วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

39. วิเคราะห์พระกริ่งปวเรศด้วยเครื่อง XRF

เพื่อทำการวิเคราะห์โลหะธาตุของพระกริ่งปวเรศฯ มีส่วนผสมของโลหะธาติชนิดใด?









เครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer รุ่น EDX - 720 ขั้นตอนการวิเคราะห์ นำพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข วางที่รูฉายรังสี ขั้นตอนที่ 2 ปรับเคลื่อนย้ายพระกริ่งฯให้ได้จุดที่ต้องการทดสอบวิเคราะห์ โดยดูจากภาพหน้าจอ เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วเลือกโปรแกรมฯที่ต้องการวิเคราะห์ ในขณะที่เครื่องกำลังทำการวิเคราะห์โลหะธาตุจะแสดงกราฟของโลหะที่ตรวจพบดัง รูป

พระกริ่งปวเรศ องค์นี้เป็นองค์แรกที่ผู้เขียน เช่า ซึ่งผู้ให้เช่า คุยนักคุยหนาว่าเป็น "พระกริ่งปวเรศ เนื้อสเตอร์ริง ซิลเวอร์" ทุกวันนี้ก็ยังบอกว่าเป็น "พระกริ่งปวเรศ เนื้อสเตอร์ริง ซิลเวอร์" ผู้เขียนได้นำพระกริ่งปวเรศฯ องค์นี้ไปทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง XFR ผลการวิเคราะห์ของ เนื้อเงิน ที่ผสมอยู่ในองค์พระกริ่งฯ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ซิลเวอร์ ผลสรุปไม่ใช่ "พระกริ่งปวเรศ เนื้อสเตอร์ริง ซิลเวอร์" ดังที่ผู้ให้เช่าพระกริ่งฯ องค์นี้ให้ผู้เ่ขียนเช่าต่อ กล่าวอ้าง แต่ข้อเท็จจริงเป็น พระกริ่งปวเรศ เนื้อนวโลหะ โดยดูผลการวิเคราะห์ Ag แถบสีส้มในรูปประกอบการวิเคราะห์ พบว่ามี เนื้อเงิน ผสมอยู่ในองค์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข องค์นี้เพียง 0.433% นับว่ายังไม่ถึง 1% ซึ่งถือว่ามีเนื้อเงินน้อยมากๆ แล้วจะเรียกว่าเป็น พระกริ่งเนื้อเงิน ได้อย่างไร? ถึงแม้นพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข จะมี สเตอร์ริง ซิลเวอร์ผสมอยู่ก็ตามที หากดูผลสรุป ซึ่งพบโลหะธาตุครบ 9 ชนิด โลหะธาตุที่เกินมา คือ กำมะถัน เนื่องจากเวลาที่ทำการหลอมโลหะธาตุให้ละลายจำเป็นต้องเร่งอุณหภูมิให้สูง กำมะถันเป็นวัสถุช่วยการเพิ่มอุณหภูมในเตาหลอมให้สูงขึ้น จึงทำให้พบกำมะถันผสมอยู่ในองค์พระจำนวนมาก ส่วนโลหะธาตุอีก 2 ชนิดที่พบเป็นโลหะธาตุที่ผสมปนมากับโลหะธาตุที่นำมาหลอม ซึ่งผลของการวิเคราะห์รวมหลายๆองค์ ผลออกมาใกล้เคียงกันหมดทั้งสิ้น ผู้เขียนจึงขอสรุปได้ว่า พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข เป็นเนื้อสัมฤทธิ์กลับดำ หรือ เนื้อนวโลหะ ตามตำราเนื้อสัมฤทธิ์ของโบราณทุกประการ



  ผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ XRF สรุปผลประเภทของโลหะที่ค้นพบมี ตะกั่ว ดีบุก สังกะสี และทอเรียบเป็นโลหะธาตุที่เกิดจากน้ำยาที่นำมาเป็นตัวประสานทำให้ ตะกั่ว ดีบุก สังกะสี หลอมละลายเพื่อเปลี่ยนสถานะให้เป็นของเหลวเพื่อการประสานของโลหะ.


