วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

36. ฝีมือการเกลาตบแต่งพระกริ่งฯ


พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2434 เนื้อทองคำทั้งองค์ ทั้งสององค์ช่างฯในสมัยนั้นได้ทำการตบแต่งองค์พระกริ่งเพื่อให้มีความคมชัด ช่างที่ตบแต่งพระกริ่งทั้งสององค์นี้เป็นช่างคนละชุดดังนั้นฝีมือตบแต่งองค์ พระกริ่งไม่เหมือนกัน...หากมององค์ซ้ายมือจะพบเห็นพระกริ่งองค์นี้แทบทุกสัด ส่วนล้วนผ่านการตบแต่ง...ผู้ครอบครองเดิม เป็นอดีตอธิบดีกรมรถไฟ ผู้รับมาอีกทอดให้ข้อมูลอดีตอธิบดีกรมรถไฟท่านนี้ "ได้พระกริ่งฯมาจากวังสุโขทัย" พระกริ่งปวเรศเนื้อทองคำ พ.ศ.2434 ในสมัยที่สร้างมีำจำนวนทั้งหมด 9 องค์ต่อชุด จำนวนการสร้าง 8 ชุด  เนื้อทองคำนี้มีปลอมเก๊ระดับใกล้เคียง 99% มีทั้งพิมพ์แต่งและไม่แต่ง(โปรดระวังเพราะปลอมออกมานานเกินกว่า 16 ปี ณปัจจุบัน พ.ศ. 2554)

พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2434 ด้านหลัง ผ่านการตบแต่ง เพื่อความคมชัดสวยงาม พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2434 องค์ขวามือได้มีการตอกโค๊ตเมล็ดงา 7 เม็ด องค์ซ้ายมือตอกโค๊ดเมล็ดงาแบบมาตราฐาน 1 เม็ด
ลักษณะเมล็ดงาองค์ซ้ายมือสร้างในปี พ.ศ.2434  แต่เมล็ดงานองค์ขวามือเป็นเมล็ดงากระดุม สร้างในปี พ.ศ. 2416 

พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2434 ซ้ายมือ และขวามือ พ.ศ.2416  รูปด้านข้าง เนื้อทองคำ ฝีมือช่างฯได้เกาตบแต่งเพื่อความคมชัดและสวยงาน เมื่อ กว่าปีที่ผ่านการตบแต่งย้ำรอยต๊กตู่ให้ชัดร่องลึกกว่าเดิม และองค์พระผ่านการขัดตบแต่งทุกซอกทุกมุมแปลกตาไปอีกแบบหนึ่ง
รูปด้านข้างอีกมุมมองหนึ่ง

ก้นพระกริ่งปวเรศเนื้อทองคำ จะเป็นของจริงหรือของปลอมก็ทำเรียนแบบกันได้  แต่ที่แตกต่างคือฝีมือความปราณีตที่แตกต่างกัน  


องค์ซ้ายมือพระกริ่งปวเรศเนื้อทองคำ พ.ศ.2416..........องค์ขวามือพระกริ่งจีนใหญ่หรือพระกริ่งพรหมมุณี องค์นี้เนื้อทองคำเช่นกัน ซึ่งเป็นองค์หนึ่งที่สวยงามผ่านการตบแต่งจากช่างฯในสมัยก่อน...องค์นี้ผู้ ครอบครองเดิมให้ข้อมูล "ได้มาจากวังสุโขทัย" พระกริ่งจีนใหญ่ของวัดสุทัศน์...ฝีมือการแต่งของช่างชาวบ้านรุ่นหลังฝีมือ ยังห่างไกลสู้ฝีมือช่างสิบหมู่ไม่ได้

พระกริ่งปวเรศ 2 องค์นี้ผ่านการแต่ง ผู้เขียนไม่ได้เห็นของจริงพบจากเว็บ http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=phrakruang&id=20392 พิมพ์ทรงรายละเอียดต่างๆเหมือนกับ พระกริ่งปวเรศ พ.ศ.2434 ที่แตกต่างของพระ 2 องค์นี้คือ 1.องค์พระกริ่งได้ผ่านการแต่งเกลาใหม่ 2.โค๊ดเม็ดงาด้านหลังตอกกลับด้านกัน(กรณีนี้) อาจจะเป็นความตั้งใจในการตอกของช่างก็ได้ และพระกริ่งปวเรศ 2 องค์นี้นับได้ว่าเป็นการตบแต่งของช่างระดับชั้นครูที่เกลาแต่งได้ละเอียด คมชัด แม้นแต่ท่อนแขนก่อนถึงข้อมือยังตบแต่งให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด---