วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

26. พระราชพิธีถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ พ.ศ.2434

พระราชพิธีถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์  พ.ศ.2434

     ในงานพระราชพิธีถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์  พ.ศ.2434 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ลิงก์ อ้างอิงเชื่อมโยงจากเว็บ วัดบวรนิเวศวิหาร

     "ต่อจากงานฉลองพระอาราม ทรงพระกรุณาโปรดแต่งตั้งพระราชพิธีถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชอุปัธยาจารย์ เป็นกรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งภายหลังแก้เป็น สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  ในฝ่ายสมณศักดิ์ เป็นมหาสังฆปริณายกประธานแห่งพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร ทรงถวายเศวตฉัตร 5 ชั้น ตั้งพระราชพิธีสงฆ์ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร มีเทียนชัยและพระสงฆ์สวดภาณวาร ตั้งแท่นเศวตฉัตรในพระอุโบสถ ตั้งพระแท่นทรงที่ชาลากำแพงแก้ว โรงพิธีพราหมณ์ ตั้งริมคูนอกกำแพงชั้นออกมา มีสวดมนต์ตั้งน้ำวงด้วยด้ายวันหนึ่ง พระสงฆ์ 20 รูป รุ่งเช้าจุดเทียนชัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ โปรดให้กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสทรงจุด พระสงฆ์เข้าพระราชพิธี 30 รูป สวดมนต์ 3 เวลา และสวดภาณวาร 3 วัน 3 คืน เช้าวันที่ 27 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2434 สรงแล้วเสด็จขึ้นพระแท่นเฉวตฉัตร มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการทรงสถาปนาแล้วทรงรับพระสุพรรณบัฏ เครื่องยศ ดอกไม้ธูปเทียน และต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองของหลวง แล้วทรงถวายศีล เป็นเสร็จการรับมหาสมณุตมาภิเษก ต่อจากนั้นทรงธรรม 4 กัณฑ์ อนุโลมตามพระบรมราชาภิเษก กัณฑ์ทศพิธราชธรรมจรรยาเปลี่ยนเป็นไตรสิกขา แล้วทรงรับดอกไม้ธูปเทียนของพระสงฆ์ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ"

จากรายละเอียดของบทความนี้  แยกรายละเอียดได้ดังนี้
  • รุ่งเช้าจุดเทียนชัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ โปรดให้กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสทรงจุด  
    • --- ความหมาย คือ จุดเทียนชัยตอนเช้าของวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2434 (ร.ศ.110)
  • พระสงฆ์เข้าพระราชพิธี 30 รูป สวดมนต์ 3 เวลา และสวดภาณวาร 3 วัน 3 คืน 
    • --- ความหมาย คือ สวดมนต์และสวดภาณวาร วันละ 3 เวลา ตลอด 3 วัน 3 คืน  โดยเริ่มสวดมนต์และสวดภาณวาร วันที่ 24 - 25 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2434 (ร.ศ. 110) 
  • เช้าวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๓๔ สรงแล้วเสด็จขึ้นพระแท่นเฉวตฉัตร
    • --- ความหมาย คือ เช้าของวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2434 (ร.ศ.110) สมเด็จฯกรมพระยาปวเรศ พระองค์ทรงสรงน้ำแล้วเสร็จขึ้นพระแท่นเฉวตฉัตร 
เหรียญบาตรน้ำมนต์งานพระราชพิธีถวายมหาสมณุตมาภิเษกแด่กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์  พ.ศ.2434 

         เหรียญนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า เหรียญบาตรน้ำมนต์ หรือเหรียญปวเรศ”  ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ขอบเรียบ 

         ด้านหน้าเป็นรูปอัฐบริขาร พัดยศ และเบญจปฎลเศวตฉัตร(ฉัตรขาว 5 ชั้น)  โดยมีบาตรเป็นจุดศูนย์กลางและแสดงเป็นจุดเด่นของเหรียญ  มีอักษรเป็นภาษามคธว่า อยโข สุขิ โตโหติ นิท์ทุก์โข นิรุปททโว อนันตราโย ติฏเฐย์ย สัพ์พโสตถี ภวันตุเต แปลว่า ผู้นี้แลมีความสุข ไร้ทุกข์ ไร้อุปัทวะ ไม่มีอันตราย พึงดำรงอยู่ ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน

         ด้านหลัง มีข้อความ ที่แตกต่างกันเพื่อแยกวาระพิธีฯของเหรียญที่สร้าง

 

รายละเอียดเหรียญบาตรน้ำมนต์ วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 (ร.ศ.110)

ยุก 2 --- ความหมาย สมเด็จฯกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ พระองค์ที่เป็นพระสังฆราชมารวม 2 ยุก คือ สมัยแรกคือ สมัยรัชกาลที่ 4  ยุกที่ 2 คือ ยุกสมัยรัชกาลที่ 5

พ.ศ. 97 --- ความหมาย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ได้สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2396 และภายหลังไม่มีใครเป็นสมเด็จพระสังฆราช  จนกระทั่งสมเด็จฯกรมพระยาปวเรศฯท่านมาเป็นสมเด็จพระสังฆราชจึงเริ่มนับในปีเริ่มต้นการในเป็นสมเด็จพระสังฆราช  พ.ศ.2397

ที่ระฦก งาน มหาสมณุตตมาภิเศก พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมสมเด็จฯกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ วันที่ 24 พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก 110” 

 

รายละเอียดเหรียญบาตรน้ำมนต์ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 (ร.ศ.110)

         เหรียญรุ่นที่สร้างในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 จะไม่มีคำว่า ยุก 2 และ พ.ศ.97(2397)  และลายมือตัวหนังสือของเหรียญทั้ง 2 วาระที่สร้างจะแตกต่างกัน


เหรียญที่ 1 เนื้อเงิน (ยุก 2) 24 พฤศจิกายน 2434


http://phantakityothin.blogspot.com/
รูป แสดงเหรียญบาตรน้ำมนต์ คุณถิรวัฒน์  พันธกิจโยธิน  เอื้อเฟื้อภาพ 

เหรีญที่ 2 เนื้อทองแดง (ยุก 2) 24 พฤศจิกายน 2434


เหรีญที่ 3 เนื้อทองแดง  27 พฤศจิกายน 2434
เหรียญบาตรน้ำมนต์ฯ ที่สร้างลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2434(ร.ศ.110) เซียนตำรารู้จัก และมีของปลอมเก๊ในตลาด