ผลสรุปของเครื่องวิเคราะห์ XRF เนื้อธาตุโลหะของแผ่นปิดก้นพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข คือ ทองแดง



สรุป เนื้อพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข เป็นโลหะประเภทสัมฤทธิ์ เนื้อนวโลหะ ประกอบด้วยโลหะหลัก 9 ชนิด เรียกว่า
สัมฤทธิ์เดช หรือ สัมฤทธิ์ดำ หรือ นวโลหะ มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามตำรา เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" เป็นสุดยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหอุตม์อันสูงส่ง คือ อำนาจตะบะเดชะ ป้องกันคุณไสย ฯลฯ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ครอบจักรวาล เนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือ นวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดและนำมาสร้างเป็นพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข  ประกอบด้วยโลหะธาตุ
1. ชิน เป็นส่วนผสมระหว่างตะกั่ว กับ ดีบุก
2. พลวงหรือเจ้าน้ำเงิน
3. เหล็ก หรือ เหล็กละลาย
4. ตะกั่ว
5. ปรอท
6. สังกะสี
7. ทองแดง หรือ บริสัทธิ์
8. เงิน
9. ทองคำ


เกณฑ์อัตราส่วนของโลหะธาตุที่มีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นตำรา มักเขียนเป็นตัวเลขสวยหรูไล่ตั้งแต่ 9 - 8 - 7- 6 - 5 - 4 - 3 - 2 - 1 (บาท) ให้คิดสักนิด "ตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดและนำมาสร้าง" น้ำหนักบาทละ 15.2 กรัม สมัยอยุธยาหรือก่อนหน้าอยุธยา แน่ใจแล้วหรือว่ารู้จักหน่วยวัดนี้?


ผู้ เขียนเข้าใจ ดังนี้ ยกตัวอย่างเรื่องของยาโบราณ พระสงฆ์ไทยในอดีตส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องยาโบราณเป็นอย่างดี ตำราจีนบางเล่มซึ่งผู้เขียนมีครอบครอง พบ ระบุให้ซื้อยาเป็นราคาไม่ใช่น้ำหนัก ยกตัวอย่าง ทองคำ 9 บาท ไม่ใช่หนัก 9 x 15.244 กรัม แต่เป็นราคาทองคำ 9 บาท

ในหนึ่งชุดที่จะทำการหลอมหล่อพระกริ่งปวเรศ จากที่มีผู้กล่าวอ้างนั้นย่อมหมายถึงให้ใช้โลหะธาตุรวมกันราคา 45 บาท ไม่ใช่น้ำหนัก 45 บาท เมื่อเวลาผ่านนานไป ค่าเงิน ไม่คงที่ อัตราส่วนของโลหะธาตุที่ผสมย่อมต้องผิดพลาด ถ้าหากผู้ได้รับตำรา กลับคิดว่าเป็นน้ำหนักของโลหะ จะทำอย่างไรก็เป็นไปไม่ได้ที่จะได้อัตราส่วนผสมที่ถูกต้อง


จากการที่มีผู้อ้างอิงตำราสูตรส่วนผสมของพระกริ่งปวเรศ
ใช้ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท อันที่จริง คือใช้ทองคำซื้อมีน้ำหนักในสมัยนั้นเท่ากับราคา 9 บาท


เงิน น้ำหนัก 8 บาท อันที่จริง คือใช้โลหะธาตุเงินอัตราส่วนที่ต้องใช้ผสมน้ำหนักเท่ากับราคา 8 บาทในสมัยนั้น


ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท อันที่จริง คือใช้โลหะทองแดง ซื้อมีน้ำหนักในสมัยนั้นเท่ากับราคา 7 บาท


สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท อันที่จริง คือใช้โลหะสังกะสี ซื้อมีน้ำหนักในสมัยนั้นเท่ากับราคา 6 บาท ฯลฯ


เมื่อสมัยโบราณค่าเงินของไทยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ไม่เหมือนในสมัยนี้ที่ค่าเงินของไทยเล็กลงทุกๆวัน


