่อหลอมหล่อเป็นพระกริ่งฯสำเร็จเป็นองค์พระ จะได้เนื้อสัมฤทธิ์ประเภทนวโลหะ ซึ่งเป็นการยืนยันด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ให้ผลน่าเชื่อถือมีความแม่น ยำสูง

ข้อความต่อไปนี้นำมาเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งยืนยันว่าทำไม การสร้างพระกริ่งฯของแต่ละสำนักทำไมถึงมี % ของโลหะธาตุที่ต่างกันมาก สาเหตุเหนื่องจากในตำราไม่ได้เขียนถึงอัตราส่วนของแร่แต่ละชนิดที่นำมาหลอม หล่อเพื่อสร้างพระกริ่งปวเรศต้องใช้จำนวนเท่าใด? เขียนไว้เพียง " เนื้อโลหะที่บริสุทธิ์ 9 ชนิดนำมาหลอมรวมกัน มีฤทธิ์ต่างๆ ได้กล่าวคำเขียนบรรยายไว้ในตำรา" ผู้เขียนมีความเห็น...ในตำราบอกแต่เพียง โลหะที่ต้องใช้มีประเภทใดเท่านั้น จากลิงค์ http://www.wat-chang.com/webboard/index.php?topic=62.0

"สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศเทพวรารามรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับทรงสร้างพระกริ่งฯ ได้กล่าถึง สมเด็จฯ
ภายหลังจากที่ได้รับตำราการสร้างพระกริ่งมาแล้วพระองค์ก็ทรงค้นคว้า มุ่งแสวงหาแร่ธาตุที่มีคุณมีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ มาทดลองหล่อผสม หาวิธีการที่จะทำเนื้อโลหะ ให้เกิดความบริสุทธิ์และมีฤทธิ์สมดังคำบรรยายที่มีเขียนไว้ในตำรา และทรงค้นคว้าอย่างจริงจังดังปรากฏตามคำบอกของท่านเจ้าคุณราชวิสุทธาจารย์ (แป๊ะ) วัดสุทัศน์ฯ และอาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ว่า เมื่อคราวจัดงานพระศพของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ลงไปใต้ถุนตำหนัก เพื่อสำรวจสถานที่ที่เตรียมจัดงานพระศพได้พบก้อนแร่หลายชนิด พบอ่างเคลือบประมาณ 10 กว่าใบ พบครกเหล็กขนาดใหญ่วัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 14 นิ้วฟุต มีรอยตำมาอย่างมากจนก้นทะลุ พบสูบนอนทำด้วยไม้สัก แต่ผุจวนจะหมด แสดงว่าเลิกค้นคว้ามานาน พบเบ้าหลอมแร่ที่แตก ๆ จำนวนมากเป็นกองโต พร้อมกับก้อนแร่เป็นจำนวนมาก เป็นที่น่าเสียดายว่าขณะนั้นเป็นการเวลาที่รีบเร่ง เพราะกำลังจัดงานพระศพ ประกอบกับการเสียใจในการจากไปของท่าน ทำให้ผู้ที่พบทั้งสองท่านไม่ได้คิดว่าจะอนุรักษ์ความเพียรพยายามของสมเด็จฯ ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังดู  จึงได้ทำการเกลี่ยดินและกระทุ้งจนแน่น เทพื้นซีเมนต์ทับ ทำให้หลักฐานหมดไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อทรงพระชนม์อยู่เคยรับสั่งกับอาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ขณะอุปสมบทว่า ค้นหาแร่ธาตุที่นำมาสร้างพระกริ่ง ถ่านหมดไปหลายลำเรือ เป็นความจริงตามหลักฐานปรากฏ และเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าทรงพยายามค้นคว้าอย่างจริงจัง ด้วยเจตนาที่ต้องการความเข้มขลัง"

พระแท้ทำอย่างไรย่อมเป็นพระแท้ ขออนุญาตนำคำพูดของ นายยกสมาคมพระเครื่องไทย คุณพยัฆ คำพันธ์ กล่าวไ้ว้ตอนหนึ่งดังนี้ "หนึ่งอย่าเล่นพระด้วยหู สองอย่างเชื่อว่าเขาเล่าว่า เรา ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป จริงหนีจริงไม่พ้นหรอดครับ พระเครื่องนี่เป็นสิ่งที่ล่ำค่าอยู่แล้ว จะถามจะมาเปรียบเทียบกัน พระที่แท้ก็เหมือนเพชรแท้ เหมือนทองคำแท้ ไปไหนถ้าจะแท้คือต้องแท้ ถ้าของปลอม ไปไหนปลอม ก็ต้องปลอม "ไม่จำเป็น ว่าต้องเป็นของใคร"

เมื่อมีพระแท้ย่อมมีพระเก๊ปลอมเรียนแบบ...หากเป็นพระเก๊ทำอย่างไรย่อมเป็นพระเก๊...จะให้บอกว่าเป็นพระแท้ย่อมเป็นไปไม่ได้

ชีวิต เป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยงพระเครื่องเป็นสมบัติผลัดกันชม ตายไปก็ไม่สามารถเอาติดตัวไปได้ ที่ไปได้มีแต่ตัวฉัน ร่างกายก็ไม่ใช่ของฉัน ร่างกายไม่มีในฉัน ร่างกายนั้นคือขันธ์ 5