วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

37. วิเคราะห์โลหะธาตุพระกริ่งฯขัดด้วยน้ำยา wenol

พระกริ่งปวเรศ รุ่น 1 พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข สร้าง พ.ศ. 2411 วรรณะสีผิวกลับดำ อายุ 143 ปี ขวามือขัดด้วยน้ำยา wenol เผยให้เห็นเนื้อในก่อนจะกลับดำ

พระกริ่งปวเรศ เป็นของสูงค่าอมตะเป็นพระกริ่งองค์แรกที่กำเนิดในแผ่นดิน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เชื้อพระวงศ์เจ้านายที่ทรงคุ้นเคยสนิทสนม และ เจ้านายที่ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ มีจำนวนน้อยมาก ทรงสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ พุทธลักษณะ พระกริ่งปวเรศ ทรงสร้างขึ้นโดยอาศัยเค้าจากพระกริ่งจีนที่นิยมเรียกกันว่าพระกริ่งใหญ่ใน ปัจจุบัน โดยที่พระกริ่งนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กระมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงสร้างขึ้นจึงนิยมเรียกกันทั่วไปว่า พระกริ่งปวเรศ ในอาณาจักรพระเครื่องนับถือกันว่า พระกริ่งปวเรศเป็นพระโลหะที่มีค่านิยมสูงและยากยิ่งที่จะเสาะแสวงหาไว้ สักการะบูชา จึงเป็นปูชนียวัตถุที่มีคุณค่าทางพุธศิลป์และทางจิตใจ กล่าวได้ว่า พระกริ่งปวเรศเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ การสร้าง ในปี พ.ศ. 2411 และในปี พ.ศ. 2434 ได้นำแม่พิมพ์เก่าของพิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข มาสร้างใหม่อีกครั้งหนึ่ง (บรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า 5 วรรค 2) กรมพระยาปวเรศฯ ไม่ได้ออกแบบ จัดสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษก ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ออกแบบโดยช่างสิบหมู่(ผู้ออกแบบหลัก) บรมวงศานุวงศ์(นายทุน) และไวยาวัชกรวัดบวรนิเวศ(ฝ่ายพิธีการ) สมัยนั้น จึงมีหลายแบบพิมพ์ทรง บางแบบใช้แม่พิมพ์เก่าก็มี โลหะก็ไม่เหมือนกัน บางองค์ก็แบบพิมพ์ใหม่ รวมทั้งที่อยู่ในขันน้ำมนต์ และยอดไม้เท้าของพระองค์ท่าน จำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้ ..............จากรูป พระกริ่งปวเรศ (ผู้สร้างสมเด็จวังบูรพา) พ.ศ.2434 ............พระกริ่งฯที่เป็นของแท้ ย่อมตรวจสอบได้ พระกริ่งฯขวามือผิวเดิมๆ อายุ 143 ปี(พ.ศ.2553) วรรณะกลับดำดั่งสีนิล, ซ้ายมือและองค์กลางขัดด้วยน้ำยา wenol เสร็จใหม่ๆเพื่อให้เห็นเนื้อในองค์กลางเนื้อสัมฤทธิ์เดชมีสีผิวเนื้อเงินวาว อมเหลืองจางๆ, องค์ซ้ายมือสัมฤทธิ์คุณสีผิวเนื้อเงินวาวอมเขียวนิดๆ เนื่องจากมีส่วนผสมของเนื้อเงินมาก รูปด้านหลังขวามือสุด พระกริ่งสีผิววรรณะเดิมๆ อายุ 143 ปี(2553), องค์ซ้ายมือกับองค์กลางขัดด้วยน้ำยา wenol เผยให้เห็นสีผิวด้านใน พระกริ่งกลับดำเป็นสีนิลตามตำราส่วนผสมการสร้างพระกริ่งดั้งเดิมของ สมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) จ.พระนครศรีอยุธยา ต่อมาตำราได้ตกมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระปรมานุชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ จนกระทั่งตำราตกทอดมาถึง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จึงได้ทรงสร้าง "พระกริ่งปวเรศ" ขึ้นใช้โลหะ 9 อย่างผสมตามสูตรเรียกว่า "นวโลหะ" มีคุณสมบัติพิเศษหากกระทบกันเสียงดังคล้ายกับเสียงลูกแก้วมากระทบกัน ซึ่งเป็นเนื้อโลหะที่แข็งแกร่งในตัว

ถ่ายด้วยการเปิดแฟลช จะได้วรรณะสีผิวอีกแบบหนึ่ง

พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุข ภายหลังขัดน้ำยา wenol ผ่านไป 36 ชั่วโมง

พระกริ่งฯ วรรณะสีผิวขัดด้วยน้ำยา wenol ผ่านไป 4.5 วันหรือ 108 ชั่วโมง

พระกริ่งปวเรศฯ ขัดด้วยขี้ผึ้งเบอร์ 28a เป็นการเคลือบผิวพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์ พูนสุขให้เห็นการกลับของสีผิวชัดเจน