ผล การวิเคราะห์ด้วยเครื่อง XRF ผลที่ได้ไม่มีอัตราส่วนตัวเลขที่สามารถนำมาเรียงเป็นเลขสวยหรูได้แม้นแต่ 1 คู่ ทำให้เชื่อว่าตำราที่เขียนไว้ในสมัยนั้นตามที่มีผู้กล่าวอ้างเป็นการระบุ น้ำหนักของสินค้าที่ใช้เทียบกับราคาของค่าเงินที่จ่าย


ลสรุปการตรวจวิเคราะห์โลหะธาตุด้วยเครื่องวิเคราะห์ X-ray Fluorescence Spectrometer รุ่น EDX -720 ทำให้ทราบถึงอัตราส่วนของเนื้อนวโลหะที่เหมาะสมตามสูตรจะประกอบด้วยโลหะธาตุ 9 ชนิดตามที่ตำราได้บรรทึุกไว้จริง แต่มีโลหะธาตุบางประเภทได้ตรวจพบเพิ่ม ผู้เขียนได้ให้ข้อคิดเห็นดังนี้

กำมะถัน
ที่ ตรวจพบปริมาณมาก มีมูลเหตุดังนี้ นวโลหะเป็นโลหะที่ได้จากการเล่นแร่แปรธาตุ ตามตำราของไทย โบราณเชื่อว่า เป็นธาตุกายสิทธิ์ มีฤทธานุภาพในตัวเอง โลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกันแล้วซัดด้วย กำมะถัน มีกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อน ในระหว่างหลอมต้องผสมด้วยยาหลายชนิด มี กำมะถัน ปรอท และว่านยาได้แก่ ไพลดำ ต้นหิงหาย ไม้โมกผา ขิงดำ กระชายดำ สบู่แดง สบู่เลือด ฯลฯ ซัดเข้าไปในเบ้าหลอมพอสมเร็จจะได้โลหะสัมฤทธิ์เนื้อนวโลหะ


แมงกานิส เนื่องจากสายแร่ทางภาพเหนือของไทยมีแร่แมงกานิส ผสมอยู่ในโลหะหลายชนิดอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบ โลหะธาตุแมงกานิส และประการที่สอง อาจจะเป็นไปได้ว่าเกิดจากโลหะธาตุเงิน ที่นำมาหลอมหล่อ ซึ่งเป็นเนื้อเงินสเตอร์ริงที่มีส่วนผสมของโลหะธาตุแมงกานิสก็เป็นไปได้ทั้งสองกรณี


นิกเกิล ที่ตรวจพบในองค์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ผู้เขียนคาดว่ามาจากโลหะธาตุเงิน ที่นำมาหลอมหล่อ คุณสมบัติของนิกเกิล ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนแบบมัมอับได้ดี

ลหะธาตุที่ตรวจพบในองค์พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข

ทองแดง คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu นิกเกิลอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสต์กาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล คุณสมบัติอ่อนเหนียว ขยายตัวแยกตัวได้ดี เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีทนต่อการกัดกร่อน
 
พลวง(เจ้าน้ำเงิน) (อังกฤษ: Antimony) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 51 และสัญลักษณ์คือ Sb (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Antimony) พลวงเป็นธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) มี 4 อัญญรูป ที่มีความเสถียรจะเป็นโลหะสีฟ้า
กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (อังกฤษ: Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะ
นวโลหะ เป็น โลหะที่ได้จากการเล่นแร่แปรธาตุ ตามตำราของไทยโบราณเชื่อว่า เป็นธาตุกายสิทธิ์ มีฤทธานุภาพในตัวเอง โลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วย กํา มะถัน มีกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อน ในระหว่างหลอมต้องผสมตัวยาหลายชนิด มีกำมะถัน ปรอท และว่านยาได้แก่ ไพลดำ ต้นหิงหาย ไม้โมกผา ขิงดำ กระชายดำ สบู่แดง สบู่เลือด เป็นต้น ซัดเข้าไปในเบ้าหลอม พอสำเร็จจะได้โลหะสัมฤทธิ์เนื้อนวโลหะ
 
ดีบุก (อังกฤษ: Tin) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum) ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี หลอมเหลวได้ง่าย ทนต่อการกัดกร่อน และถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite)
 
