วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

24. พระกริ่งกลับดำ วรรณะสีผิวเป็นเช่นไร?

คนที่ศึกษาพระกริ่งฯ มักจะได้ยิน  เซียนตำรา  เขียนบทความอ้างอิง เรื่อง การกลับดำของสีผิวองค์พระ  ผมจะเอารายละเอียดมาให้ดูกันว่า กลับดำที่คนอ่านบทความส่วนใหญ่ที่ไม่เคยเห็นพระกริ่งปวเรศของแท้แล้วอ้างตามเซียนตำรา มีหน้าตาเป็นเช่นไรกันบ้าง

รูปที่ 1 พวกทำหนังสือเขาชอบทำให้มืดๆ เข้าไว้
รูปที่ 2

รูปที่ 1  และ รูปที่ 2 เป็นพระกริ่งปวเรศ   ที่อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหาร อย่างนี้ใช่ม๊ยที่ "เซียน ตำรา" บอกว่า วรรณะสีผิวกลับดำ
รูปที่ 3 พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข



รูปที่ 3 พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข รูปที่ 4 ขวาเก็บตกจากในเว็บมาไม่รู้ของใคร  รูปหน้าตาวรรณะแบบนี้  ขอถามท่านเซียนตำรา เข้าตำราของท่านเซียนแล้วยัง





รูปที่ 5 และรูปที่ 6 เป็นพระกริ่งปวเรศ  วัดบวรนิเวศวิหาร  องค์เดียวกันกับรูปที่ 1 และรูปที่ 2 แต่รอบนี้รูปภาพ "ไม่กลับดำ" เซียนตำรา อธิบายหน่อยซิ เกิดอะไรขึ้น  องค์เดียวกันแท้ๆ  คนที่ไม่เคยเห็นพระกริ่งปวเรศ  ของแท้ ไปเชื่อเซียนตำราที่อ้างตำราแบบไม่เคยสัมผัสของจริง  ยังไงก็คือ เซียนตำรา


สรุป เนื้อพระกริ่งปวเรศ ถ้าหากเป็นเนื้อสัมฤทธิ์กลับดำ  หรือ เนื้อนวโละหะ  ที่ผสมตามตำราที่สร้างพระกริ่งปวเรศ  นั้นเนื้อนวโลหะกลับดำหลักๆที่พบ มี 3 เนื้อ  แต่ถ้าถ่ายรูปเพื่อให้เห็นโลหะที่ผสมอายุผ่านมาร้อยกว่าปีนั้น  บอกตามตรงครับถ่ายยากมากที่จะให้เหมือน 100%  ยกเว้นมีองค์ครูมานั่งพิจารณา  ท่านจะพบรายละเอียดของวรรณะสีผิวที่น่าตื่นตา ตื่นใจ  แสงสว่างมากวรรณะสีผิวก็จะเปลี่ยนไปอีกแบบหนึ่ง  ส่องในที่แสงสว่างน้อยวรรณะสีผิวก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง  ดังนั้นรูปที่อยู่ในนิตยาสารต่างๆไม่มีรูปไหนที่ใกล้เคียงกับสีวรรณะของจริงได้ระดับ 90 %   อีกทั้งยังมีบางองค์ที่ผมมองแล้วพูดได้เพียงสั้นๆว่า แปลก


น่าเศร้านะครับที่รับมาแพงขนาดนั้น  แต่ได้ของแปลกไปเพราะเชื่อเซียนตำรา