56. ชันโรงอุดพระกริ่งปวเรศ พิมพ์ สมบูรณ์ พูนสุข
พระ กริ่งปวเรศ พ.ศ.2411 พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุบ หลอมหล่อเสร็จพบบางองค์โลหะธาตุที่หล่อองค์พระไม่สมบูรณ์ ช่างฯได้ใช้ชันโรง อุดซ่อมตบแต่งพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์ฺ พูนสุข ดังรูป
โบราณาจารย์นิยมนำชันโรงมาอุดก้นพระชัยวัฒน์ พระกริ่ง หรืออุดปรอทในเบี้ยแก้ เบี้ยจั่น เนื่องจากคติความเชื่อว่าชันโรงเป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้วัตถุที่ลงอาคม เช่น เม็ดกริ่ง กระดาษสาเขียนยันต์ ผงใบลาน พระคาถา ที่คณาจารย์ทำพิธีและบรรจุไว้ในพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ตลอดจนวัตถุมงคลอื่นๆ หลุดออกไปจากวัตถุมงคล
การทำชันโรงประกอบขึ้นเป็นวัตถุมงคลนั้นถือ ว่าเป็นพิธีกรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ ผู้ทำจะต้องทรงวิทยาคุณแก่กล้า และรู้จักวิธีการ “หา” ชันโรง ที่นิยมใช้กันมาแต่โบร่ำโบราณจะเป็นชันโรงใต้พื้นดิน โดยจะต้องเริ่มสังเกตโพรงบนพื้นดินที่ยื่นขึ้นมาเป็นรูปกรวย ซึ่งตรงกลางจะกลวง กรวยดินนี้จะกระจัดกระจายอยู่ในละแวกเดียวกันหลายกรวย ซึ่งก็คือทางเข้าออกของตัวชันโรงที่อยู่ใต้ดิน ให้สังเกตบริเวณใกล้ๆ กันนั้นมักจะมีจอมปลวกขึ้นอยู่ด้วย เมื่อพบแล้วต้องทำพิธีกรรมตามตำรา แล้วขุดลงไป บางทีต้องขุดลึกถึง 1-2 เมตร จึงจะได้ชันโรงตามที่ต้องการ ส่วนชันโรงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาทำวัตถุอาถรรพ์ ก็คือ ชันโรงที่พบในโพรงไม้ที่ยืนตายซาก โบราณท่านว่าดีนักแล