เงิน (โลหะ) เป็นโลหะทรานซิชัน มีหมายเลขอะตอม 47 และสัญลักษณ์คือ Ag  พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข มีส่วนผสมโลหะเงินแท้ 
 
สังกะสี (อังกฤษ: Zinc) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn การใช้งานทั่วๆไป เคลือบโลหะ เพื่อป้องกันสนิมและการกัดกร่อน
เหล็ก (อังกฤษ: Iron) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีหมายเลขอะตอม 26 มีสัญลักษณ์เป็น Fe คุณสมบัติ เป็นตัวไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี เคาะมีเสียงดังกังวาน มีความแข็งแรงและความเหนียว ผิวขัดเป็นเงา มันวาวได้ มีความคงทนถาวร
นิกเกิล (อังกฤษ: Nickel) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 28 และสัญลักษณ์คือ Ni นิกเกิลเป็นโลหะที่มีความมันวาวสีขาวเงิน อยู่กลุ่มเดียวกับเหล็ก มีความแข็งแต่ตีเป็นแผ่นได้ ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนแบบมุมอับ ที่พบในส่วนผสมของพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข  

ตะกั่ว (อังกฤษ: Lead) เป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (ละติน: Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำโลหะผสม
ทองคำ (อังกฤษ: gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่
แมงกานีส (อังกฤษ: Manganese) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Mn มีหมายเลขอะตอมเป็น 25
ประโยชน์ ของแมงกานิส ในทางโลหะกรรม โดยนำมาผสมกับเหล็ก เพื่อให้เหล็กนั้นมีความเหนียว ยืดหยุ่น และคงทนยิ่งขึ้น เช่นรางรถไป หัวขุด หัวเจาะ เหล็กทุบฯลฯ 
ปรอท (อังกฤษ: Mercury; ละติน: Hydragyrum) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Hg มีหมายเลขอะตอมเป็น 25 เป็นโลหะหนักสามารถหาปรอทได้จากหินที่ขุดพบในเหมือง โดยการนำหินนั้นมาทำให้ร้อนด้วยอุณหภูมิ 357 องศาเซลเซียส ปรอทเป็นสารที่มีความหนาแน่นสูง ถึงขั้นที่ก้อนตะกั่วหรือเหล็กสามารถลอยอยู่ได้ ถึงแม้ปรอทจะมีลักษณะคล้ายตะกั่วและเป็นของเหลว แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่ว และถึงแม้ปรอทจะเป็นโลหะ แต่ก็ไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก

ซิลิคอน (อังกฤษ: Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) เครื่องปั้นดินเผา/เครื่องเคลือบ - ซิลิคอนเป็นสารที่ทนต่อความร้อนได้ดีที่ใช้ในการผลิตอุณหภูมิสูง และสารประกอบซิลิเกตใช้ในการผลิตเครื่องเคลือบ และเครื่องปั้นดินเผา
จากการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง XRF ได้พบ ซิลิคอน Si อยู่ในพระกริ่งบางองค์ จึงทำให้เชื่อได้ว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข แบบพิมพ์เป็นแม่พิมพ์ดินเผา
ลิเทียม (อังกฤษ: Lithium) เป็นธาตุมีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ ตั้งอยู่ในกลุ่ม 1 ในกลุ่มโลหะอัลคาไล
ลิเทียมไฮดรอกไซด์ (LiOH) เป็นสารประกอบที่สำคัญของลิเทียม ที่ได้มาจากลิเทียมคาร์บอเนต (Li2CO3) นับเป็นเบสที่แรง และเมื่อให้ความร้อนจากไขมัน มันจะทำให้เกิดสบู่ลิเทียมขึ้น สบู่ลิเทียมนี้มีความสามารถทำให้น้ำมันแข็งตัว และด้วยเหตุนี้ จึงนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อผลิตจาระบีสำหรับใช้ในการหล่อลื่นเครื่องยนต์
จากการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง XRF ลิเทียม Li อยู่ในพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข เฉพาะองค์เดิมๆที่ยังไม่ได้ล้างทำความสะอาด จึงทำให้เชื่อได้ว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข ในอดีตผู้สร้างได้ทำการทาน้ำมันปืน เพื่อรักษาองค์พระ